1 / 20

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. Acute Myocardial Infarction. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน.

quiana
Download Presentation

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน Acute Myocardial Infarction

  2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมีการตีบแคบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ หากการขาดเลือดนั้นนานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นมีการตายเกิดขึ้น

  3. ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1. อายุ พบมากในผู้สูงอายุ 2. เพศ พบมากในเพศชาย 3. กรรมพันธุ์ 4. มีไขมันในเลือดสูง 5. สูบบุหรี่ 6. ความดันโลหิตสูง

  4. 7. โรคเบาหวาน 8. ภาวะเครียด 9. ความอ้วน 10. ขาดการออกกำลังกาย

  5. อาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 1. เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด โดยเจ็บแน่นบริเวณทรวงอกซ้ายหรือกระดูกลิ้นปี่ ร้าวไปที่หัวไหล่และแขนซ้าย โดยเฉพาะแขนซ้ายหรือร้าวไปที่คาง กราม หรือหลัง ระยะเวลาในการเจ็บครั้งหนึ่ง ๆ นานเกิน 30 นาที ความเจ็บจะไม่บรรเทาลงโดยการใช้ยาอมใต้ลิ้น

  6. 2. ความเจ็บปวดมักเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีอาการเหนื่อยหอบ ไอ และ/หรือมีอาการเขียวร่วมด้วย

  7. การรักษา 1. รักษาด้วยยา โดยแพทย์จะให้ยาลดอาการปวด ยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความดันโลหิตและลดการบีบตัวหัวใจ ยาละลายลิ่มเลือด

  8. 2. การรักษาโดยใช้ลูกโป่งเข้าไปถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ ที่ตีบตัน ภายหลังการตรวจสวนหัวใจ ซึ่งจะเป็นการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ แล้วเอกซเรย์ดูตำแหน่งที่ตีบหรือตันก่อน

  9. 3. การรักษาโดยการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ โดยทำทางเบี่ยงหลอดเลือดให้เลือดไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจได้

  10. การปฏิบัติตัวเมื่อรู้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันการปฏิบัติตัวเมื่อรู้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดย - งดสูบบุหรี่เด็ดขาด ถ้าไม่สามารถงดได้ทันทีควรลดการสูบลง ให้น้อยที่สุด - รักษาและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ( ถ้ามี )

  11. - รักษาอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป โดยงดหรือลดการทำงานที่ต้องใช้กำลัง หรือการใช้สมองคิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

  12. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจ

  13. 2. อาหาร - ลดอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ไขมันจากสัตว์ นม เนย มะพร้าว เครื่องในสัตว์ สำหรับไข่แดงไม่ควรรับประทานเกินกว่าสัปดาห์ละ 3 ฟอง และควรใช้น้ำมันพืช ยกเว้นน้ำมันปาล์มและมะพร้าว ทดแทนน้ำมันสัตว์

  14. - งดการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ซึ่งกระตุ้น การทำงานของหัวใจ - งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด ของหมักดอง - ควรรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้มาก ๆ เพื่อช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ - ควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อแค่พออิ่ม - ควบคุมน้ำหนักตัว

  15. 3. การรับประทานยา ต้องรับประทานยาอย่างถูกต้อง ตามแผนการรักษา ไม่ลด หยุดหรือเพิ่มยาเอง และสังเกตอาการหลังรับประทานหากผิดปกติ รีบไปพบแพทย์ ส่วนการใช้ยาอมใต้ลิ้น ควรพกติดตัวตลอดเวลา

  16. การใช้ยาอมใต้ลิ้น ใช้เมื่อมีอาการเจ็บอก หรือก่อนการออกกำลังกาย ให้อมยาใต้ลิ้น 1 เม็ดถ้าอาการเจ็บไม่ทุเลาให้อมยาซ้ำ อีก 2 ครั้งครั้งละ 1 เม็ด แต่ละครั้งห่างกัน 5 นาที หากยังไม่หายให้รีบไปพบแพทย์

  17. 4. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย 24 ชั่วโมงแรก ท่านต้องนอนพักบนเตียง ต่อไปจึงค่อย ๆ เพิ่มการออกแรงขึ้นทีละน้อยตามดุลยพินิจของแพทย์ และเมื่อท่านกลับไปบ้าน การเพิ่มกิจกรรมและการออกกำลังกาย ท่านจะต้องจับชีพจรตนเองก่อนหากขณะออกกำลังพบว่าชีพเพิ่มเกินกว่าเดิม 20 ครั้งต่อนาที หรือถ้ามีอาการเวียนศรีษะ ใจเต้นแรง เหนื่อยหอบ เจ็บอก ให้หยุดทันที หากเกิดมีอาการซ้ำในการออกกำลังครั้งต่อไปควรปรึกษาแพทย์

  18. 5. การพักผ่อน ท่านควรพักผ่อน นอนหลับ 8 ชั่วโมง และอีก 1 ชั่วโมงหลังอาหารกลางวัน ควรพักฟื้นที่บ้านจนกว่าจะครบ 8-12 สัปดาห์

  19. 6. การมีเพศสัมพันธ์ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการออกกำลังมาก ๆ และเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้หลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประมาณ 6-8 สัปดาห์

  20. 7. ท่านควรมาตรวจตามนัดเป็นประจำ หากท่านมีอาการผิดปกติก่อนวันนัด ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด

More Related