1 / 85

แนวทางการบริหารจัดการและการจัด การเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป

แนวทางการบริหารจัดการและการจัด การเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป. โดย. รองศาสตราจารย์สุภาพ ณ นคร ผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วันที่ 17 เมษายน 2551. GE. สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น. K H O N K A E N UNIV.

pink
Download Presentation

แนวทางการบริหารจัดการและการจัด การเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปแนวทางการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป โดย รองศาสตราจารย์สุภาพ ณ นคร ผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 17 เมษายน 2551 GE. สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. K H O N K A E N UNIV. กลยุทธ์การพัฒนาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เชื่อมโยงกับรายวิชาศึกษาทั่วไป

  3. K H O N K A E N UNIV. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 มาตรา 81“รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนเอกชนจัดการศึกษาอบรมเพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม” พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวด 1 มาตรา 6“การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและ วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวด 4 มาตรา 24(4)“จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชา” คิดเป็น ทำเป็น + คิดดี ทำดี กรอบทิศทางการผลิตบัณฑิต

  4. K H O N K A E N UNIV. คุณภาพและขีดความสามารถของบัณฑิตไทย* • ต้องมีองค์ความรู้ในวิชาชีพของตนที่มีความลุ่มลึกเพียงพอที่เริ่มปฏิบัติงานระดับมืออาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ • ต้องมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาตนเอง และความเป็นเลิศในวิชาชีพ • ต้องเป็นนักแก้ปัญหาที่สามารถประยุกต์ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงเหตุผลและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน • ต้องมีทักษะการจัดการที่สามารถปฏิบัติงานด้วยตนเองโดยอิสระ และปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ • ต้องสามารถติดต่อสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานวิชาชีพและการสื่อสารกับประชาคมโลก • ต้องสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้ในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาความรู้ด้วยตนเอง • ต้องมีทักษะและทัศนคติที่เป็นสากล สามารถปฏิบัติงานในวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพในประชาคมโลก • ต้องยึดมั่นในหลักคุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม *กลยุทธ์การพัฒนาอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย

  5. K H O N K A E N UNIV. บทบาทของสถาบันอุดมศึกษา • คุณภาพและขีดความสามารถของบัณฑิตไทยดังกล่าว ถือว่าเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งต้องวางแผนและจัดกระบวนการเรียนการสอนให้บังเกิดผลที่ตัวของบัณฑิต สถาบันอุดมศึกษาควรศึกษาวิเคราะห์ แล้วจัดทำคำอธิบายพร้อมดัชนีวัดคุณภาพดังกล่าว เพื่อพัฒนายกระดับขีดความสามารถให้สูงขึ้นต่อไป

  6. K H O N K A E N UNIV. การผลิตบัณฑิต กิจกรรมพัฒนานักศึกษา หลักสูตร (เนื้อหา) การจัดการเรียนการสอน บัณฑิต มข. ที่พึงประสงค์ นักศึกษา อาจารย์ สิ่งสนับสนุนการศึกษา การบริหารจัดการ

  7. K H O N K A E N UNIV. คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1. มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ทางวิชาการอย่างมีเหตุผล 2. มีวิจารณญาณและความสามารถในการแก้ปัญหา 3. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 4. มีจริยธรรม คุณธรรม และความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ 5. มีความรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 6. มีวินัยและค่านิยมที่ดี 7. เสียสละ อุทิศตนและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 8. มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง 9. มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างน้อย 1 ภาษา 10. มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 11. สามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ 12. มีจิตสำนึกในการใฝ่ศึกษาอย่างต่อเนื่อง

  8. K H O N K A E N UNIV. หลักสูตรปริญญาตรี การจัดการเรียนการสอน หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ หมวดวิชาเลือกเสรี ทักษะวิชาการ/ วิชาชีพ (Academic/ Professional Skills) ทักษะชีวิต ทักษะ การทำงาน การสร้างรายวิชาศึกษาทั่วไปและการจัดการเรียนการสอน คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

  9. K H O N K A E N UNIV. การสร้างรายวิชาศึกษาทั่วไป 1. ให้สภามหาวิทยาลัยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย 2. พัฒนารายวิชา/หลักสูตรกลางของมหาวิทยาลัย 3. ประกาศใช้หลักสูตร เมื่อกันยายน 2548 4. จัดตั้งหน่วยงานกลาง “สำนักวิชาศึกษาทั่วไป” เพื่อบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป 5. จัดประชุมสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับต่างๆ และผู้สอน 6. ดำเนินการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน

