1 / 66

โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้. เกณฑ์และเอกสารประกอบ การขอตำแหน่งทางวิชาการ. รศ.ดร. ไสว บูรณพานิชพันธุ์ ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

ray
Download Presentation

โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกณฑ์และเอกสารประกอบ การขอตำแหน่งทางวิชาการ รศ.ดร. ไสว บูรณพานิชพันธุ์ ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ พนักงานมหาวิทยาลัย 5 ปี + 2 ปี (ไม่ขึ้นเงินเดือน) อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อครบ 5 + 2 = 7 ปี ไม่สามารถเป็น ผศ. ได้ มช. เลิกจ้าง 7 ปี + 2 ปี (ไม่ขึ้นเงินเดือน) รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อครบ 7 + 2 = 9 ปี ไม่สามารถเป็น รศ. ได้ มช. เลิกจ้าง 15 ปี ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ เมื่อครบ 15 ปี เป็น ศ. ไม่ได้ สามารถอยู่จนเกษียณ โดยไม่ขึ้นเงินเดือน

  3. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ใช้ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 เป็นหลัก (ประกาศเมื่อ 1 มีนาคม 2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2 เมษายน 2550) ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550 (8 พฤษภาคม 2550 / 18 มิถุนายน 2550) ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 (29 ตุลาคม 2551 / 9 มกราคม 2552) ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2552 (17 กุมภาพันธ์ 2552 / 25 มีนาคม 2552) ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2555 (17 กันยายน 2555 / 18 ตุลาคม 2555) ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2556 (26 กันยายน 2555 / 18 ตุลาคม 2555) ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2555 (25 ธันวาคม 2555 / 25 มกราคม 2556) ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2556 (28 มกราคม 2556 / 8 มีนาคม 2556) ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2556 (26 มีนาคม 2556 / 9 เมษายน 2556)

  4. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 กำหนดให้ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ให้พิจารณาจาก 1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง 2. ผลการสอน 3. ผลงานทางวิชาการ 4. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

  5. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง จบปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งอาจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 9 ปี จบปริญญาโท ดำรงตำแหน่งอาจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จบปริญญาเอก ดำรงตำแหน่งอาจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

  6. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 2. ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญในการสอน และเสนอเอกสารประกอบการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชา ซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน

  7. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 3. ผลงานทางวิชาการ (ตามประกาศ ก.พ.อ. ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2556) (1) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ (2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ (3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ

  8. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (4) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม โดยประจักษ์ต่อสาธารณะ

  9. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ • โจรกรรมผลงาน • ลงตีพิมพ์ซ้ำ 4. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ การพิจารณากำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ดังนี้ (1) ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงาน ของตน และไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น รวมทั้ง ไม่นำผลงานของตนเองในเรื่อง เดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารวิชาการ มากกว่าหนึ่งฉบับ ในลักษณะที่จะทำให้ เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่

  10. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (2) ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมา ใช้ในผลงานวิชาการของตนเองและแสดงหลักฐานของการค้นคว้า (3) ต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นและสิทธิมนุษยชน (4) ผลงานวิชาการต้องได้มาจากการศึกษาโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์ ไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตัว หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น และเสนอผลงานตามความเป็นจริง ไม่ขยายข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ (5) ต้องนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

  11. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

  12. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 2. ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา และมีความชำนาญพิเศษในการสอน และเสนอเอกสาร คำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชา ซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอนในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน ซึ่งมีคุณภาพดี และได้ใช้ประกอบการสอนมาแล้ว โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน

  13. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 3. ผลงานทางวิชาการ (ตามประกาศ ก.พ.อ. ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2556) (1) 1.1 ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ 1.2 ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดี โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ

  14. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 1.3 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และ (2) ผลงานแต่งหรือเรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ผลงานวิชาการตามข้อ (1) และ (2) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้ ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้วย

  15. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 4. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ การพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เหมือนกับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

  16. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ 1. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

  17. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ 2. ผลการสอน มีชั่วโมงสอนประจำวิชาหนึ่งวิชาใดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา และมีความเชี่ยวชาญในการสอน โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน

  18. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ 3. ผลงานทางวิชาการ(ตามประกาศ ก.พ.อ. ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2556) ผู้ขออาจเสนอผลงานทางวิชาการได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้ (1) 1.1 ผลงานวิจัยซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ 1.2 ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีมาก โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ

  19. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ 1.3 ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด และ (2) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีมาก และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

  20. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ วิธีที่ 2 ประกอบด้วยผลงาน ต่อไปนี้ (1) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ทั้งนี้ ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนียบัตรใด ๆ หรือ (2) ผลงานวิชาการรับใช้สังคม ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น โดยผลงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามภาระงานซึ่งสถาบันอุดมศึกษาหรือคณะวิชาให้ความเห็นชอบ และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด รวมทั้งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์ต่อสังคม โดยปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. นี้ หรือ

