1 / 51

ศูนย์การศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

โครงการพัฒนาบุคลากรฯ ระหว่างวันที่ 15 - 19 สิงหาคม 2554 โรงแรมพลา-คลิฟ บีช แอนด์สปาร์ จังหวัดระยอง. ศูนย์การศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ “ศกพ.” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

percy
Download Presentation

ศูนย์การศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการพัฒนาบุคลากรฯระหว่างวันที่ 15 - 19 สิงหาคม 2554โรงแรมพลา-คลิฟ บีช แอนด์สปาร์ จังหวัดระยอง ศูนย์การศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ “ศกพ.” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

  2. ศกพ. การจัด กศน.ขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบแลการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (ศกพ.) วันทนา จันทร์เพ็ญ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ - ระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  3. กศน. การจัด กศน.ขั้นพื้นฐาน หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ (3 ระดับ) สาระสำคัญของหลักสูตร ประกอบด้วย - หลักการ - จุดหมาย - โครงสร้างของหลักสูตร - การจัดการเรียนรู้ - การประเมินผลการเรียน - กพช. - การประเมินคุณธรรม - การจบหลักสูตร

  4. กศน. การจัด กศน.ขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฯ 51 หลักการ 1. มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และ การจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างระหว่างบุคคล ชุมชน สังคม 2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียน 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

  5. กศน. การจัด กศน.ขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฯ 51 จุดหมายต้องการให้ผู้เรียน 1. มีคุณธรรมจริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข 2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3. มีความสามารถในการประกอบอาชีพ

  6. กศน. การจัด กศน.ขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฯ 51 จุดหมาย (ต่อ) 4. มีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

  7. กศน. การจัด กศน.ขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฯ 51 จุดหมาย (ต่อ) 6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ .................

  8. หลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร กศน.ขั้นพื้นฐาน 2551 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ

  9. กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ..51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ หลักสูตร การจัดการเรียนรู้

  10. การจัด การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้....หลักสูตรฯ 2551 การจัดการเรียนรู้ เน้นปรัชญาพื้นฐานของการศึกษานอกโรงเรียน คือ “คิดเป็น” เป็นปรัชญาพื้นฐานของ กศน. เป็นกระบวนการที่คนเรา นำมาใช้ในการตัดสินใจ โดยต้องมีการแสวงหาข้อมูลของ ตนเอง ของสภาพแวดล้อมข้อมูลทางวิชาการ แล้วนำมา วิเคราะห์หาทางเลือกที่เหมาะสม มีความพอดีระหว่างตนเอง และสังคม

  11. การจัด การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้...หลักสูตรฯ 2551 (ต่อ) การจัดการเรียนรู้.. (มีวิธีเดียว) คือ“วิธีเรียน กศน.” ยึดหลักผู้เรียน เรียนรู้ได้ตามสภาพผู้เรียน (แต่ละคนมีความแตกต่างกัน) ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข

  12. การจัด การเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้...หลักสูตรฯ 2551 (ต่อ) *วิธีเรียน กศน.* รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เช่น 1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม 2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. การเรียนรู้แบบทางไกล 4. การเรียนรู้แบบชั้นเรียน 5. การจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย 6. การเรียนจากการทำโครงงาน 7. การเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ

