1 / 19

จริยธรรมธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค

Chapter 7. จริยธรรมธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค. ความหมายของการบริโภค. การบริโภคหมายถึง กิน เสพ ใช้สิ้นเปลือง ใช้สอย จับจ่าย และรวมถึง การจับจ่ายใช้สอย การซื้อสิ้นค้า และการใช้บริการต่าง ๆ. ผู้บริโภค คือใคร. ผู้บริโภคคือ คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง คนปกติ

Download Presentation

จริยธรรมธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 7 จริยธรรมธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค

  2. ความหมายของการบริโภค การบริโภคหมายถึง กิน เสพ ใช้สิ้นเปลือง ใช้สอย จับจ่าย และรวมถึง การจับจ่ายใช้สอย การซื้อสิ้นค้า และการใช้บริการต่าง ๆ ผู้บริโภคคือใคร ผู้บริโภคคือ คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ชายหรือผู้หญิง คนปกติ หรือคนป่วยต่างก็เป็นผู้บริโภคเพราะเป็น ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ซื้อสินค้า ผู้ใช้สินค้า ผู้ซื้อบริการ ผู้ใช้บริการ ทั้งสิ้น

  3. จริยธรรมพื้นฐานของธุรกิจต่อผู้บริโภคจริยธรรมพื้นฐานของธุรกิจต่อผู้บริโภค ภารกิจสำคัญของการประกอบธุรกิจ คือการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ตรงกับประโยชน์การใช้สอย หรือตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สิทธิของผู้บริโภคและหน่วยงานที่จะทำหน้าที่แทนผู้บริโภค 1. สิทธิของผู้บริโภค พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย พ.ศ.2552 ปรับปรุงเพิ่มเติมปี พ.ศ.2541 ได้กำหนดว่าผู้บริโภค มีสิทธิ 3 ประการ คือ 1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 3. สิทธิที่จะได้รับพิจารนาและชดเชยความเสียหาย

  4. สหพันธ์ผู้บริโภคระหว่างชาติ ได้เพิ่มสิทธิผู้บริโภคเป็น 8 ประการตามลำดับ ดังนี้ 1. ได้รับความปลอดภัย 2. ได้รับข้อมูลข่าวสาร 3. ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม 4. ร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม 5. ได้รับชดเชยค่าเสียหาย 6. ได้รับความจำเป็นพื้นฐาน 7. ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด

  5. ผู้บริโภคมีหน้าที่ต้องรักษาประโยชน์ของตนเอง ดังนี้ 1.ก่อนการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ 1. ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบฉลาก ปริมาณ ราคา แหล่งกำเนิด อย่าหลงเชื่อ 2. เมื่อทำสัญญาผูกพันตามกฎหมายต้องตรวจสอบความหมายของภาษาว่าให้ประโยชน์ครบถ้วนตามข้อตกลง 3. ข้อตกลงที่สำคัญควรทำเป็นหนังสือสัญญา มีลายมือชื่อขงผู้ประกอบการ 2.หลังการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ 1. เก็บรักษาหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึงการละเมิดสิทธิ 2. เก็บเอกสารสัญญา หรือใบสำคัญต่าง ๆ 3. ทำได้ คือ การร้องเรียนในนามตนเอง ผ่านช่องทางต่างๆ

  6. 2. หน่วยคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยงานที่เป็นส่วนราชการ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2522 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 105 วันที่ 1 กรกฎาคม 2522 มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฎาคม 2522 ส่วนองค์ภาคเอกชน เริ่มมีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคในปี 2514 เมื่อสภาสตรีแห่งชาติได้เคลื่อนไหวคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

  7. แนวความคิดการคุ้มครองผู้บริโภคแนวความคิดการคุ้มครองผู้บริโภค ความเป็นมาของการคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเชื่อว่า รัฐบาลควรให้โอกาสเอกชนดำเนินการผลิตเองโดยเสรีอันเป็นที่มาของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งแนวคิดนี้ถือว่ามนุษย์ทุกคนมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ ต่อมาพบว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ผลิตใช้กรรมวิธีการผลิตที่ลดต้นทุนต่าง ๆ ลงโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของสินค้า ตามความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น ความจำเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีความจำเป็น มากขึ้น

  8. ความเป็นมาของการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยความเป็นมาของการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี 2512 โดยกลุ่มบุคคลภาคเอกชนที่ริเริ่มกิจกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น คือ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมาปี พ.ศ.2514 ได้ประสานงานกับรัฐบาลจนสามารถผลักดันให้รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 115 ตอนที่ 15 วันที่ 24 มีนาคม 2541

  9. การคุ้มครองผู้บริโภค และการส่งเสริมความรู้ผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภค มีสาเหตุมาจากปัญหาเรื่องปากท้อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของระบบการตลาด ซึ่งครอบคลุมไปถึงการจำหน่ายสินค้าในครัวเรือน และบริการต่าง ๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามีอยู่ 3 ฝ่าย คือ 1. ผู้บริโภค หรือ ผู้ซื้อผู้ใช้ 2. ผู้ผลิต 3. รัฐ

