1 / 20

บทเรียนสำเร็จรูป

บทเรียนสำเร็จรูป. เรื่อง ระบบประสาท. ใบความรู้ที่ 1. ระบบ ประสาท

Download Presentation

บทเรียนสำเร็จรูป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ระบบประสาท

  2. ใบความรู้ที่ 1 • ระบบประสาท • ระบบประสาทเป็นระบบที่คอยควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ภายในร่างกายให้ประสานและสัมพันธ์กัน อีกทั้งยังมีหน้าที่รับความรู้สึกและตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ • โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาท • ระบบประสาทสามารถแบ่งส่วนสำคัญใหญ่ๆ 2 ส่วน ได้แก่ • 1. ระบบประสาทส่วนกลาง • 2. ระบบประสาทส่วนปลาย

  3. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) ประกอบด้วย สมอง (Brain) และไขสันหลัง (Spinal card) ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาท (Neuron) จำนวนมากมาย โดยระบบประสาทส่วนกลางจะคอยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมและประสานการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system) เป็นระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งระบบประสาทส่วนปลายจะประกอบไปด้วย เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และระบบประสาทอัตโนมัติ

  4. ใบความรู้ที่ 2 ระบบประสาทส่วนกลาง จะประกอบไปด้วย สมอง (Brain) และ ไขสันหลัง (Spinal card) สมอง(Brain) สมอง (Brain) เป็นอวัยวะที่สำคัญและสลับซับซ้อนมาก มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทส่วนกลาง และศูนย์กลางการควบคุมระบบประสาททั้งหมด ซึ่งสมองจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนมีหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้

  5. สมองส่วนหน้า(Forebrain) จะประกอบไปด้วย 1. ออลแฟกทอรีบัลบ์(Olfactory bulb)เป็นสมองอยู่ส่วนหน้าสุด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่นสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ จะเจริญดียกเว้นในคนส่วนนี้จะอยู่ด้านล่างของซีรีบรัมอันเป็นส่วนใหญ่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำเช่นปลากบส่วนนี้เจริญดีมากมีขนาดใหญ่จึงใช้ดมกลิ่นได้ดี 2. เซรีบรัม (Cerebrum)เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมองอยู่บริเวณด้านหน้า แบ่งออกเป็นสมองซีกซ้ายและซีกขวา โดยมีร่องลึกอยู่ตรงกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ไหวพริบ ความรู้สึกนึกคิด และความรู้สึกผิดชอบ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ เช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การรับสัมผัส การพูด การมองเห็น เป็นต้น

  6.  3. ซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ จะประกอบไปด้วย 1. Frontal lobe ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ 2. Parietal lobe ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น 3. Occipital lobe ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ การได้ยิน 4. Temporal lobe ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรสชาติอาหาร 4. ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) อยู่ที่ด้านหน้าตอนล่างของสมอง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ การนอนหลับ ความดันโลหิต ความหิว ความอิ่ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ เช่น อารมณ์เศร้าโศก เสียใจ ดีใจ เป็นต้น

  7. 5. ทาลามัส(Thalamus) อยู่เหนือไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทที่รับความรู้สึก ก่อนที่จะส่งไปยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาท สมองส่วนกลาง(Midbrain) เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างสมองส่วนหน้ากับสมองส่วนหลัง ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากไขสันหลัง และส่วนต่างๆ ของสมองและมีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา เช่น ทำให้ลูกตากลอกไปมาได้ ปิดเปิดม่านตาขณะที่แสงเข้ามามากหรือน้อยได้ เป็นต้น สมองส่วนท้าย (Hindbrain) จะประกอบไปด้วย 1. พอนด์(Pons)ส่วนของก้านสมองที่อยู่ด้านหน้าเซรีเบลลัมติดกับสมองส่วนกลาง และมีหน้าที่ควบคุมการทำงานกิจกรรมบางอย่าง เช่น การเคี้ยวอาหาร การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง เป็นต้น

  8. 2. เซรีเบลลัม(Cerebellum)จะอยู่ส่วนล่างของเซรีบรัม คอยทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทรงตัวของร่างกายโดยดูแลการทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายและระบบกล้ามเนื้อต่างๆ ให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมและราบรื่น อีกทั้งยังเป็นตัวที่คอยรับกระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตัว ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน ข้อต่อ และกล้ามเนื้อต่างๆ 3. เมดัลลา ออบลองกาตา(Medulla oblongata)เป็นสมองส่วนท้ายที่มีความสำคัญที่สุด ซึ่งตอนปลายของสมองส่วนนี้จะต่อกับไขสันหลังจึงเป็นทางผ่านของการะแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิต เป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนของโลหิต การกลืน การไอ การจาม เป็นต้น

