1 / 57

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง. ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้. หลักแนวคิด/หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. เศรษฐกิจพอเพียง. ทฤษฎีใหม่. ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ปรัชญาพอเพียง.

Download Presentation

เศรษฐกิจพอเพียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐกิจพอเพียง

  2. ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ หลักแนวคิด/หลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  3. ปรัชญาพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ ครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง

  4. คำนิยามความพอเพียง ทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัว

  5. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเอง (Relative Self – Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อนโดยต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ตั้งตัวให้มีความพอมีพอใช้ไม่มุ่งหวังแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียวเพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับต่อไปได้

  6. 2. ความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิธีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปีและได้ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล กรสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เพื่อป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยิ่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์

  7. หลักแนวคิดของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

  8. พอประมาณ ความพอดีที่ไม่มากไม่น้อยไม่น้อยจนเกินไป -เหมาะสมกับฐานะการเงิน - เหมาะสมกับรายได้ - สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ - ช่วงเวลาการประกอบอาชีพ - จำนวนสมาชิกในครอบครัว - ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทางภูมิประเทศและสังคม

  9. มีเหตุผล การใช้หลักเหตุผลตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ - มีวินัยทางการเงิน ใช้เงินอย่างมีเหตุผล - เป็นแรงจูงใจในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย - มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต

  10. มีภูมิคุ้มกัน การเตรียมตัวให้พร้อมต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นรอบตัว - ประหยัดอดออม - ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม - มีความมั่งคงในชีวิตและครอบครัว - สุขภาพที่ดี - ครอบครัวอบอุ่น - มีความขยัน อดทน มุ่งมั่น

  11. เงื่อนไขความรู้ ความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน - รู้วิธีการวางแผนในการออมเงิน - วิธีวิเคราะห์รายรับรายจ่าย - รู้จักการทำบัญชี -มีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต

  12. คุณธรรม การยึดถือคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตความอดทนความเพียรการมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน - ความซื่อสัตย์ สุจริต - มีสติปัญญา ในการดำเนินชีวิต - ยึดธรรมะในการดำเนินชีวิต - ขยันหมั่นเพียร อดทน -ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือนร้อน การแบ่งปัน

  13. นำไปสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน

  14. หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระเบิดจากข้างใน พออยู่พอกิน องค์รวม การพึ่งตนเอง ประชาพิจารณ์ เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขาดทุนคือกำไร

  15. โครงการตามพระราชดำริ

  16. โครงการตามพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางแผนพัฒนาและทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการโดยที่พระองค์เสด็จฯ ร่วมทรงงานด้วย ปัจจุบันเรียกโครงการนี้ว่า โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นงานด้านวิชาการ ลักษณะของโครงการมีหลักการดังนี้ 1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 2. การพัฒนาตามขั้นตอน ตามลำดับความจำเป็น ประหยัด 3. การพึ่งตนเอง 4. ภูมิสังคม 5. ความเรียบง่ายและประหยัด 6. การส่งเสริมความรู้และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม 7. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

  17. ทฤษฎีใหม่

  18. ทฤษฎีใหม่ • มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตนเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อน ซึ่งมีความโดดเด่นใน ๔ ด้าน คือ • การจัดลำดับความสำคัญของการใช้ทรัพยากร ของกิจกรรมและขั้นตอนการกระทำก่อนหลัง ส่งเสริมความสามัคคีในชุมชนเกษตรกร เพื่อให้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน ขั้นที่สองให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ สวัสดิการ สังคม การศึกษาและศาสนา ขั้นที่สามให้ความสำคัญกับการร่วมมือกับแหล่งทุนและธุรกิจภายนอก • การประสานความร่วมมือ ประสานงานระหว่างหน่วยราชการ ระหว่างภาคธุรกิจกับภาครัฐ และระหว่างธุรกิจด้วยกัน • การสร้างความเห็นพ้องต้องกัน ตระหนักถึงสาระที่แท้จริงของการดำเนินชีวิต นั่นคือ ความพอเพียง ความพออยู่พอกิน และการพึ่งตนเอง • ความเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วม เน้นการระเบิดจากข้างใน เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล

  19. ความพอเพียงระดับบุคคลความพอเพียงระดับบุคคล เศรษฐกิจพอเพียง แบบพื้นฐาน ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๑ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่๒ ความพอเพียงระดับชุมชน/องค์กร เศรษฐกิจพอเพียง แบบก้าวหน้า ความพอเพียงระดับประเทศ ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ ๓ เศรษฐกิจพอเพียง & ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ

  20. เศรษฐกิจพอเพียง มี 2 แบบ 1. แบบพื้นฐาน - พอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัว 2. แบบก้าวหน้า - พอเพียงในระดับชุมชนและองค์กร - พอเพียงในระดับประเทศ เกษตรทฤษฎีใหม่ มี 3 ขั้น 1. ขั้นที่ 1 การผลิตที่พึ่งพาตนเองแบบง่าย ๆ(30-30-30-10) 2. ขั้นที่ 2 รวมตัวกันเป็นองค์กร 3. ขั้นที่ 2 ส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

