1 / 21

สังกะสี และ แคดเมียม

สังกะสี และ แคดเมียม. สังกะสี. สังกะสี คือ ธาตุเคมีที่มี หมาย เลข อะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสี อยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink. คุณสมบัติสังกะสี.

rodd
Download Presentation

สังกะสี และ แคดเมียม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สังกะสี และ แคดเมียม

  2. สังกะสี สังกะสี คือ ธาตุเคมีที่มีหมาย เลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่าZink

  3. คุณสมบัติสังกะสี • ●เป็นโลหะที่ค่อนข้างอ่อน ●มีสีเทาเงิน • ●เปราะ ●นำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดี • ●จุดเดือดต่ำ ●ระเหยเป็นไอง่าย • ●ไวต่อปฏิกิริยา ทำปฏิกิริยากับน้ำและออกซิเจนอย่างช้าๆ แต่ทำปฏิกิริยากับกรดอย่างรุนแรง ได้แก๊สไฮโดรเจน • ●เมื่ออยู่ในสภาพหลอมเหลวจะไหลคล่อง ไม่หดตัว เมื่อเย็นลงจะเป็นของแข็ง

  4. แหล่งที่พบสังกะสี แร่สังกะสีพบมากที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นับเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แร่สังกะสีที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสังกะสีซิลิเกต ได้แก่ แร่เฮมิมอร์ไฟต์ (Zn4(Si2O7)(OH)2(H2O)) แร่สมิทซอไนท์ (ZnCO3) และแร่ซิงไคด์ (ZnO) ส่วนแร่สังกะสีที่พบมากที่สุด ในโลกคือ แร่สฟาเลอไรด์ (ZnS)

  5. การถลุงแร่สังกะสี ใช้วิธีการเผาในอากาศเพื่อปลี่ยนเป็นสารประกอบ ออกไซด์ แล้วถลุงที่ความร้อน 1100 oCโดยใช้คาร์บอนหรือคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นตัวรีดิวซ์ ดังนี้ ZnO(s) + C(s) ------> Zn (l) + CO (g)ZnO(s) + CO(g) ------> Zn (l) + CO2(g) สังกะสีที่ถลุงได้อยู่ในรูปของเหลวที่ไม่บริสุทธิ์ คาร์บอนได ออกไซด์จึงทำปฏิกิริยากับ คาร์บอนกลายเป็น คาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก CO2(g) + C (s) --------> 2CO (g)

  6. การถลุงสังกะสีที่มีสินแร่แฮมิมอไพต์การถลุงสังกะสีที่มีสินแร่แฮมิมอไพต์ เริ่มจากกการนำแร่เปียกมาบดจนละเอียดแล้วให้ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟวริก เกิดเป็นสารประกอบ ZnSO4ต่อจากนั้นปรับสภาพสารละลายให้เป็นกลางด้วยหินปูนหรือปูนขาว แล้วกรองเพื่อแยกกาก ออกจากสารละลาย แต่ ZnSO4ที่ละลายอยู่ในสารละลายยังไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากมีเกลือของโลหะ แคดเมียม พลวง และทองแดงผสมอยู่ จึงต้องกำจัดไอออนเหล่านี้ออกโดยการเติมสังกะสีลงไป จะได้ตะกอนของ แคดเมียม พลวงและทองแดง

  7. ดังปฏิกิริยา Zn(s) + CdSO4(aq) ----> ZnSO4 (aq) + Cd(s) 3Zn(s) + Sb2(SO4)3(aq) ----> 3ZnSO4 (aq) + 2Sb(s) Zn(s) + CuSO4 (aq) -----> ZnSO4 (aq) + Cu(s) ZnSO4 ที่ได้จะถูกส่งไปยังโรงแยกสารด้วยกระแสไฟฟ้าต่อไป

  8. การแยกสารละลาย ZnSO4ด้วยกระแสไฟฟ้า เมื่อผ่านไฟฟ้ากระแกตรงในสารละลาย ZnSO4 จะเกิดปฏิกิริยาดังนี้ ที่แคโทด : Zn2+(aq) + 2e- ----> Zn(s) ที่แอโนด : H2O (l) ----> 2H++ 1/2O2(g) + 2e- ปฏิกิริยารวม : Zn2+(aq) + H2O(l)----> 2H+ + 1/2O2(g)+2e- พบว่าได้โลหะสังกะสีเกาะอยู่ที่ขั้วแคโทดและแก๊สออกซิเจนเกิด ขึ้นที่ขั้วแอโนด

  9. ประโยชน์ของสังกะสี 1.อุตสาหกรรมแผ่นเหล็กชุบ ลวดเหล็กชุบสังกะสี2.ภาชนะ เครื่องประดับ ที่จับประตู3.กล่องถ่านไฟฉาย4.สารประกอบออกไซด์ของสังกะสีใช้ใน อุตสาหกรรมยาง สี เครื่องสำอางและอาหารสัตว์

  10. แคดเมียม แคดเมียม คือ ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cdแคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี

  11. คุณสมบัติของแคดเมียม โลหะแคดเมียมมีสีเทาเงิน จัดเป็นโลหะอ่อน ง่ายต่อการตัด มีสมบัติคล้ายสังกะสี แต่แคดเมียมเป็นสารพิษ(เกิดโรคอิโต-อิไต) ไม่ควรได้รับฝุ่นแคดเมียมเกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นานเป็ฯเวลา 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพราะจะทำให้เป็นอันตรายได้ สามารถทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน และทำปฏิกิริยากับกรด แต่ไม่ทำปฏิกิริยากับเบสใช้เคลือบโลหะที่เกิดการผุกร่อนเหมือนสังกะสี ใช้ทำขั้วไฟฟ้าในเซลล์นิกเกิล-แคดเมียม โลหะแคดเมียมดูดซับนิวตรอนได้ดี จึงใช้เป็นแท่งควบคุมการเกิดปฏิกิริยาฟิชชันในเตาปฏิกรณ์ โลหะผสมของแคดเมียมจะมีจุดหลอมเหลวต่ำ

  12. แหล่งที่พบแคดเมียม แร่สังกะสีพบมากที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นับเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แร่สังกะสีที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสังกะสีซิลิเกต ได้แก่ แร่เฮมิมอร์ไฟต์ (Zn4(Si2O7)(OH)2(H2O)) แร่สมิทซอไนท์ (ZnCO3) และแร่ซิงไคด์ (ZnO) ส่วนแร่สังกะสีที่พบมากที่สุดในโลก คือ แร่สฟาเลอไรด์ (ZnS)

  13. การถลุงแคดเมียม

  14. ประโยชน์ของแคดเมียม 1.อุตสาหกรรมผลิตเซลล์นิกเกิล – แคดเมียม2.ใช้เคลือบเหล็กกล้า ทองแดงป้องกันโลหะการผุกร่อน3.ทำสีในอุตสาหกรรมพลาสติก เซรามิกส์

  15. แบบฝึกหัดตอนที่ 1 ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย (/) หน้าข้อความที่ถูกต้องและใส่ เครื่องหมาย (X) หน้าข้อความที่ผิด ______ 1. สังกะสีคือแร่ ______ 2. แร่สังกะสีที่จังหวัดตากเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ______ 3. สังกะสีเป็นโลหะที่มีสีเทาเงิน เปราะ และเป็นโลหะที่ ค่อนข้างอ่อน สามารถนำไฟฟ้าได้ดี ______ 4. สังกะสีมีจุดเดือดสูง ______ 5. สังกะสีส่วนใหญ่เป็นสังกะสีซิลิเกต

  16. ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. แคดเมียม (Cd) ก่อให้เกิดโรค..................................................... 2. แคดเมียมเป็นสารพิษไม่ควรได้รับฝุ่นแคดเมียมเกิน......................มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นานเป็นเวลา 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 3.สังกะสีที่พบมากที่สุดในโลกคือ...................................................... 4. การถลุงสังกะสีจะใช้วิธีเผาในอากาศเพื่อเปลี่ยนเป็นสารประกอบออกไซด์ จากนั้นถลุงที่ความร้อน.................................องศาเซลเซียส 5. เมื่อนำแร่เปียกมาบดละเอียด แล้วทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก เกิดเป็นสารประกอบ..................................

  17. เฉลย ตอนที่ 1 ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย (/) หน้าข้อความที่ถูกต้องและใส่เครื่องหมาย (X) หน้าข้อความที่ผิด ___×___ 1. สังกะสีคือแร่ ___/___ 2. แร่สังกะสีที่จังหวัดตากเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ___/___ 3. สังกะสีเป็นโลหะที่มีสีเทาเงิน เปราะ และเป็นโลหะที่ค่อนข้างอ่อน สามารถนำไฟฟ้าได้ดี ___×___ 4. สังกะสีมีจุดเดือดสูง ___/___ 5. สังกะสีส่วนใหญ่เป็นสังกะสีซิลิเกต ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1. แคดเมียม (Cd) ก่อให้เกิดโรคโรคอิโต-อิไต 2. แคดเมียมเป็นสารพิษไม่ควรได้รับฝุ่นแคดเมียมเกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นานเป็นเวลา 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 3.สังกะสีที่พบมากที่สุดในโลกคืออำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 4. การถลุงสังกะสีจะใช้วิธีเผาในอากาศเพื่อเปลี่ยนเป็นสารประกอบออกไซด์ จากนั้นถลุงที่ความร้อน1,100องศาเซลเซียส 5. เมื่อนำแร่เปียกมาบดละเอียด แล้วทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก เกิดเป็นสารประกอบZnSO4

  18. แหล่งอ้างอิง https://www.google.co.th/search?q http://chemistconfused.blogspot.com http://www.legendnews.net/index https://www.google.co.th/search?q http://chemistconfused.blogspot.com http://www.legendnews.net/index

  19. สมาชิกกลุ่ม 1.นายพิทักษ์ ลำพูน เลขที่ 5 2.นายสามารถ เยเซอะ เลขที่ 12 3.นางสาวณิชาภัทร ติ๊บอ้าย เลขที่ 23 4.นางสาวฐิตาภา จันต๊ะคาด เลขที่ 30 5.นางสาวกมลพรรณ กาละวงค์ เลขที่ 35 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1

  20. เสนอ คุณครูแสงหล้า คำหมั้น รายวิชาเคมี 5 ว 30225 โรงเรียนเชียงของวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

More Related