  9. ใบความรู้ที่ 3 ระบบประสาทส่วนกลาง ไขสันหลัง (Spinal cord)โครงสร้างไขสันหลัง จะประกอบด้วย สมอง (Brain) ไขสันหลัง (Spinal cord) และเส้นประสาท (Cranial nerves) ไขสันหลัง (Spinal cord) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามแนวช่องของกระดูกสันหลัง ซึ่งเริ่มจากกระดูกสันหลังข้อแรกไปจนถึงกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 มีเส้นประสาทแตกออกจากข้อสันหลังมากมาย ไขสันหลังจะมีเยื้อหุ้ม 3 ชั้น และมีของเหลวบรรจุอยู่ในเยื่อหุ้ม เรียกว่า น้ำเลี้ยงไขสันหลัง เมื่อมีการเจาะน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังหรือมีการฉีดยาเข้าเส้นสันหลัง แพทย์จะเจาะหรือฉีดบริเวณต่ำกว่ากระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ลงไป เพราะบริเวณนี้จะเป็นมัดของเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งไม่มีไขสันหลังปรากฏอยู่โอกาสที่จะเกิดอันตรายกับไขสันหลังจึงมีน้อยกว่าการฉีดเข้าไปบริเวณอื่น

  10. นอกจากนี้หากเจาะหรือฉีดบริเวณอื่นอาจมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสหลุดเข้ามาในเยื่อหุ้มไขสันหลัง ซึ่งเชื้อโรคจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอักเสบของไขสันหลังอย่างรุนแรงได้ ไขสันหลังจะทำหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกายนอกจากนี้ยังควบคุมปฏิกิริยารีแฟล็กซ์(Reflex action) หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างกะทันหัน เช่น เมื่อมือบังเอิญถูกไฟหรือของร้อนจะรีบกระตุกมือหนีทันที เป็นต้น ปฏิกิริยารีแฟล็กซ์นี้ถือเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงพยาธิสภาพของร่างกายเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งแพทย์จะสามารถนำมาวินิจฉัยโรคบางชนิดได้

  11. ใบความรู้ที่ 4 ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral nervous system) เป็นระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากส่วนต่างๆ ของสมองและไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วย เส้นประสาทสมอง (Cranial nerves)มีอยู่ 12 คู่ โดยจะออกมาจากสมองแล้วผ่านไปยังรูต่างๆ ของกระโหลกศรีษะไปเลี้ยงบริเวณศรีษะและลำคอ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเส้นประสาทรับความรู้สึก เส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รวม คือทั้งรับความรู้สึกและเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal nerves)เป็นเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลังเป็นช่วงๆ ผ่านรูระหว่างกระดูกสันหลังไปสู่ร่างกาย มีอยู่ 31 คู่ ทุกคู่จะทำหน้าที่รวม คือทั้งรับความรู้สึกและเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

  12. โดยปกติแล้วเส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลังจะประกอบไปด้วย ใยประสาท 2 จำพวก ได้แก่ ใยประสาทรับความรู้สึก ซึ่งจะนำสัญญาณจากหน่วยรับความรู้สึกไปยังสมองหรือไขสันหลัง และอีกพวกหนึ่งคือ ใยประสาทสั่งการ นำคำสั่งจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลายต่างๆ ที่ยึดติดกับกระดูกให้ทำงาน ซึ่งจะช่วยให้คนเราสามารถแสดงอิริยาบถในการเคลื่อนไหวต่างๆได้ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system) เป็นศูนย์กลางการควบคุมของระบบประสาทซึ่งอยู่ในก้านสมอง และส่วนที่ลึกลงไปในสมอง เรียกว่าไฮโพทามัส ซึ่งระบบประสาทอัตโนมัติจะทำงานที่ประสานกันอย่างใกล้ชิดกับฮอร์โมนจากระบบต่อมไร้ท่อเป็นอิสระอยู่นอกอำนาจจิตใจ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ เช่นควบคุมการไหลเวียนของโลหิต การย่อยอาหาร การหายใจ การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย เป็นต้น