  10. K H O N K A E N UNIV. นโยบายมหาวิทยาลัย ด้านการจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไป (มติการประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 2/2547, 25 กุมภาพันธ์ 2547) - ให้กำหนดกรอบรายวิชาศึกษาทั่วไปในทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี ต้องสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป - ให้พัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไปให้มีเนื้อหาเชิงบูรณาการ และจัดเป็นรายวิชากลางของมหาวิทยาลัย - ให้มีหน่วยงานกลางรับผิดชอบจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย

  11. K H O N K A E N UNIV. การพัฒนาหลักสูตรกลาง • ตั้งคณะกรรมการจัดการศึกษาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น • จัดสัมมนาหัวหน้าภาควิชา และประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตร เพื่อรับฟังนโยบาย และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยแบ่งกลุ่มตามสาขาวิชา เป็น 3 กลุ่มคือ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ • พัฒนาหลักสูตร โดยกำหนดกรอบแนวคิด รายวิชา วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา วิธีการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลผู้เรียน • ให้ผู้บริหารหลักสูตรและคณาจารย์มีส่วนร่วมในการให้ความเห็น/เสนอแนะ • นำมาปรับปรุง และเสนอที่ประชุมคณบดี และสภามหาวิทยาลัย

  12. K H O N K A E N UNIV. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมข. ปรัชญา การจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไป มีรากฐานจากความคิดที่ว่า การพัฒนาคนจะต้องพัฒนาให้มีความสมบูรณ์และสมดุลตามองค์ประกอบธรรมชาติของคนคือ ร่างกายและจิตใจ (อารมณ์ ความคิด สติปัญญา และจิตวิญญาณ) ซึ่งต้องมีองค์ความรู้ทั้ง 3 ศาสตร์คือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ วิชาศึกษาทั่วไปจึงควรมีลักษณะเป็นการบูรณาการผสมผสานระหว่างเนื้อหาวิชาในศาสตร์ต่างๆ ไม่ควรมีลักษณะเฉพาะเจาะจงลงไปในเนื้อหาวิชาเฉพาะด้านซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาเอก

  13. K H O N K A E N UNIV. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมข. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้และเป็นผู้ใฝ่รู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ มีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจในธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่นและสังคม และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข 3. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม ตระหนักในบทบาทหน้าที่และสิทธิของตนในฐานะพลเมืองและสมาชิกของสังคมและประเทศชาติ และซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมไทยและประชาคมนานาชาติ

  14. K H O N K A E N UNIV. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมข. โครงสร้าง 1. กลุ่มวิชาภาษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในด้านทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เครื่องมือในการสื่อสารทางสังคมในชีวิตประจำวัน และเครื่องมือสื่อสารในการแสวงหาความรู้ต่อไป สำหรับวิชาภาษาอังกฤษ มุ่งพัฒนาทักษะผู้เรียน 3 ด้านคือ (1) English for Academic Purposes (2) English for Communication (3) English for Profession (ซึ่งให้แต่ละหลักสูตรกำหนดเอง โดยอาจจัดเป็นวิชาในหมวดพื้นฐานวิชาชีพก็ได้)

  15. K H O N K A E N UNIV. การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ มีรายวิชาในหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน 3 ด้านคือ (1) English for Academic Purposes (2) English for Communication (3) English for Profession ลงทะเบียนเรียนรายวิชา Placement test นักศึกษาปริญญาตรีทุกคน Level of English Proficiency English Online - Self study - Standard test Exit Exam? เริ่มปีการศึกษา 2549, 2550

  16. K H O N K A E N UNIV. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมข. • โครงสร้าง • 2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ • มุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านกระบวนการคิด วิเคราะหและแสวงหาความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้รู้จักและเข้าใจตนเอง มีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และซาบซึ้งในวัฒนธรรมและอารยธรรมของมนุษย์ มีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ รวมทั้งตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบและบทบาทที่พึงมีในฐานะสมาชิกของสังคม

  17. K H O N K A E N UNIV. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมข. • โครงสร้าง • 3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ • มุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านกระบวนการคิดและการแสวงหาความรู้จากธรรมชาติทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ เข้าใจในความหมายและความสำคัญของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อวิถีชีวิตและความคิดของมนุษย์ รวมทั้งสภาพแวดล้อมปัจจุบันและอนาคต รู้จักใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการศึกษาค้นคว้าและการประยุกต์ใช้งานอันจะมีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตระหนักในความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและรู้จักใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

