1 / 10

ความแตกต่างของเถรวาทและมหายานอย่างน้อย 10 ประเด็น ( ข้อแตกต่างบางประการ )

ความแตกต่างของเถรวาทและมหายานอย่างน้อย 10 ประเด็น ( ข้อแตกต่างบางประการ ). เสนอ อาจารย์สมบูรณ์ วัฒนะ จัดทำโดย นางสาวบูรลิน บุญฤทธิโรจน์ 5270347. ระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน

phillip
Download Presentation

ความแตกต่างของเถรวาทและมหายานอย่างน้อย 10 ประเด็น ( ข้อแตกต่างบางประการ )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความแตกต่างของเถรวาทและมหายานอย่างน้อย 10 ประเด็น(ข้อแตกต่างบางประการ) เสนอ อาจารย์สมบูรณ์ วัฒนะ จัดทำโดย นางสาวบูรลิน บุญฤทธิโรจน์ 5270347

  2. ระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายานระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน พระพุทธศาสนามี  2 นิกายใหญ่เรียกว่าเถรวาทและมหายานตามลำดับการแตกแยกของสงฆ์เริ่มขึ้นเกือบทันทีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และการแตกแยกของพระสงฆ์เป็น 2 นิกายอย่างชัดเจนปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 1 ศตวรรษหลังพุทธปรินิพพาน การแตกแยกเริ่มเกิดเมื่อพระสงฆ์ 2 ฝ่ายมีทัศนะต่างกันในเรื่องเกี่ยวกับพระวินัยบัญญัติบางประเด็น ต่อมาไม่ช้าการตีความพระธรรมต่างกันก็ติดตามมา พอถึงพุทธศตวรรษที่ 3 หลังพุทธกาล ก็เกิดมีสำนักทางความคิดแล้วถึง 18 สำนัก พระพุทธศาสนาแบบมหายานแท้ๆนั้นเริ่มเกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่  6 หลังพุทธกาล เมื่อเกิดมีพระสูตรมหายานขึ้นหลายสูตร ความแตกต่างสำคัญระหว่างนิกายทั้ง 2 มีดังต่อไปนี้

  3. 1. พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้ชื่อเช่นนั้นเพราะยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งที่ประชุมใหญ่ของพระมหาเถระผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าช่วยกันรวบรวมแจกแจงจัดหมวดหมู่ยอมรับกันและท่องจำไว้ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นหลังพุทธปรินิพพานเพียง 3 เดือน พระพุทธศาสนามหายานบางทีเรียกว่า อาจริยวาท หรือลัทธินิยมของพระอาจารย์รุ่นหลังชาวเถรวาทเชื่อว่าพระสูตรมหายานถูกสร้างขึ้นมาแล้วก็เอาใส่พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าโดยพระนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึงที่ 5 2. พระพุทธศาสนาเถรวาทได้รับการตั้งชื่อโดยชาวมหายานว่า หินยาน หมายถึง ยานน้อย คับแคบและต่ำทราม เพราะพระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นความสำคัญของการหลุดพ้นจากสังสาระ (การเวียนว่ายตายเกิด)ของบุคคลแต่ละคนก่อนสิ่งใด พระพุทธศาสนามหายานนั้น ชาวมหายานเรียกตัวเองเช่นนั้น เพราะชาวมหายานมุ่งเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อที่จะช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ได้ทีละมาก ๆ

  4. 3. พระพุทธศาสนาเถรวาทบางทีก็เรียกว่า สาวกยาน หรือ ยานของพระสาวก เพราะว่าชาวเถรวาทมุ่งเป็นเพียงสาวกของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนามหายานเรียกว่า โพธิสัตวยาน (ยานของพระโพธิสัตว์)เพราะว่าชาวมหายานมุ่งต่อการเป็นพระโพธิสัตว์ ที่จะช่วยนำสัตว์อื่นๆให้บรรลุถึงพระนิพพานก่อน ส่วนตนเองจะเป็นคนสุดท้ายที่จะเข้าสู่นิพพาน 4.พระพุทธศาสนาเถรวาทบางทีเรียกว่า นิกายฝ่ายใต้(ทักษิณนิกาย) เพราะแผ่ขยายจากอินเดียไปสู่ภาคใต้ของเอเชีย และทุกวันนี้มีอยู่ในประเทศแถบใต้ของเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา พระพุทธศาสนามหายานเรียกว่านิกายฝ่ายเหนือ เพราะจะพบได้ในประเทศแถบเหนือของเอเชียเช่น มองโกเลียทิเบตเกาหลีญี่ปุ่น

  5. 5. พระพุทธศาสนาเถรวาทยึดถือพระไตรปิฎกว่าเป็นที่มาที่แท้จริงและขั้นสุดท้ายของคำสั่งสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า และมองว่าพระสูตรมหายานเป็นงานที่สร้างขึ้นภายหลัง พระพุทธศาสนามหายานถือว่าพระสูตรมหายานต่างๆเช่นปรัชญาปารมิตาสูตรสัทธรรมปุณฑริกสูตร อวตังสกสูตร ฯลฯ เป็นคำสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้และนำสืบต่อกันมาโดยทางลัทธินิยมสายอื่น 6. พระพุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาถิ่นภาษาหนึ่งแห่งภาษาโบราณของอินเดียโบราณเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์และเป็นภาษาสากลของตน พระพุทธศาสนามหายาน ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจารึกพระคัมภีร์ก่อนที่คัมภีร์ทั้งหมดจะถูกแปลเป็นภาษาจีนและภาษาถิ่นอื่นๆ

