1 / 82

กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม (นัยต่อการบริหารรัฐกิจ) โดย ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย

กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม (นัยต่อการบริหารรัฐกิจ) โดย ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บริบทสังคมการเมืองไทย. อ่านหนังสือพิมพ์ท่านเห็นข่าวเหล่านี้...กำลังบอกอะไรเกี่ยวกับบริบทสังคมการเมืองไทย. กรณีนสพ.มติชน

reia
Download Presentation

กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม (นัยต่อการบริหารรัฐกิจ) โดย ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม กรอบแนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาสังคม (นัยต่อการบริหารรัฐกิจ) โดย ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. บริบทสังคมการเมืองไทย บริบทสังคมการเมืองไทย อ่านหนังสือพิมพ์ท่านเห็นข่าวเหล่านี้...กำลังบอกอะไรเกี่ยวกับบริบทสังคมการเมืองไทย

  3. กรณีนสพ.มติชน แรงเกื้อหนุนสังคม-ประชาชน มติชน พ้นฮุบ แกรมมี่ ถอยลดสัดส่วนหุ้น (มติชน 17 กันยายน)

  4. ประชาชนคัดค้านการเวณคืนที่เพื่อก่อสร้างศูนย์คมนาคมตากสินประชาชนคัดค้านการเวณคืนที่เพื่อก่อสร้างศูนย์คมนาคมตากสิน • ชาวแม่เหียะค้านการขยายสนามบินเชียงใหม่ • ภาคประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความโปร่งใสกรณี FTA กับสหรัฐ โดยกลุ่มFTA Watch • กลุ่มอนุรักษ์นัดต้านกระเช้าไฟฟ้าดอยหลวงเชียงดาว • เอ็นจีโอต้านปลูกมะละกอ GMOs เชิงค้า • 30 องค์กรเร่งสธ.เอาผิดเอกชนฮั้วยา • สมัชชาคนจนทวงสัญญารัฐ • เครือข่ายคนจนภาคใต้เดินหน้ายึดสวนปาล์มเพิ่ม • กลุ่มอนุรักษ์อุดรรณรงค์ต้านเหมืองโปแตซ • เริ่มมหกรรมประชาชนต้านท่อก๊าซที่จะนะ • กลุ่มเหล้าพื้นบ้านแพร่ชุมนุมไล่สรรพสามิต • สมัชชาคนจนให้เปิดเขื่อนปากมูลถาวร • กลุ่มต้านโรงไฟฟ้าหินกรูดยื่นหนังสือถึงรัฐบาล

  5. การเกิดขึ้นของกลุ่มประชาสังคม (Civil Society) ในบริบทการเมืองไทย • สะท้อนปัญหาของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative Democracy) • ความจำเป็นของการขยายพื้นที่ของระบอบประชาธิปไตยเพื่อสามารถรองรับพลังทางสังคมใหม่ในกระบวนการใช้อำนาจและกำหนดนโยบาย (Participatory Democracy)

  6. ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม:ประชาสังคมหมายถึงสังคมที่ประชาชนทั่วไปมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของประชาชน โดยอาศัยองค์กร กลไก กระบวนการ และกิจกรรมอันหลากหลายที่ประชาชนจัดขึ้นหรือส่วนของสังคมที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งดำเนินงานโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายและไม่ใช่ภาคธุรกิจ ซึ่งดำเนินงานโดยมุ่งหวังกำไร เอนก เหล่าธรรมทัศน์: civil society หมายถึง ส่วนรวมที่ไม่ใช่รัฐ สะท้อนการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง (Citizen) ไม่ใช่ในฐานะราษฎร (subject) หรือ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่รอรับการบริการของรัฐเท่านั้น ธีรยุทธ บุญมี: ประชาสังคม เป็นพื้นที่แตกต่างจากรัฐ ประกอบด้วยหลายภาคส่วน คือ ธุรกิจ วิชาชีพ ปัญญาชน นักศึกษา ชาวบ้าน นักศึกษาร่วมแรง ประชาสังคม (Civil Society)

