1 / 17

ปวันรัตน์ บัวโรย 50040214

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการบลูมของแมงกะพรุน. ปวันรัตน์ บัวโรย 50040214. คำนำ.

perry
Download Presentation

ปวันรัตน์ บัวโรย 50040214

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการบลูมของแมงกะพรุนปัจจัยที่ทำให้เกิดการบลูมของแมงกะพรุน ปวันรัตน์ บัวโรย 50040214

  2. คำนำ แมงกะพรุน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมCnidaria ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่าKnideแปลว่าทำให้ระคายเคืองและAruaแปลว่าเกี่ยวข้องกับสัตว์ในไฟลัมนี้จะมีลักษณะพิเศษอยู่คือมีถุงด้ายพิษ(nematocyst)ซึ่งเมื่อสัมผัสโดนเเล้วเข็มพิษจะพุ่งออกมาจากถุง ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนในบริเวณที่โดนเข็มพิษได้ ในธรรมชาติตามปกติจะสามารถพบเเมงกระพรุนได้ทั่วไป ทั้งในเขตน้ำตื้นหรือแม้กระทั่งในน้ำจืด ส่วนใหญ่เเล้วเรามักจะพบแมงกะพรุนได้มากในบริเวณที่มีแหล่งอาหารของมัน

  3. การบลูมของแมงกระพรุน คือปริมาณของแมงกะพรุนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้เพิ่มขึ้นในปริมาณมากและ อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น อุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศตามฤดูกาล การจับปลาเกิน กำลังผลิตปรากฏการณ์ยูโทรฟิคเคชั่น (Shiga nova,1998;Arai, 2001;Parsons and Lalli,2002; Purcell 2005;Attrill et al.,2007 ) องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมาจะทำให้ปริมาณอาหาร และสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศน์เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตและการสืบพันธ์ของแมงกะพรุนมากขึ้น

  4. ในระยะเวลาประมาณสิบปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฎการณ์บลูมของแมงกะพรุนในบริเวณต่างๆทั่วโลกและมีการตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก - อุณหภูมิที่สูงขึ้น - สภาพภูมิอากาศตามฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง - ปรากฏการณ์ Eutrophication - การจับสัตว์น้ำในปริมาณที่มากเกินขีดจำกัด จากสาเหตุทั้งหมดจะทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ของแมงกะพรุน การเกิดการบลูมของแมงกะพรุนนั้นส่งผลเสียต่อ การประกอบอาชีพทางประมงเเละเศรษฐกิจ และสิ่งที่สำคัญคือการบลูมของแมงกะพรุนสามารถนำไปใช้เป็นตัวชี้วัดปริมาณมลพิษและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศน์ในทะเลในปัจจุบันได้

  5. อุณหภูมิ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามฤดูกาล จากการศึกษาวงจรชีวิตของแมงกะพรุนที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นพบว่าแมงกะพรุนนั้นมีวงจรชีวิตที่ซับซ้อน จะพบแมงกะพรุนได้มากในฤดูร้อน จากนั้น แมงกะพรุนในระยะที่เป็นเมดูซ่าจะลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และจะหายไปในช่วงฤดูหนาว แต่โพลิปของมันจะสามารถอยู่รอดได้ในฤดูหนาวเนื่องจากมีการเข้าซิสต์

  6. ภาพที่ 2ค่าเฉลี่ยความชุกชุมของแมงกะพรุน Cyanialamarckii , C.capillata , Auraliaaurita ,C.hysoscellaในปี 2004 และ 2005 ในเดือนต่างๆ ที่มา : Barz and Hirche (2007)

  7. อุณหภูมิของโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอุณหภูมิของโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นสามารถชักนำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของแมงกะพรุนได้ เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อ การกระแพร่กระจาย การเจริญ และ การเติบโตในระยะอีไฟราของแมงกะพรุน(Richardson et al.,2009)สาเหตุที่ทำให้เกิดการบลูม ของแมงกะพรุนคือ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นและ ปริมาณน้ำฝนที่ลดน้อยลงซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถใช้ทำนายการเกิดการบลูมของแมงกะพรุนได้

