1 / 58

บทที่ 13 ฟิสิกส์ยุคใหม่

บทที่ 13 ฟิสิกส์ยุคใหม่. 1. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 2. อะตอมและนิวเคลียส 3. กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น 4. นิวเคลียร์ฟิสิกส์ 5. จักรวาลวิทยา. ตัวอย่าง 1 What is the period of the pendulum ?

porter-cobb
Download Presentation

บทที่ 13 ฟิสิกส์ยุคใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 13 ฟิสิกส์ยุคใหม่ 1. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ 2. อะตอมและนิวเคลียส 3. กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น 4. นิวเคลียร์ฟิสิกส์ 5. จักรวาลวิทยา

  2. ตัวอย่าง 1What is the period of the pendulum ? คาบการแกว่งของเพนดูลัมวัดในกรอบนิ่งของเพนดูลัมเท่ากับ 0.3 s จงหาคาบเวลาของการแกว่งเมื่อวัดโดยผู้สังเกตที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 0.95c สัมพัทธ์กับเพนดูลัม วิธีทำ เราแทนผู้สังเกตที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 0.95 c เป็นผู้สังเกตที่อยู่นิ่ง และเพนดูลัมเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 0.95 c ผ่านผู้สังเกตที่อยู่นิ่ง จากสมการ 5 ได้ ตอบ

  3. ตัวอย่าง 2 The contraction of a spaceship ความยาวของยานอวกาศวัดได้ 120 m ในขณะที่อยู่นิ่งเทียบกับผู้สังเกต ถ้ายานอวกาศเดินทางพร้อมด้วยผู้สังเกตด้วยอัตราเร็ว 0.99 c ผู้สังเกตจะวัดความยาวของยานอวกาศได้เท่าไร วิธีทำ จากสมการ 6 ผู้สังเกตวัดความยาวได้ ตอบ แบบฝึกหัด ถ้ายานอวกาศเคลื่อนที่ผ่านผู้สังเกตด้วยอัตราเร็ว 0.01 c ผู้สังเกตจะวัดความยาวได้เท่าไร ตอบ 119.40 m

  4. ตัวอย่าง 3 The triangular spaceship ยานอวกาศรูปสามเหลี่ยมเดินทางพร้อมกับผู้สังเกตด้วยอัตราเร็ว 0.95 c เมื่อยานอยู่กับที่สัมพัทธ์กับผู้สังเกต (รูป 6a) ระยะ x และ y วัดได้ 52 m และ 25 m ตามลำดับ ขนาดของยานเป็นอย่างไรเมื่อผู้สังเกตอยู่นิ่งในยานที่เคลื่อนที่ตามทิศในรูป 6b v y y x L (a) (b) รูปที่ 6 (a) ขนาดของยานอวกาศเมื่ออยู่กับที่ (b) ขนาดของยานอวกาศเมื่อเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว v

  5. วิธีทำ ผู้สังเกตเห็นความยาวของยานหดลงในแนวนอน ตอบ ความสูง 25 m ในแนวตั้งไม่เปลี่ยนแปลง เพราะตั้งฉากกับทิศทางของการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างผู้สังเกตและยานอวกาศ รูป 6b แสดงขนาดของยานอวกาศที่เห็นโดยผู้สังเกตที่อยู่นิ่ง

  6. ตัวอย่าง 4 A voyage to Sirius นักบินอวกาศเดินทางจากโลกไปยังดาวซิริอุส ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 8 ปีแสง นักบินอวกาศวัดเวลาของการเดินทางได้ 6 ปี ถ้ายานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ 0.8 c ระยะทาง 8 ปีแสง สอดคล้องกับเวลาที่วัดโดยนักบินอวกาศ 6 ปี ได้อย่างไร วิธีทำ ระยะทาง 8 ปีแสง เป็นความยาวจริงจากโลกถึงดาวซิริอุส วัดโดยผู้สังเกตที่เห็นดาวทั้งสองเกือบหยุดนิ่ง นักบินเห็นดาวซิริอุสเข้าหาเขาด้วยอัตราเร็ว 0.8 c รวมทั้งเห็นระยะทางหดลง 8ปีแสง / = (8 ปีแสง) = (8 ปีแสง) = 5 ปีแสง ดังนั้น นาฬิกาของเขาวัดการเดินทางได้ t = d / v = 5 ปีแสง / 0.8c = 6 ปี