  21. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ (3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด หรือ (4) ผลงานแต่งตำรา หรือหนังสือ ซึ่งมีคุณภาพดีเด่น และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ผลงานทางวิชาการตามข้อ (1) (2) (3) และ (4) ต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่ได้เคยใช้สำหรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มาแล้ว ทั้งนี้ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น หลังจากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้วย

  22. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ 4. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ การพิจารณากำหนดตำแหน่งรองศาสตราจารย์ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เหมือนกับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์

  23. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ กรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง สถาบันอุดมศึกษาอาจเสนอแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่ต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นก็ได้ (เช่น การเสนอแต่งตั้งอาจารย์ประจำให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ โดยที่ผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์มาก่อน หรือเสนอขอแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งยังไม่ครบระยะที่กำหนดให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ หรือการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น โดยเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาเชี่ยวชาญ หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาเชี่ยวชาญที่ต่างไปจากสาขาวิชาเชี่ยวชาญเดิม) โดยให้ดำเนินการเป็นวิธีพิเศษ

  24. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ ให้เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีมาก

  25. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการโดยวิธีพิเศษ ตำแหน่งศาสตราจารย์ ให้เสนอผลงานทางวิชาการได้เฉพาะวิธีที่ 1 เท่านั้น และให้ดำเนินการตามวิธีการเช่นเดียวกับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติโดยอนุโลม โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน พิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ โดยการตัดสินของที่ประชุมต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียง ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการต้องมีปริมาณและคุณภาพของผลงานทางวิชาการที่แสดงความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น และผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพในระดับดีเด่น

  26. เกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากนี้ ประกาศ ก.พ.อ. ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2555 ได้เพิ่มเติมข้อความเพื่อเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้ ข้อ 3 ผลงานทางวิชาการสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทุกตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่มีทิศทางการศึกษาหรือวิจัยตามกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามความเหมาะสมของแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้ 1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อ ก่อให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ 2) เพื่อให้รู้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก 3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง 5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

  27. เอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการเอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามประกาศ ก.พ.อ. ฉบับที่ 2พ.ศ. 2550 และฉบับที่ 9 พ.ศ. 2556 เอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ ประกอบด้วย 1. เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน 2. ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย ตำรา หนังสือ บทความทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น

  28. เอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการเอกสารประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ 1. เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ประเมินโดยคณะอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในคณะ โดยคณบดีเป็นผู้แต่งตั้ง 2. ผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ประเมินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง

  29. การประเมินผลการสอนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการสอนและเอกสารที่ใช้ประเมินผลการสอนของข้าราชการตำแหน่งวิชาการซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัยเพื่อขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2552 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินผลการสอนและเอกสารที่ใช้ประเมินผลการสอนของพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทคณาจารย์ประจำเพื่อขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2552

  30. การประเมินผลการสอนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน ข้อ 6 ให้คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการมอบหมายให้คณบดีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการตามข้อ 5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประเมินผลการสอน โดยมีองค์ประกอบดังนี้ (1) คณบดีหรือรองคณบดีที่คณบดีมอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ (2) หัวหน้าภาควิชาหรือหัวหน้าสำนักวิชา เป็นอนุกรรมการ (3) กรรมการบริหารประจำส่วนงาน (2 คน) เป็นอนุกรรมการ (4) ผู้แทนสภาพนักงานประเภทคณาจารย์ ประจำ (1 คน) เป็นอนุกรรมการ (5) ผู้แทนคณาจารย์ในคณะนั้นหรือกลุ่มสาขา วิชานั้น ที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า รศ. (2 คน) เป็นอนุกรรมการ (6) ผู้ปฏิบัติงานด้านบริหารบุคคลที่คณบดีมอบหมาย เป็นเลขานุการ

  31. การประเมินผลการสอน หลักเกณฑ์ ขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ การสอนต้องอยู่ในระดับ มีความชำนาญ ในการสอน ขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ การสอนต้องอยู่ในระดับ มีความชำนาญ พิเศษในการสอน ขอตำแหน่งศาสตราจารย์ การสอนต้องอยู่ในระดับ มีความเชี่ยวชาญ ในการสอน เกณฑ์คะแนนประเมิน คะแนน 3.60 – 4.00 อยู่ในระดับ เชี่ยวชาญในการสอน คะแนน 3.01 – 3.59 อยู่ในระดับ ชำนาญพิเศษในการสอน คะแนน 2.50 – 3.00 อยู่ในระดับ ชำนาญในการสอน คะแนน < 2.49 อยู่ในระดับ ไม่เข้าเกณฑ์การขอตำแหน่ง ทางวิชาการ

  32. แบบประเมินผลการสอน ปผ.1 (แบบประเมินสำหรับอนุกรรมการ) ชื่อ-สกุล ผู้เสนอ................................................... สังกัดภาควิชา...................................................... เสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง.................... ในสาขาวิชา.......................

