1 / 37

เสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

เสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง. เสียงมีความสำคัญต่อการผลิตวิทยุ เพราะ. ช่วยให้การผลิตรายการบรรลุเป้าหมาย ช่วยให้รายการมีสีสัน มีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ ช่วยดึงความสนใจของผู้ฟังรายการ ช่วยเร้าจินตนาการให้ผู้ฟังคล้อยตามอารมณ์ที่ผู้ผลิตรายการต้องการถ่ายทอด. ประเภทของเสียง.

raina
Download Presentation

เสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเสียงกับงานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

  2. เสียงมีความสำคัญต่อการผลิตวิทยุ เพราะ • ช่วยให้การผลิตรายการบรรลุเป้าหมาย • ช่วยให้รายการมีสีสัน มีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อ • ช่วยดึงความสนใจของผู้ฟังรายการ • ช่วยเร้าจินตนาการให้ผู้ฟังคล้อยตามอารมณ์ที่ผู้ผลิตรายการต้องการถ่ายทอด

  3. ประเภทของเสียง เสียงที่ใช้ในการผลิตรายการ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท • เสียงพูด (Voice Over) • เสียงเพลง (Music) • เสียงประกอบ (Sound Effect)

  4. ประเภทของเสียง • เสียงพูดหรือ voice overเป็นเสียงพูดธรรมดาในการจัดรายการ • เสียงผู้ชาย (Male Voice Over) ใช้ตัวย่อใน script ว่า MVO • เสียงผู้หญิง (Female voice over) ใช้ตัวย่อ FVO • เสียงผู้ประกาศ ใช้เป็นคำกลางๆ ระบุว่าเป็นเสียงพูด โดยไม่ระบุเพศ ย่อด้วย ANN • ในการเขียนบทวิทยุจะกำหนดตั้งแต่ต้นเลยว่าต้องการเสียงใครในช่วงใดของรายการ และระบุไว้ในบทด้วย • เสียงเพลง (Music) • เสียงเพลงบรรเลง คือ ดนตรีล้วน ไม่มีเสียงร้อง มักใช้เปิดคลอไปพร้อมกับเสียงพูดเพื่อเพิ่มอรรถรสในงาน หรือแทนอารมณ์ที่ต้องการสื่อความหมายให้ผู้ฟังคล้อยตาม • เสียงเพลงร้อง โดยมากจะไม่นิยมนำมาเปิดคลอกับการพูด เพราะจะรบกวนกัน ถ้าจะเป็นเสียงเพลงร้อง ก็จะเปิดเพลงนั้นไปเลย เช่น รายการเพลงต่างๆ

  5. ประเภทของเสียง เสียงประกอบ หรือ sound effect คือเสียงที่มีความยาวไม่มาก ใช้ผลิตรายการในช่วงสั้นๆ เพื่อประกอบเสียงบรรยาย ให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการ Sound effect มีทั้ง เสียงธรรมชาติ คือเสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติมา และเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น จะเป็นเสียงที่ไม่ได้มีอยู่จริงในสิ่งแวดล้อม แต่สร้าง ขึ้นเพื่อให้เกิดสีสัน อารมณ์ต่างๆ ในรายการ เวลาเขียนบทใช้ตัวย่อว่า SFX

  6. ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ ในการผลิตรายการวิทยุ เราจะนำเสียงทั้งสามประเภทมาเลือกใช้ตามความ เหมาะสม และผสมผสานกันให้เกิดการเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจ  ประเภทงาน เสียงต่างๆ ซึ่งจะมีความยาว รูปแบบ และการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน Voice Over Music Sound effect

  7. ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Jingle คือ • เสียงพูด + เสียงเพลง ยาว 10-20 วิ • มีวัตถุประสงค์ 3 อย่างคือ แนะนำชื่อรายการ แนะนำช่วงรายการ และแนะนำผู้จัดรายการ • Jingle intro ใช้เปิดตอนต้นเพื่อนำเข้ารายการ • Jingle outro ใช้เปิดตอนท้ายเพื่อปิดรายการ หรือพักรายการไปเข้าโฆษณา • เปรียบเหมือน ไตเติลรายการ

