1 / 25

พลังงานความร้อนมหาสมุทร

พลังงานความร้อนมหาสมุทร. การเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนมหาสมุทร (Ocean Thermal Energy Conversion ) : OTEC.

Download Presentation

พลังงานความร้อนมหาสมุทร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พลังงานความร้อนมหาสมุทรพลังงานความร้อนมหาสมุทร

  2. การเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนมหาสมุทร (Ocean Thermal Energy Conversion ) : OTEC เป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนจากมหาสมุทร โดยน้ำจะทำหน้าที่เป็นตัวรับและสะสมพลังงานน้ำในทะเลและมหาสมุทรในเขตร้อนและเขตค่อนข้างร้อนจะมีอุณหภูมิที่ผิวน้ำด้านบนประมาณ 25 องศาเซลเซียส และที่ระดับลึกลงไปประมาณ 1,000 เมตร อุณหภูมิจะมีค่าประมาณ 5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ได้อาศัยความแตกต่างอุณหภูมิของน้ำที่ผิวด้านบนและด้านล่าง มาเป็นหลักในการพัฒนาสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน

  3. ภาพที่ 1 ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิแตกต่างที่ระดับผิวน้ำและที่ความลึก 1,000 เมตร ณ บริเวณละติจูดต่าง ๆ

  4. หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทรหลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทร การเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนจากมหาสมุทรมีหลักการทำงานเหมือนกับทำความร้อนทั่วๆไปคือ ทำงานเป็นวัฏจักรอยู่ระหว่างแหล่งความร้อนที่อุณหภูมิสูง ( Th ) กับแหล่งความร้อนที่อุณหภูมิต่ำ ( Tc ) โดยอาศัยความแตกต่างอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ผิวด้านบนกับผิวด้านล่าง ในระบบการผลิตพลังงานจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลัก 4 อย่าง

  5. 1) เครื่องกำเนิดไอ (evaporator)มีหน้าที่ลดความดันของไอร้อนที่ผ่านเข้ามาเพื่อให้กลายเป็นไอร้อนยวดยิ่ง ภาพที่ 2 เครื่องกำเนิดไอ

  6. 2) กังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (turbine - generator) มีหน้าที่ผลิตงานกลและพลังไฟฟ้า โดยไอร้อนยวดยิ่งที่ผ่านเข้ามายังกังหัน จะไปขับกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ภาพที่ 3 กังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

  7. 3) เครื่องควบแน่น (condenser) มีหน้าที่ควบแน่นไอให้กลายเป็นของเหลว โดยขณะที่ไอออกมาจากกังหัน จะถูกควบแน่นโดยน้ำเย็นที่สูบมาจากทะเลด้านล่าง ภาพที่ 4 Surface Condenser for Desalinated Water Production (1994-1998)

  8. 4) ท่อและเครื่องสูบน้ำ (pipes and pumping) ทำหน้าที่สูบน้ำและนำน้ำร้อนและน้ำเย็นมายังระบบ ภาพที่ 5 Deployment of the OTEC- 1 CWP in 1981

  9. หลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทรหลักการทำงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทร สามารถแบ่งโรงไฟฟ้าออกเป็น 2 ประเภท 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทรระบบวัฏจักรเปิด 2 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทรระบบวัฏจักรปิด

  10. 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทรระบบวัฏจักรเปิด ระบบวัฏจักรเปิดมีหลักการทำงานโดยเริ่มจากน้ำอุ่นจากผิวน้ำด้านบนไหลเข้าสู่เครื่องกำเนิดไอ ทำให้น้ำบางส่วนเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ ไอจะไปดันผ่านกังหันและเกิดการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนไอน้ำที่ออกจากกังหันจะถูกควบแน่นเป็นของเหลวและปล่อยลงสู่ทะเล ดังภาพที่ 6 แสดงการทำงานของระบบวัฏจักรเปิด

  11. ภาพที่ 6ระบบวัฏจักรเปิด

  12. 2 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทรระบบวัฏจักรปิด ระบบวัฏจักรปิดมีหลักการทำงานคือ จะสารที่มีจุดเดือดต่ำเป็นสารทำงาน เช่น แอมโมเนีย โพรเพนหรือฟรีออน โดยสารทำงานจะได้รับความร้อนจากน้ำร้อนที่สูบมาจากผิวน้ำทะเลด้านบนแล้วสารทำงานจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอ ไอจะไปดันผ่านกังหันและผลิตกระแสไฟฟ้า ไอที่ออกมาจากกังหันจะถูกควบแน่น และถูกสูบกลับผ่านไปยังเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนไหลกลับเข้าสู่กังหัน ดังภาพที่ 7แสดงการทำงานของระบบวัฏจักรปิด

