1 / 19

การจัดการนวัตกรรม และสารสนเทศ Innovation and Information Management

การจัดการนวัตกรรม และสารสนเทศ Innovation and Information Management. ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) .

palma
Download Presentation

การจัดการนวัตกรรม และสารสนเทศ Innovation and Information Management

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศInnovation and Information Management

  2. ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) • ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้วเริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริงซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

  3. ไชยยศ เรืองสุวรรณ • ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

  4. ความหมายของนวัตกรรม “นวัตกรรม” หมายถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

  5. นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ • ระยะที่ 1มีการประดิษฐ์คิดค้น(Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย • ระยะที่ 2พัฒนา (Development) มีการทดลอง ในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) • ระยะที่ 3การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

  6. นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียน ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น

  7. ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษาความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา • 1) การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) การศึกษาต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม 3) สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 4) การแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

  8. แนวคิดพื้นฐานที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการศึกษาแนวคิดพื้นฐานที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการศึกษา จำแนกได้ 4 ประการ • 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) • 2. ความพร้อม (Readiness) • 3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา • 4. การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม

  9. แนวคิดพื้นฐานที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการศึกษาแนวคิดพื้นฐานที่ส่งผลต่อนวัตกรรมการศึกษา • ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้การจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง หรือใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นได้แก่ 1)การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) 2)แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) 3) เครื่องสอน (Teaching Machine) 4) การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) 5) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) 6) เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction)

  10. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา มี 4 ประการ • 2. ความพร้อม (Readiness) แนวคิดเดิมเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ ปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่       1)ศูนย์การเรียน 2)การจัดโรงเรียนในโรงเรียน             3) การปรับปรุงการสอนสามชั้น

  11. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา มี 4 ประการ • 3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา การจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนในรูปแบบเก่า มักจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชาทุกวัน และจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอน ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากันบางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น          1)การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น         2)มหาวิทยาลัยเปิด          3)แบบเรียนสำเร็จรูป          4)การเรียนทางไปรษณีย์

  12. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา มี 4 ประการ • 4. การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น           1)มหาวิทยาลัยเปิด      2)การเรียนทางวิทยุ 3)การเรียนทางโทรทัศน์, การเรียนทางไปรษณีย์        4) ชุดการเรียน

  13. ลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษาลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา • เป็นความคิดเห็นหรือปฏิบัติการใหม่อย่างแท้จริง เป็นสิ่งที่ไม่มีใครค้นพบมาก่อน • จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แล้วนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น • มีการจัดระบบขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง โดยพิจาณาตั้งแต่ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์ • มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า “สิ่งใหม่” นั้น จะช่วยให้การแก้ปัญหา และดำเนินการบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม

  14. ลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษาลักษณะของนวัตกรรมทางการศึกษา 5) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอาไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี

  15. ความหมายของ “เทคโนโลยี” ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่าง ๆ เหล่านั้น วิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่าง ๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์"หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (Technology) เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง กระบวนการผลิต การสร้าง วิธีการดำเนินงาน เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ

  16. นวัตกรรมและเทคโนโลยี การใช้นวัตกรรม (Innovation)และเทคโนโลยี (Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง 2 อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า“Innovation Technology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน

  17. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ในปัจจุบันการเรียนการสอนได้นำทฤษฏีการเรียนรู้ และหลักการมาใช้ เพื่อให้เกิดคุณภาพของการสอน การใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนก็เป็นวิธีการที่ทำให้บทเรียนมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ 1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ 2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน 3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรง 4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย

  18. ประโยชน์ของการนำนวัตกรรม ระบบสารสนเทศไปใช้ในการบริหาร 1. ใช้ในการคำนวณ 2.ใช้เก็บข้อมูลและคำนวณ 3.ใช้ทำงานในสำนักงานทั่วไป 4.ใช้ในการกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว 5.ใช้ในการสื่อสาร 6.การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7. ความได้เปรียบในการแข่งขัน(Competitive Advantage) 8. คุณภาพชีวิตการทำงาน(Quality o f Working Life)

  19. Exercise ให้แต่ละกลุ่มยกตัวอย่างของนวัตกรรมที่ใช้ในสถานศึกษาอย่างน้อยกลุ่มละ 5 นวัตกรรม

More Related