  8. ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Drop in คือ • เสียงพูดสั้นๆ ความยาว 1-3 วินาที • นิยมเปิดขณะเล่นเพลงในช่วงที่เป็นจังหวะดนตรี ไม่มีเสียงร้อง อาจเป็นชื่อรายการ หรือ เป็นคำที่นำมาใช้โดยไม่ได้สื่อความหมาย • ใช้เพื่อสร้างสีสันให้รายการ

  9. ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Sweeper คือ • เสียงพูดเปล่าๆ หรือ เสียงพูด + เสียงเพลง ความยาว 5-10 วินาที • ใช้เปิดในรายการเพลงเพื่อเชื่อม หรือ คั่นเพลงสองเพลงที่มีจังหวะ และอารมณ์ต่างกัน • มีบทบาทมากในการกวาดอารมณ์เพลงจากเพลงเร็วไปเพลงช้า หรือจากเพลงที่เนื้อหาต่างกัน แต่ยังทำให้รายการดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น กลมกลืน

  10. ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Station ID คือ • เสียงพูดเปล่าๆ หรือ เสียงพูด + เสียงเพลง ความยาว 20-25 วินาที ใช้เปิดตอนต้นชั่วโมงเท่านั้น เพื่อบอกรายละเอียดต่างๆ ของสถานีให้ผู้ฟังทราบ ได้แก่ ชื่อหน่วยงานเจ้าของสถานี ที่ตั้งสถานี คลื่นความถี่ ชื่อรายการ ชื่อบริษัทผู้ผลิต หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น

  11. ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Spot คือ • เสียงพูด + เสียงเพลง + เสียงประกอบ ความยาว 30-45 วินาที ปกติจะไม่เกิน 30 วินาที • ผู้สนับสนุนรายการ โฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง

  12. ประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุประเภทของงานเสียงในรายการวิทยุ Spot Promo คือ • เสียงพูด + เสียงเพลง + เสียงประกอบ ความยาว 45-60 วินาที • เรียกสั้นๆ ว่า “สปอตโปรโมท” หรือ “โปรโม” • เป็นงานเสียงเพื่อประชาสัมพันธ์รายการหรือกิจกรรมต่างๆ ของสถานี ตลอดจนเพื่อรณรงค์ให้เกิดผลต่อเนื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง

  13. ห้องผลิตรายการ ห้องผลิตรายการคือใช้เป็นห้องบันทึกเสียง และมักสร้างให้มีลักษณะเป็นห้องชุด (ฝรั่งเรียกว่า Studio) คือในพื้นที่เดียวกันจะแบ่งซอยออกเป็นห้องเล็กๆ ประกอบไปด้วยห้องผู้ประกาศ ห้องควบคุม ห้องบันทึกเสียง ห้องตัดต่อเสียง และห้องส่งกระจายเสียง

  14. ห้องผลิตรายการ • ห้องสี่เหลี่ยมที่ภายในบุฝาผนังและเพดานด้วยวัสดุชนิดพิเศษเพื่อป้องกันเสียงจากภายนอกห้อง และกำจัดเสียงก้องสะท้อนที่เกิดภายในห้องด้วย วัสดุที่นำมาใช้ต้องมีลักษณะพิเศษในการเก็บเสียง เช่น ใยแก้วและแผ่นดูดเสียง (Acoustic Board) • บริเวณพื้นยังต้องยกระดับให้สูงกว่าห้องทั่วไปที่อยู่ติดกัน และรองใต้พื้นห้องด้วยยาง และปูพรมหรือวัสดุป้องกันเสียงด้านบนสุด เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายในห้อง และไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาเดินในห้อง • ทางเข้าออกต้องสร้างประตูถึงสองชั้น คือชั้นนอก 1 บาน และชั้นในอีก 1 บาน