  8. ภาพที่3จำนวนหน่อ และ อีไฟรา ที่เกิดจากแมงกะพรุน Aurelia labiataที่นำมาเจากบริเวณทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก โพลิปและหน่อ จะถูกควบคุมด้วยปริมาณอุณหภูมิและ ความเค็มที่ต่างกันคือ อุณภูมิ 7 , 10 , 15 องศาเซียลเซียส และความเค็ม 20 , 27 , 34 ตามลำดับ ที่มา : Purcell, unpublished data

  9. ภาพที่ 4 ปริมาณชีวมวลของแมงกระพรุน Chrysaora melanaster ที่พบในทะเลเบอริง บริเวณตะวันออก เฉียงใต้ ในปี 1975 - 2000 ที่มา : Brodeur et. Al (2002)

  10. การกินอาหารตามธรรมชาติการกินอาหารตามธรรมชาติ ปรากฏการณ์ยูโทรฟิคเคชั่น(Eutrophication) ปรากฏการณ์ยูโทรฟิคเคชั่นคือ “กระบวนการเปลี่ยนแปลงระดับ ของปริมาณสารอาหาร โดยมีปริมาณสารอาหารและแหล่งของสารอาหาร เพิ่มขึ้นในมวลน้ำ ” แร่ธาตุ และปริมาณชีวมวลแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ ที่มากเกินไปจะเป็นปัจจัยสนับสนุนแมงกะพรุนให้เจริญ เติบโตได้ดีและเกิดการบลูมของแมงกะพรุนได้ ( Mills, 2001; Diaz และ Rosenberg,2008)

  11. ภาพที่ 5ความชุกชุมของแมงกะพรุน Aurelia auritaในอ่าว Tapong ประเทศใต้หวัน ตั้งแต่ปี 1999 – 2004 จากกราฟแสดงให้เห็นถึงปริมาณของแมงกะพรุน ในช่วงที่มีการ เลี้ยงปลาแบบควบคุมหนาแน่น และ หลังจากเส้นขั้นสีเทา เป็นปริมาณของแมงกะพรุน หลังจากที่เลิกการทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว ที่มา : Lo et al. ( 2008 )

  12. การจับปลาเกินกำลังผลิตการจับปลาเกินกำลังผลิต แมงกะพรุนนั้นจะกินตัวอ่อนของ แพลงก์ตอนสัตว์ โคพีพอด และตัวอ่อนของโคพีพอดเป็นอาหาร อาหารที่มันกินนั้นเป็นอาหารชนิดเดียวกันกับปลาเศรษฐกิจชนิดหลักที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ต่อมาเมื่อปลาถูกจับจนเหลือปริมาณน้อยลง ทำให้แมงกะพรุนไม่มีคู่แข่งในการแย่งอาหารชนิดเดียวกัน ทำให้อาหารของมันนั้นมีปริมาณมากขึ้น และเป็นสาเหตุให้เกิดการบลูมของแมงกะพรุนได้ (Purcell and Arai,2001 ; Richardson et al.,2009)

  13. ภาพที่6 ปริมาณของปลาทะเลที่จับได้ในทะเลจีน ระหว่างปี 1980 – 2004 ที่มา : SOA,2008

  14. ภาพที่7 แสดงจำนวนของปลาแอนโชวี่ใน Yellow Sea ในรอบปี ต่างๆ ที่มา:Zhao et al., (2003)

  15. สรุป กล่าวโดยสรุปได้ว่าการบลูมของแมงกะพรุนนั้น มักจะเกิดจากสาเหตุต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เช่น จากระดับของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลและจากการที่อุณหภูมิของโลกที่มีแน้วโน้มสูงขึ้น ปรากฏการณ์ ยูโทรฟิคเคชั่นในแหล่งน้ำ และจากการจับปลามากจนเกินกำลังผลิตในธรรมชาติ ซึ่งสาเหตุเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสภาพน้ำทะเลและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติด้วย การบลูม ของแมงกะพรุนจึงเสามารถใช้ป็นตัวชี้วัดสภาพแวดล้อม และ ระดับคุณภาพน้ำที่ต่ำลงได้

  16. ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของน้ำทะเลที่เกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิคเคชั่นและแมงกะพรุน ที่มา : Arai (2001)

  17. จบการนำเสนอ

More Related