1 / 61

การเขียนหนังสือราชการ

การเขียนหนังสือราชการ. การเขียนจดหมาย.

Download Presentation

การเขียนหนังสือราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนหนังสือราชการการเขียนหนังสือราชการ

  2. การเขียนจดหมาย • “จดหมาย”เป็นการติดต่อสื่อสารด้วยการเขียนที่ในปัจจุบันยังคงได้รับความนิยม โดยเฉพาะการติดต่อกิจธุระระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเขียนจดหมายสามารถทำให้ผู้รับจดหมายได้รับข้อความที่มีความสมบูรณ์ชัดเจนทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน อีกทั้งจดหมายยังสามารถใช้เป็นหลักฐานของการติดต่อระหว่างกันได้ นอกจากนี้จดหมายในบางรูปแบบยังสามารถสร้างความรู้สึกที่ดีระหว่างกันได้อีกด้วย • จดหมายที่ใช้เพื่อติดต่อกิจธุระต่างๆ ระหว่างหน่วยงาน แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือจดหมายราชการ(หนังสือราชการ) และจดหมายธุรกิจ

  3. หนังสือราชการ หนังสือราชการ หนังสือราชการ หมายถึงเอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ ๑. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ ๒. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มี ไปถึงบุคคลภายนอก ๓. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึง ส่วนราชการ ๔. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ ๕. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับ

  4. ความสำคัญของหนังสือราชการความสำคัญของหนังสือราชการ • เป็นเอกสารหลักฐานสำคัญในการติดต่อราชการ • ใช้อ้างอิงได้ตามกฎหมาย • เป็นเครื่องมือช่วยให้การบริหารราชการบรรลุ ผลสำเร็จ

  5. หนังสือราชการ หนังสือราชการจึงเป็นเอกสารทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับทางราชการ จะเป็นทางราชการจัดทำขึ้นหรือหน่วยงานหรือบุคคลอื่นจัดทำขึ้น แล้วมีไปถึง ส่วนราชการก็ได้ หนังสือราชการมี ๖ ชนิด คือ ๑. หนังสือภายนอก ๒. หนังสือภายใน ๓. หนังสือประทับตรา ๔. หนังสือสั่งการ ๕. หนังสือประชาสัมพันธ์ ๖. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานทางราชการ

  6. ชนิดของหนังสือราชการ หนังสือภายนอก ๑. ชนิดของหนังสือราชการ ๑.๑ หนังสือภายนอก หนังสือภายนอก คือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษ ตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงาน อื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีถึงบุคคลภายนอก

  7. รูปแบบการเขียนหนังสือภายนอกรูปแบบการเขียนหนังสือภายนอก

  8. (ชั้นความลับ) (ชั้นความเร็ว) ที่................. (ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ) (วัน เดือน ปี) เรื่อง.............. (คำขึ้นต้น/เรียน) อ้างถึง (ถ้ามี)...................... สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)...................... (ข้อความ).......................................................................................... ......................................................................................................................... (คำลงท้าย)..................... (ลงชื่อ)......................... (พิมพ์ชื่อเต็ม).............. (ตำแหน่ง).................... (ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง) โทร.................... โทรสาร................ สำเนาส่ง (ถ้ามี) (ชั้นความลับ)

  9. รายละเอียดการเขียนหนังสือภายนอกรายละเอียดการเขียนหนังสือภายนอก การเขียนหนังสือภายนอกมีรายละเอียดดังนี้ ๑) ที่ หมายถึง เลขลำดับของหนังสือ เขียนที่มุมบนซ้ายว่า“ที่” ใช้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง ทับ(/)เลขทะเบียนหนังสือส่งออกภายในปี พ.ศ.นั้น รหัสตัวพยัญชนะ เลขประจำของเจ้าของเรื่อง/เลขทะเบียนหนังสือส่งออกภายในปี พ.ศ.นั้น ตัวอย่าง ที่ ศธ ๐๕๑๖.๑๗ / ๑๒๒