  15. ห้องผลิตรายการ • ระหว่างห้องผู้ประกาศและห้องควบคุม-ห้องบันทึกเสียงจะกั้นด้วยกระจกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ใหญ่นัก แค่พอมองเห็นและสื่อสารกันได้ เพราะกระจกมีคุณสมบัติทำให้เกิดเสียงสะท้อนได้ • โดยทั่วไป สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือ ผู้ผลิตรายการแต่ละแห่ง จะมีห้องผลิตรายการอย่างน้อย 2 ห้อง ห้องหนึ่งใช้ผลิตรายการสด ออกอากาศทันที ส่วนอีกห้องใช้ผลิตรายการที่บันทึกเทปไว้ล่วงหน้า และใช้ผลิตงานเสียงประเภทต่างๆ เช่น Jingle หรือโฆษณา เรียกได้ว่า ห้องผลิตรายการเป็นคลังสมองเป็นหัวใจของสถานีวิทยุ

  16. ห้องผลิตรายการ ส่วนของห้อง control room หรือ ห้องควบคุมเสียง • เป็นห้องที่ใช้ควบคุม สั่งการการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง • ประกอบด้วยอุปกรณ์ในการผลิตเสียงทั้งหมดสำหรับการออกอากาศ ได้แก่ คอนโซลหรือแผงผสมเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่น-คอมแพ็คดิสก์ เทปบันทึกเสียง ไมโครโฟน เป็นต้น อุปกรณ์ต่าง ๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรัศมีที่มือเอื้อมถึงเพื่อสะดวกในการใช้ • มีระบบ การสื่อสารระหว่างห้องควบคุมเสียงและห้องผู้ประกาศ ที่เรียกว่า Talkback โดยเสียงการติดต่อกันนี้ จะไม่เข้าไปปะปนรวมกับเนื้อหาของรายการที่กำลังออกอากาศ

  17. ห้องผลิตรายการ ส่วนของห้องผู้ประกาศ • เป็นห้องขนาดเล็กซ้อนอยู่ในห้องควบคุมเสียง สภาพห้องต้องปราศจากเสียงรบกวนและเสียงสะท้อน • ห้องผู้ประกาศประกอบด้วยโต๊ะสำหรับวางบทไมโครโฟน หูฟัง เก้าอี้นั่ง ใช้ในการอ่านข่าว การดำเนินรายการเพียง 1 - 2 คน • ทางเข้าห้องผู้ประกาศหรือห้องผลิตรายการมักใช้ประตู 2 ชั้น เพื่อกันเสียงภายนอกเข้าไป เรียกว่า ประตูดักเสียง (Sound Traps)

  18. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ คอนโซล ( audio Console หรือ mixer) คือ อุปกรณ์สำคัญในการผสมเสียงจากอุปกรณ์ผลิตเสียงต่าง ๆ ให้เสียงออกมาอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนใช้ผสมเสียงแต่ละประเภทเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมกับป้อนเข้าเครื่องบันทึกเสียงหรือเครื่องส่งกระจายเสียงเพื่อออกอากาศทันที และทำหน้าที่ปรับเสียงโดยใช้ fader เป็นตัวควบคุมด้วย fader

  19. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ ไมโครโฟน (Microphone) ไมโครโฟนทำหน้าที่แปลงคลื่นเสียงของมนุษย์ให้เป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า มีมากมายหลายชนิดควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ได้แก่ ไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ (Desk Microphone) เป็นแบบธรรมดาหรือแบบโค้งงอ ใช้อ่านข่าว ไมโครโฟนรับเสียงรอบทิศทาง (Omni or All directional Microphone) ใช้สำหรับรายการอภิปราย ไมโครโฟนรับเสียง 2 ทิศทาง (Bi-directional Microphone) ใช้สำหรับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ละครวิทยุ เป็นต้น

  20. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ • การใช้ไมโครโฟนในการผลิตรายการวิทยุ • โต๊ะตั้งไมโครโฟนต้องปูด้วยผ้าสักหลาดหรือหนังนุ่ม เพื่อเก็บเสียงให้ได้คุณภาพ ถ้าตั้งโต๊ะที่ผิวมันเรียบ จะทำให้เกิดเสียงก้อง และเสียงเพี้ยน • ถ้าต้องใช้ไมค์มากกว่า 1 ตัวบนโต๊ะเดียวกัน อย่าวางชิดกัน และควรเบนหัวออกไปคนละทาง จะทำให้สัญญาณแยกกันชัดเจน • ให้ไมโครโฟนห่างจากปากประมาณ 1 ไม้บรรทัด เพราะถ้าใกล้ไปเสียงจะดังมาก ฟังไม่รู้เรื่อง เสียงแตกพร่า

