1 / 48

การติดตามเฝ้าระวังระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ Cardiovascular & Respiratory Monitoring

การติดตามเฝ้าระวังระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ Cardiovascular & Respiratory Monitoring. Hongnuttha Sittikool Physiotherapist. การติดตามเฝ้าระวังระบบไหลเวียน (Cardiovascular Monitoring). การมอนิเตอร์ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ.

pello
Download Presentation

การติดตามเฝ้าระวังระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ Cardiovascular & Respiratory Monitoring

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การติดตามเฝ้าระวังระบบไหลเวียนเลือดและหายใจCardiovascular & Respiratory Monitoring Hongnuttha Sittikool Physiotherapist

  2. การติดตามเฝ้าระวังระบบไหลเวียน(Cardiovascular Monitoring)

  3. การมอนิเตอร์ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจการมอนิเตอร์ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ จำเป็นต้องได้รับการเฝ้าติดตามดูอาการ (monitoring)อย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดีประกอบด้วย • Vital sign • ECG • Central venous pressure (CVP) • Pulmonary artery pressure, Left atrium pressure • Pulse oximetry • Urine output • Cardiac output

  4. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) • เพื่อให้สามารถรับรู้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ(arrthymia) • วินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด(ischemia) • ความผิดปกติในการนำไฟฟ้าของหัวใจ (conduction defects) • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการติดตามการทำงานด้านไฟฟ้าของหัวใจเพียงด้านเดียว ไม่ได้บอกว่าระบบไหลเวียนเป็นปกติอยู่ บางครั้งผู้ป่วยอาจมีความดันโลหิตต่ำหรือคลำชีพจรไม่ได้

  5. Pressure monitor • การวัดความดันในหลอดเลือดแดง มี 2 วิธี • Noninvasive คือใช้ cuff พันที่แขน • Invasive โดยการใช้ Catheter สอดเข้าไปในหลอดเลือดแดงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผ่าตัดหัวใจ ส่วนใหญ่นิยมใช้ radial arteryเนื่องจากสะดวก • การ monitor arterial blood pressure มีประโยชน์คือ สามารถรู้การเปลี่ยนความดันในหลอดเลือดแดงได้ตลอดเวลา ถ้า pulse pressure แคบ บ่งบอกถึงภาวะ cardiac temponad นอกจากนี้สาย arterial line ยังสามารถใช้ดูดเลือด เพื่อนำไปทำ ABG

  6. เครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องวัดความดันโลหิต • การวัดความดันโลหิตเป็นวิธีการประเมินและติดตามระบบไหลเวียนเลือดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย • เครื่องวัดความดันโลหิต มี 2 ประเภท • เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดไม่แทงเส้น (manual) • เริ่มจับชีพจรได้ SBP • ชีพจรแรงที่สุด MAP • ชีพจรเบาลงจนหายไป DBP • เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดแทงเส้น ให้ผลละเอียด และถูกต้องกว่าในกรณีที่ชีพจรเต้นเบา ในกรณีไม่มีชีพจร(ขณะใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม)

  7. Pulse oximetry • เป็นการดูประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจว่าทำให้มีออกซิเจนเพียงพอหรือไม่ เป็นวิธีแบบ non-invasive • ค่าที่อ่านได้คือ ค่าเปอร์เซ็นต์ของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนไว้เต็มที่ (O2 sat)

  8. เครื่องตรวจวัดออกซิเจนจากปลายนิ้วPulse Oximetry • เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากปลายนิ้วของผู้ป่วย สามารถจับชีพจรของเลือดที่มาเลี้ยงที่ปลายนิ้ว ซึ่งบ่งบอกถึงระบบไหลเวียนได้ด้วย • อุปกรณ์นี้จึงใช้ติดตามได้ทั้งระบบหายใจและระบบไหลเวียน • ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงปลายนิ้วดูได้จากรูปคลื่นชีพจรที่วัดได้ขณะตรวจความอิ่มตัว ในกรณีที่เลือดไปเลี้ยงปลายนิ้วไม่ดีรูปคลื่นจะต่ำเตี้ยมาก