  18. K H O N K A E N UNIV. การใช้หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป • ได้รับการรับรองจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อ 7 กันยายน 2548 • ออกเป็นประกาศสภามหาวิทยาลัย (8/2548) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ • หลักสูตรใหม่ และหลักสูตรปรับปรุงมาก ที่จะขออนุมัติต่อสภาฯ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ต้องใช้หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดให้มีรายวิชาศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต • หลักสูตรที่ยังไม่ปรับปรุงอย่างมาก สามารถเลือก • ให้เรียนรายวิชาตามเดิมไปจนกว่าจะมีการปรับปรุงหลักสูตร (ภายใน 5 ปี) • หากต้องการใช้รายวิชาศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการขออนุมัติปรับปรุงหลักสูตร แบบปรับปรุงเล็กน้อย

  19. K H O N K A E N UNIV. การจัดตั้งสำนักวิชาศึกษาทั่วไป • ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเมื่อ 7 กันยายน 2548 • ให้สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไปเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานอธิการบดี ขึ้นตรงต่อรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

  20. K H O N K A E N UNIV. การจัดการเรียนการสอน วิชาศึกษาทั่วไป • อาจารย์มาจากทุกคณะในมหาวิทยาลัย และอาจมีอาจารย์พิเศษตามความเหมาะสม • อาจารย์ที่มาสอนมีภาระงานตามประกาศของมหาวิทยาลัย (และได้รับค่าตอบแทนตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด) • ผลงานทางวิชาการอันเกิดจากการสอนวิชาศึกษาทั่วไป สามารถนำไปใช้ประกอบในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ • คณะที่มีอาจารย์ร่วมสอน จะได้รับงบประมาณจัดสรรตามสัดส่วนที่มหาวิทยาลัยจะกำหนด

  21. K H O N K A E N UNIV. ปัจจัยความสำเร็จ • การสนับสนุนเชิงนโยบาย • ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ • ความร่วมมือจากคณะ และอาจารย์ผู้สอน • ทีมงานที่เข้าใจในปรัชญา/หลักการของวิชาศึกษาทั่วไป • การเรียนรู้จากประสบการณ์ การวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไป

  22. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education) ศาสตร์ในการหล่อหลอม บุคคลด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ความคิด สติปัญญา และจิตวิญญาณ เพื่อสร้าง บัณฑิตอันพึงประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป

  23. ประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 8/2548 ลงวันที่ 23 กันยายน 2548 ให้จัดตั้งสำนักวิชาศึกษา ทั่วไปขึ้น เพื่อรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนวิชา ศึกษาทั่วไป หลักสูตร (พ.ศ. 2548) เป็นหน่วยงาน ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานตั้งอยู่ชั้น 2 อาคารศูนย์วิชาการ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  24. 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหลักสูตรรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่กำหนดกรอบโครงสร้าง กลุ่มวิชา รายวิชา จุดมุ่งหมาย และเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชา ที่สอดคล้องกับ ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งแต่ละหลักสูตรสามารถนำไปบรรจุไว้ในหมวดวิชา ศึกษาทั่วไปได้ ตามกรอบที่กำหนด และอาจมีลักษณะยืดหยุ่นได้ เพื่อสนับสนุน ความต้องการเฉพาะของหลักสูตรนั้นๆ 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ในลักษณะเป็นบูรณาการ มีการสอนที่พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีการใช้สื่อเทคโนโลยีตามความเหมาะสม เป้าหมายที่ต้องการบรรลุ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  25. 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถจัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไป ให้เป็นระบบกลาง ของมหาวิทยาลัย ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ตอบสนองกลุ่มผู้เรียน ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย และมีการใช้ทรัพยากรของคณะ หน่วยงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน และมหาวิทยาลัย 4 นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตที่พึงประสงค์ โดย ผ่านกระบวนการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ตามระบบและการจัดการ ที่พัฒนาขึ้น เป้าหมายที่ต้องการบรรลุ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  26. ค่านิยม ค่านิยมของหน่วยงาน คือ มุ่งมั่นพัฒนา การเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ มีความรอบรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  27. โครงสร้างด้านบริการสำนักงานโครงสร้างด้านบริการสำนักงาน อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะกรรมการอำนวยการสำนักฯ ผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป รองผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป คณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะกรรมการบริหารรายวิชา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มงานบริหารสำนัก กลุ่มงานบริการวิชาการ กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  28. คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะกรรมการบริหารรายวิชา คณะผู้สอนวิชา คณะผู้สอนวิชา คณะผู้สอนวิชา โครงสร้างการบริหารหลักสูตรรายวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  29. คณะผู้บริหาร รองศาสตราจารย์สุภาพ ณ นคร ผู้อำนวยการสำนักฯ ผศ.ดร.อัจฉรา ธรรมถาวร รองผู้อำนวยการสำนักฯ นางจินตนา กนกปราน ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักฯ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  30. กลุ่มงานบริหารสำนักฯ บุคลากรสำนักฯ นางสุพรรณี นาเลาห์ จ.บริหารงานทั่วไป กลุ่มงานวิชาการ นายณัฐพงษ์ เพชรดีทน น.ส.ยุพิน งามเนตร์ น.ส.พิมลอร โสธรศักดิ น.ส.นวรัตน์ กำลังเลิศ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการศึกษา นักวิชาการศึกษา นักวิชาการศึกษา กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ นายจักรินทร์ ศิลารัตน์ น.ส.จรูญลักษณ์ สุพร นักสารสนเทศ นักสารสนเทศ