  10. รหัสตัวพยัญชนะ เลขประจำของเจ้าของเรื่อง/เลขทะเบียนหนังสือส่งออกภายในปี พ.ศ.นั้น รหัสตัวพยัญชนะ มีจำนวน ๒ ตัว ใช้แทนชื่อกระทรวง ทบวงหรือส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง หรือใช้แทนจังหวัด ตัวอย่าง สำนักนายกรัฐมนตรีใช้รหัสตัวพยัญชนะนร กระทรวงกลาโหม ใช้รหัสตัวพยัญชนะกห กระทรวงการคลังใช้รหัสตัวพยัญชนะกค สำนักพระราชวังใช้รหัสตัวพยัญชนะพว กรุงเทพมหานคร ใช้รหัสตัวพยัญชนะกท จังหวัดเชียงใหม่ใช้รหัสตัวพยัญชนะชม

  11. รหัสตัวพยัญชนะ เลขประจำของเจ้าของเรื่อง/เลขทะเบียนหนังสือส่งออกภายในปี พ.ศ.นั้น เลขประจำของเจ้าของเรื่อง ประกอบด้วยเลข ๔ ตัว ดังนี้ เลขสองตัวแรก หมายถึงส่วนราชการระดับกรม โดยเริ่มจาก ๐๑ เรียงไป ตามลำดับส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เลขสองตัวหลัง หมายถึงกอง โดยเริ่มจาก ๐๑ เรียงไปตามลำดับส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ การกำหนดเลขประจำตัวเจ้าของเรื่อง หน่วยงานราชการจะเป็นผู้กำหนดเอง

  12. ตัวอย่างรูปแบบ “ที่” ตัวอย่าง ที่ ศธ ๐๕๑๖.๑๗ / ๑๒๒ ศธ หมายถึงกระทรวงศึกษาธิการ ๐๕หมายถึงสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๑๖หมายถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .๑๗ หมายถึง คณะศิลปศาสตร์ ๑๒๒หมายถึงเลขทะเบียนลำดับที่ของหนังสือส่งออก หมายเหตุ หน่วยงานเอกชนหรือหน่วยงานทั่วไปที่ไม่ได้สังกัดราชการ ให้ใช้รูปแบบดังนี้ อักษรย่อเจ้าของเรื่อง. เลขทะเบียนหนังสือ / พ.ศ. ตัวอย่าง ที่ อมธ. ๙๘/๒๕๔๙ อมธ.หมายถึง องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๙๘/ ๒๕๔๙ หมายถึง ลำดับเลขทะเบียนหนังสือที่ออกในพ.ศ.๒๕๔๙

  13. ส่วนราชการเจ้าของหนังสือส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ๒) ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการ หรือคณะกรรมการซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วย

  14. วัน เดือน ปี + เรื่อง ๓) วัน เดือน ปีให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ เช่น ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ๔) เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น (ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปรกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม) ดังตัวอย่าง เรื่อง ขอใช้สถานที่จัดสัมมนา เรื่อง ขออนุมัติจัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง ขอเชิญเป็นวิทยากร เรื่อง ขอความร่วมมือประหยัดพลังงาน

  15. คำขึ้นต้น ๕) คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือ (ดูตารางการใช้คำขึ้นต้นสรรพนามและคำลงท้ายในหนังสือราชการและคำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง) แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีไปถึงหรือชื่อบุคคลในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตำแหน่งหรือชื่อบุคคล ตัวอย่าง กราบเรียน ประธานศาลฎีกา เรียน อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียน นายเสมอชาติ มีศานติ

  16. อ้างถึง ๖) อ้างถึง (ถ้ามี) จะใช้เมื่ออ้างถึงหนังสือที่เคยติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้ว จะเป็นส่วนราชการใดก็ตามให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ วันที่ เดือน ปี พ.ศ.ของหนังสือนี้ อ้างถึง ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ วันที่ เดือน ปีพ.ศ.ของหนังสือ ตัวอย่าง อ้างถึง หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค ๐๕๐๓ /................ ลงวันที่ ................................ การอ้างถึงให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียงฉบับเดียวเว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงอ้างถึงหนังสือฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น โดยเฉพาะให้ทราบด้วย