  7. ตัวอย่าง 5 Time dilation revisited ใช้สมการแปลงแบบลอเรนซ์ในรูปของความแตกต่าง เพื่อแสดงว่านาฬิกาที่เคลื่อนที่เดินช้ากว่านาฬิกาที่อยู่กับที่ วิธีทำ สมมติว่าเหตุการณ์ทั้งสองเกิดขึ้นที่ 0’ ผู้สังเกตที่ 0’ จะพบว่า แต่ และจากสมการ (10) ซึ่งก็คือ สมการการยืดของเวลาที่พบตอนแรกในสมการที่ 5 แบบฝึกหัด ใช้สมการการแปลงแบบลอเรนซ์ในรูปของความแตกต่าง เพื่อแสดงว่า

  8. ตัวอย่าง 6 Relative velocity of spaceships ยานอวกาศ A และ B เคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้าม ดังแสดงในรูปที่ 9 ผู้สังเกตบนโลกวัดอัตราเร็วของ A ได้ 0.75 c และอัตราเร็วของ B ได้ 0.85 c หาความเร็วของ B เทียบกับ A รูปที่ 9 ยานอวกาศ A และ B เคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกัน

  9. วิธีทำ ให้ยานอวกาศ A เป็นกรอบ s ดังนั้น v = 0.75 c สัมพัทธ์กับผู้สังเกตบนโลก (กรอบ s) พิจารณายานอวกาศ B เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว สัมพัทธ์กับผู้สังเกตบนโลก ใช้สมการ 12 หาความเร็ว B เทียบกับ A ได้ เครื่องหมายลบหมายความว่า A สังเกตว่า B เคลื่อนที่ตามแนวแกน –x ควรสังเกตว่าอัตราเร็วที่ได้น้อยกว่า c นั่นคือวัตถุที่เคลื่อนที่ในกรอบอ้างอิงหนึ่งมีอัตราเร็วน้อยกว่า c มีอัตราเร็วน้อยกว่า c ในกรอบอ้างอิงอื่นๆ ด้วย (ถ้าเราใช้การเปลี่ยนแปลงความเร็วแบบกาลิเลโอกับตัวอย่างนี้จะพบว่า ซึ่งความเร็วนี้มากกว่า c ดังนั้นการแปลงแบบกาลิเลโอใช้ไม่ได้กับสัมพัทธภาพ)

  10. ตัวอย่าง 7 The speeding motorcycle สมมติว่าชายคนหนึ่งขี่รถจักรยานยนต์ด้วยอัตราเร็ว 0.80 c ผ่านผู้สังเกตที่อยู่กับที่ ดังแสดงในรูปที่ 10 ถ้าชายคนที่ขี่จักรยานยนต์ขว้างลูกบอลไปข้างหน้าด้วยอัตราเร็ว 0.70 c เทียบกับตัวเขา ผู้สังเกตจะเห็นลูกบอลมีอัตราเร็วเท่าไร รูปที่ 10 ชายคนหนึ่งขี่รถจักรยานยนต์ด้วยอัตราเร็ว 0.80c ผ่านผู้สังเกตที่อยู่กับที่

  11. วิธีทำ ความเร็วของจักรยานยนต์ เทียบกับผู้สังเกตคือ v = 0.80 c ความเร็วของลูกบอลในกรอบอ้างอิงของชายที่ขี่จักรยานยนต์คือ 0.70 c ดังนั้น ความเร็วของลูกบอลสัมพัทธ์กับผู้สังเกต คือ แบบฝึกหัด ถ้าสมมติว่าชายคนที่ขี่รถจักรายานยนต์เปิดไฟหน้ารถ แสงเดินทางจากตัวเขาไปข้างหน้าด้วยอัตราเร็ว c ผู้สังเกตที่อยู่กับที่จะวัดอัตราเร็วของแสงได้เท่าไร ตอบ c