  6. 7. พระพุทธศาสนาเถรวาทเคารพบูชาพระโคตะมะพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เคารพบูชาสูงสุดแม้ว่าพระองค์จะเสด็จสู่นิพพานมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม พระพุทธศาสนามหายานเคารพบูชาพระโพธิสัตว์ต่างๆ ซึ่งคนเชื่อว่ายังมีพระชนม์อยู่และท่องเที่ยวไปในโลกเพื่อช่วยเหลือใครๆก็ตามที่ต้องการช่วยเหลือและสวดมนต์ขอให้ท่านมาช่วย 8. พระพุทธศาสนาเถรวาท เชื่อว่าพระพุทธเจ้าโคตะมะได้เข้าถึงนิพพานแล้ว จึงเสด็จไปแล้วอย่างสิ้นเชิงไม่สามารถจะกลับมาช่วยใครได้ชาวพุทธได้แต่เคารพบูชาพระองค์ในฐานะเป็นครูและเป็นผู้ก่อตั้งในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนาเท่านั้น พระพุทธศาสนามหายาน เชื่อว่าพระศากยะมุนีพุทธเจ้าเป็นเพียงการปรากฏตัวครั้งหนึ่ง เพื่อประกอบภารกิจในการสอนคนเฉพาะคราว ของธาตุพุทธะอันเป็นอมตะเรียกว่าธรรมกาย

  7. 9. พระพุทธศาสนาเถรวาทมีทัศนะคติแบบอนุรักษ์นิยมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่รวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกได้รับความเชื่อถือว่าเป็นความจริงขั้นสุดท้ายแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตีความใหม่ใดๆ เพราะฉะนั้น จึงมีเอกภาพค่อนข้างสูงและหยุดนิ่ง พระพุทธศาสนามหายานมีลักษณะเปิดกว้างมีเสรีภาพในการตีความหลักคำสอนต่างๆ ท่าทีใจกว้างแบบนี้ประกอบกับการไม่มีศูนย์อำนาจกลางมาควบคุม ได้เปิดโอกาสให้มีการตีความคำสอนใหม่และเกิดมีนิกายและอนุนิกายขึ้นมามากมาย ดังนั้นพระพุทธศาสนามหายานจึงเจริญเติบโตและแตกแยกออกไปเรื่อยๆ 10. พระพุทธศาสนาเถรวาทมีลักษณะเป็นปฏิบัตินิยมมีการวางหลักปฏิบัติที่ชัดเจนและปฏิบัติได้ไว้เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน พระพุทธศาสนามหายานมีลักษณะคิดเก็งความจริงค้นหาเหตุผลและเป็นปรัชญามากกว่า ชอบเสนอเหตุผลที่เป็นนามธรรมเพื่อสนับสนุนหรือค้านความเป็นจริงทางอภิปรัชญาต่างๆเช่น ธรรมชาติของพระพุทธจิตดั้งเดิมแท้จริง สุญญตา เป็นต้น

  8. 11. พระพุทธศาสนาเถรวาทส่งเสริมให้ดำเนินตามมรรคไปตามลำดับขั้น ตามปกติเริ่มต้นด้วยการมีความเชื่อ ในพระรัตนตรัย(ศรัทธา)งดเว้นจากการกระทำชั่วที่เป็นพิษเป็นภัย (ศีล)กระทำความดีด้วยการให้ (ทาน)สร้างความรักความปรารถนาดี ในสัตว์ทั้งปวง(เมตตา)สร้างความสงสารเห็นใจ (กรุณา)ความพลอยยินดีในผลสำเร็จของผู้อื่น (มุทิตา)และการวางตัวเป็นกลาง(อุเบกขา)ปฏิบัติสมถะภาวนา (สมาธิ)และการพัฒนาปัญญาเพื่อรู้แจ้งในความจริงแท้ของสิ่งทั้งปวง (ปัญญา) พระพุทธศาสนามหายาน มิได้กำหนดทางดำเนินที่แน่นอนเพียงหนึ่งเดียวแก่ศาสนิกชนทั้งปวง แต่ละคนมีอิสระที่จะยึดถือขั้นใดขั้นหนึ่งที่ตนชอบหรือที่เหมาะกับภูมิหลังทางศักยภาพหรือความถนัดของตน ตัวอย่างเช่นนิกายสุขาวดี อาจจะเน้นศรัทธา ส่วนนิกายเซ็นอาจเน้นวิชชุญาณและการตรัสรู้แบบฉับพลัน

  9. 12. พระพุทธศาสนาเถรวาทสอนให้พระคงรักษาศีล 227 ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เมื่อเกือบ 2,600 ปีมาแล้ว พระภิกษุมหายานได้ยกเลิกพระวินัยมากมายหลายข้อ คงรักษาไว้เฉพาะบางข้อที่ปฏิบัติได้เหมาะสมกับสภาพทางสังคมและดินฟ้าอากาศของตนเท่านั้น 13. พระพุทธศาสนาเถรวาท ไม่บังคับให้พระฉันอาหารมังสวิรัติพระส่วนมากจึงยังฉันเนื้อสัตว์ถ้าเนื้อนั้นประกอบด้วยองค์ 3 ประการ คือ พระไม่ได้เห็นเขาฆ่าพระไม่ได้ยินเสียงเขาฆ่าพระไม่รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อตนโดยเฉพาะ พระฝ่ายมหายานเป็นนักมังสวิรัติที่เคร่งครัด นอกจากพระวินัยสงฆ์ทั่วๆไปแล้ว พระมหายานยังต้องรักษาศีลของพระโพธิสัตว์อีกจำนวนหนึ่งด้วยรวมทั้งข้อที่ให้เจริญมหากรุณาด้วย คือไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

  10. วั ส ดี

More Related