1 / 33

การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน. โดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. 1. เนื้อหา. ความหมายของการควบคุมภายใน มาตรฐานการควบคุมภายใน การจัดทำรายงาน รูปแบบรายงาน. 2. ความหมายของการควบคุมภายใน.

Download Presentation

การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินการจัดทำรายงานการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 1

  2. เนื้อหา • ความหมายของการควบคุมภายใน • มาตรฐานการควบคุมภายใน • การจัดทำรายงาน • รูปแบบรายงาน 2

  3. ความหมายของการควบคุมภายในความหมายของการควบคุมภายใน กระบวนการปฏิบัติงานที่บุคลากรทุกระดับ ขององค์กรจัดให้มีขึ้นเพื่อความมั่นใจอย่าง สมเหตุสมผล ว่าการดำเนินงานขององค์กรจะ บรรลุวัตถุประสงค์ด้าน : 1. ประสิทธิผล ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน รวมถึงการดูแลทรัพย์สิน การป้องกันความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล และการทุจริต (O) 2. ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน (F) 3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี (C) 3

  4. มาตรฐานการควบคุมภายในมาตรฐานการควบคุมภายใน 1) สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) 2) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) 3) กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications) 5) การติดตามประเมินผล (Monitoring)

  5. 1) สภาพแวดล้อมของการควบคุม มาตรฐาน : ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหาร และบุคลากรของหน่วยรับตรวจต้องสร้างบรรยากาศของการควบคุมเพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมภายใน โดยส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานรับตรวจ เกิดจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบและตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการควบคุมภายใน รวมทั้งดำรงรักษาไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่ดี

  6. 1) สภาพแวดล้อมของการควบคุม ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการควบคุม • ปรัชญาและรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร • ความซื่อสัตย์และจริยธรรม • ความรู้ ทักษะและความสามารถของบุคลากร • โครงสร้างการจัดองค์กร • การมอบอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบ • นโยบายและวิธีบริหารบุคลากร

  7. 2) การประเมินความเสี่ยง มาตรฐาน : ฝ่ายบริหารต้องประเมินความเสี่ยงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยรับตรวจอย่างเพียงพอและเหมาะสม

  8. 2) การประเมินความเสี่ยง ความเสี่ยงหมายถึงโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ซึ่งไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด

  9. 2) การประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงหมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการระบุปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรรวมทั้งการกำหนดแนวทางที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมหรือจัดการความเสี่ยง

  10. 2) การประเมินความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กร หรือผลการปฏิบัติงานทั้งในระดับองค์กรและกิจกรรม โดยมีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก

  11. 2) การประเมินความเสี่ยง ปัจจัยภายใน คือ ปัจจัยที่เกิดจากภายในองค์กร ซึ่งผู้บริหารสามารถบริหารจัดการ/ควบคุมได้ เช่น - โครงสร้างพื้นฐาน - บุคลากร - กระบวนการปฏิบัติงาน - ระบบสารสนเทศ

  12. 2) การประเมินความเสี่ยง ปัจจัยภายนอก คือ ปัจจัยที่เกิดจากภายนอกองค์กร ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถบริหารจัดการ/ควบคุมได้ เช่น - ภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง - การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย - การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

  13. 2) การประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง พิจารณาจาก 2 มิติ คือ (1) ผลกระทบ(Impact)หมายถึง ความเสียหายทางการเงิน ชื่อเสียง และผลเสียหาย อื่นที่จะเกิดขึ้นจากความเสี่ยง (2) โอกาสที่จะเกิด(Probability)หมายถึง โอกาสความเป็นไปได้ที่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้น

  14. 3) กิจกรรมการควบคุม ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีกิจกรรม การควบคุมที่มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลเพื่อป้องกันหรือลด ความเสียหายความผิดพลาดที่ อาจเกิดขึ้นและให้สามารถบรรลุ ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของ การควบคุมภายใน มาตรฐาน :

  15. 3) กิจกรรมการควบคุม ในเบื้องต้นจะต้องแบ่งแยกหน้าที่งานภายในหน่วยงานอย่างเหมาะสม ไม่มอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานที่สำคัญ หรืองานที่เสี่ยงต่อความเสียหายตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้ามีความจำเป็นให้กำหนดกิจกรรมการควบคุมอื่นที่เหมาะสมทดแทน มาตรฐาน : (ต่อ)

  16. 3) กิจกรรมการควบคุม ตัวอย่างกิจกรรมการควบคุม - การอนุมัติ - การสอบทาน - การดูแลป้องกันทรัพย์สิน - การบริหารทรัพยากรบุคคล - การควบคุมระบบสารสนเทศ • การกระทบยอด • - การแบ่งแยกหน้าที่ • - การจัดทำเอกสารหลักฐาน • - การบันทึกรายการและ • เหตุการณ์อย่างถูกต้องและทันเวลา

