1 / 13

ชนิดและปริมาณของเสียจากอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ เช่น ของเสียจากปู หอยนางรม

ผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ประมง. ชนิดและปริมาณของเสียจากอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ เช่น ของเสียจากปู หอยนางรม หรือหอยแมลงภู่สูงประมาณร้อยละ 80 ขณะที่ของเสียจากการผลิตทูน่าประมาณร้อยละ 30 –35 . ชนิดของเสียจากกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำ

phaedra
Download Presentation

ชนิดและปริมาณของเสียจากอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ เช่น ของเสียจากปู หอยนางรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ประมงผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์ประมง • ชนิดและปริมาณของเสียจากอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำ ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ เช่น • ของเสียจากปู หอยนางรม หรือหอยแมลงภู่สูงประมาณร้อยละ 80 • ขณะที่ของเสียจากการผลิตทูน่าประมาณร้อยละ 30 –35 ชนิดของเสียจากกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำ 1. Solid Waste ได้แก่ กระดูก เปลือกหอย หนัง เครื่องใน เป็นต้น 2. Liquid Waste ได้แก่ ของเหลวที่มาจากการล้าง หรือสารละลาย

  2. ตารางที่ 1ปริมาณของเสียในระหว่างการแปรรูปสัตว์น้ำ วัตถุดิบ ของเสีย Oyster 75-80 % Crab 70-75 % Shrimp 50-55 % Tuna 40-50 % Salmon 30-35 % ตารางที่ 2องค์ประกอบของส่วนหัวและเปลือกกุ้ง

  3. ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ • อุตสาหกรรมการแปรรูปกุ้ง: หัวกุ้ง เปลือกกุ้ง • เศษเหลือจากการแปรรูปกุ้ง มีประมาณ ร้อยละ 40-55 โดยน้ำหนัก • กุ้งก้ามกรามน้ำหนักส่วนหัวร้อยละ 60 กุ้งกุลาดำ มีน้ำหนักส่วนหัวร้อยละ 40 • นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น • -ใช้เป็นอาหารสัตว์ • - สกัด ไคติน ไคโตซาน • - สกัดสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ที่มีสีแดง ชมพู หรือสีส้ม มีคุณสมบัติเป็นสารกันหืนที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูลอิสระ ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจากไขมัน

  4. 2. การสกัดไคติน ไคโตแซน (chitin, chitosan) • ไคตินและไคโตแซน เป็นสารโคโพลิเมอร์ของกลูโ คส (copolymer) ธรรมชาติที่จัดอยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตผสม ประกอบด้วยอนุพันธ์ของน้ำตาลกลูโคส ที่มีธาตุไนโตรเจนเกาะอยู่ภายในโมเลกุล ทำให้มีสมบัติเฉพาะตัวในการเกิดปฏิกิริยากับสารหลายชนิด • ไคตินและไคโตซานเป็นส่วนประกอบของสัตว์มีเปลือก จึงสามารถสกัดออกได้จากสัตว์มีปล้อง เช่น กุ้ง ปู แกนหมึก เปลือกตัวไหม • สารละลายไคโตซาน มีคุณสมบัติเป็นแคทอิออนิกพอลิเมอร์ และมีสมบัติพิเศษในการดูดซับอิออนบวกและอิออนลบได้ จึงถูกนำมาใช้จับอิออนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบำบัดน้ำเสียในอุตสาหกรรม

  5. การนำไคตินและไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการนำไคตินและไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม 1. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ใช้เป็นส่วนประกอบของแชมพูสระผม ครีมนวดผม และครีมปรับสภาพเส้นผม เนื่องจากสารไคโตซานมีคุณสมบัติในการเคลือบ จึงเก็บความชุ่มชื้นไว้ ทำให้ผมนุ่ม นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางแต่งหน้า โลชั่นทาผิว 2. ผลิตภัณฑ์ป้องกันจุลินทรีย์ และการเจริญของศรัษตรูพืชหลายชนิด 3. ผลิตภัณฑ์อาหารควบคุมน้ำหนัก ทั้งในรูปผสมในอาหารควบคุมน้ำหนัก และในรูปอัดเม็ด 4. ใช้ในอาหารหมัก โดยเป็นตัวหุ้มและยึดเกาะสำหรับเอนไซม์และโปรตีน และเป็นตัวกลางในการจับโลหะ 5. เป็นสารเพื่อใช้สร้างและตกตะกอน ในการบำบัดน้ำเสีย โดยจับกับประจุบวกและประจุลบในน้ำเสีย เกิดเป็นตะกอนpolyelectrolyte

  6. การนำไคตินและไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการนำไคตินและไคโตซานมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม 6. ผลิตภัณฑ์ไคโตซานขึ้นรูปยึดเกาะโดยขึ้นรูปเป็นเจล นำไปใช้ในการจับเซลล์ หรืออวัยวะต่าง ๆ เพื่อนำไปศึกษารายละเอียดต่อไป 7. ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เนื่องจากมีคุณสมบัติเหนียวและรักษาความชื้นได้ดี 8. ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ พัฒนาเป็นแผ่นปิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก นอกจากนี้ยังมีการผลิตหนังเทียมจากไคโตซานและคอลาเจนจำหน่าย 9. เคมีภัณฑ์เกษตร สำหรับเคลือบเมล็ดพันธุ์ ช่วยเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชให้อยู่ได้นานกว่า ป้องกันเชื้อรา แบคทีเรีย ใช้เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ปรับสภาพดิน และใช้เคลือบผลผลิตให้เก็บได้นานกว่า