  13. ภาพที่ 7 แสดงการทำงานของระบบวัฏจักรปิด

  14. การเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมการเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม พลังงานความร้อนมหาสมุทรเป็นพลังงานหมุนเวียนประเภทหนึ่ง ซึ่งพลังงานความร้อนมหาสมุทร เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยตรง มีการใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทรเพื่อทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิง Fossil ซึ่งมีปริมาณจำกัด และเพื่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้เชื้อเพลิง Fossil การใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทร มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก จะไม่มีการปล่อยก๊าซหรือของเหลวที่เป็นอันตรายในระหว่างกระบวนการผลิต

  15. ข้อดีและข้อด้อยของการใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทรข้อดีและข้อด้อยของการใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทร ข้อดี • ในการผลิตไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิง • ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างการผลิตไฟฟ้า • สามารถติดตั้งระบบผลิตน้ำจืดควบคู่กับการติดตั้งโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนมหาสมุทรชนิดระบบวัฏจักรเปิดได้ • น้ำเย็นจากมหาสมุทร สามารถใช้เป็น Chiller ของไหลในระบบปรับอากาศได้

  16. ภาพที่ 8 การใช้ประโยชน์จากพลังความร้อนมหาสมุทร

  17. ข้อด้อย • โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนมหาสมุทร ราคาต้นทุนการก่อสร้างสูง • จะต้องใช้อุปกรณ์ในการผลิตพลังงานขนาดใหญ่ และยังไม่มีการพัฒนาที่ดีพอสำหรับระบบปิด • โรงจักรจะต้องอยู่ในบริเวณน้ำลึก • จะต้องทนต่อพายุที่รุนแรงในมหาสมุทร • จะต้องทนต่อการกัดกร่อนโดยเกลือในน้ำทะเล การกัดเซาะโดยคลื่น • เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร เนื่องจากน้ำที่ปล่อยออกมาจากกังหันจะมีอุณหภูมิต่างจากอุณหภูมิของน้ำทะเล • เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนัก เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เช่น เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ท่อ อาจเกิดการสึกกร่อนและทำให้น้ำทะเลมีสิ่งปนเปื้อน

  18. ตัวอย่างการใช้งาน • โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนมหาสมุทร ขนาดกำลังผลิต 500 กิโลวัตต์ ที่เกาะฮาวาย • ปี 1970 Natural Energy Laboratory of Hawaii (NELHA) ในปี 2005 สำนักงานใน Honolulu ประกาศแจ้งแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานมหาสมุทร กำลังการผลิต 1 MW ที่ NELHA

  19. ภาพที่ 9 Natural Energy Laboratory of Hawaii (NELHA )

  20. ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดในการใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทรปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดในการใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทร • บริเวณในการสร้างโรงไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ • มีการลงทุนในการก่อสร้างสูง • อุปกรณ์ที่ใช้ผลิตไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ • ต้องมีท่อขนส่งที่มีขนาดใหญ่และยาว จากการสูบน้ำทะเล • ท่อสูบน้ำเกิดการกัดเซาะของน้ำทะเล • มีการต่อต้านจากหน่วยงานหลายฝ่าย

  21. การแก้ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดในการใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทรการแก้ปัญหาและอุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดในการใช้พลังงานความร้อนมหาสมุทร • ทำการพัฒนาอุปกรณ์ในการใช้การผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น • ทำการวิเคราะห์ว่าการลงทุนคุ้มกับผลผลิตที่ได้หรือไม่ • ใช้ท่อสูบน้ำที่ทนต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล • ทำการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมหาสมุทร ทั้งข้อดีและข้อด้อย

  22. หากนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยต้องเตรียมการอย่างไรหากนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยต้องเตรียมการอย่างไร • ต้องทำการสำรวจความลึกของน้ำทะเล และความแตกต่างของอุณหภูมิที่ผิวน้ำ และก้นทะเล • ทำการหาที่ตั้งของโรงไฟฟ้า • ทำการวิจัย • สถานที่ ที่ตั้งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนใกล้เคียงหรือไม่

  23. ทำการศึกษาระบบการทำงานและอุปกรณ์ต่างๆ ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนมหาสมุทร • ทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ว่าคุ้มกับการลงทุนหรือไม่

  24. แหล่งที่มาของข้อมูล • พลังงานหมุนเวียน , วรนุช แจ้งสว่าง , สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • www.candogreen.org/ga1holliday/serv01.htm • www.makai.com/p-otec.html • http://www.offinf.com/environmental.htm\

  25. จัดทำโดย น.ส. ณีรนุช บุญเกิด รหัส 09490626 น.ส. ทิพย์ธัญญา แก้วศิริ รหัส 09490632

More Related