  13. *1. การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม* การจัด การเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้...หลักสูตรฯ 2551(ต่อ) จัดให้ผู้เรียนมาพบกัน โดยมีครูเป็นผู้ดำเนินการ และอำนวยความสะดวกให้เกิดกระบวนการกลุ่ม เช่น มีการอภิปรายร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาข้อสรุปร่วมกัน ครูเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการเพิ่มเติมเนื้อหาที่ผู้เรียนต้องการ หรือจัดสอนเสริม โดยวางแผนร่วมกับผู้เรียน ผู้เรียนนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าที่ได้รับมอบหมาย และให้ผู้เรียนคนอื่นและครูช่วยกันวิเคราะห์ ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการ “คิดเป็น” ฝึกให้ผู้เรียนได้แสดงออก ได้ค้นคว้าด้วยตนเอง และวางแผนให้มีกิจกรรมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  14. *2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง* การจัด การเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้...หลักสูตรฯ 2551 (ต่อ) ผู้เรียนแสวงหาความรู้ และกำหนดแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้สอดคล้องกับวิชาที่ลงทะเบียนเรียน และความพร้อมของผู้เรียน ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการเรียน โดยจัดเตรียม อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา แนะนำ และกำหนดกิจกรรมร่วมกับผู้เรียน ผู้เรียนต้องสมัครใจ สนใจเนื้อหาที่จะเรียน และกำหนดแนวทาง/ แผนการเรียน/กิจกรรมของตนเอง ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด

  15. การจัด การเรียนรู้ *3. การเรียนรู้แบบทางไกล* วิธีการจัดการเรียนรู้..หลักสูตรฯ2551(ต่อ) ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ โดยครูและผู้เรียนจะสื่อสารกันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (com./โทรศัพท์) เป็นส่วนใหญ่และมุ่งเน้นเรียนรู้แบบ e-learning และต้องมีเวลาสื่อสารกัน ตามเวลาที่ตกลงกัน ครูอำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษาเพื่อให้เรียนรู้ได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย ผู้เรียนต้องมีเครื่องมือสื่อสาร มีเวลาสื่อสาร และต้องมีการประเมินตนเอง ก่อนเรียน - หลังเรียน

  16. การจัด การเรียนรู้ *4. การเรียนรู้แบบชั้นเรียน* วิธีการจัดการเรียนรู้..หลักสูตรฯ2551(ต่อ) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะแบบห้องเรียน จัดการเรียนการสอน ตามเวลา รายวิชา และสถานที่ที่กำหนด เหมาะกับผู้เรียนที่มีเวลาเข้าชั้นเรียน ครู/ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหานั้น ๆ เป็นผู้สอน/ถ่ายทอดความรู้ มีการฝึกปฏิบัติ และมีการถาม-ตอบหลังการบรรยาย/สอน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม แสดงความคิดเห็น การกระตุ้นให้ตอบ จัดให้ผู้เรียนมีบทบาท โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนและมอบหมายงานให้ ปฏิบัติ โดยเน้นให้ข้อมูล การปฏิบัติ และการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างครูกับผู้เรียน

  17. การจัด การเรียนรู้ *5. การเรียนรู้ตามอัธยาศัย* วิธีการจัดการเรียนรู้...หลักสูตรฯ 2551 (ต่อ) *6. การเรียนรู้จากการทำโครงงาน* *7. การเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ* เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ และ ความสนใจ จากสื่อเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือจากการ ฝึกปฏิบัติ แล้วนำความรู้มาเทียบโอนเข้าสู่หลักสูตรฯ 2551 เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนกำหนดเรื่องตามความสนใจ ความต้องการ ที่จะนำไปสู่การค้นคว้า ทดลอง ลงมือปฏิบัติจริง และมีการสรุปผล เป็นการเรียนรู้ที่ต้องขอความเห็นชอบจาก ศกพ.

  18. หลักสูตร กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ..51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ - วัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นรายวิชา กำหนดสัดส่วนคะแนน 60 : 40 1) ระหว่างภาคเรียน 60 2) ปลายสอบภาคเรียน 40 - การเก็บสะสมผลการเรียน*:สามารถเก็บสะสม ผลการเรียนรายวิชา (ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน) ได้ 5 ปี นับจากวันอนุมัติผลการเรียน

  19. สาระสำคัญ หลักสูตรฯ 51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ *กิจกรรมที่ต้องจัดตามเงื่อนไขของหลักสูตร มี 2 กิจกรรม 1. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 2. กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนคุณธรรม-จริยธรรม (ให้เกิดกับผู้เรียน)

  20. เงื่อนไข เงื่อนไข หลักสูตรฯ 51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)