  17. สิ่งที่ส่งมาด้วย ๗) สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี) ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร (หนังสือราชการ) สิ่งที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้นในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด การลงรายการสิ่งที่ส่งมาด้วยควรลงจำนวนชุดหรือแผ่นให้ชัดเจนหากมีหลายรายการควรแสดงหมายเลขกำกับและหลังหมายเลขต้องมีเครื่องหมายมหัพภาค(.) ด้วย ตัวอย่าง สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. เอกสารประกอบการสัมมนา จำนวน ๑ ชุด ๒.ใบตอบรับการเข้าร่วมการสัมมนา จำนวน ๑ ชุด สิ่งที่ส่งมาด้วยเอกสารประกอบการสัมมนา จำนวน ๑ ชุด สิ่งที่ส่งมาด้วย เอกสารประกอบการสัมมนา จำนวน ๕๐ ชุด (ส่งทางพัสดุไปรษณีย์)

  18. ข้อความ + คำลงท้าย ๘) ข้อความให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อๆ ๙) คำลงท้าย ให้ลงตามฐานะของผู้รับหนังสือ (ดูตารางการใช้คำขึ้นต้นสรรพนามและคำลงท้ายในหนังสือราชการและคำที่ใช้ในการจ่าหน้าซอง) ตัวอย่าง ขอแสดงความนับถือ ใช้ลงท้ายถึงบุคคลที่มีคำขึ้นต้นว่า “เรียน” ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ใช้ลงท้ายถึงบุคคลที่มีคำขึ้นต้นจดหมายว่า “กราบเรียน” ขอนมัสการด้วยความเคารพ ใช้ลงท้ายหนังสือถึงพระภิกษุทั่วไป

  19. ส่วนสำคัญของข้อความ + คำลงท้าย เหตุ 1. 2. วัตถุประสงค์ 15

  20. ส่วนสำคัญข้อความ มี 2 ส่วน 1. ติดต่อครั้งแรกอ้างถึง ด้วย............... ตาม......... นั้น เนื่องด้วย....... ตามที่....... นั้น เนื่องจาก....... อนุสนธิ..... นั้น ตาม....ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น เหตุ ความสืบเนื่องจากที่อ้าง บัดนี้ ชื่อส่วนราชการ ในการนี้

  21. วัตถุประสงค์ 2. จึง............................ “จึงเรียนมาเพื่อทราบ/โปรดทราบ” “จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา”....... “จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ” “จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาสั่งการ” “จึงเรียนมาเพื่อขอได้โปรดพิจารณาดำเนินการ โดยด่วน”(ภายในวันที่............) ฯลฯ

  22. ความประสงค์และข้อตกลงความประสงค์และข้อตกลง หนังสือภายนอก

  23. ลงชื่อ ๑๐)ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อให้ใช้คำว่า นาย นาง นางสาว บรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ หรือเป็นสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ท่านผู้หญิง คุณหรือคุณหญิง) รวมทั้งผู้มียศหรือตำแหน่งทางวิชาการนำหน้าชื่อเต็มตามสมควรแก่กรณี ตัวอย่าง ลายมือชื่อ (นายเสมอชาติ มีศานติ) ในกรณีเจ้าของลายมือชื่อมียศที่ต้องใช้ยศประกอบชื่อ ให้พิมพ์คำเต็มของยศไว้หน้าลายมือชื่อและพิมพ์ชื่อเต็มไว้ใต้ลายมือชื่อ ตัวอย่าง พลตำรวจเอก .....ลายมือชื่อ...... (ชื่อ นามสกุล)

  24. ตำแหน่ง ๑๑) ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ ในกรณีที่มีการลงชื่อแทน ให้ใช้คำว่าปฏิบัติหน้าที่แทน รักษาราชการแทน รักษาการแทน ปฏิบัติราชการแทน รักษาการในตำแหน่งหรือทำการแทน แล้วแต่กรณี

  25. ส่วนราชการเจ้าของเรื่องส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ๑๒) ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกระทรวงหรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมลงมา ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบพร้อมกับให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานที่ออกหนังสือไว้ด้วย ตัวอย่าง สำนักงานเลขานุการคณะฯ โทร./โทรสาร ๐ – ๒๖๒๓ – ๕๐๙๗

