1 / 16

ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพื ช

ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพื ช. นาย ณัฐ กิตติ ดวงใจ เลขที่ 2 นาย ศุภ ศร ทรงงาม เลขที่ 7 นาย อภิสิทธิ์ ประยูรพรหม เลขที่ 25 นาย พิชิตพล แก้วเมืองคำ เลขที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2. กิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืช. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช

rodney
Download Presentation

ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพื ช

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช นาย ณัฐกิตติ ดวงใจ เลขที่ 2 นาย ศุภศร ทรงงาม เลขที่ 7 นาย อภิสิทธิ์ ประยูรพรหม เลขที่ 25 นาย พิชิตพล แก้วเมืองคำ เลขที่ 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2

  2. กิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืชกิจกรรมการปกปักพันธุกรรมพืช • กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช                 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช มีเป้าหมายที่จะปกปักพื้นที่ป่าธรรมชาติ นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แก่ป่าในสถาบันการศึกษา ป่าในศูนย์วิจัยและสถานีทดลอง ป่าที่ประชาชนร่วมใจกันปกปัก ซึ่งเมื่อรักษาป่าธรรมชาติไว้ก็จะรักษาพันธุกรรมดั้งเดิมในแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายให้มีกระจายทั่วประเทศในทุกเขตพรรณพฤกษชาติ                 ในการปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในป่าของสถาบันการศึกษา ได้สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในระดับต่างๆ จัดทำโครงการปกปักป่าของสถาบัน ทำการสำรวจ ทำรหัสประจำต้น และขึ้นทะเบียนพันธุกรรมในพื้นที่ เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี   มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น ในการปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในป่าจังหวัด  ส่วนราชการต่างๆ และหน่วยงานต่างๆ ได้ทูลเกล้าฯถวาย เช่น พื้นที่ในจังหวัดชุมพร  พื้นที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น

  3. พื้นที่เป้าหมายของโครงการฯพื้นที่เป้าหมายของโครงการฯ •  พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กองทัพเรือ    เช่น หมู่เกาะแสมสาร สัตหีบ ชลบุรี เกาะในความรับผิดชอบกองทัพเรือที่โครงการฯ ไปดำเนินการ • พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  กอง การเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา   เขาวังเขมร  อำเภอไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี   • พื้นที่สร้างป่าตามแนวพระราชดำริฯ และป่าพันธุกรรมพืช ทับลาน ครบุรี พื้นที่หนองระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา • พื้นที่โครงการอนุรักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี • พื้นที่โครงการอนุรักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โคกภูตากา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น • พื้นที่เขื่อนใหญ่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 13 เขื่อนทั่วประเทศ  เนื้อที่รวม  30,850 ไร่

  4. กิจกรรมที่ 2    กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช            เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมในพื้นที่ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงหรือสูญสิ้นจากการพัฒนา เช่น จากการทำอ่างเก็บน้ำ ทำถนน การพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากป่าธรรมชาติเป็นพื้นที่เกษตรกรรม หรือการทำโรงงานอุตสาหกรรม การจัดทำบ้านจัดสรร ฯลฯ ซึ่งพันธุกรรมในพื้นที่เหล่านั้นจะสูญไป การนี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ออกสำรวจเก็บรวบรวม ในรูปเมล็ด กิ่ง ต้น เป็นการดำเนินการนอกพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ในทุก เขตพรรณพฤกษชาติ การสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่าง ๆ ในพื้นที่ล่อแหลมต่อการสูญสิ้นพันธุกรรม เช่น เกาะต่าง ๆ ในภาคตะวันออกของประเทศไทย  พื้นที่สร้างถนน โรงงาน พื้นที่จัดสรร ฯลฯ รวมทั้งการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่าง ๆ รอบพื้นที่ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริฯ ในรัศมี 50 กิโลเมตร ซึ่งได้ดำเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

  5. ในปีงบประมาณ 2549 นั้นสำรวจเก็บรวบรวมตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมายส่วนหนึ่ง  คือฝั่งคือฝั่งอ่าวไทย โดยการสำรวจทรัพยากรทั้งในด้านกายภาพและชีวภาพ มีการสำรวจและเก็บพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่หายาก และใกล้สูญพันธุ์   พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมได้ โดยเฉพาะพืชนั้นมีการเก็บในรูปเมล็ด เก็บตัวอย่างแห้ง และ ตัวอย่างดอง  ต้นพืชที่มีชีวิต   ชิ้นส่วนพืชที่มีชีวิต  เช่น ผล  กิ่งชำ   กิ่งตอน  หัว  ราก  เหง้า  ฯลฯ และได้นำพืชบางส่วนไปปลูกรวบรวมพันธุกรรมพืชและจัดแสดงบริเวณสวนพฤกษศาสตร์ เกาะทะเลไทย บนเกาะแสมสาร นอกจากนั้นยังไปนำจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ.ซึ่งประกอบด้วยคณะอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขาจากสถาบันต่างๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมป่าไม้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ หน่วยสงครามพิเศษ กองทัพเรือ รวมถึงเจ้าหน้าที่และนักวิจัย อพ.สธ.