  9. เครื่องตรวจวัดออกซิเจนจากปลายนิ้วPulse Oximetry • หลักการที่ว่า hemoglobinที่จับกับออกซิเจนจะดูดซับแสงได้แตกต่างกับ hemoglobinที่ไม่ได้จับกับออกซิเจน เมื่อคำนวณหักส่วนที่ดูดซับคงที่ได้แก่ เนื้อเยื่อต่างๆเล็บและอื่นๆ ที่เหลือจะเป็นส่วนของเลือดแดงที่มาเลี้ยงปลายนิ้วเป็นระยะตามจังหวะชีพจร สามารถแสดงออกได้เป็นกราฟ • ตำแหน่งที่ใช้วัดออกซิเจนโดยวิธีนี้มักจะเป็นบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างดี • การแปลผลจะอ่านค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของ hemoglobin ที่จับออกซิเจนที่เรียกว่า Oxygen saturation(SPO2)ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความดันของออกซิเจนในหลอดเลือดแดง(PaO2)แต่ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้เป็นเส้นตรง

  10. Urine output • โดยการคาสายสวนไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ แล้วจดบันทึกจำนวนปัสสาวะทุก 15นาที-1ชั่วโมง เพื่อให้ทราบภาวะ perfusion ของผู้ป่วยได้ โดยปกติ 0.5-1 ml/kg/hr

  11. การวัดความดันเพื่อประเมินความดันเลือดในหัวใจการวัดความดันเพื่อประเมินความดันเลือดในหัวใจ • การวัดความดันของระบบไหลเวียนในตำแหน่งต่างๆโดยเฉพาะความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง เพื่อวัตถุประสงค์ในการประเมินปริมาณเลือดในหัวใจในช่วงก่อนการบีบตัว และใช้เป็นแนวทางในการให้สารน้ำหรือเพิ่มปริมาณเลือดในระบบไหลเวียน

  12. การวัดค่าความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central Venous Pressure) • ใช้ประเมินปริมาณเลือดกลับสู่หัวใจ • การวัดทำได้โดยใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือดดำ ให้ปลายสายอยู่ในหลอดเลือดดำ superior vena cavaหรือ inferior vena cavaไม่ลึกเกินหัวใจห้องขวาบน(right atrium) • ตำแหน่งของหลอดเลือดที่ใช้เข็มแทง • Internal jugularสูงสุด • External jugularพอใช้ • Subclavianสูง • Femoralพอใช้

  13. ข้อบ่งชี้ในการใส่สายเข้าหลอดเลือดดำส่วนกลางข้อบ่งชี้ในการใส่สายเข้าหลอดเลือดดำส่วนกลาง • วัดความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลางเพื่อประเมินปริมาตรก่อนการบีบตัวของหัวใจด้านขวา(preload) เพื่อประเมินปริมาตรก่อนการบีบตัวของหัวใจด้านล่างซ้าย โดยอนุมานว่าค่าทั้งสองค่าแปรตามกัน • เพื่อประเมินการให้ยาหรือสารน้ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้ทางหลอดเลือดดำใหญ่ • เป็นช่องทางในการใส่สายของเครื่องกระตุ้นหัวใจ

  14. การให้สารน้ำทดสอบ • ในภาวะที่มีการไหลเวียนเลือดไม่พอ (low cardiac output)และสงสัยว่าจะเกิดจากการขาดน้ำอาจทดสอบโดยการให้สารน้ำปริมาณหนึ่งในเวลา 10 นาที แล้วดูการเปลี่ยนแปลงของความดันในหลอดเลือดดำส่วนกลาง ว่าหัวใจมีที่ว่างสำหรับรับน้ำนั้นได้หรือไม่ • CVPเพิ่มขึ้น < 2 cmH2Oมีภาวะขาดน้ำควรให้ต่อ • CVPเพิ่มขึ้น > 5 cmH2O รับน้ำไม่ไหวน้ำเกิน (พิจารณายากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจหรือยาขยายหลอดเลือด

  15. การวัดความดันในหลอดเลือดไปปอดpulmonary artery pressure • โดยการใส่สาย pulmonary artery catheter (Swan-Ganz catheter)ผ่านหลอดเลือดดำใหญ่ ณ ตำแหน่งเดียวกับการใส่สายเข้าหลอดเลือดดำส่วนกลาง ตำแหน่งที่นิยมแทงที่สุดคือ internal jugular vein • ถ้าถ่ายภาพรังสีทรวงอกตำแหน่งปลายสายควรจะอยู่กลีบปอดกลางหรือกลีบปอดล่างด้านขวา โดยที่ปลายสายไม่ออกไปอยู่บริเวณชายปอดควรอยู่บริเวณหนึ่งในสามจากขั้วปอด

  16. ข้อบ่งชี้ของการใส่สายในหลอดเลือดปอดข้อบ่งชี้ของการใส่สายในหลอดเลือดปอด • ใช้วัดความดันเพื่อเป็นแนวทางในการให้สารน้ำในรายที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่เป็นปกติ หรือใส่สายเพื่อวัดปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาที • ใช้ประมาณความดันและปริมาตรของหัวใจด้านล่างซ้ายก่อนการบีบตัวได้ดีพอสมควร • ค่าปกติของ pulmonary artery diastolic pressure = 5-16 mmHg

  17. ค่าความดันปกติในหัวใจค่าความดันปกติในหัวใจ

  18. การวัดความดันในหัวใจห้องบนซ้าย(left atrial pressure :LAP) • ใช้ประเมินความดันในหัวใจห้องล่างซ้ายขณะคลายตัว ได้ดีกว่า CVP and PAP • โดยเฉพาะในรายที่มีปัญหาการบีบตัวของหัวใจด้านซ้ายหรือโรคที่มีผลต่อความต้านทานหลอดเลือดปอดหรือความดันในถุงลม • การใส่สายต้องใส่ขณะที่เปิดผ่าตัดหัวใจ ใส่สายผ่านจาก superior pulmonary veinเข้าไปในหัวใจห้องบนซ้าย สายจะแทงผ่านผิวหนังออกมาบริเวณลิ้นปี่ต่อเข้ากับเครื่องวัดความดัน

  19. การวัดปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจCardiac output • วิธีการวัด • Pulmonary thermodilution โดยการฉีดน้ำเย็นผ่านทาง Swan-Ganz catheterชนิดพิเศษเพิ่มปลายสายให้วัดอุณหภูมิได้ เมื่อฉีดน้ำเย็นผ่านทางสายที่มีรูเปิดต้นทางเข้าหัวใจด้านขวาบน แล้วตรวจวัดอุณหภูมิปลายทางที่ปลายสายซึ่งอยู่ในหลอดเลือดปอดจะคำนวนปริมาณเลือดที่ไหลเวียนออกจากหัวใจได้ • Arterial thermodilution โดยการฉีดน้ำเย็นผ่านทาง หลอดเลือดดำส่วนกลางแล้ววัดอุณหภูมิของเลือดที่หลอดเลือดแดงแขนหรือขา

  20. ท่อระบายจาก กระเพาะอาหาร อุปกรณ์วัดแรงดันออกซิเจน สายวัดความดันในเส้นเลือดแดง อุปกรณ์ช่วยหายใจ สายวัดความดัน สายสวนปัสสาวะ สายคลื่นหัวใจ เครื่องให้ยา/สารน้ำ ท่อระบายจากช่องอก เครื่องติดตาม การเต้นหัวใจ/ ...................วัดความดันโลหิต/วัดแรงดันออกซิเจน