  12. ตัวอย่าง 8 เดวิดและเอมิลี่ขี่รถจักรยานยนต์ออกไปในแนวตั้งฉากกันในรูป 11 ถ้าเดวิดหันหลังกลับมามองจะเห็นเอมิลีมีอัตราเร็วเท่าไร ถ้าตำรวจที่อยู่กับที่เห็นเดวิดเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็ว 0.75 c ตามแนวแกน x และ เอมิลีมีความเร็ว 0.90 c ตามแนวแกน –y รูปที่ 11 เดวิดเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกด้วยอัตราเร็ว 0.750c และเอมิลีเคลื่อนที่ไปทางใต้ด้วยอัตราเร็ว 0.900c เทียบกับตำรวจที่อยู่กับที่

  13. วิธีทำ ตำรวจอยู่กับที่ เห็นว่า เดวิด: ux = 0.75 c ,uy = 0 ในกรอบ s เอมิลี: ux = 0 ,uy = -0.90 c ให้ s เป็นกรอบที่เคลื่อนที่ไปกับเดวิด เราหา u'x และ u'yของเอมิลีโดยใช้สมการ (12) และ (13) ดังนั้นเดวิดจะเห็นอัตราเร็วของเอมิลีเท่ากับ แบบฝึกหัด หาอัตราเร็วของเอมิลีที่เดวิดเห็นเมื่อหันหลังกลับมามองโดยใช้การแปลงแบบกาลิเลโอ ตอบ 1.2 c

  14. ตัวอย่าง 9 Momentum of an Electron อิเล็กตรอนซึ่งมีมวล 9.11 x 10-31 kg เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 0.750 c จงหาโมเมนตัมสัมพัทธภาพของมันและเปรียบเทียบผลที่ได้กับทฤษฎีดั้งเดิม วิธีทำ ในผลที่ได้จากสัมพัทธภาพมีค่ามากกว่าในทฤษฎีดั้งเดิมซึ่งไม่ถูกต้องถึง 50 %

  15. ตัวอย่างเช่น มวลของอิเล็กตรอน 9.11 x 10-31 kg พลังงานนิ่งของอิเล็กตรอนคือ m0c2 = (9.11 x 10 -31kg)(3 x 10 8 m/s2) = 8.20 x 10 -14 J แปลงเป็นหน่วย eV ได้ m0c2 = (8.20 x 10 -14J)(1eV/1.60 x 10 -19J) = 0.511 MeV

  16. ตัวอย่าง 10 The energy of a speedy eletron อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว u = 0.850 c หาพลังงานรวมและพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนในหน่วยอิเล็กตรอนโวลต์ วิธีทำ ใช้ความจริงที่ว่าพลังงานนิ่งของอิเล็กตรอนคือ 0.511 MeV กับสมการ (22) ได้ พลังงานจลน์หาได้จาก

  17. ตัวอย่าง 11 The energy of a speedy proton • พลังงานรวมของโปรตอนมีค่าเป็น 3 เท่าของพลังงานนิ่งของมัน • (a) จงหาพลังงานนิ่ง ERของโปรตอนในหน่วย eV • จงหาอัตราเร็วของโปรตอนเมื่อเคลื่อนที่ • จงหาพลังงานจลน์ของโปรตอนในหน่วย eV • จงหาโมเมนตัมของโปรตอน • วิธีทำ • (a) ER = m0c2 = (1.67 x 10-27 kg) (3x108 m/s)2 • = (1.50 x 10-10 J ) (1.00 eV / 1.60 x 10-19 J) = 938 MeV • (b) แทนค่า E = 3m0c2 ลงในสมการ E = m0c2 จะได้

  18. (c) หาพลังงานจลน์ของโปรตอนในหน่วย eV และเนื่องจาก ดังนั้น (d) หาโมเมนตัมของโปรตอน ใช้ สมการ (23) แล้วแทนค่า E = 3m0c2 ลงไปจะได้ว่า ดังนั้น

  19. ตัวอย่าง โฟตอนความถี่ 3x1019 Hz ชนกับอิเลคตรอนในอะตอมของธาตุหนึ่ง แล้วเบนไปจากแนวเดิม 900 จงหา (ก) ความถี่ของโฟตอนที่เบนไปมีค่าเท่าไร (ข) อิเลคตรอนที่ถูกชนมีพลังงานจลน์เท่าไร วิธีทำ (ก) หาความถี่ของโฟตอนที่เบนไป () (ข) พลังงานจลน์ของอิเลคตรอน