  21. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์บอบบาง ไม่ควรทดสอบด้วยการเคาะหรือเบาลมแรงๆ วิธีที่ถูกคือ พูดประโยคยาวๆ เหมือนเวลาพูดบันทึกเสียงจริง เจ้าหน้าที่คุมเสียงจะปรับระดับเสียงได้แน่นอน ทุกครั้งหลังใช้งาน ควรใช้สำลีหรือผ้าชุบแอลกฮอล์เช็คไมโครโฟนให้ทั่ว เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค

  22. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ Tape Recorder เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เป็นอุปกรณ์สำหรับการบันทึกเสียง (Record) และเล่นกลับเสียง (Playback) ได้ในตัวเดียวกัน มักเป็นชนิดที่มี 3 หัว คือ หัวลบ (Erase Head) หัวบันทึก (Record Head) หัวเปิดฟัง (Play Head) และมักเป็นหัวบันทึกเต็มแถบ (Full Track)

  23. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Analog Cassette Tape เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมี Reel-to-reel เป็นอุปกรณ์เล่นเสียงและบันทึกเสียงที่นิยมในสมัยก่อน เนื่องจากตัดต่อได้ง่าย โดยใช้กรรไกร คัตเตอร์ และสก๊อตเทป

  24. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Analog Turn table เกือบจะไม่มีบทบาทแล้ว ยกเว้นในรายการเพลงที่เปิดเพลงเก่า และยังต้องใช้แผ่นเสียงอยู่

  25. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Digital Compact Disc – CD ใช้งานสะดวก ราคาถูก พกพาง่าย น้ำหนักเบา เลือกแทรคได้ แต่ต้องระวังไม่ให้แผ่นเป็นรอย Mini Disc – MD แพงกว่าและจุได้น้อยกว่าซีดี แต่ข้อดีคือทนทาน อัดซ้ำได้ ลบทิ้งได้ ย้ายหรือสลับตำแหน่งแทรคเสียงได้

  26. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ เครื่องเล่นเสียงและบันทึกเสียง แบบ Digital Digital Audio Tape – DAT หน้าตาคล้ายเทป ดีกว่าตรงที่ลบทิ้ง และย้ายหรือสลับตำแหน่งแทรคเสียงได้ ซึ่งเทปทำไม่ได้ Computer มีบทบาทสูงในการผลิตรายการ และผลิกโฉมหน้าการทำงานของผู้ผลิต มาเป็นการทำงานเบ็ดเสร็จเพียงคลิกเมาส์กับคีบอร์ด ทำให้การผลิตรายการวิทยุเป็นเรื่องง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

  27. อุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุอุปกรณ์ในการผลิตรายการวิทยุ รวมถึงในปัจจุบันมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยผลิตรายการ ในการตัดต่อ และใส่ลูกเล่นต่างๆ ทำได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น

  28. บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ

  29. บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ Creative (ครีเอทีฟ) : รับผิดชอบและจัดการงานผลิตรายการตั้งแต่การออกแบบความคิด ถ่ายทอดความคิดเป็นถ้อยคำในรูปแบบของบท และนำบทนั้นไปผลิตและควบคุมการผลิตจนสำเร็จ ต้องเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจข่าวสารในสังคม มีทักษะความรู้ด้านเสียงการใช้ภาษา และธรรมชาติวิทยุ และมีมนุษยสัมพันธ์สามารถทำงานกับคนอื่นได้

  30. บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ Announcer (ผู้ประกาศ): ผู้ที่มีหน้าที่ลงเสียง บรรยาย พากษ์ สำหรับผู้ดำเนินรายการ ใช้เรียกนักจัดวิทยุที่จัดรายการที่มีเสียงพูดอย่างเดียว (Talk base programme) เช่นรายการสนทนา นักจัดรายการเพลง เรียน Disc Jockey หรือ D.J. ปัจจุบันมีนักจัดรายการที่จัดรายการโดยโปรแกรมเล่นเพลงในคอมพิวเตอร์ เรียนว่า Programme Jockey หรือ P.J.