  17. 4) สารสนเทศและการสื่อสาร ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีสารสนเทศอย่างพอเพียงและสื่อสารให้ฝ่ายบริหารและบุคลากรอื่นๆที่เหมาะสม ทั้งภายในและภายนอก หน่วยรับตรวจ ซึ่งจำเป็นต้อง ใช้สารสนเทศนั้นในรูปแบบที่ เหมาะสมและทันเวลา มาตรฐาน :

  18. 5) การติดตามประเมินผล ฝ่ายบริหารต้องจัดให้มีการ ติดตามประเมินผล(Monitoring) โดยการติดตามผลในระหว่าง การปฎิบัติงาน(Ongoing Monitoring) และการประเมินผล เป็นรายครั้ง(Separate Evaluation)อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ความมั่นใจ มาตรฐาน :

  19. 5) การติดตามประเมินผล - ระบบการควบคุมภายในที่วางไว้เพียงพอ เหมาะสมมีประสิทธิภาพ และมีการปฏิบัติจริง - การควบคุมภายในดำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล • ข้อตรวจพบจากการตรวจสอบ และการสอบทานอื่นๆได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันเวลา - การควบคุมภายในได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มาตรฐาน : (ต่อ)

  20. การจัดทำรายงาน รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน ระดับส่วนงานย่อย ระดับหน่วยรับตรวจ ผู้ตรวจสอบภายใน ปย. 1 ปอ. 1 ปส. ปย. 2 ปอ. 2 ส่ง สตง. ปอ. 3 20

  21. รูปแบบรายงาน • แบบ ปย.1/ปอ.2 • แบบ ปย.2 • แบบ ปอ.3 • แบบ ปอ.1 • แบบ ปส.

  22. แบบ ปย.1/ปอ.2 ผลการประเมินโดยรวม..........สิ่งที่ต้องปรับปรุง(ถ้ามี)................. …………………………………………………………......................

  23. แบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมฯ1.สภาพแวดล้อมของการควบคุมแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมฯ1.สภาพแวดล้อมของการควบคุม

  24. 2. การประเมินความเสี่ยง

  25. 3. กิจกรรมการควบคุม

  26. 4. สารสนเทศและการสื่อสาร

  27. 5. การติดตามประเมินผล

  28. แบบ ปย.2 28

  29. แบบปอ.3 • คอลัมน์ (1),(2),(4),(5),(6)สรุปจากแบบ ปย.2 เฉพาะโครงการ/งาน/กิจกรรม/ด้าน ที่มีการปรับปรุงการควบคุม • คอลัมน์ (3)ระบุงวด/เวลาที่ประเมินและพบจุดอ่อนในคอลัมน์ (2) 29

  30. แบบปอ.1 หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน เรียน (คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน /ผู้กำกับดูแล /คณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ) (ชื่อหน่วยรับตรวจ) ได้ประเมินผลการควบคุมภายในสำหรับปีสิ้นสุดวันที่...... เดือน.................... พ.ศ. …... ด้วยวิธีการที่ (ชื่อหน่วยรับตรวจ) กำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผล และประสิทธิภาพของการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากร ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริต ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินและการดำเนินงาน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบาย ซึ่งรวมถึงระเบียบปฏิบัติของฝ่ายบริหาร 30

  31. แบบปอ.1 (ต่อ) จากผลการประเมินดังกล่าวเห็นว่า การควบคุมภายในของ (ชื่อหน่วยรับตรวจ) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่...... เดือน.................... พ.ศ. ........ เป็นไปตามระบบการควบคุมภายในที่กำหนดไว้ มีความเพียงพอและบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในตามที่กล่าวในวรรคแรก ลายมือชื่อ.............................…….. (ชื่อ หัวหน้าหน่วยรับตรวจ) ตำแหน่ง............................……... วันที่....... เดือน....…............... พ.ศ. ...…… 31

  32. แบบปส. รายงานผลการสอบทานการประเมินการควบคุมภายในของ ผู้ตรวจสอบภายใน เรียน (หัวหน้าหน่วยรับตรวจ / ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยรับตรวจ) ข้าพเจ้าได้สอบทานการประเมินระบบการควบคุมภายในของ (ชื่อหน่วยรับตรวจ) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ..... เดือน.................. พ.ศ. .... การสอบทานได้ปฏิบัติอย่างสมเหตุสมผลและระมัดระวังอย่างรอบคอบ ผลการสอบทานพบว่า การประเมินผลการควบคุมภายในเป็นไปตามวิธีการที่กำหนด ระบบการควบคุมภายในมีความเพียงพอ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน ชื่อผู้รายงาน...................................................... (ชื่อหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน) ตำแหน่ง....................................................... วันที่.......เดือน...............พ.ศ. ............ 32

  33. ขอบคุณครับ หากมีข้อซักถาม/สงสัยเพิ่มเติม ที่ทำงาน : 02 271 8176 มือถือ : 089 777 0799 e-mail : paisan99@gmail.com 33

More Related