  21. Life supporting

  22. เครื่องปั้มบอลลูนในหลอดเลือดเอออร์ต้าเครื่องปั้มบอลลูนในหลอดเลือดเอออร์ต้า เครื่องปั้มบอลลูนในหลอดเลือดเอออร์ต้า เรียก Intra-aortic balloon pump ใช้เป็นเครื่องที่ช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ  เป็นการส่งเสริมให้มีเลือดไหลเวียนเข้าสู่หลอดเลือดโคโรนารีย์ ขณะที่หัวใจคลายตัว  อาศัยจังหวะการโป่งและแฟบของบอลลูนในรอบการทำงานของหัวใจ

  23. ส่วนประกอบของเครื่อง IABP *ตัวเครื่องมีส่วนประกอบ * Monitoring system * Electronic trigger mechanism * Drive system *Balloon catheter

  24. เครื่อง IABP ส่วนประกอบหลัก • เครื่องปั๊ม • หลอดสวนที่ปลายมีบอลลูน

  25. หลักการทำงานของ IABP • เครื่องจะปั้มก๊าซฮีเลียมเข้าบอลลูน ( Inflate ) ขณะหัวใจเริ่มคลายตัว (diastole) • เครื่องจะดูดก๊าซออกจากบอลลูน ( deflate) เมื่อสิ้นสุดการคลายตัวแต่ก่อนหัวใจจะบีบตัว (just before systole)

  26. ประโยชน์ของการรักษาด้วยIABPประโยชน์ของการรักษาด้วยIABP • oxygen supply ให้กับกล้ามเนื้อหัวใจ • coronary blood flow • after load • oxygen demand ลดการใช้พลังงาน

  27. Diastole Inflation coronary blood flow

  28. Systole Deflation After load Myocardial oxygen consumption Cardiac output

  29. เพิ่ม supply ลด demand 2. หลักการ สิ่งที่ได้จากการทำ IABP  เพิ่ม coronary blood flow เพิ่ม oxygen supply  ลด after load  ลด oxygen demand

  30. เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (defibrillation) • ใช้เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ • เพื่อรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน • วางบน sternum and Apex • ดู EKG ถ้ายังมี VT or VF กดปุ่มชาร์ทซ้ำ

  31. การใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ • การใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติจุดประสงค์เพื่อให้ระบบการไหลเวียนของเลือดอยู่ในภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุดทั้งในขณะพักและขณะออกกำลังกาย

  32. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pace maker) • เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือ Cardiac pacemaker เป็นเครื่องไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้นให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะ • เป็นเครื่องมือขนาดเล็กๆ กว้างยาวประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร หนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร ภายในจะประกอบด้วย1. ส่วนรับรู้การเต้นของหัวใจ2. ส่วนส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจ เมื่อพบว่าหัวใจเต้นช้ากว่าความต้องการของร่างกาย3. ส่วนแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักให้พลังงานได้ 5 - 10 ปี แล้วแต่ปริมาณการใช้งาน • วิธีการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ • อาจจะทำได้ทั้งที่ห้องผ่าตัดหรือห้องสวนหัวใจ เพราะเป็นการผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ เท่านั้น มักใส่สายเข้าทางหลอดเลือดดำบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า ฝั่งของแขนข้างที่ไม่ถนัด เช่น แขนซ้าย เป็นต้น ส่วนเครื่องก็ฝังไว้ใต้ชั้นไขมันฝั่งเดียวกัน หลังใส่เครื่องเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะแนะนำไม่ให้ท่านขยับแขนด้านนั้นมาก ไม่ยก สูง ประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นก็กลับบ้านได้ โดยต้องดูแลแผลให้แห้งดี อย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อให้ผู้ป่วยมี hemodynamic ใกล้เคียงปกติ