  26. สำเนาส่ง ๑๓) สำเนาส่ง (ถ้ามี)ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาส่งไปให้ส่วนราชการหรือบุคคลอื่นทราบ และประสงค์จะให้ผู้รับทราบว่าได้มีสำเนาส่งไปให้ผู้ใดแล้ว ให้พิมพ์ชื่อเต็มหรือชื่อย่อของส่วนราชการหรือชื่อบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้เพื่อให้เป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หากมีรายชื่อที่ส่งมากให้พิมพ์ว่าส่งไปตามรายชื่อที่แนบและแนบรายชื่อไปด้วย

  27. ชั้นความลับ ชั้นความเร็ว *อนึ่ง ในหนังสือราชการอาจจะมีการกำหนดชั้นความลับ อันเป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเอกสาร สิ่งที่เป็นความลับนั้นจะให้รู้เฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยชั้นความลับนั้นแบ่งออกเป็น ๔ ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก ลับ และ ปกปิด ส่วนชั้นความเร็วมี ๓ ชั้นคือ ด่วนที่สุด ด่วนมาก และด่วน สำหรับหนังสือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการนั้นจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับหนังสือภายนอก เพียงแต่ไม่ใช้กระดาษตราครุฑ

  28. ที่ นร 0613/0251 สำนักงาน ก.พ. ถนนพิษณุโลก กทม. 10300 9 มกราคม 2546 เรื่อง ขอเชิญส่งข้าราชการเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรงานสารบรรณ เรียน อธิบดีกรมสรรพสามิต ด้วยสำนักงาน ก.พ. จะจัดการฝึกอบรมหลักสูตรงานสารบรรณ สำหรับเจ้าหน้าที่ธุรการระดับปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 17-20 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 9.00 - 16.00 น. ณ ห้อง 3210 อาคารสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จังหวัดนนทบุรี จึงเรียนมาเพื่อขอได้โปรดส่งเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 3 ราย เข้ารับการฝึกอบรมตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าวด้วย จะขอบคุณยิ่ง ขอแสดงความนับถือ เลขาธิการ ก.พ. สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน โทร.0-2547-1051 โทรสาร 0-2526-6546 18

  29. ด่วนมาก ที่ กค 0708/0456 กรมสรรพสามิต ถนนนครชัยศรี กทม. 10300 20 มกราคม 2546 เรื่อง ขอส่งข้าราชการเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรงานสารบรรณ เรียน เลขาธิการ ก.พ. อ้างถึง หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0613/0251 ลงวันที่ 9 มกราคม 2546 ตามที่สำนักงาน ก.พ. จะจัดการฝึกอบรมหลักสูตรงานสารบรรณ สำหรับเจ้าหน้าที่ธุรการระดับปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 17-20 กุมภาพันธ์ 2546 นั้น กรมสรรพสามิตขอส่ง นางสาวสมคิด จิตขยัน นายสมาน รักศักดิ์ และนางนภา นภากาศ เจ้าหน้าที่ธุรการ 3 เข้ารับการฝึกอบรมดังกล่าว จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ ( ) อธิบดีกรมสรรพสามิต กองการเจ้าหน้าที่ โทร.0-2241-4769 โทรสาร 0-2243-6241 19

  30. หนังสือภายใน หนังสือภายใน ๑.๒ หนังสือภายใน หนังสือภายใน คือหนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง หรือจังหวัดเดียวกัน กำหนดให้ใช้เฉพาะกระดาษบันทึกข้อความเพื่อให้เห็นความแตกต่างกับหนังสือภายนอก หนังสือภายในไม่ต้องลงที่ตั้งไม่มีส่วนอ้างถึง (หากมีการอ้างถึงจะใช้วิธีเขียนเท้าความในส่วนตอนต้นของข้อความว่าอ้างถึงหนังสือฉบับใด)ไม่มีส่วนสิ่งที่ส่งมาด้วย และไม่มีคำลงท้าย

  31. แบบหนังสือภายใน

  32. แบบหนังสือภายใน บันทึกข้อความ ส่วนราชการ........................................................................................ ที่.................................................. วันที่............................................. เรื่อง................................................................................................... (คำขึ้นต้น/เรียน).......................................... (ข้อความ)...................................................................................... ................................................................................................................... ................................................................................................................... .................................................................................................................. (ลงชื่อ)..................... (พิมพ์ชื่อเต็ม)........ (ตำแหน่ง)..............