  10. การส่งเสริมความรู้ผู้บริโภคการส่งเสริมความรู้ผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภครัฐต้องใช้มาตรการที่สลับซับซ้อน และมักมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องผนึกกำลังกันเข้าเป็นองค์กร เรียกว่า “การรวมพลังผู้บริโภค” เพื่อป้องกันผลประโยชน์ในสิ่งที่เขาต้องการ และมาสามารถจะหามาแทนได้ ความต้องการของผู้บริโภคมีขอบข่ายอยู่ 3 ประการคือ 1. ความเป็นธรรม 2. ความปลอดภัย 3. ความประหยัด

  11. สาระสำคัญพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคสาระสำคัญพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค 1. คำจำกัดความ 1. ผู้บริโภค หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ 2. ซื้อ หมายความรวมถึง ให้เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาโดยให้ค่าตอบแทน 3. ขาย หมายความรวมถึง ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้โดยเรียกค่าตอบแทน 4. สินค้า คือ สิ่งของที่ผลิต หรือ มีไว้เพื่อขาย 5. บริการ หมายความว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิ 6. ข้อความ หมายถึง อักษรที่ปรากฏเป็นภาพ แสง สี 7. โฆษณา หมายถึง การกระทำให้ประชนเห็นข้อความ เพื่อประโยชน์ทางการค้า 8. ฉลาก หมายความถึง รูป หรือสิ่งอื่นที่ทำให้ข้อความที่ปรากฎเกี่ยวกับสินค้า

  12. 2. มาตราทั่วไป 1. มาตรา 4 ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง 2. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 3. การคุ้มครองด้านการโฆษณา 4. การคุ้มครองด้านฉลาก 5. การคุ้มครองด้านสัญญา 6. การคุ้มครองด้านอื่น ๆ 7. การลงโทษ

  13. มาตรฐาน 1. ความเป็นมาของมาตรฐาน ประเทศไทยเริ่มดำเนินการจริงจังในปี พ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2511 มีการตราพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม คุ้มครองความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 2. ความสำคัญของมาตรฐาน 2.1 ทำให้เข้าใจตรงกัน 2.2 เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขาย 2.3 ช่วยคุ้มครองความปลอดภัย 2.4 เกิดความประหยัด สามารถสับเปลี่ยนทดแทนได้ 2.5 เกิดความสะดวกในการเลือกซื้อ

  14. 3. การดำเนินการในด้านมาตรฐาน • หน่วยงานที่สำคัญที่สุดในเรื่องมาตรฐานในประเทศไทย คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) มีหน้าที่ 3 ประการ คือ • กำหนดมาตรฐาน • การรับรองคุณภาพ • การตรวจสอบด้านความปลอดภัย

  15. ความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค หมายถึง ความถูกต้องที่พึงปฏิบัติต่อผู้บริโภค มีดังนี้ 1. ความเป็นธรรมด้านราคา พิจารณาได้จาก * ความพอใจในราคา * ราคาตามหลักอุปสงค์ - อุปทาน * ราคาตามต้นทุน * ราคาตามฤดูกาล 2. ความเป็นธรรมด้านคุณภาพ พิจารณาได้จาก * วัตถุดิบที่นำมาผลิตมีคุณภาพดี * กรรมวิธีในการผลิตมีความถูกต้อง * ประโยชน์จากการใช้สอยสามารถใช้การได้ดี

  16. 3. ความเป็นธรรมด้านบริการ พิจารณาได้จาก * การรับประกัน * การบำรุงรักษา * การให้สินเชื่อในเงื่อนไขที่เหมาะสม 4. ความเป็นธรรมด้านการโฆษณาชวนเชื่อ พิจารณาได้จาก * โฆษณาบนพื้นฐานความเป็นจริง * โฆษณาบนพื้นฐานความจำเป็น

  17. หลักในการกำหนดราคา • ถ้าอุปสงค์มาก อุปทานน้อย ราคาจะสูง • ถ้าอุปสงค์มาก อุปทานมาก ราคาคงที่ • ถ้าอุปสงค์น้อย อุปทานน้อย ราคาคงที่ • ถ้าอุปสงค์น้อย อุปทานมาก ราคาต่ำ

  18. การบริการที่ไม่ดี ได้แก่ • มีของให้เล็กน้อย • ผู้ขายเซ้าซี้ให้ลูกค้าซื้อของจนน่ารำคาญ • ของที่เสนอขายมีราคาแพง • บริการอืดอาดล่าช้า ลูกค้าต้องคอยนานเกินไป • นัดแล้วไม่เป็นไปตามนัด • ห่อของไม่เรียบร้อย • หยิบต้องของที่จะใช้บริโภคไม่สะอาดพอ • เป็นร้านที่มีการระบายอากาศไม่ดี อับทึบ • ผู้ขายมีกิริยามารยาทไม่สุภาพเรียบร้อย • มีผู้คนเตร่ไปเตร่มาภายในร้านหรือนอกร้าน

  19. "The determined man finds the way, the other finds an excuse or alibi." ผู้ที่แน่วแน่และมุ่งมั่นจะหาหนทางแก้ปัญหา ในขณะที่คนอื่นจะหาหนทางแก้ตัว

More Related