1 / 12

ความหมายของการ วิจัย / การศึกษาค้นคว้า

ความหมายของการ วิจัย / การศึกษาค้นคว้า.

Download Presentation

ความหมายของการ วิจัย / การศึกษาค้นคว้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความหมายของการวิจัย/การศึกษาค้นคว้าความหมายของการวิจัย/การศึกษาค้นคว้า

  2. คำว่าวิจัย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Research ซึ่งในพจนานุกรมฉบับ Webster ได้ให้ความหมายของคำว่า Research ว่าเป็นคำผสมของคำสองคำ (Re + search) โดยคำว่า Re = again แปลว่า ซ้ำ และคำว่า Search แปลว่า ค้นหา ดังนั้น เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า “การค้นหาซ้ำหรือการค้นคว้าอีก” นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าวิจัยไว้อีกหลายท่าน เช่น

  3. 1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546 : 1,072) ได้ให้ความหมายว่า วิจัยหมายถึง การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชาการ 2. พ.ร.บ. สภาวิจัยแห่งชาติได้บัญญัติไว้ว่า การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้าที่มีระบบแบบแผนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3. เทียนฉาย กีระนันท์ (2541 : 2 - 3) ให้ความหมายว่า การวิจัย เป็นเรื่องของการศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์หรือหาคำตอบ หรือข้อเท็จจริงอะไรบางอย่างที่ยังไม่มีการค้นพบในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน หรือ อาจจะมีการค้นพบมาแล้วแต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปก็ต้องการค้นหาคำตอบอีกครั้งหนึ่งก็ได้

  4. จากความหมายของการวิจัยที่กล่าวมาแล้วนี้พอสรุปได้ว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าความจริง ความรู้ที่เราสงสัย เพื่อหาคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ดำเนินไปอย่างมีระเบียบและเป็นที่ยอมรับกันในทางวิชาการด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องกับปัญหาที่ตั้งไว้

  5. วิธีการค้นหาความรู้ 1. การรับความรู้จากแหล่งภายนอกตนเอง 1.1 ผู้มีอำนาจ (authority) การรับความรู้จากผู้มีอำนาจเป็นการได้รับความรู้จากการบอกเล่าของผู้มีอำนาจ ซึ่งหมายถึง ผู้มีอิทธิพลทางความคิดหรือที่เรียกอย่างหนึ่งว่า นักปราชญ์ ในสมัยโบราณคนทั่วไปจะยกย่องนับถือนักปราชญ์ ความคิด ความเชื่อของนักปราชญ์เป็นสิ่งที่โต้แย้งไม่ได้ มนุษย์เราจึงเชื่อถือตามนักปราชญ์โดยไม่มีการพิสูจน์

  6. 1.2 ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) การรับรู้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเป็นการได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เมื่อมีปัญหาหรือต้องการคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใดก็ไปถามผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้น เช่น เมื่อเจ็บป่วยก็ไปหาแพทย์ นอกจากนี้การเข้าฝึกอบรม การประชุมสัมมนา และการศึกษาเล่าเรียนจากหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรหรือครู อาจารย์ ก็ถือเป็นการรับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ1.3 ขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition) การรับความรู้จากขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นการได้ความรู้มาจากสิ่งที่บุคคลในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงว่าสิ่งนั้นถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับการแต่งกาย การรับประทานอาหาร การพูด รวมทั้งประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

  7. วิธีการค้นหาความรู้ทางสังคม ซึ่งหมายรวมถึงศาสตร์ทางการศึกษาด้วย ก็เป็นวิธีการที่ประยุกต์มาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยการดำเนินงานเป็นขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 การตั้งสมมติฐาน ขั้นที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 5 การเขียนรายงาน

  8. ขั้นตอนของการวิจัย/ศึกษาค้นคว้าขั้นตอนของการวิจัย/ศึกษาค้นคว้า 1. การกำหนดปัญหา การกำหนดปัญหาหมายถึง การกำหนดปัญหาวิจัย เป็นการเลือกเรื่องที่เป็นปัญหาที่ควรทำวิจัย วิเคราะห์ทำความเข้าใจประเด็นปัญหาให้ชัดเจน ระบุประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบคำตอบ ในทางปฏิบัติเมื่อได้ประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบคำตอบแล้ว ผู้วิจัยต้องออกแบบการวิจัยเพื่อให้ได้แนวทางและวิธีดำเนินการวิจัย ที่จะนำไปสู่คำตอบของปัญหาการวิจัยนั้น รวมทั้งกำหนดขอบเขตของการวิจัยเกี่ยวกับประชากร ตัวแปร และระยะเวลาของเรื่องที่ศึกษา ตลอดจนตั้งวัตถุประสงค์ของเรื่องการวิจัย

  9. 2. การตั้งสมมติฐาน การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้และผลการวิจัยที่มีมาก่อนเป็นแนวทาง

  10. 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย เป็นการดำเนินงานเพื่อให้ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์หาคำตอบของปัญหาตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ตั้งไว้

  11. 4. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หรืออาจเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน ซึ่งควรมีการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลแล้วจึงดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามที่ออกแบบและวางแผนไว้และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จก็จะเป็นการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล และลงข้อสรุปที่เป็นผลการวิจัย

  12. 5. การเขียนรายงาน การเขียนรายงาน หมายถึง การเขียนรายงานการวิจัย เป็นการรายงานให้ทราบถึงกระบวนการวิจัย ที่ได้ทำไปแล้ว และผลการวิจัยที่รับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

More Related