  21. แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงแนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง • เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง คือ ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย

  22. 1.การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน1.การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน เพื่อให้เกษตรกรพัฒนาตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง

  23. 2.การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย2.การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย

  24. 3.การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย)เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบำรุงดิน3.การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย)เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบำรุงดิน

  25. 4.การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา4.การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา

  26. 5.การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน

  27. 6.การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย

  28. 7.การเลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม

  29. 8.การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ 10-15 ตัวต่อครัวเรือนเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษอาหาร รำ และปลายข้าวจากผลผลิตการทำนา ข้าวโพดเลี้ยงสัตวจากการปลูกพืชไร่

  30. 9.การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์9.การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

  31. สรุปหลักการประยุกต์ทฤษฎีใหม่สรุปหลักการประยุกต์ทฤษฎีใหม่ สำหรับเศรษฐกิจพอเพียง 1. ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 10-15 ไร่ 2. ทฤษฎีใหม่ขั้นที่หนึ่ง ทำการผลิตกิจกรรมการเกษตร พืช สัตว์ และประมงในไร่นา 3. มีข้าวพอเพียงในการบริโภคในครัวเรือน 4. ปัจจัยสำคัญคือการจัดการที่ดิน แหล่งน้ำ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ แรงงานและการลงทุนในไร่นา 5. ในขั้นที่สอง เกษตรกรรวมกลุ่มมุ่งเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 6. ในขั้นที่หนึ่งการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ในอัตราส่วน 30:30:30:10 7. ในขั้นที่สาม เมื่อชุมชนหรือกลุ่มเข้มแข็งจึงร่วมกับคน ภายนอกค้าขายและสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจ 8. ด้วยหลักของทฤษฎีใหม่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 9. สร้างประโยชน์ร่วมกัน

  32. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  33. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • โดยพื้นฐานก็คือ การพึ่งตนเอง เป็นหลักการทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง • พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ • การสร้างสามัคคีให้เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความสมดุลในแต่ละสัดส่วน แต่ละระดับ • ครอบคลุมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจิตใจ และวัฒนธรรม

  34. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยหลักการพึ่งตนเอง 5 ด้าน

  35. การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประพฤติปฏิบัติ

  36. ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัวความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งกายและใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ดำเนินชีวิตโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รู้จักการออม การดูแลสุขภาพ รักษาวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

  37. ความพอเพียงระดับชุมชนความพอเพียงระดับชุมชน คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันในชุมชนและนอกชุมชน ทั้งได้เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรในชุมชนมาสร้างประโยชน์อย่างเหมาะสม

  38. ความพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชนความพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่หวังผลในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น มุ่งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม เป็นธรรม

  39. ความพอเพียงระดับประเทศความพอเพียงระดับประเทศ เป็นการบริหารจัดการประเทศ โดยเริ่มจากการวางรากฐานให้ประชาชนส่วนใหญ่อยู่อย่างพอมีพอกิน และพึ่งตนเองได้ มีความรู้และคุณธรรมในการดำเนินชีวิต มีการรวมกลุ่มของชุมชนหลายแห่งเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  40. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตของนักเรียนการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตของนักเรียน

  41. การรู้จักช่วยเหลือตนเองและครอบครัวการรู้จักช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ด้วยการจัดทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเองและครอบครัวอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การใช้ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์อย่างประหยัด รู้จักเก็บออม มีวินัยในการใช้จ่าย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ..............................ฯลฯ...................................

  42. การใช้ในการพัฒนาจิตใจการใช้ในการพัฒนาจิตใจ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีจิตใจเข้มแข็ง เป็นตัวของตัวเอง มีความใฝ่ดี หลีกเลี่ยงอบายมุขที่จะนำไปสู่ความเสื่อมเสียแก่ตนเองและครอบครัว มีจิตสำนึกที่ดี................ฯลฯ....................

  43. การนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมการนำไปใช้ในการพัฒนาสังคม มีความรู้ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน นำองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น นำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม..............ฯลฯ....................

  44. การนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเองและชุมชนอย่างสมดุล เช่น รู้จักการใช้ที่ดินว่างเปล่าภายในบ้านให้เกิดประโยชน์ การไม่ทิ้งของเสียลงแม่น้ำลำคลอง ..........................ฯลฯ....................

  45. การนำไปใช้ในการพัฒนาวัฒนธรรมการนำไปใช้ในการพัฒนาวัฒนธรรม ด้วยการตระหนักถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การใช้สินค้าไทย พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความสำคัญกับมารยาทไทย..........................ฯลฯ....................

  46. ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย

  47. 1 ผู้คนในชุมชนดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เพราะทุกคนพออยู่ พอกิน ตามสมควรแก่อัตภาพ ไม่อดอยาก ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้อีกด้วย

  48. 2 สมาชิกในชุมชนเกิดความสมัครสมานสามัคคี ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน

  49. 3 เศรษฐกิจชุมชนเกิดความเข้มแข็ง เพราะประชาชนมีการประกอบอาชีพ มีรายได้ ช่วยลดการพึ่งพาเศรษฐกิจภายนอก

More Related