  31. การกำกับเชิงนโยบาย ให้มีคณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วย อธิการบดีหรือรองอธิการบดีที่มอบหมาย เป็นประธานกรรมการ กรรมการซึ่งแต่งตั้งจากคณบดี หรือผู้อำนวยการ จำนวน 3-5 คน เป็นกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคลากรสายผู้สอน จำนวน 3-5 คน เป็นกรรมการ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  32. การกำกับเชิงนโยบาย ให้มีคณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก เป็นกรรมการและเลขานุการ รองผู้อำนวยการสำนัก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนัก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะกรรมการ ตามข้อ 2, 3, 4 และ 5 ให้มีวาระคราวละ 2 ปี สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  33. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ กำหนดนโยบาย ทิศทาง หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ สำหรับการ จัดการศึกษาวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัย ส่งเสริม สนับสนุนให้การบริหารสำนักและการจัดการศึกษา วิชาศึกษาทั่วไปเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้าน ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงินและงบประมาณ ทรัพยากร ทางกายภาพ อาทิ ห้องเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  34. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสำนักฯ แต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะบุคคล หรือบุคคล เพื่อทำหน้าที่ ต่างๆแทน เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักบรรลุเป้าหมาย สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  35. ประธานและคณะกรรมการตาม ข้อ 2 และ 3 ให้มีวาระคราวละ 2 ปี การกำกับเชิงนโยบาย ให้มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนัก เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคลากรสายผู้สอน จำนวน 6-7 คน เป็นกรรมการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนัก เป็นกรรมการและเลขานุการ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  36. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร บริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ให้มีประสิทธิภาพ พิจารณากลั่นกรองรายวิชาที่จะเปิดสอนเพิ่มเติม ในหมวด วิชาศึกษาทั่วไป ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน กำกับ ติดตาม ประเมินผลหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ระบบประกันคุณภาพ อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  37. การวัดและประเมินผล สำนักได้มีการประกันคุณภาพรายวิชา มีการติดตามประเมินผลการเรียนการสอน มีการประเมินคุณลักษณะของนักศึกษา ก่อนเรียน และหลังเรียน มีการทำวิจัยในชั้นเรียน ดังรูปแบบต่อไปนี้ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  38. กรอบแนวคิดในการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนกรอบแนวคิดในการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน แบบบูรณาการ ในรายวิชาศึกษาทั่วไป คณะกรรมการพัฒนารายวิชา สอนเป็นทีม สอนแบบบูรณาการ วิจัยในชั้นเรียน ประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ ประชุมทีม ลงมือสอนตามแผน จัดทำแผนการสอน ประเมินผลการสอน วางแผนร่วมกัน พัฒนารูปแบบวิธีสอน พัฒนาทีม วิเคราะห์แผนการสอน สำนักวิชาศึกษาทั่วไปรวบรวม รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชา วิเคราะห์/สังเคราะห์รูปแบบต่างๆ Best Practice การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  39. ด้านพัฒนานักศึกษา การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา ในแต่ละรายวิชา มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตอันพึง ประสงค์ ทั้งในชั้นเรียน และนอกห้องเรียน ทุกรายวิชา สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  40. ด้านงานบริการวิชาการ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป ได้ดำเนินการให้บริการทางวิชาการ ที่หลากหลายรูปแบบ มีทั้งกิจกรรมที่อยู่ในแผนการดำเนินการ และกิจกรรมที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผน แต่เป็นกิจกรรมตาม คำขอ พอสรุปได้ดังนี้ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  41. ด้านงานบริการวิชาการ บุคลากรในสำนักงาน ได้ให้คำปรึกษาและรับเชิญไปเป็น วิทยากรบรรยายแก่คณะ/หน่วยงาน ทั้งภายในมหาวิทยาลัย