  7. ประชาสังคมของไทย • กระบวนการนักศึกษา 14 ตุลาคม 2516 • กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน • กลุ่มองค์กรธุรกิจ • กลุ่มประชาสังคมยุคใหม่ • กลุ่มชุมชน: กลุ่มรักบ้านเกิด ชุมชนบ้านครัว ชุมชนบางซื่อ • กลุ่มผู้หญิง • กลุ่มสิ่งแวดล้อม • กลุ่มคนพิการ

  8. เหตุผลการเกิดและเคลื่อนไหวของประชาสังคมเหตุผลการเกิดและเคลื่อนไหวของประชาสังคม • เพื่อการร้องทุกข์ หรือเรียกร้องให้รัฐเข้ามาแก้ปัญหาที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือการเหลียวแล เช่น สมัชชาคนจน เครือข่ายเกษตรกร • เพื่อมุ่งตรวจสอบกระบวนการใช้อำนาจรัฐ เช่น กรณีทุจริตยา โดยชมรมแพทย์ชนบท เครือข่ายสหพันธ์คุ้มครองผู้บริโภค เครื่อข่ายประชาชนต่อต้านคอรัปชั่น กรณีคลองด่าน • การประท้วงอำนาจรัฐและเรียกร้องให้ถ่ายโอนอำนาจที่รัฐเคยมีมาเป็นของประชาชน เช่น กรณีการรณรงค์เรื่องพ.ร.บ.ป่าชุมชน การต่อต้านโรงไฟฟ้าที่บ่อนอก-หินกรูด และการคัดค้านท่อก๊าซที่จะนะ

  9. ความหมายของประชาธิปไตยความหมายของประชาธิปไตย • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน : “รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่” • ประธานาธิบดีลินคอล์น : “การปกครองของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชน”

  10. รูปแบบประชาธิปไตย • ประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านผู้แทน (Representative Democracy) • ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy)

  11. ประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านตัวแทนประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านตัวแทน (Representative Democracy) • ประชาชนเลือกตัวแทนเพื่อไปทำหน้าที่แทนตน ในการปกครอง • หัวใจสำคัญของประชาธิปไตยแบบตัวแทนคือ การเลือกตั้ง • เป็นรูปแบบที่แพร่หลายในประเทศ ประชาธิปไตยทั่วไป

  12. ปัญหาของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนปัญหาของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน • ปัญหาความเป็นตัวแทน • การเมืองของชนชั้นนำ • ความสุจริตของระบบเลือกตั้ง • ปัญหาความซับซ้อนของสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ • ปัญหาการเข้าถึงอำนาจของคนรากหญ้า

  13. การปรับกระบวนทัศน์ทางการเมืองการปรับกระบวนทัศน์ทางการเมือง • การยอมรับข้อจำกัดของประชาธิปไตยตัวแทนในการดูแลผลประโยชน์ประชาชนที่แตกต่างขัดแย้งกัน • ความจำเป็นในการเพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจของประชาชนเข้าไปในระบอบเพื่อให้เวทีประชาธิปไตยเป็นพื้นที่เปิดสำหรับคนทุกคน รวมทั้งประชาธิปไตยในระดับรากหญ้า • ความจำเป็นที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องเลิกใช้ชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นฐานความชอบธรรมในการตัดสินใจ

  14. ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) • ประชาชนสามารถใช้อำนาจทางตรงโดยไม่ผ่านผู้แทน • เป็นการกระจายอำนาจในการตัดสินใจและจัดสรรทรัพยากร

  15. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 • การเพิ่มการมีส่วนร่วมในโครงสร้างทางการเมืองระดับชาติ • กำหนดให้มีองค์กรอิสระที่ประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชนในการเสนอแนะและให้ข้อคิดเห็น เช่น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมือง • การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น • การรับรองสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั่งเดิมมีสิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและมีส่วนร่วมในการจัดการ บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสิ่งแวดล้อม • การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชานในการบวนการนโยบายสาธารณะ

