1 / 15

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า. สงครามที่ถูกลืม. การรบระหว่าง ไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า.

Download Presentation

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามที่ถูกลืม

  2. การรบระหว่าง ไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า • ยุทธการบ้านร่มเกล้า เกิดขึ้นในกรณีพิพาทระหว่าง ไทย-ลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดน ซึ่งไทยและลาวอ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ โดยลาวได้ส่งกำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยจึงได้ส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน และเกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายอย่างหนักหน่วง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๓๐ - กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ และมีการหยุดยิง ของทั้งสองฝ่ายเมื่อ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑

  3. สาเหตุของความขัดแย้ง 1. ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ กำหนดให้แม่น้ำเหืองเป็นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส แต่ปีถัดมาพนักงานสำรวจทำแผนที่พบว่ามีแม่น้ำเหืองสองสาย ฝรั่งเศสตัดสินใจเอาสายน้ำที่ให้ดินแดนมาก แต่ยังไม่เกิดปัญหา จนถึง พศ. 2530 อ้างว่าบ้านร่มเกล้าเป็นของลาว

  4. 2. ข้อกล่าวหาของลาวต่อไทยอีกอย่างหนึ่งคือ ลาวกล่าวหาว่ามีบริษัทคนไทยบุกรุกเข้าไปตัดไม้และชักลากไม้ของลาวเข้ามาในอาณาเขตไทย ทหารลาวต้องการเงินค่าไม้ เมื่อไม่ได้รับจึงดำเนินการในลักษณะรุกราน

  5. กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวครั้งนี้เป็นแรงผลักดันที่ลาวได้รับจากเวียดนามและโซเวียต ซึ่งพยายามขัดขวางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นหนึ่งในแผนตัดขาดและยึดภาคอีสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอีสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำ • ลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่คือพื้นที่ป่าภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

  6. ก่อนเหตุการณ์ (สมรภูมิบ้านร่มเกล้า) • ใน พ.ศ. 2510-2520 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท) เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงโดยจะยึดอำนาจรัฐ พื้นที่ติดต่อเขตลาวในเขตนี้ คือ ที่อยู่ของชาวเผ่าม้ง ใช้เป็นที่หลบซ่อนและปฏิบัติการ เมื่อถูกปราบปรามเลยหนีข้ามลำเหืองเข้าไปในเขตลาว และ พ.ศ.2525 อินโดจีนเปลี่ยนแปลงประกอบกับนโยบาย 66/2523 ของไทยใช้ยุทธวิธี “กวนป่า ล้อมบ้าน” ใช้ยุทธศาสตร์ “การเมืองนำการทหาร” ชาวม้งกลับใจร่วมพัฒนาชาติไทยกับกองทัพภาคที่ 3 จาก อ. นาแห้ว จ. เลย ไปสิ้นสุดที่บ้านร่มเกล้า จ.พิษณุโลก มีการจัดตั้งทหารพรานคุ้มครองที่ 3405 และ 31 พ.ค. 2530 ลาวยกกำลังเข้าพื่นที่อ้างว่า อ.ชาติตระการ จ. พิษณุโลก เป็นของลาว ทำลายรถแทรกเตอร์ของบริษัทเอกชนไทย ทหารพรานชุด 3405 เข้าปะทะกับทหารลาว และทหารลาวยังกวาดล้างชาวม้งอ้างว่าเคลื่อนไหวต่อต้านลาว

  7. ระหว่างเหตุการณ์ (สมรภูมิบ้านร่มเกล้า) • ทหารไทยเคลื่อนกำลังเข้าไปในพื้นที่ ทั้งทหารม้า ทหารราบ ทหารพราน และปืนใหญ่ ลาวก็เช่นเดียวกัน มีจำนวนอาวุธมากมาย ทหารไทยบุกเข้าทำลายและโจมตี เนิน 1182,1370 และ 1428 ซึ่งฝ่ายลาวยึดเนิน 1428 เป็นฐานปฏิบัติการและฐานปืนใหญ่ กองทัพภาคที่ 3 เปิดยุทธการภูสอยดาว มีการโจมตีกันอย่างรุนแรงทั้งภาคพื้นดินและอากาศ • ทางการลาวมีความประสงค์จะเจรจาเพื่อปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศและกระทรวงต่างประเทศลาวเชิญอุปทูตไทยเข้าบันทึกช่วยจำ โดยกล่าวหาว่าเครื่องบินไทยละเมิดน่านฟ้าลาว ทิ้งระเบิดไทรบุรี และยิงปืนใหญ่ใส่ • พลอากาศ เอกสิทธิ รมว. กระทรวงต่างประเทศ ยืนยันว่า ร่มเกล้าเป็นของไทยและมีหลักฐานชัดเจน