  7. 3. ผลพลอยได้จากการแปรรูปปลา 3.1 เจลาติน(gelatin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นคอลอยด์ มีองค์ประกอบ คือ คอลาเจน เมื่อนำมาผ่านกระบวนการด้วยความร้อนชื้น สามารถเปลี่ยนเป็นเจลาตินได้ • ประโยชน์ของเจลาติน • อุตสาหกรรมยา ใช้ทำแคปซูลยา ทั้งแคปซูลชนิดอ่อนและชนิดแข็ง • อุตสาหกรรมถ่ายภาพ ใช้เป็นวัสดุเคลือบฟิล์ม แผ่นกรองกระดาษพิมพ์เขียว • อุตสาหกรรมอาหาร ใช้เป็นสารให้ความคงตัวในไอศครีม (Starbilizer) ใช้เป็นสารให้ความใสในน้ำผลไม้ ไวน์ เบียร์ โดยทำปฏิกิริยากับพวกแทนนิน เพคติน และสารอื่นที่ทำให้เกิดความขุ่น

  8. ขั้นตอนการสกัดเจลาตินมีดังนี้ หัว กระดูก ก้างปลา ล้างด้วยน้ำไหล 3-4 ชั่วโมง หมักในสารละลายด่าง 0.5 % 6-8 ชั่วโมง 2-3 ครั้งล้างด้วยน้ำไหล 3-4 ชั่วโมง หมักในสารละลายกรด 0.5 % (H2SO4) 2-3 ครั้ง ล้างด้วยน้ำไหล 3-4 ชั่วโมง ต้มน้ำ อัตราส่วน 1: 2 80 ซ เจลาติน

  9. 3.2 การทำกาว (liquid fish glue) • ส่วนของปลาที่นำมาทำกาว ได้แก่ หนัง กระดูก และเศษเหลือของปลา หนังปลาที่นิยมนำมาผลิตกาว ได้แก่ ปลา คอด อลาสกาพอลลอค แฮดดอก และฉลามสามารถใช้ได้ทั้งหนังปลาสดและหนังปลาที่ผ่านการดองเกลือมาแล้ว หนังปลา ล้างด้วยด่าง 0.2 % NaOH,KOH ล้างด้วยกรด 0.2 % HCl เพื่อกำจัด โปรตีนที่ไม่ต้องการออก ล้างด้วยน้ำเย็น ต้มกับน้ำ (1:1) 8 ชั่วโมง เติม CH3COOH เพื่อให้กาวใส กรอง Liquid Fish Glue

  10. ประโยชน์ของกาวจากปลา • ใช้เป็นกาวติดแสตมป์ • ใช้ในอุตสาหกรรมถ่ายภาพ • ใช้ในการทำแม่พิมพ์โลหะ

  11. 3.3 Fish meal ปลาป่น และFish oil น้ำมันปลา • ประเทศที่ผลิตน้ำมันปลา ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในแถบแสกนดิเนเวีย ชิลี เปรู • สหรัฐอเมริกาประเทศที่ผลิตปลาป่นมาก ได้แก่ ชิลี เปรู ญี่ปุ่น และประเทศในแถบ • แสกนดิเนเวีย • วัตถุดิที่ใช้ในการผลิตน้ำมันปลาและปลาป่น ได้แก่ ปลาAnchovy (อเมริกาใต้) • Menhaden(สหัฐอเมริกา และคานาดา) Sardine(ญี่ปุ่น), Tuna(ไทย และ • ออสเตรเลีย) • วัตถุในการผลิตน้ำมันปลา: ปลาเป็ด เศษเหลือจากโรงงานแปรรูป เช่น • เศษเหลือจากโรงงานทูน่า ปลาที่ได้จากการจับโดยตรง

  12. การใช้ประโยชน์จากน้ำมันปลาการใช้ประโยชน์จากน้ำมันปลา • การเคลือบเงาและเคลือบสีต่าง ๆ • 2. การฟอกหนัง ทำให้หนังมีความนุ่ม ยืดหยุ่น • 3. ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันหล่อลื่น ในอุตสาหกรรมอาหาร • 4. ใช้เป็นส่วนผสมในยางลบ • 5. วัสดุเคลือบเงา • 6. วัสดุกันสนิม • 7. ส่วนประกอบในการทำหนังเทียม • 8. ทำยาฆ่าแมลงไม่ตกค้าง ไม่ซึมน้ำ กันเชื้อราและแมลงในผลไม้ • 9. ใช้ทำเชื้อเพลิง เช่น เทียนไข • 10. ใช้เป็นส่วนผสมในเหยื่อตกปลา • 11.ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ เป็นอาหารของมนุษย์

  13. 3.4 Isinglass • ทำจากกระเพาะลมปลา sturgeon ชั้นนอกซึ่งหนาและมีขุยมาก ประกอบด้วย collgen ปริมาณสูง นำไปทำ gelatin คุณภาพสูง ส่วนกระเพาะลมชั้นใน ประกอบด้วย gaunin เป็นสารให้ความวาว ผลิตมากที่รัสเซีย บราซิล ฟิลิปปินส์ • ประโยชน์ของกระเพาะลม เป็นสารทำให้ใส ในไวน์ เบียร์ น้ำผลไม้ ใช้เป็นส่วนผสมของสารเพิ่มความเหนียวและความเงางามให้กับเส้นไหม

More Related