  16. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล อบต. เมืองพัทยา กทม.) มีตัวแทนของประชาชนจากการเลือกตั้ง มีหน้าที่หลากหลาย ความอิสระของท้องถิ่นระดับหนึ่ง การบริหารเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงานราชการส่วนกลางและภูมิภาค (กรมการปกครอง/กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น/สำนักงานเกษตรจังหวัดประมงจังหวัด/ จังหวัด/ อำเภอ) ผู้บริหารมาจาการแต่งตั้ง มีหน้าที่เฉพาะด้าน แขนขาของรัฐบาล การบริหารงานโดยผู้เชี่ยวชาญเน้นประสิทธิภาพ ธรรมชาติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  17. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย • ร่วมรับรู้ข้อมูล: • พ.ร.บ.ข่าวสารข้อมูลของทางราชการ • ม. 58 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

  18. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย • ร่วมให้ข้อมูล • ม. 59 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ

  19. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย • ม. 76 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ • ม.79 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุม และกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน

  20. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย • ริเริ่ม • ม. 170 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย • ม. 287 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพื่อให้สภาพิจารณาออกข้อบัญญัติ

  21. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย • ตรวจสอบ • ม. 304 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงได้

  22. ยุทธศาสตร์การบริหาราชการแบบมีส่วนร่วม (การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม)ยุทธศาสตร์การบริหาราชการแบบมีส่วนร่วม (การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม) • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 (การมีส่วนร่วม และโปร่งใส) • พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 8 (3)(4) (5) มาตรา 39, 43, และ 44

  23. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง (3) การกำหนดขั้นตอนที่โปร่งใส และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือการชี้แจงทำความเข้าใจ (4) ต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ

  24. ยุทธศาสตร์การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม (การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม) (ต่อ) • มาตรการการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม • สร้างความรู้และความเข้าใจการทำงานแบบใหม่แก่เจ้าหน้าที่และประชาชน • วางหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานมีระบบปรึกษาหารือกับประชาชน/สำรวจความต้องการของประชาชน ในโครงการที่อาจกระทบประชาชน • ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาภาคประชาชน • สร้างอาสาสมัครภาคประชาชน • สร้างระบบการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ • กำหนดตัวชี้วัดสำหรับการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วม

  25. กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน

  26. รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน • การมีส่วนร่วมของประชาชนที่บัญญัติไว้ใน หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน • 1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน • การดูแลจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว • การดูแลจัดการทรัพยากรส่วนรวม • องค์กรชุมชน

  27. รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน • 1.2 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการส่วนท้องถิ่นพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนดหลักการสำคัญไว้ 2 ประการ • ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐ“เปิดเผยเป็นหลักปกปิดเป็นข้อยกเว้น” • ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล“ปกปิดเป็นหลักเปิดเผยเป็นข้อยกเว้น”

  28. รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน • 1.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นในการรับฟังความคิดเห็นมีการบัญญัติไว้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาตรา 59 ความว่า • “บุคคลย่อมได้สิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขอนามัยคุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าวทั้งนี้ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด”

  29. กระบวนการประชาพิจารณ์กระบวนการประชาพิจารณ์ • ขั้นตอนของกระบวนการประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 • การสั่งให้ทำประชาพิจารณ์โดยผู้มีอำนาจฯ • เงื่อนไขที่ผู้มีอำนาจสั่งให้ทำประชาพิจารณ์ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย • วิธีการสั่งให้ประชาพิจารณ์ • ผู้มีอำนาจสั่งเห็นสมควรและสั่งให้ประชาพิจารณ์ • ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ประชาพิจารณ์โครงการของรัฐ และผู้มีอำนาจฯ เห็นสมควร • หน่วยงานของรัฐเห็นว่าการทำประชาพิจารณ์จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามโครงการของรัฐ และผู้มีอำนาจฯ เห็นด้วย