  13. ใบความรู้ที่ 5 ระบบประสาทอัตโนมัติจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system) เป็นระบบของการทำงานสำหรับผู้ใช้พลังงาน โดยเฉพาะงานที่เกิดขึ้นทันทีทันใด หรือขณะตื่นเต้น ภาวะฉุกเฉิน ระยะเจ็บป่วย ส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว ม่านตาขยาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของร่างกายจากสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ไขสันหลัง และมีเส้นใยประสาทออกมาจากไขสันหลังส่วนอกและส่วนเอว มีลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ โดยมีกลุ่มของเซลล์ประสาทและเส้นใยประสาทต่อเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่อยู่ด้านหน้าเยื้องไปทางด้านข้างตลอดความยาวของไขสันหลัง

  14. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system) เป็นระบบประสาทที่มีเส้นใยประสาทมาจากสมองส่วนกลาง เมดัลลาออบลองกาตา และบริเวณไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บและก้นกบ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน เส้นเลือด และต่อมต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมทำงาน เช่น ทำให้หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดคลายตัว เป็นต้น และเพื่อไม่ให้อวัยวะต่างๆ ทำงานมากเกินไป จะเห็นได้ว่าระบบประสาททั้งสองระบบนี้จะทำหน้าที่ในทางตรงกันข้ามกัน เช่น ระบบประสาทซิมพาเทติกจะกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว แต่ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก จะทำให้หัวใจช้าลง เพื่อเป็นการรักษาความสมดุลของร่างกายให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ

  15. ใบความรู้ที่ 6 • การเสริมสร้างและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท • ระบบประสาทเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทจึงมีความสัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิต • ข้อควรปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท มีดังนี้ • 1. หมั่นสำรวจและดูแลสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจสมรรถภาพรับความรู้สึกของระบบประสาท เช่น ตรวจสายตา ตรวจการได้ยิน เป็นต้น • 2. ระมัดระวังการกระทบกระเทือนบริเวณศรีษะ เพราะอาจทำให้ความจำเสื่อม หรืออาจทำให้เป็นอัมพาตได้

  16. 3. ระมัดระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสมอง โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบในเด็กตามที่แพทย์กำหนด หรือรีบให้แพทย์ตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดปกติทีเกี่ยวกับสมองหรือประสาทส่วนต่างๆ เป็นต้น เพื่อปรึกษาและหาทางแก้ไข ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการรักษาได้อย่างทันท่วงที • 4.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของตนเอง • 5. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่ให้วิตามินบี 1 สูง เช่น อาหารจำพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่งลิสง เครื่องในสัตว์ ผักผลไม้ เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น เพราะวิตามินบี 1 จะช่วยทำให้ระบบประสาท แขน และขา ทำงานได้เป็นปกติ อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ป้องกันอาการเหนื่อยง่าย และบำรุงสายตา

  17. 6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันสูง หรืออาหารทอด ตลอดจนอาหารจานด่วน (Fast food) รวมถึงเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาชนิดต่างๆ ที่มีผลต่อสมอง รวมทั้งสารเสพติด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและอวัยวะต่างๆเกิดอันตรายได้ • 7. ถนอมและบำรุงอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น การใช้สายตากับแสงที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การแคะหูหรือจมูก การเจาะลิ้น ใส่หมุดตามแฟชั่น เป็นต้น เพราะอาจเกิดอันตรายหรือเกิดโรคติดเชื้อต่างๆตามมา

  18. 8. หาเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ ตลอดจนหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียดในกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากหากปล่อยให้ความเครียดสะสมเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงควรผ่อนคลายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ การท่องเที่ยว การสังสรรค์กับเพื่อนฝูง การทำให้ร่างกายร่าเริงแจ่มใส การพักผ่อนอย่างพียงพอโดยเฉพาะการนอนหลับ เพราะเป็นการพักผ่อนสมองและร่างกายอย่างดีที่สุด โดยขณะที่นอนหลับประสาททุกส่วนที่อยู่ในอำนาจของจิตใจจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และระบบประสาทที่อยู่นอกอำนาจจิตใจก็จะทำงานน้อยลงด้วย

  19. ขอบคุณค่ะ

  20. จัดทำโดย นางสาวสายพิณ ระย้า เลขที่ 12 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3

More Related