  33. แบบประเมินผลการสอน หัวข้อการประเมินมี 9 ข้อ 1. มีการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผลการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ 2. มีความสามารถสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ในวิชาที่สอน 3. มีความสามารถในการใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และติดตามการสอนตลอดเวลา และให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เช่น ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างสอดแทรกประสบการณ์ ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด ตอบคำถามให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน 4. มีความสามารถให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของวิชาที่เรียนกับวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

  34. แบบประเมินผลการสอน 5. มีความสามารถแนะนำ ให้ผู้เรียนรู้จักแหล่งข้อมูลที่จะค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม 6. มีความสามารถจัดให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามความเหมาะสม 7. มีความสามารถในการใช้สื่อการสอนและอุปกรณ์ช่วยสอนที่เหมาะสมเป็นอย่างดี 8. มีความสามารถในการประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนในวิชาที่สอน 9. มีความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอน

  35. การประเมินเอกสารประกอบการสอนและเอกสารคำสอนการประเมินเอกสารประกอบการสอนและเอกสารคำสอน เกณฑ์คะแนนประเมิน คะแนน 3.26 – 4.00 อยู่ในระดับ ดีมาก คะแนน 2.51 – 3.25 อยู่ในระดับ ดี คะแนน < 2.50 อยู่ในระดับ ควรปรับปรุง หลักเกณฑ์ ขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกสารประกอบการสอน ต้องมีคุณภาพดี ขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เอกสารคำสอน ต้องมีคุณภาพดี

  36. อป.1 หรือ อส.1 (แบบประเมินสำหรับอนุกรรมการ) แบบประเมินเอกสารประกอบการสอน / เอกสารคำสอน 1. ข้อมูลเบื้องต้น 1.1 ชื่อเรื่องเอกสารประกอบการสอน / เอกสารคำสอน........................................ 1.2 การใช้เอกสาร.......................เพื่อประกอบการสอนรายวิชา.......................... เอกสารประกอบการสอน หมายถึง.................................................................... เอกสารคำสอน หมายถึง.................................................................................... “เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้น” หมายความว่า เอกสารประกอบการสอน / เอกสารคำสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงานสอน ในกรณีที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ทำการสอนหลายวิชา ซึ่งแต่ละวิชานั้นมีผู้สอนร่วมกันหลายคน จะต้องเสนอเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ในทุกหัวข้อที่ผู้ขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้สอน ซึ่งมีคุณภาพดีและใช้ประกอบมาแล้ว อย่างน้อยหนึ่งภาคการศึกษาและรวมกันในแต่ละภาคการศึกษา ต้องไม่น้อยกว่า 30 หน่วยชั่วโมง (เทียบได้ 2 หน่วยกิต)

  37. 2. เกณฑ์สำหรับประเมิน มี 8 หัวข้อการประเมิน โดยแต่ละหัวข้อมีตารางประกอบเพื่อการประเมิน เช่น 2.1 ความถูกต้องและความทันสมัยของเนื้อหา เนื้อหา ทฤษฎี สูตร กฎ การทดลอง ข้อมูล การตีความหมาย หลักฐานการอ้างอิง ศักราช ฯลฯ ถูกต้องตามหลักวิชาการของศาสตร์ในสาขาวิชา นั้น ๆ และเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ......................................................................................................................................................................................................................................................................

  38. 2.2 ความครอบคลุมรายวิชา เอกสารประกอบการสอน หรือเอกสารคำสอน ฉบับนั้นครอบคลุมทุกหัวเรื่องที่เป็นสาระสำคัญของรายวิชาที่ผู้เสนอขอรับผิดชอบ 2.3 การจัดลำดับเนื้อหา การจัดลำดับขั้นตอนในการเสนอเนื้อหาที่จะสอน ทำให้เข้าใจง่าย 2.4 รูปแบบในการเขียน รูปแบบในการเขียนที่ระบุความคิดรวบยอดได้ชัดเจนและอธิบายขยายความคิดรวบยอด สามารถสื่อความหมายได้ดี ซึ่งอาจมีภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ประกอบเพื่อความเข้าใจและน่าสนใจมีความประณีตในการจัดรูปแบบการเขียน มีการอ้างอิงแหล่งวิชาการที่ถูกต้อง มีแบบแผนในการเขียนอ้างอิง จัดทำบรรณานุกรม และภาคผนวกไว้อย่างเหมาะสม