  20. ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 กรอบอ้างอิง 2 กรอบ คือ S (x, y, z, t) กับ S(x, y, z, t) ซึ่งมีแกน x กับแกน x ทับกัน และมีจุดกำเนิด O กับ O ห่างกันคงตัวเท่ากับ C ผู้สังเกตคนหนึ่ง ณ O สังเกตเห็นว่าเหตุการณ์ 2 ครั้ง มีพิกัดกาลเทศะคือ (x1, t1) และ (x2, t2) ในขณะที่ผู้สังเกตอีกคนหนึ่ง ณ O ซึ่งสังเกตเหตุการณ์ 2 ครั้งนี้ด้วย พบว่ามีพิกัดกาลเทศะเป็น (x1 , t1) และ (x2 , t 2) ตามลำดับ จงหาความสัมพันธ์ของการแยกเชิงปริภูมิ (spatial separation) เหตุการณ์ 2 ครั้งดังกล่าว ตามที่ผู้สังเกตสองคนนี้สังเกตภายใต้ภาวะการแปลง (transformation condition) แนวคิด ใช้ x= x - C , y = y , z = z และ t = t

  21. วิธีทำ ให้ แทนการแยกเชิงปริภูมิของเหตุการณ์ 2 ครั้ง สำหรับผู้สังเกตคนหนึ่ง ณ O ในกรอบอ้างอิง S กรอบหนึ่ง และ แทนการแยกเชิงปริภูมิของเหตุการณ์ 2 ครั้ง สำหรับผู้สังเกตอีกคนหนึ่ง ณ O ในกรอบอ้างอิง S กรอบนั้น

  22. จะได้ แสดงว่าผู้สังเกต 2 คนนี้เห็นว่าเหตุการณ์ 2 ครั้งดังกล่าวมีการแยกเชิงปริภูมิเท่ากัน จึงถือได้ว่าการแยกเชิงปริภูมิที่ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้ภาวะการแปลงนี้ ตอบ

  23. ตัวอย่างที่ 3 วัตถุท่อนหนึ่งที่อยู่นิ่งในกรอบอ้างอิงเฉื่อย S(x, y, z, t) กรอบหนึ่งซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว V เทียบกับกรอบอ้างอิงเฉื่อย S (x,y,z,t) อีกกรอบหนึ่ง มีความยาว เมื่อวัดความยาวของท่อนวัตถุท่อนนี้ในกรอบอ้างอิง S (x,y,z,t) กรอบนั้น จะวัดได้ยาวเท่าไร แนวคิด ใช้ความสัมพันธ์ในการแปลงลอเรนซ์ คือ วิธีทำ จากสมการ จะได้ และ ดังนั้น ความยาววัตถุท่อนนี้ (Lobs) ที่วัดได้จะเท่ากับ ตอบ

  24. ตัวอย่างที่ 4 ยานอวกาศลำหนึ่ง ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านโลกด้วยอัตราเร็ว 0.99 c มีความยาว 100 เมตร เทียบกับนักบินอวกาศคนหนึ่งในยานอวกาศลำนั้น ผู้สังเกตบนโลกคนหนึ่งจะวัดความยาวของยานอวกาศลำดังกล่าวได้เท่าไร แนวคิด แทนความสัมพันธ์ วิธีทำ ความยาวของยานอวกาศลำนี้ที่ผู้สังเกตบนโลกคนหนึ่งวัดได้ เมตร ตอบ

  25. ตัวอย่างที่ 5 ลูกตุ้มเชิงเดี่ยว (simple pendulum) ก้อนหนึ่งซึ่งมีคาบของการเคลื่อนที่ 2.0 วินาที เทียบกับกรอบอ้างอิงอิเนอร์เชียกรอบหนึ่ง จะมีคาบเท่าใดเทียบกับผู้สังเกตคนหนึ่ง ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 0.95 c เทียบกับกรอบอ้างอิงเฉื่อยกรอบดังกล่าว แนวคิด ใช้ โดยตรง วิธีทำ คาบการเคลื่อนที่ของลูกตุ้มเชิงเดียวก้อนดังกล่าวเทียบกับผู้สังเกตคนนี้ วินาที ตอบ