  33. ความประสงค์และข้อตกลงความประสงค์และข้อตกลง หนังสือภายใน

  34. ตัวอย่างการเขียนหนังสือภายในตัวอย่างการเขียนหนังสือภายใน

  35. ใช้กระดาษบันทึกข้อความใช้กระดาษบันทึกข้อความ ไป-มาในเรื่องราชการ ติดต่อกับบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง/หน่วย สภาพของหนังสือไม่ผูกมัด เปลี่ยนแปลงได้ ใช้บันทึกแทน คำขึ้นต้นใช้ เรื่อง เรียน/เสนอ สรรพนามใช้ผม กระผม ดิฉัน ท่าน พณฯ เกล้ากระผม ชื่อของหน่วย คำลงท้ายไม่มี ใช้คำย่อของตำแหน่งหรือส่วนงาน วัน เดือน ปี ใช้กระดาษตราครุฑ ไป-มา เป็นทางราชการ ติดต่อ ตำแหน่ง-ตำแหน่งหรือหน่วย-หน่วย สภาพของหนังสือผูกมัดถาวร รูปแบบหนังสือเป็นแบบลงนาม หรือแบบ ประทับตรา คำขึ้นต้นประกอบด้วย เรื่อง เรียน อ้างถึง สิ่งทื่ส่งมาด้วย คำลงท้ายใช้ ขอแสดงความนับถือ หรือ อื่นๆแล้วแต่กรณี ใช้คำเต็มทั้งชื่อ ส่วนราชการ วัน เดือน ปี ความแตกต่างระหว่างหนังสือภายนอกกับหนังสือภายใน หนังสือภายใน หนังสือภายนอก

  36. หนังสือประทับตรา ๑.๓หนังสือประทับตรา หนังสือประทับตรา คือหนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วน ราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา หนังสือประทับตราให้ใช้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่าง ส่วนราชการกับบุคคลภายนอกเฉพาะเรื่องที่ไม่ใช่กรณีสำคัญ ได้แก่ ๑. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม ๒. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร ๓. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน ๔. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ ๕. การเตือนเรื่องที่ค้าง ๖. เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่งให้ใช้ หนังสือประทับตรา

  37. หนังสือประทับตรา

  38. ตัวอย่างหนังสือประทับตราตัวอย่างหนังสือประทับตรา

  39. หนังสือสั่งการ ๑.๔หนังสือสั่งการ หนังสือสั่งการมี ๓ ชนิด ได้แก่ ๑.๔.๑ คำสั่งคือบรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ ๑.๔.๒ ระเบียบคือบรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ ๑.๔.๓ ข้อบังคับคือบรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจกำหนดให้ใช้ โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ

  40. แบบหนังสือสั่งการ (คำสั่ง)

  41. แบบหนังสือสั่งการ (ระเบียบ)

  42. แบบหนังสือสั่งการ (ข้อบังคับ)

  43. หนังสือประชาสัมพันธ์ ๑.๕หนังสือประชาสัมพันธ์ หนังสือประชาสัมพันธ์มี ๓ ชนิด ได้แก่ ๑.๕.๑ ประกาศ คือบรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ ๑.๕.๒ แถลงการณ์คือบรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วไป ใช้กระดาษตราครุฑ ๑.๕.๓ ข่าว คือบรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ

  44. แบบหนังสือประชาสัมพันธ์แบบหนังสือประชาสัมพันธ์ (ประกาศ)

  45. แบบหนังสือประชาสัมพันธ์แบบหนังสือประชาสัมพันธ์ (แถลงการณ์)

  46. แบบหนังสือประชาสัมพันธ์แบบหนังสือประชาสัมพันธ์ (ข่าว)

  47. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ๑.๖ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ คือหนังสือที่ราชการทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ มี ๔ ชนิด คือ

  48. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการหนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ๑.๖.๑ หนังสือรับรองคือหนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่ จำเพาะเจาะจง ให้ใช้กระดาษตราครุฑ ๑.๖.๒ รายงานการประชุม คือการบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ๑.๖.๓ บันทึกคือข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปรกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

  49. แบบหนังสือที่เจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นแบบหนังสือที่เจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้น (หนังสือรับรอง)

  50. แบบหนังสือที่เจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นแบบหนังสือที่เจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้น (รายงานการประชุม)

More Related