  39. 2.5 การศึกษาค้นคว้าเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน การศึกษาค้นคว้า ตำรา หนังสือ เอกสาร และงานวิจัยที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในรายวิชานั้น หรือให้ผู้อ่านได้มีความรู้และสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้อย่างกว้างขวาง 2.6 ความถูกต้องในการใช้ภาษา การใช้สำนวนในการเขียนเป็นแบบแผนของภาษา ใช้ศัพท์บัญญัติ และใช้ศัพท์เทคนิคความถูกต้องตามหลักวิชาการ 2.7 การเสนอแนวคิดของตนเอง การแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เช่น ข้อวิพากษ์ วิจารณ์ ข้อเสนอแนะ การประยุกต์ เนื้อหาสาระต่าง ๆ คำสรุป หรือการให้แนวคิดและความรู้ใหม่ที่เกิดจากวิเคราะห์และสังเคราะห์

  40. ผลบวกของการประเมินข้อ 2.1 ถึง ข้อ 2.8 คะแนนเฉลี่ย = 8 = ?.?? 2.8 คุณค่าของเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ความสำคัญ ความน่าเชื่อถือ และประโยชน์ของเอกสารประกอบการสอนหรือเอกสารคำสอน ในการนำไปใช้ประกอบการสอน หรือสื่อการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้

  41. 2.9 ความเห็นของอนุกรรมการเกี่ยวกับจุดเด่นและจุดด้อยของ เอกสารประกอบการสอน / เอกสารคำสอน ...................................................................................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................................................................................................

  42. การประเมินผลงานทางวิชาการการประเมินผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการที่ประกอบด้วย ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ ตำรา หนังสือ ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม ผลงานในลักษณะอื่น ต้องได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

  43. การเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ.: งานวิจัย เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารวิชาการนั้น อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน 2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ 3. นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมทางวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการได้มีการบรรณาธิการและนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ

  44. การเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ.: งานวิจัย 4. การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “งานวิจัย” นั้นแล้ว การนำ “งานวิจัย” นั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “งานวิจัย” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทำไม่ได้

  45. การเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ.: บทความทางวิชาการ เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารวิชาการนั้น อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์ หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน 2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่าง ๆ ในหนังสือนั้นแล้ว 3. เผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพของบทความต่าง ๆ ที่นำเสนอนั้นแล้ว

  46. การเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ.: บทความทางวิชาการ เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “บทความทางวิชาการ” นั้นแล้ว การนำ “บทความทางวิชาการ” นั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “บทความทางวิชาการ” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทำไม่ได้

  47. การเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ.: ตำรา มีวิธีการเผยแพร่ ดังนี้ 1. การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (Printing House) หรือสำนักพิมพ์ (Publishing House) หรือโดยการถ่ายสำเนาเย็บเป็นรูปเล่ม หรือทำในรูปแบบ อื่น ๆ 2. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ การเผยแพร่ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีหนึ่งที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ แต่อาจใช้ดัชนีอื่นวัดความกว้างขวางในการเผยแพร่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่จากคณะกรรมการของสถาบันอุดมศึกษา คณะ และ/หรือสถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้น และต้องใช้ในการเรียนการสอนมาไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษา

  48. การเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ.: หนังสือ มีวิธีการเผยแพร่ ดังนี้ 1. การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (Printing House) หรือสำนักพิมพ์ (Publishing House) 2. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ การเผยแพร่ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีหนึ่งที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ แต่อาจใช้ดัชนีอื่นวัดความกว้างขวางในการเผยแพร่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่จากคณะกรรมการของสถาบันอุดมศึกษา คณะ และ/หรือสถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้น และต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่เดือน เมื่อได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “หนังสือ” ไปแล้ว การนำ “หนังสือ” นั้น ไปแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเนื้อหาใน “หนังสือ” เพื่อนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “หนังสือ” นั้นอีกครั้งหนึ่งอาจกระทำได้ แต่จะต้องทำการเผยแพร่ “หนังสือ” นั้นไม่อีกครั้งหนึ่ง

  49. การเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ.: ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม ให้มีการเผยแพร่โดยการจัดเวทีนำเสนอผลงานในพื้นที่หรือการเปิดให้เยี่ยมชมพื้นที่ และจะต้องมีการเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวางในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สอดคล้องกับผลงาน โดยการเผยแพร่นั้นจะต้องมีการบันทึกเป็นเอกสารหรือเป็นลายลักษณ์อักษรที่สามารถใช้อ้างอิง หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

  50. การประเมินผลงานทางวิชาการการประเมินผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ โดยประธานกรรมการต้องเป็นกรรมการจากสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการโดยการคัดสรรจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด จำนวน 5-10 คน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ จำนวน 3-5 คน โดยประธานของคณะกรรมการชุดนี้แต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ และกรรมการจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. กำหนด

More Related