  26. ตัวอย่างที่ 6 ขณะที่ยานอวกาศลำหนึ่งกำลังเคลื่อนที่ออกจากโลกด้วยอัตราเร็ว 0.9 c เทียบกับโลก นักบินอวกาศคนหนึ่งซึ่งอยู่ในยานอวกาศลำนี้ ได้ยิงจรวดท่อนหนึ่งออกไปด้วยอัตราเร็ว 0.6 c เทียบกับตัวเองในทิศทางเดียวกัน จงหาอัตราเร็วของจรวดท่อนนี้เทียบกับโลก แนวคิด 1. สมมติโลกเป็นกรอบอ้างอิงเฉื่อยกรอบหนึ่ง (S) และยานอวกาศลำนี้เป็นกรอบอ้างอิงเฉื่อยอีกกรอบหนึ่ง (S’) 2. จรวดท่อนนี้เปรียบเสมือนเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 0.6 c เทียบกับยานอวกาศลำนี้ 3. ใช้สมการ

  27. วิธีทำ อัตราเร็วของจรวดท่อนนี้กับโลก ข้อเสนอแนะ ถ้าพิจารณาตามแนวคิดไม่สัมพัทธภาพ จะได้อัตราเร็วของจรวดท่อนดังกล่าวเทียบกับโลก ควรพิจารณาผลที่ได้เปรียบเทียบกัน ตอบ

  28. ตัวอย่างที่ 7 ยานอวกาศ 2 ลำ กำลังเคลื่อนที่ออกจากโลกในทิศทางเดียวกันด้วยอัตราเร็ว 0.9c และ 0.95 c เทียบกับโลกตามลำดับ จงคำนวณหาอัตราเร็วของยานอวกาศลำที่ 2 เทียบกับยานอวกาศลำที่ 1 แนวคิด 1. สมมติโลกเป็นกรอบอ้างอิงเฉื่อยกรอบหนึ่ง (S) ส่วนยานอวกาศลำที่ 1 เป็นกรอบอ้างอิงเฉื่อยอีกกรอบหนึ่ง (S’) ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 0.9c เทียบกับโลก 2. ยานอวกาศลำที่ 2 ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง กำลังเคลื่อนที่ตามแนว x แกนหนึ่ง ด้วยอัตราเร็ว 0.95 c เทียบกับโลก 3. คำนวณจากสมการ

  29. วิธีทำ อัตราเร็วของยานอวกาศลำที่ 2 เทียบกับยานอวกาศลำที่ 1 ข้อเสนอแนะ พิจารณาปัญหานี้จากแนวคิดของกรณีไม่สัมพัทธภาพ ตอบ

  30. ตัวอย่างที่ 8 จงหาขนาดโมเมนตัมสัมพัทธภาพของอิเล็กตรอนตัวหนึ่ง ซึ่งมีมวลนิ่ง 0.91 x 10-30 กิโลกรัม กำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 0.75c แนวคิด แทนในสมการ วิธีทำ ขนาดโมเมนตัมสัมพัทธภาพของอิเล็กตรอนตัวนี้ กิโลกรัม(เมตรต่อวินาที) ตอบ

  31. ตัวอย่างที่ 9 จงหาพลังงานจลน์สัมพัทธภาพเป็นเมกะอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) ของอิเล็กตรอนตัวหนึ่ง ซึ่งมีมวลนิ่ง 0.91 x 10-30 กิโลกรัม กำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 0.8c แนวคิด 1. พิจารณาจากสมการ 2. 1 อิเล็กตรอนโวลต์ 1.6 x 10-19 จูล 3. 1 เมกะอิเล็กตรอนโวลต์ = 106 อิเล็กตรอนโวลต์

  32. วิธีทำ พลังงานจลน์สัมพัทธภาพของอิเล็กตรอนตัวนี้ J MeV ตอบ

  33. ตัวอย่างที่ 10 จงหาพลังงานนิ่งของอิเล็กตรอนตัวหนึ่งเป็นจูล (J) อิเล็กตรอนโวลต์ (eV) และเมกะอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) แนวคิด พิจารณาจากนิยามของพลังงานนิ่งของอิเล็กตรอน ตัวหนึ่งโดยตรง วิธีทำพลังงานนิ่งของอิเล็กตรอนตัวหนึ่ง J eV MeV ข้อเสนอแนะ ณ ที่นี้ใช้ 1 eV = 1.602 x 10-19J