  21. การจัดกิจกรรม กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) *กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.)* : เป็นเงื่อนไขของการจบหลักสูตรฯ ที่กำหนด ให้ผู้เรียนต้องลงทะเบียนทำกิจกรรม กพช. ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง และต้องมีการประเมินกิจกรรม กพช. โดยจะประเมินจากผลของการทำกิจกรรม

  22. การจัดกิจกรรม กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) แนวคิด เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้นำข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ มาฝึกทักษะการคิด การวางแผนปฏิบัติการ ที่จะส่งผลต่อการ จัดกิจกรรมการพัฒนาตนเอง ให้มีคุณธรรม-จริยธรรม มี สติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ และได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถบูรณาการความรู้มาใช้ใน การพัฒนาตนเองหรือจัดการกับชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  23. พัฒนาผู้เรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยฝึกทักษะการคิด/การแก้ปัญหา/ความมีเหตุผล • เพื่อปลูกฝั่งให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข • เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการ พัฒนาครอบครัว ชุมชนและสังคม ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพัน และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม

  24. การจัดกิจกรรม กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) หลักการประเมินกิจกรรม กพช. • การประเมินค่าให้ประเมินจากการทำกิจกรรมที่ผู้เรียนเสนอโครงการไว้ในแต่ละภาคเรียน โดยเน้นการประเมินแบบมีส่วนร่วม • กิจกรรมที่ได้รับการประเมินค่าแล้ว หากผู้เรียนประสงค์จะทำกิจกรรมในลักษณะเดิมอีก ต้องเสนอโครงการใหม่ที่ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของกิจกรรมนั้น

  25. พัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ลักษณะการทำกิจกรรมการเรียนรู้ ของ กพช. 1. มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง และครอบครัว 2. มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม

  26. พัฒนาผู้เรียน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเอง และครอบครัว โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ด้านสุขภาพกาย/จิต ตัวอย่าง ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเพศศึกษา ด้านยาเสพติด ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ

  27. 1. กิจกรรมมุ่งเน้นพัฒนาทักษะชีวิตตนเอง ครอบครัว (ต่อ) มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ ประโยชน์ที่ได้รับ = ตนเอง/ครอบครัว  การมีส่วนร่วมของผู้เรียนและครอบครัว การใช้กระบวนการกลุ่ม  ความเหมาะสมในการใช้ระยะเวลา  ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  28. พัฒนาผู้เรียน ลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 2. กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และสังคม ตัวอย่าง ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ ด้านประชาธิปไตย ด้านการสนับสนุนส่งเสริมงานการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

  29. 2.กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน และ สังคมประเด็นสำคัญ มีดังนี้ (กพช.) ประโยชน์ที่ได้รับ = ชุมชนและสังคม  การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  การใช้กระบวนการกลุ่ม  การใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน  ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  30.  ชุมชนภาคี /เครือข่าย  หัวหน้า ศกร.กศน. บทบาทผู้เกี่ยวข้อง กพช.  ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  คณะกรรมการประเมินกิจกรรม ผู้เรียน

  31. กระบวนการดำเนินงาน กพช. ผู้เรียน ศกร.กศน.และครู ลงทะเบียน รวบรวมข้อมูลของผู้เรียน ศึกษาเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน ให้ความรู้ ยื่นคำร้อง/เสนอโครงการ พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล ประเมินค่ากิจกรรมโครงการ ดำเนินการตามแผน สรุป / รายงานผล อนุมัติโครงการ / บันทึกข้อมูล

  32. บทบาทหน้าที่ของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องบทบาทหน้าที่ของครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับการจัดกิจกรรม กพช. 1. ให้ความรู้ความเข้าใจและแนวทางการทำกิจกรรม กพช. 2. จัดทำแผนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน 3. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการจัดทำกิจกรรมของผู้เรียน 4. นิเทศ ติดตาม และรายงานผลการจัดกิจกรรมโครงการ 5. ร่วมเสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการประเมิน ตามความจำเป็น