  31. บุคลากรในการผลิตรายการวิทยุบุคลากรในการผลิตรายการวิทยุ • Sound Engineer (ผู้ควบคุมเสียง): หรือในวงการเรียกว่า • เจ้าหน้าที่เทคนิค ต้องรับผิดชอบดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเสียง แบ่งเป็น • เจ้าหน้าที่ควบคุมเสียง: ควบคุมเสียงให้ดีที่สุดในการจัดรายการ และดูแล • บำรุงรักษาอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดี • เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องส่งกระจายเสียง: ควบคุมให้ออกอากาศไปถึงผู้ฟัง

  32. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

  33. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง คำศัพท์เหล่านี้ เป็น คำสั่งที่ ครีเอทีฟใช้บอกให้ sound engineer ปฏิบัติในการผลิตรายการ Fade in: การเพิ่มระดับเสียง จากเงียบค่อยๆ ดัน fader เอาเสียงขึ้น Fade out: การลดระดับเสียง จากเสียงที่ดังอยู่ ค่อยๆ ลดระดับเสียงลงจนเงียบไป

  34. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • Fade under: การเร่งเสียงให้ดังขึ้นจากระดับปกติอย่างรวดเร็วใช้ในกรณี • ระหว่างรายการ ในขณะมีเสียงคลอกับเสียงพูดของผู้ดำเนินรายการ เมื่อมีจังหวะเว้นการพูด ผู้ควบคุมเสียงจะดัน fader ขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เพลงดังขึ้นชั่วครู่ และลดระดับเสียงเพลงลงอย่างรวดเร็วให้คลอเป็นปกติอีกครั้งเมื่อต้องการพูดต่อ • หลังจบรายการ ในขณะที่มีเสียงคลออยู่กับเสียงพูดของผู้ดำเนินรายการ เมื่อพูดจบเนื้อความแล้ว ผู้ควบคุมเสียงจะดัน fader ขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้เสียงเพลงดังครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆ ลดระดับเสียงจนเสียงเงียบหายไป เป็นอันจบรายการ • ใช้เพื่อสร้างสีสัน ให้การจัดรายการดูมีลูกเล่นมากขึ้น

  35. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • Cross Fade: การจางซ้อนเสียง คือการเชื่อมเพลงสองเพลงให้ต่อกันอย่างกลมกลืน โดย • fade out เพลงที่ 1  Fade in เพลงที่ 2 พร้อมกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป • ทำให้เกิดความต่อเนื่องในอรรถรถรสของรายการและอารมณ์ของคนฟัง • แต่มีข้อยกเว้นว่า ต้องใช้กับเพลงที่มีจังหวะใกล้เคียงกันเท่านั้น

  36. ขั้นตอนในการผลิตรายการวิทยุขั้นตอนในการผลิตรายการวิทยุ

  37. ก่อนการผลิต (pre-production) วางแผนการผลิต สร้างสรรค์รายการและเขียนบท เตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ การซักซ้อม ระหว่างการผลิต (production) ดำเนินการบันทึกเสียงจริง ควบคุมการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น รายการสด ต้องระวัง dead air / อย่าลืมปิดไมโครโฟน อย่าเปิดเสียงที่จะใช้ผิด ถ้าเป็นรายการบันทึกเสียงต้องตรวจสอบความเรียบร้อย หลังการผลิต (post-production) นำรายการที่อัดเสร็จแล้วไปตัดต่อเพื่อเตรียมออกอากาศ หากต้องออกอากาศหลายสถานีต้องทำสำเนา หรือ ดัพเทป ประเมินรายการ วัดความนิยม และ ผลตอบรับจากผู้ฟัง

More Related