  34. ตัวอย่าง อะตอมไฮโดรเจนอะตอมหนึ่งอยู่ในสถานะที่มีพลังงานยึดเหนี่ยว 0.85 eV ถ้าอะตอมนี้เปลี่ยนไปอยู่ในสถานะที่ n = 2 จงหาว่าจะมีค่าพลังงานของโฟตอนที่ถูกดูดกลืนหรือส่งออกมา เป็นเท่าไร? วิธีทำ E = Ei - Ef คำนวณจากสูตร และ โจทย์กำหนดให้ Ei = - 0.85 eV n = 4 นั่นคือ Ei = E4 = - 0.85 eV ต่อมาเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะที่ n = 2 E = Ei - Ef = E4 – E2 = (- 0.85) - (-3.4) eV = + 2.55 eV ได้ค่า E = + 2.55 eV นั่นคือ จะมีค่าของพลังงานโฟตอน ที่ส่งออกมาเท่ากับ 2.55 eV

  35. ตัวอย่าง พลังงานที่ใช้ในการต้านอิเลกตรอนที่มีพลังงานสูงที่สุดจากหลอดทดลองโฟโตอิเลกตริก 0.4 eV เมื่อฉายแสงสีม่วงความยาวคลื่น 40000A ไปยังแผ่นโลหะที่ทำหน้าที่ให้อิเลกตรอนจงหา 1. ความถี่ของแสงนี้

  36. 2. พลังงานของแสงนี้ 3. ค่าฟังก์ชันงานของโลหะ 4. ความถี่ขีดเริ่ม

  37. 5. ความยาวขีดเริ่ม 6. ถ้าฉายแสงความยาวคลื่น 3000 0A ไปยังโลหะแผ่นนี้ อิเลกตรอน ที่ออกมาจะมีความเร็วสูงสุดเท่าใด จาก

  38. ตัวอย่าง จงหาความยาวคลื่นที่ยาวที่สุดและสั้นที่สุดในอนุกรมไลมาน วิธีทำ อนุกรมไลมาน n1 = 1 และ n2 = 2, 3, 4, … เส้นสเปกตรัมที่มีความยาวคลื่นยาวที่สุดคือเส้นที่มีความถี่น้อยที่สุด นั่นคือ โฟตอนที่แผ่ออกมามีพลังงานน้อยที่สุด ดังนั้นจะต้องเกิดจากอิเลกตรอนเปลี่ยนจากระดับ n =2 มายัง n = 1 เส้นสเปกตรัมที่มีความยาวคลื่นสั้นที่สุดคือเส้นที่มีความถี่มากที่สุด นั่นคือ โฟตอนที่แผ่ออกมามีพลังงานมากที่สุด ดังนั้นจะต้องเกิดจากอิเลกตรอนเปลี่ยนจากระดับ n = มายัง n = 1

  39. ตัวอย่าง He-Ne Laser ให้ลำแสงสีแดง มีความยาวคลื่น 632.8 mm ให้หาผลต่างระหว่างสองระดับพลังงานของ Ne ที่มีการย้ายอิเลก ตรอนแล้วให้ลำแสงสีแดงดังกล่าว วิธีทำ

  40. ตัวอย่างอิเลกตรอนมีพลังงานจลน์ 100 eV จะมีความยาวคลื่นเดอบรอยล์เท่าไร วิธีทำ เพราะฉะนั้นจะได้

  41. ตัวอย่าง อิเลกตรอนมวล 9.1x10-31 kg เคลื่อนที่มาด้วยอัตราเร็ว 2x106 m/s มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราเร็ว v = 0.2x106 m/s (10% ของอัตราเร็ว) ความไม่แน่นอนของตำแหน่งของอิเลกตรอนจะเป็นเท่าใด วิธีทำ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับตำแหน่งของอิเลกตรอนมีค่าประมาณขนาดของอะตอม ดังนั้นหลักความไม่แน่นอนมีความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาในระดับอะตอมและอนุภาค

  42. ตัวอย่าง รถยนต์คันหนึ่งมวล 1,000 kg เคลื่อนที่มาด้วยอัตราเร็ว 1 m/s มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราเร็ว v = 0.1 m/s (10% ของอัตราเร็ว) ความไม่แน่นอนของตำแหน่งของรถยนต์จะเป็นเท่าใด วิธีทำ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับตำแหน่งของรถยนต์มีค่าน้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ เนื่องจากเราไม่มีเครื่องมือใดๆ ที่จะวัดตำแหน่งได้ละเอียดขนาดนั้น ดังนั้น สำหรับวัตถุขนาดใหญ่ หลักความไม่แน่นอนจะไม่มีผลแต่อย่างใด

  43. แบบฝึกหัด • โฟตอนของแสงมีพลังงาน 2 eV จงหาความถี่และความยาวคลื่นของแสงนี้ • ตอบ4.85 x1014 Hz , 6200 oA • 2. จะต้องใช้ความถี่ต่ำสุดเท่าใด จึงจะทำให้อิเลกตรอนหลุดออกจากผิวโลหะที่มีค่าฟังก์ชัน 1.9 eV ได้ • ตอบ4.59 x1014 Hz • ลูกปืนมวล 40g เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 1,000 m/s จะมีความยาวคลื่นเท่าใด • ตอบ1.7 x10-35 m • ถ้าความไม่แน่นอนในตำแหน่งของอิเลกตรอนที่เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงมีค่าเท่ากับ 10 oA จงคำนวณความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ • (ก) โมเมนตัม (ข) ความเร็ว • ตอบ (ก) 1.05 x10-25 kg.m/s , (ข) 1.15x105 m/s

  44. ตัวอย่าง226Ra ปริมาณ 1 กรัม จะมีกัมมันตภาพเท่าไร (ครึ่งชีวิตของ 226Ra เท่ากับ 1620 ปี) วิธีทำN = จำนวนอะตอมของเรเดียม

  45. http://www.rit.ac.th/homepage-sc/physics/oldfront/65/nuclear.htmhttp://www.rit.ac.th/homepage-sc/physics/oldfront/65/nuclear.htm ตัวอย่างกระดูกสดให้กัมมันตรังสีนับได้  100 ครั้งต่อนาทีกระดูกมวลเท่ากันจากโครงกระดูกให้กัมมันตรังสี  30  ครั้งต่อนาทีการแผ่รังสีจากสิ่งแวดล้อมนับได้  20  ครั้งต่อนาทีกระดูกนี้อายุเท่าไร วิธีทำ ถ้าการแผ่รังสีจากสิ่งแวดล้อมออกไปจะได้  80  ครั้งต่อนาทีสำหรับกระดูกสดและ  10  ครั้งต่อนาทีจากกระดูกเก่าดังนั้นอัตราการนับคาร์บอน-14  ลดลงเป็น 1/8  ของค่าเดิมหมายความว่า 3  ครึ่งชีวิตผ่านไปจากเดิม 1/2  เปลี่ยนเป็น 1/4  เปลี่ยนเป็น 1/8  ดังนั้นกระดูกมีอายุ  = 3 x 5700  =  17,100ปี

  46. แบบฝึกหัดนิวเคลียร์ฟิสิกส์แบบฝึกหัดนิวเคลียร์ฟิสิกส์ • จงเปรียบเทียบในความคล้ายคลึงและข้อแตกต่างระหว่างการ สลายตัวของสารกัมมันตรังสีกับการตายของพลเมือง • ครึ่งชีวิตของเรเดียมมีค่า 1,600 ปี จะเป็นเวลานานเท่าใดที่เรเดียมนี้จะสลายตัวไป ของปริมาณเรเดียมที่มีอยู่เดิม • ทริเทียม () เป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีการสลายตัวให้อิเลก ตรอนโดยมีครึ่งชีวิต 12.5 ปี • (ก) ภายหลังการสลายตัวแล้วทริเทียมจะกลายเป็นนิวเคลียสใหม่ อะไร • (ข) ตั้งแต่เตรียมสารทริเทียมนี้มาแล้ว 25 ปี จะเหลือทริเทียมอยู่อีก กี่เปอร์เซ็นต์