และต่างสถาบัน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจการจัดการเรียน การสอนวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  42. ด้านงานบริการวิชาการ เป็นหน่วยงานที่ประสานความร่วมมือและเครือข่าย บัณฑิตในอุดมคติไทยระดับประเทศ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีสถาบันเครือข่าย 54 สถาบัน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  43. ด้านงานบริการวิชาการ ให้บริการด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ อาทิเช่น แผ่นพับ บทความ ที่เกี่ยวกับสำนักและด้านวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งสำนักได้รวบรวม ไว้เพื่อให้คณะ/หน่วยงานและผู้สนใจ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  44. ด้านงานบริการวิชาการ ให้บริการข้อมูลสารสนเทศ โดยจัดทำเว็บไซด์ และร่วมแสดง นิทรรศการ เพื่อเผยแพร่การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษา ทั่วไป ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น http://home.kku.ac.th/genedu สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  45. ด้านงานบริการวิชาการ นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับประเทศ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  46. ด้านงานบริการวิชาการ บริการข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสำนักวิชาศึกษาทั่วไป โดยทำเป็นจุลสารสำนักฯ รอบ 3 เดือน ต่อครั้ง สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  47. ด้านงานบริการวิชาการ จัดโครงการประชุมวิชาการให้กับสถาบันเครือข่าย บัณฑิตอุดมคติไทย 54 สถาบัน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  48. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบและผลักดันเป็นนโยบายที่ชัดเจน ผู้บริหารให้การสนับสนุน ส่งเสริมและจัดหาทรัพยากรที่เอื้ออำนวย ต่อการปฏิบัติงาน ได้รับความร่วมมือจากคณะ หน่วยงาน อาจารย์ และบุคลากรต่างๆ เป็นอย่างดี และบุคลากรของสำนักมีความเข้าใจในปรัชญา วิชาศึกษา ทั่วไป สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  49. KKU-GE Model กรอบการดำเนินงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  50. หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2548) ได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ เมื่อ 7 กันยายน 2548 • 2. หลักสูตรมาตรฐานความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มข. พ.ศ. 2548 (ประกาศใช้แล้วพร้อมโปรแกรมจัดการ Online) • 3. หลักสูตรมาตรฐานความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มข. (ต้องดำเนินการ พร้อมทั้งจัดหาโปรแกรม Online) หลักสูตรและการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย (ปัจจุบันมี 18 รายวิชา ยกเว้นรายวิชาภาษาอังกฤษ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1. มีความสารถในการคิด วิเคราะห์ทางวิชาการอย่างมี เหตุผล 2. มีวิจารณญาณและความ สามารถในการแก้ปัญหา 3. สามรถทำงานร่วมกับผู้ อื่นได้ดี 4. มีจริยธรรม คุณธรรม และ ความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ 5. มีความรับผิดชอบต่อ สังคมและปฏิบัติตนเป็นแบบ อย่างที่ดี 6. มีวินัยและค่านิยมที่ดี 7. เสียสละอุทิศตนและเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวม 8.มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง 9. มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ได้อย่างน้อย 1 ภาษา 10. มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 11. สามารถประกอบวิชาชีพ ได้อย่างมีคุณภาพและสอดคล้อง กับความต้องการของผู้ใช้ 12. มีจิตสำนึกในการใฝ่ศึกษา อย่างต่อเนื่อง สำนักวิชาศึกษาทั่วไป ทักษะวิชาการ (ข้อ 1,11) หมวดวิชาเฉพาะ กิจกรรมพัฒนานักศึกษา หลักสูตร (เนื้อหา) การจัดการเรียนการสอน ทักษะชีวิต (ข้อ 2,3,4,5, 6,7,12) การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศตามหลักสูตรมาตรฐานของมหาวิทยาลัย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน นักศึกษา อาจารย์ ทักษะการทำงานในยุคโลกาภิวัตน์ (ข้อ 8,9,10) หมวดวิชาเลือกเสรี - การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ที่เป็นวิชาภาษาอังกฤษ (ปัจจุบันมี 3 รายวิชา) - การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัย สิ่งสนับสนุนการศึกษา การบริหารจัดการ สถาบันภาษา นักศึกษาจำนวนปีละประมาณ 10,000 คน ภายในเวลา 5 ปี KKU-GE Model I : IPO Model (Input – Process - Output)

More Related