  33. Cardiac pacemaker แบ่งได้เป็นสองแบบ • External cardiac pacemaker - ตัวเครื่องไม่เล็ก (ขนาดซองบุหรี่) ไว้นอกร่างกาย ใช้ชั่วคราวโดยมากหลังการผ่าตัดหัวใจ สายไฟ (electrode) อาจเย็บไว้บนผนังหัวใจ หรือสอดเข้าเส้นเลือดดำให้ปลายอยู่ในหัวใจ • Internal หรือ Implantable cardiac pacemeker (implantable = ฝังไว้ในร่างกายได้) มีสายไฟเป็นลวดสปริงหุ้มด้วย silicone rubber สอดเข้าไปในหัวใจห้องล่างด้านขวา (right ventricle)โดยผ่านทางเส้นเลือดดำมักจะใช้เส้นเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้า (clavicle) ที่เรียก subclavian vein ปลาย electrode จะแตะอยู่บนผิวด้านในของหัวใจ เมือมีการกระตุ้นก็จะกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้ามากบางอย่างมี electrode อีกชุดมีปลายอยู่ในห้องบนของหัวใจด้านขวา (right atrium) แล้วกระตุ้น atrium ก่อนกระตุ้น ventricle นิดหนึ่งทำให้การเต้นของหัวใจเกือบเหมือนปกติ ไม่ใช่เต้นแต่ ventricle อย่างเดียว ทำให้ประสิทธิภาพของหัวใจดีขึ้นหน่อยเครื่องกระตุ้นหัวใจส่วนใหญ่ตั้งค่าต่างได้เช่นตั้ง อัตราเต้น (กี่ครั้งต่อนาที) กระตุ้นแรงเท่าไหร่ หัวใจต้องเต้นแรงเท่าไหร่ถึงจะถือว่าเต้น จะรอนานเท่าไหร่กว่าจะกระตุ้น เป็นต้น pacemaker มีประโยชน์ในรายที่หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เรียก bradycardia ด้วยเหตุใดก็ตาม หรือ เต้นๆหยุดๆ ส่วนมากมีอาการหน้ามืดเป็นลม บางทีอยู่เฉยๆก็เป็น บางทีเป็นเฉพาะตอนยืนขื้นจากที่นั่งหรือที่นอน

  34. ข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบชั่วคราวข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบชั่วคราว • 1. ผู้ป่วยมีภาวะเซคัน ดีกรี เอวี บล็อค หรือ คอมพลีท เอวี บล็อค ที่มีอาการและอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างน้อยกว่า 45 ครั้งต่อนาที2. ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและมีผลทำให้เกิดหัวใจเต้นช้ามากทำให้ผู้ป่วยมีอาการของเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ3. ผู้ป่วย sick  sinus  syndrome และหัวใจเต้นช้าสลับเร็วผิดปกติเป็นการใส่ก่อนที่จะใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวร4. ผู้ป่วยที่รับประทานยาดิจิตาลิสแล้วเกิดหัวใจเต้นช้า5. ผู้ป่วยที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติเช่น supraventricular tachycardia ที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผลจะใช้การกระตุ้นหัวใจห้องบนด้วยอัตราเร็วกว่าของผู้ป่วยเองจนกระทั่งหัวใจห้องบนเต้นตามเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจแล้วค่อยๆ ลดอัตราเร็วลง6. ผู้ป่วยที่มีภาวะ carotid  sinus  syncope      ผู้ป่วยกลุ่มนี้คาโรติด ไซนัส  จะไวต่อการกระตุ้นเช่น โกนหนวดผูกเนคไท หรือเอียงคอทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พออาจใส่เพื่อรอการใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจชนิดถาวร7. ผู้ป่วยที่เตรียมใส่เครื่องช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจแบบถาวรหรือในระหว่างการใส่เพื่อป้องกันภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เป็นอันตราย8. เป็นการป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่รุนแรงหรือหยุดเต้นในระหว่างหรือหลังผ่าตัดหัวใจหรือในระหว่างการขยายหลอดเลือดโคโรนารีด้วยบอลลูน

More Related