  33. บทบาทของผู้เรียนทำกิจกรรม (กพช.) 1. ลงทะเบียนทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 2. ศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจและ ประเมินตนเองในด้านความรู้พื้นฐาน 3. ร่วมประชุมวางแผนการทำกิจกรรมพัฒนา คุณภาพชีวิต

  34. บทบาทของผู้เรียนกพช.(ต่อ)บทบาทของผู้เรียนกพช.(ต่อ) • ยื่นคำร้อง และเสนอโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต • ผู้เรียนดำเนินตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ • จัดทำเอกสารรายงานผล

  35. เงื่อนไข หลักสูตรฯ 51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาคุณธรรมผู้เรียน

  36. พัฒนาผู้เรียน หลักสูตรฯ 51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ *การประเมินคุณธรรม*: เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งของหลักสูตรฯ - หลักสูตรกำหนดให้มีการประเมินคุณธรรมผู้เรียน - ประเมินจากพฤติกรรม 9 ประการ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 - สะอาด สุภาพ กตัญญู กลุ่มที่ 2 - ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ กลุ่มที่ 3 - สามัคคี มีน้ำใจ มีวินัย

  37. หลักสูตรฯ 51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ พัฒนาผู้เรียน การพัฒนาคุณธรรมให้เกิดกับผู้เรียน โดยการกระตุ้นจิตสำนึก และส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียน ให้ประพฤติปฏิบัติตน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรมอย่างยั่งยืน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม

  38. พัฒนาผู้เรียน หลักสูตร ฯ 51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ การพัฒนาคุณธรรมให้เกิดกับผู้เรียน (ต่อ) *วิธีการพัฒนาคุณธรรมผู้เรียน* ... เป็นบทบาทของครู 1. ครูต้องสร้างความเข้าใจ และแนะนำผู้เรียน - ความสำคัญ/ความหมาย/เกณฑ์การประเมิน 2. บูรณาการการพัฒนาคุณธรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 3. ครูจัดกิจกรรม/เชื่อมโยงกิจกรรม ให้มีหลากหลาย - ใน ศกร. / ชุมชน / สังคม 4. ครูต้องประเมินคุณธรรมผู้เรียน

  39. สาระสำคัญ กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ..51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ (ต่อ) การจบหลักสูตร ต้องผ่านเกณฑ์ตามที่หลักสูตรกำหนด 1) ผ่านเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้รายวิชา ตามโครงสร้างหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษา 2) ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 3) ผ่านการประเมินคุณธรรม 4) ผ่านการประเมินคุณภาพระดับชาติ

  40. กศน.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ..51 สำหรับคนไทยในต่างประเทศ การบริหารงาน การบริหารงานธุรการ / งานทะเบียน

  41. การบริหารงาน การบริหารงานธุรการ และงานทะเบียน งานธุรการและงานทะเบียน เป็นงานสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร (ศกร.กศน./ ศกพ.) และเป็นงานให้บริการแก่ผู้เรียนและ ผู้เกี่ยวข้อง

  42. การบริหารงาน การบริหารงานธุรการ และงานทะเบียน (ต่อ) 1. การบริหารงานธุรการ ศกร. เป็นการจัดการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของ ศกร.มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยมีบทบาท ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เช่น มีการประชาสัมพันธ์ การแนะนำหรือแนะแนว กิจกรรม และการให้บริการต่าง ๆ เป็นต้น

  43. การบริหารงาน การบริหารงานธุรการ และงานทะเบียน (ต่อ) 1. การบริหารงานธุรการ ศกร.(ต่อ) การแนะแนว : เป็นการชี้ช่องทางให้ผู้สนใจ เลือก หรือตัดสินใจเลือกใช้บริการ “จัดให้มีผู้รับผิดชอบ” (เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจใน กิจกรรมที่จะจัดให้บริการ เช่น การรับสมัคร นศ. การลงทะเบียนเรียน การเก็บสะสมผลการเรียน)