  8. นักศึกษาและพระภิกษุของลาวได้ออกเดินประท้วงไทยเรียกร้องให้ไทยยุติการยิงและถอนกำลังออกจากร่มเกล้านักศึกษาและพระภิกษุของลาวได้ออกเดินประท้วงไทยเรียกร้องให้ไทยยุติการยิงและถอนกำลังออกจากร่มเกล้า • ฝั่งไทยก็มีการประท้วงเช่นกันจากประมาณ 20 จังหวัด ทั่วประเทศ • มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงขึ้นทำให้ฝ่ายไทย เสีย เครื่องบินรบ เอฟ5 อี และ โอวี 10 ซึ่งทางฝ่ายลาวมีทั้งโซเวียตและเวียดนาม ที่ส่งทหารและอาวุธเข้ามาช่วยในการรบครั้งนี้ • ฝ่ายไทยเองก็ขออาวุธจากประเทศสมาชิกอาเซียน และจีน ส่วนสหรัฐนั้นส่งอาวุธให้พร้อมเช็คบิลภายหลัง • เมื่อเสียเครื่องบินทั้งสองลำ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศก้าว ถ้าหากเสียชีวิตทหาร 1 คน ลาวจะต้องเสียอย่างน้อย 3 คน • มีสาสน์จากสหประชาชาติให้ไทยและลาว อดกลั้นให้ถึงที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์เลวร้าย

  9. นายไกรสอน พรมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ได้ส่งสาสน์ถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย เสนอการแก้ไขปัญหาและพร้อมที่จะส่งคณะผู้แทนมาไทย คือ 1. ให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิงและแยกกำลังทหาร 2. ให้ทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการพิสูจน์ข้อเท็จจริงและ วิธีแก้ไข 3. ให้ทั้งสองฝ่ายเสนอต่อเลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อให้ทั้งสองปฏิบัติตามข้อตกลง

  10. และผู้แทนลาวนำโดย พล.อ.สีละหวาด แก้วบุญพัน และคณะ ฝ่ายไทย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเจรจาและแถลงการณ์ร่วม คือ 1. ให้ทั้งสองยุติการยิงในวันที่ 19 ก.พ. 2531 2. ทั้งสองแยกทหารออกจากันฝ่ายล่ะ 3 กิโลเมตร 3. ให้ตั้งคณะกรรมการประสานงานทางทหาร พิสูจน์ตรวจตรา และปฏิบัติการตามข้อตกลง 1,2 อย่างเคร่งครัด • 4. ทั้งสองฝ่ายเคร่งครัดทหารหลีกเลี่ยงการปะทะ เน้นการประสานความเข้าใจ

  11. หลังเหตุการณ์ (สมรภูมิบ้านร่มเกล้า) • มีการประชุมฝ่ายปฏิบัติการหยุดยิงทั้งสองฝ่ายที่บ้านร่มเกล้า พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ และคณะเดินทางไปลาวเป็นการตอบแทนและปรึกษาเพื่อแก้ไขหนทางเพิ่มระดับสันติภาพ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ยังได้พบเสด็จเจ้าสุภานุวงศ์ ประธานสมัชชาในฐานะ อา- หลาน • หลังจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามทางการค้า” ,มีการเยี่ยมเยียนผู้นำทั้งฝ่าย ไทย ลาว และ เวียดนาม กระชับความร่วมมือ ลดความตึงเครียดทางทหาร

  12. ความร่วมมือไทย ลาว โครงการผลิตไฟฟ้าในลาวเพื่อจำหน่ายไฟฟ้ากับไทย - โครงการน้ำเท็น– หินบุน - โครงการห้วยเฮาะ - โครงการน้ำงึม 1 และน้ำลึก - การจัดหาไฟฟ้าให้กับลาว สะพานมิตรภาพไทย ลาว

  13. ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในปัจจุบันเพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี ที่สำคัญได้แก่  • 1. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว • 2. คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว • 3. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว  • 4. คณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ลาว  • 5. คณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนไทย-ลาว  • 6. การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าแขวงชายแดนไทย-ลาว •  7. การประชุมทวิภาคีว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด • 8. สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ

  14. ฝ่ายไทย เสียชีวิต 147 นาย พิการ 55 นาย บาดเจ็บสาหัส 167 นาย บาดเจ็บเล็กน้อย 550 นาย ฝ่ายลาว เสียชีวิต 286 นาย บาดเจ็บ 301 นาย ทหารเวียดนาม เสียชีวิต 157 นาย บาดเจ็บ 112 นาย ทหารโซเวียต เสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 2 นาย ทหารคิวบา เสียชีวิต 2 นาย งบประมาณในการรบประมาณ 3,000 ล้านบาท

  15. อ้างอิง • ทวีเกียรติ เจนประจักษ์.ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว.กรุงเทพ: สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2540. • ยอดธง ทับทิวไม้ .3,000 ล้านบาท ที่ร่มเกล้า.กรุงเทพ : เคล็ดไทย, 2531. • สถาบันเอเชียศึกษา.ไทยกับเพื่อน.กรุงเทพ: ศูนย์หนังสือจุฬา, 2540. • สุรชัย ศิริไกร.การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองลาว.กรุงเทพ: ศูนย์หนังสือจุฬา, 2542. • วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2554.สมรภูมิบ้านร่มเกล้า (ออนไลน์). • สงครามที่ถูกลืม (ออนไลน์).สืบค้นจาก www.gunsandgames.com

More Related