  6. กิจกรรมที่ 3    กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช • เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช โดยการนำพันธุกรรมไปเพาะปลูกในพื้นที่ที่ปลอดภัย ในศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่มีอยู่ 6 ศูนย์ทั่วประเทศ ในพื้นที่ศูนย์วิจัยและสถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร พื้นที่ที่จังหวัดหรือสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริอพ.สธ. มีการดำเนินการรับ- ส่งพันธุกรรมพืชไปตามพื้นที่อนุรักษ์  พื้นที่ของอพ.สธ.ตามที่ต่างๆ   มีการแลกเปลี่ยนและฝากเพาะขยายพันธุ์   ดูแลรักษา    ทดลองปลูกโดยเจ้าหน้าที่  อพ.สธ. ตามศูนย์และพื้นที่ต่างๆ  ของอพ.สธ. ในปีงบประมาณ 2549  อพ.สธ.เน้นนำไปปลูกในพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯคลองไผ่  อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา          นอกจากการปลูกต้นพันธุกรรมแล้วยังมีการเก็บรักษาในรูปเมล็ดพันธุ์และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่ธนาคารพืชพรรณ อพ.สธ. สวนจิตรลดา และมีการเก็บรักษาสารพันธุกรรม (DNA) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และที่ธนาคารพืชพรรณ สวนจิตรลดา

  7. สรุปงานในกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช   จำนวนหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริในกิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช รวมทั้งสิ้นจำนวน  42  หน่วยงาน และ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 6 แห่ง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) สวนจิตรลดา แบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1 งานเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ดำเนินงานโดย หน่วยขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช   หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และหน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อาคารธนาคารพืชพรรณ อพ.สธ. สวนจิตรลดา                 ลักษณะงานเป็นการดำเนินงานร่วมโดยหน่วยปฏิบัติการทั้งสามหน่วยงานทีได้กล่าวถึง งานทดลองบางส่วนเป็น จึงขอสรุปงานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของ อพ.สธ. ไว้ในกิจกรรมนี้ ดังนี้

  8. ก. งานเก็บรักษาโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ระยะสั้น เป็นงานที่เก็บรักษาในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(สภาพปลอดเชื้อ) และขยายพันธุ์พืชในคราวเดียวกัน โดยไม่เกิน 6 เดือนที่อยู่ในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  หลังจากที่พืชสมบูรณ์ดีแล้วบางส่วนนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไปในสภาพธรรมชาติ และบางส่วนดำเนินการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อต่อไป             มีการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อประมาณ 4,000 ลิตร โดยสูตรอาหารที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสูตรมาตรฐาน MS และฮอร์โมนหรือสารสำคัญอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่เพาะเลี้ยง นอกจากนั้นยังมีสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงกล้วยไม้

  9. ข.   งานเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในระยะปานกลาง • กล้วยไม้ 55 ชนิด • หวาย 6 ชนิด • พืชไม้เมืองหนาวที่มีลำต้นใต้ดิน 33 ชนิด ได้แก่ Allium, Hyacinth, Tulip เป็นต้น • พืชสมุนไพร 17 ชนิด ได้แก่ ช่อมุก ว่านชักมดลูก ไก่ดำ ดอกดิน เปราะหอม เป็นต้น • พืชอื่นๆ 8 ชนิด ได้แก่ขนุนไพศาลทักษิณ กุหลาบจิ๋ว จำปีสิรินธร สาเก หว้า เป็นต้น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ Hyacinth สามารถออกดอกได้ในขวด

  10. ค.   งานเก็บรักษาพันธุกรรมพืชในระยะยาว (ในสภาพเย็นยิ่งยวด -196 องศาเซลเซียส) ได้แก่ การอนุรักษ์เชื้อพันธุ์จำปีสิรินธร Magnolia sirindhorniaeNoot. & Chalermglinในหลอดทดลองโดยการเก็บรักษาในภาวะชะลอการเจริญและการเก็บรักษาในไนโตรเจนเหลว การศึกษาการขยายพันธุ์กล้วยไม้ม้าวิ่งสีม่วง  (DoritispulcherimaLindl.) ในสภาพปลอดเชื้อ การเก็บรักษากล้วยไม้ช้างกระขาวปากแดงในไนโตรเจนเหลวโดยวิธี Vitrification การศึกษาการเก็บรักษา Protocormกล้วยไม้พันธุ์ช้างกระขาวปากแดงในไนโตรเจนเหลว (Cryopreservation) โดยวิธี Encapsulation-dehydration การเก็บรักษายอดขนุนไพศาลทักษิณด้วยวิธีภายในเม็ด bead