  44. การบริหารงาน การบริหารงานธุรการ และงานทะเบียน (ต่อ) 2. การบริหารงานทะเบียน เป็นงานให้บริการผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง (งานเกี่ยวกับระบบข้อมูล และหลักฐานการศึกษา) ดำเนินการช่วยเหลือ-ติดตามผู้เรียน และต้องสัมพันธ์กันระหว่าง ศกพ.และ ศกร.กศน. การให้บริการต้องมีความถูกต้องและรวดเร็ว

  45. การบริหารงานทะเบียน (ต่อ) การบริหารงาน 2.1 การบริหารงานทะเบียน ของ ศกร.กศน. จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล = ข้อมูลการลงทะเบียน–ผลการเรียน–กิจกรรม ฯลฯ จัดทำรายงาน/รวบรวม/จัดส่งหลักฐานให้ ศกพ. = ใบขึ้นทะเบียน-ลงทะเบียน-ผลการเรียน-กิจกรรม รายภาคเรียน

  46. การบริหารงานทะเบียน (ต่อ) การบริหารงาน 2.1 การบริหารงานทะเบียน ของ ศกร.กศน. (ต่อ) เสนอขอจบหลักสูตร – ขอหลักฐานการศึกษา =ให้ผู้เรียน ตรวจสอบ/ติดตามหลักฐาน และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ ผู้เรียน เสนอรายชื่อบุคลากรทำหน้าที่ คณะกรรมการประเมินผล =การเรียนรู้รายวิชา / กพช. / คุณธรรม

  47. การบริหารงาน การบริหารงานธุรการ และงานทะเบียน (ต่อ) 2.2 การบริหารงานทะเบียน ของ ศกพ. (ต่อ) ศกพ. กำหนดรหัสนักศึกษา (10 หลัก) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 หลักที่ 1-2 = ปี พ.ศ. ใช้ 2 ตัวท้าย (53) 3 = ภาคเรียน ใช้เลข 1 หรือ 2 (1) 4 = ระดับการศึกษา ใช้เลข 1 หรือ 2 หรือ 3 (3) 5-9 = เลขประจำศูนย์การเรียน (15001) 10 = สำหรับ ศกพ. ออกเลขด้วยระบบทะเบียน IT (0-9) (ตัวอย่าง ศกร.กศน.วัดจงลี่ฯ ไต้หวัน รหัส 53-2-3-15001-9) 5 3 2 3 1 5 0 0 1 9

  48. การบริหารงาน การบริหารงานธุรการ และงานทะเบียน *เรื่องทั่วไป* การขึ้นทะเบียน -ใช้แบบใบขึ้นทะเบียน (หลักสูตรฯ 51) การกรอกข้อมูล : ตรวจสอบความถูกต้อง/ชัดเจน เช่น - วุฒิการศึกษาเดิม - เขียนตัวสะกดชื่อ-สกุล / คำนำหน้าชื่อ ของผู้เรียน และชื่อ-นามสกุล ของบิดา-มารดา หลักฐานที่แนบ : บัตรประจำตัว / ทะเบียนบ้าน / passport / ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล / รูปถ่าย

  49. การบริหารงาน การดำเนินงานเกี่ยวกับงานทะเบียนนักศึกษา *เรื่องทั่วไป* (ต่อ) การลงทะเบียน : ใช้ใบลงทะเบียน ตามที่กำหนด (หลักสูตรฯ51) 1. ลงทะเบียนเรียน 2. ลงทะเบียน กพช. 3. ลงทะเบียนรักษาสถานภาพ 4. ลงทะเบียนเทียบโอน

  50. การบริหารงาน การดำเนินงานเกี่ยวกับงานทะเบียนนักศึกษา *เรื่องทั่วไป* (ต่อ) การส่งหลักฐาน / เอกสาร: ตามคู่มือการดำเนินงาน 1. ใบขึ้นทะเบียน - ใบลงทะเบียน 2. แบบรายงานผลการสอบ 3. แบบรายงาน กพช. 4. แบบรายงานประเมินคุณธรรม 5. แบบรายงานการเบิกเงิน ฯลฯ

More Related