  30. กระบวนการประชาพิจารณ์กระบวนการประชาพิจารณ์ • การสั่งให้ทำประชาพิจารณ์ต้องสั่งก่อนที่จะมีการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการของรัฐ • การแต่งตั้งกรรมการประชาพิจารณ์ • วิธีการประชาพิจารณ์ต้องดำเนินการตามประกาศของคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยประชาพิจารณ์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ • การทำรายงานประชาพิจารณ์ • การประกาศผลการทำประชาพิจารณ์

  31. รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน • 1.4 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการลงประชามติ • หลักการลงประชามติ • ผู้มีสิทธิในการลงประชามติ • การดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ

  32. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่น จำนวนผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า ไม่เกิน 100,000 คน 1/5 100,001 - 500,000 คน 20,000 คน 500,001 - 1,000,000 คน 25,000 คน เกิน 1,000,000 คน 30,000 คน รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน • 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวด 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น • การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น องค์กรชุมชน

  33. รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ) ผู้แทนของผู้เข้าชื่อ ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำร้อง จัดส่งคำร้อง ไปยังสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ถูกร้อง ขอให้ลงคะแนนเสียงถอดถอน ผู้ว่าราชการจังหวัด สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้น ภายใน ๓๐ วันนับแต่ วันได้รับแจ้งคำร้อง จัดทำคำชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อแก้ข้อกล่าวหา ยื่นต่อผู้ว่าฯ แจ้งเรื่อง พร้อมส่งคำร้อง คำชี้แจง (ถ้ามี) ต่อคณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) หรือบุคคลที่ กกต.มอบหมาย เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (กกต.จว.) ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำชี้แจง ผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศ กำหนดวันลงคะแนนเสียง ถอดถอน และดำเนินการ จัดให้มีการลงคะแนนเสียง ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ไม่เกิน 90 วัน นับจากวันได้รับแจ้ง กกต. หรือบุคคลที่ กกต. มอบหมาย

  34. รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน • 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญหมวด 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น(ต่อ) • การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น (Rule Making) • การมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยอ้อม • การมีส่วนร่วมในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยตรง

  35. หลักเกณฑ์ในการเข้าชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นหลักเกณฑ์ในการเข้าชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น • กำหนดให้ราษฎรผู้สิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เสนอ • ในการยื่นรายชื่อเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น คำร้องขอ ต้องประกอบด้วย ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ชื่อ ที่อยู่ และรายมือของผู้เข้าชื่อในการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พร้อมลายชื่อของผู้เข้าชื่อพร้อมสำเนาบัตรประชาชน เสนอต่อสภาท้องถิ่น • ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เสนอนั้นจะต้องมีข้อกำหนดที่ชัดเจนเพียงพอได้ว่ามีความประสงค์จะตราข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องใด • ประธานสภาท้องถิ่นพิจารณาและนำเสนอที่ประชุมสภาท้องถิ่นเพื่อพิจารณาออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น

  36. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า½ร่วมกันเข้าชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า½ร่วมกันเข้าชื่อ เสนอ ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปิดประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น เขตชุมชนหนาแน่น เปิดโอกาสให้ผู้ซึ่งมีรายชื่อตามประกาศที่ไม่ได้เข้าร่วมลงชื่อคัดค้าน ภายในระยะเวลา20 วัน ครบจำนวนที่กำหนด ไม่ครบจำนวนที่กำหนด สภาท้องถิ่น ภายในระยะเวลา 30 วัน ผู้แทนของผู้เข้าชื่อจัดเข้าชื่อเพิ่มเติม ข้อบัญญัติท้องถิ่น ครบ ไม่ครบ จำหน่ายเรื่อง

  37. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง (3) การกำหนดขั้นตอนที่โปร่งใส และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือการชี้แจงทำความเข้าใจ (4) ต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ

  38. ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน • ความเข้าใจต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน • พิธีกรรม ขาดการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย (Meaningful Participation) • ค่าใช้จ่ายและเวลา • ขาดการบริหารจัดการที่ดี

  39. ความหมายและแนวคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชนความหมายและแนวคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชน

  40. การมีส่วนร่วมของประชาชน(Public Participation) หมายถึง การที่ประชาชนเข้าไปร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง ทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของการที่ประชาชนจะต้องมีอิสระในทางความคิด มีความรู้ความสามารถในการกระทำ และมีความเต็มใจที่จะเข้าร่วมต่อกิจกรรมนั้นๆ โดยที่การมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องมีลักษณะการเข้าร่วมอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นสุด กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การเกิดจิตสำนึกในตนเองและถือเป็นภาระหน้าที่ของตน ร่วมคิด ร่วมกันวางแผนงาน ร่วมดำเนินงาน ร่วมกันติดตามประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์

  41. หลักการที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมหลักการที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม • ต้องเกิดจากความเต็มใจและความตั้งใจ • ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค และขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะเข้ามามีส่วนร่วม • ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพ/อิสรภาพ

  42. ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน • เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ • การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา • การสร้างฉันทามติ ลดความขัดแย้งทางการเมืองและเกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจของรัฐ • การเพิ่มความง่ายในการนำไปปฏิบัติ • ลดการเผชิญหน้าและความขัดแย้งที่รุนแรงได้ • ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชน • การพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน • ช่วยทำให้ประชาชนสนใจประเด็นสาธารณะมากขึ้น

  43. บทบาทของประชาชน • ความเป็นพลเมือง • สำนึกของความเป็นพลเมือง • ใฝ่รู้ • ความตื่นตัวทางการเมือง • มีส่วนร่วมกิจกรรมสาธารณะ • แตกต่างจากการเป็นลูกค้า

  44. การบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของประชาชน

  45. การบริหารจัดการกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนควรยึดหลัก 4 S คือ • Starting Early :เริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรก • Stakeholders : ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • Sincerity :จริงใจเปิดเผยซื่อสัตย์ปราศจากอคติ • Suitability :ความเหมาะสม

  46. การมีส่วนร่วมของประชาชนจำเป็นต้องมีการวางแผนการมีส่วนร่วมของประชาชนจำเป็นต้องมีการวางแผน • ขั้นเตรียมการ • เตรียมทีมงาน • ตรวจสอบสถานการณ์ภายในหน่วยงาน • ประเมินสถานการณ์ • ขั้นการจัดทำแผนการมีส่วนร่วม • ระบุและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • คาดการณ์ระดับการโต้เถียง • ระบุเป้าหมายของการมีส่วนร่วม • ระบุเงื่อนไขพิเศษของชุมชน • การเลือกเทคนิคและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน • การเขียนแผนการมีส่วนร่วม • ขั้นการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

  47. การมีส่วนร่วมของประชาชนจำเป็นต้องรู้ผู้มีส่วนได้เสียการมีส่วนร่วมของประชาชนจำเป็นต้องรู้ผู้มีส่วนได้เสีย • ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) หมายถึง ปัจเจกชน กลุ่มบุคคล องค์กร สถาบันหรือชุมชนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบจากการตัดสินใจหรือจากการดำเนินโครงการหรือนโยบายนั้น • การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Analysis) • ชัดเจนและครอบคลุม • เทคนิคการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม

  48. การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders Analysis) • ประเภทของผู้มีส่วนได้เสีย • ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง • ผู้มีส่วนได้เสียอ้อม

  49. ขั้นตอนการวิเคราะห์ • ระบุผู้มีส่วนได้เสีย • ระบุผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง • ระบุระดับอิทธิพลและความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย

  50. การมีส่วนร่วมของประชาชนต้องชัดเจนในระดับการมีส่วนร่วมและเทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสม • ระดับของการมีส่วนร่วม • การมีส่วนร่วมในระดับเสริมอำนาจให้ประชาชน • การมีส่วนร่วมในระดับสร้างความร่วมมือ • การมีส่วนร่วมในระดับเข้ามามีบทบาท • การมีส่วนร่วมในระดับหารือ • การมีส่วนร่วมในระดับให้ข้อมูลข่าวสาร • เทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนมีหลากหลายที่เหมาะสมแต่ละเทคนิคหรือวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป

More Related