  47. ตะกั่ว -214 ซึ่งมีมวล 3 x 10-14 กิโลกรัม มีกัมมันตภาพ 1 มิลลิคูรี จงหาค่าคงที่การสลายตัวของตะกั่ว –214 นี้ • ยูเรเนียม –238 สลายตัวให้อนุภาคอัลฟา โดยมีครึ่งชีวิตนาน 4.5 x 109 ปี จะมีอนุภาคส่งออกมาต่อวินาทีเป็นเท่าใด ในยูเรเนียมซึ่งมีมวล 1 กิโลกรัม • เรเดียม –226 มีการสลายตัวให้อนุภาคอัลฟาโดยมีค่าคงที่การสลายตัว 1.36 x 10-11 วินาที-1 เรเดียมมวล 1 กรัม จะมีกัมมันตภาพเป็นเท่าใด • จงคำนวณหามวลของคาร์บอน –14 ซึ่งมีกัมมันตภาพ 1 คูรี โดยที่คาร์บอน –14 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,570 ปี

  48. 8. สตรอนเทียม –90 มีครึ่งชีวิต 28 ปี • (ก) จงคำนวณค่าคงที่การสลายตัวของสตรอนเทียม • (ข) จงคำนวณกัมมันตภาพของสตรอนเทียมซึ่งมีมวล 1 มิลลิกรัม • (ค) จะกินเวลานานเท่าใด ที่สตรอนเทียมจะมีมวลลดลงเหลือเพียง 250 ไมโครกรัม และกัมมันตภาพของสตรอนเทียมตอนนั้น จะเท่าใด • ในการวัดกัมมันตภาพของคาร์บอน –14 ในต้นไม้ที่มีชีวิตมีค่า 0.007 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม และจากการวัดกัมมันตภาพของคาร์บอน –14 ในซากไม้ของเรือโบราณพบว่ามีเหลืออยู่เพียง 0.0048 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม ถ้าครึ่งชีวิตของคาร์บอน –14 นาน 5,760 ปี จงคำนวณอายุของเรือโบราณนั้น

  49. จงพิจารณาอนุกรมกัมมันตรังสีทอเรียม (4n) อนุกรมเนปทูเนียม (4n + 1) อนุกรมยูเรเนียม (4n+2) และอนุกรมแอกทิเนียม (4n + 3) โดยที่ n เป็นเลขจำนวนเต็ม n จะมีค่าต่ำสุด และสูงสุดเป็นเท่าใด สำหรับแต่ละอนุกรมดังกล่าวนั้น • จงเปรียบเทียบการไหลของน้ำของถังน้ำชุดหนึ่ง โดยน้ำไหลจากถังไปที่หนึ่งไปยังถังใบที่สองและในขณะเดียวกันจากถังใบที่สองไปยังใบที่สามต่อๆ กันไป กับการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี A ไปเป็นสาร B และจากสาร B ไปเป็นสาร C ต่อๆ กันไปเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การสลายตัวอยู่ในสภาพที่เรียกว่า สมดุล การไหลของน้ำในถังเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร

  50. ในการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี A สลายตัวเป็นสารกัมมันตรังสี B และสลายต่อไปเป็นสาร C ถ้า NO เป็นจำนวนนิวเคลียสที่มีอยู่เดิมของสาร A A, B เป็นค่าคงที่การสลายตัวของสาร A และ B ตามลำดับ จงแสดงว่าจำนวนนิวเคลียสของสาร B จะมีค่ามากที่สุดเมื่อมีการสลายตัวไปเป็นเวลานาน t = ln (B/A) / (B/A) • โดยที่คิดว่าขณะนี้ธาตุซึ่งเป็นสมาชิกในอนุกรมยูเรเนียมอยู่ในสภาพสมดุล • (ก) จะมีปริมาณของเรเดียม –226 อยู่เท่าใดในก้อนเร่ยูเรเนียม –238 อยู่ 1.25 กรัม โดยที่เรเดียมมีครึ่งชีวิต 1,620 ปี และยูเรเนียมมีครึ่งชีวิต 4.5 x 109 ปี • (ข) กัมมันตภาพของยูเรเนียมและเรเดียมในก้อนแร่นั้นเป็นเท่าใด

More Related