  11. 2   งานปลูกต้นพันธุกรรมพืชที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และงานอนุบาลต้นพันธุกรรมพืชก่อนที่จะจัดส่งต่อไปยังแหล่งปลูกพันธุกรรมพืชในที่ต่าง ๆ            โดย หน่วยปฏิบัติการเก็บรักษาพันธุกรรมพืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  หน่วยปฏิบัติการเพาะชำอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และหน่วยปฏิบัติการเพาะชำเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชได้แก่ • กล้วยไม้, หวาย, พืชสมุนไพร • ขนุนไพศาลทักษิณ • กุหลาบ  • จำปีสิรินธร  • พืชอื่นๆ เช่น กฤษณา,ขิงชมพู,ขลู่, จินจีเหมาเยีย,หวาย, พลูคาว

  12. กิจกรรมที่ 4  กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช • กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืชเป็นกิจกรรมที่นำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืชที่ได้จากการศึกษา ประเมิน การสำรวจเก็บรวบรวม การปลูกรักษาพันธุกรรมพืชที่มีนำมาให้ผู้ทรงคุณวุฒิศึกษาและวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีพันธุ์ตามความต้องการในอนาคต โดยเป็นการวางแผนระยะยาว 30 ปี 50 ปี ว่าจะมีพันธุ์พืชลักษณะต่างๆ ที่ต้องการของช่วงเวลา เป็นการพัฒนาคาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งเมื่อได้แผนพัฒนาพันธุ์พืชแต่ละชนิด จะนำทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย และพระราชทานให้กับหน่วยงานที่มีหน่วยงานในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์

  13. มะกอกโอลีฟ • ที่มา จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชปรารภกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ถึงเรื่องมะกอกโอลีฟมีคุณค่าและประโยชน์หลายด้าน อีกทั้งมีพระราชกระแสกับหลายหน่วยงาน   เช่น    คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ฯลฯ  ในการนี้ เลขาธิการพระราชวัง ได้ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศึกษาและดำเนินการทดลองปลูกมะกอกโอลีฟ (Oleaeuropaea  L.) ในประเทศไทย ในส่วนของโครงการส่วนพระองค์

  14. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ • ชื่อพื้นเมือง : มะกอกโอลีฟชื่อวิทยาศาสตร์ : Oleaeuropaea  L.ชื่อวงศ์ : OLEACEAEชื่อสามัญ : Oliveมะกอกโอลีฟเป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นอาจสูงถึง 20 เมตรใบ เดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน รูปใบหอก กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมนแคบ มีติ่งเล็กๆ โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ก้านใบสั้น ยาว 3-4 มิลลิเมตร ผิวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสีเทา ดอก ช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบ ดอกฝอยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอก 4 กลีบโคนเชื่อมติดกัน ดอกมีสีขาวหรือสีครีม เกสรตัวผู้ 2 อัน ขนาดใหญ่ติดที่กลีบดอก อับเรณูสีเหลืองลักษณะเป็น 2 พู รังไข่มี 2 คาร์เพลแต่ละคาร์เพลมี 2 ออวุล ก้านเกสรเพศเมียตรง สั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียค่อนข้างใหญ่ ผล สด มีเนื้อ รูปร่างกลมรี ยาว 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.6-2 เซนติเมตร สีผลมีสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีแดง สีม่วงหรือสีดำ มีเมล็ดแข็ง ผล มะกอกโอลีฟมีเมล็ดในเดี่ยวและมีรูปทรงค่อนข้างกลม อาจจะกลมน้อย หรือกลมมากแตกต่างกันไป ส่วนขนาดของผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผลประกอบด้วยส่วนของเปลือกชั้นนอก ซึ่งสีจะเปลี่ยนเมื่อผลสุก เนื้อมะกอกโอลีฟเป็นส่วนที่มีปริมาณน้ำมันมากที่สุด  ส่วนเมล็ดในเป็นเมล็ดที่แข็ง ลักษณะยาวและมีตุ่มอยู่ตรงส่วนบนของเมล็ดห่อหุ้มเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ด้านในซึ่งพบว่ามีทั้งคัพภะ (embryo) และในโภชนาสาร

  15. อ้างอิง เข้าถึงจาก http://www.rspg.or.th/experimental_project/olive/olive.htm เมื่อวันที่ 1กันยายน 2555 เข้าถึงจาก http://www.rspg.or.th/activities/index.htm เมื่อวันที่ 1กันยายน 2555 แก้วขวัญ วัชโรทัย.โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ.กรุงเทพฯ:สนามเสือป่า

More Related