1 / 33

ความรับผิดชอบของ ขส.ทบ.

ความรับผิดชอบของ ขส.ทบ. เกี่ยวกับการขอใช้รถไฟ.

Download Presentation

ความรับผิดชอบของ ขส.ทบ.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรับผิดชอบของขส.ทบ.ความรับผิดชอบของขส.ทบ. เกี่ยวกับการขอใช้รถไฟ

  2. การขนส่งทางรถไฟสำหรับทางทหารถือว่าการขนส่งทางรถไฟเป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังบำรุงทั้งในยามปกติและในยามสงครามกองทัพจำเป็นต้องขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยมีกรมการขนส่งทหารบกและสำนักงานขนส่งประจำหน่วยต่างๆเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดต่อกับการรถไฟการขนส่งทางรถไฟสำหรับทางทหารถือว่าการขนส่งทางรถไฟเป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังบำรุงทั้งในยามปกติและในยามสงครามกองทัพจำเป็นต้องขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยมีกรมการขนส่งทหารบกและสำนักงานขนส่งประจำหน่วยต่างๆเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการติดต่อกับการรถไฟ

  3. ประเภทการขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟประเภทการขอใช้การขนส่งทางรถไฟกับการรถไฟ แบ่งออกตามลักษณะการการใช้เป็น๓ประเภท ๑การขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทรายย่อย ๒ การขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคัน ๓การขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ

  4. การขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคันการขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลหรือสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคัน มีหลักเกณฑ์การพิจารณาโดยยึดหลักดังนี้ • เมื่อเปรียบเทียบค่าระวางกับประเภทอื่นๆแล้วปรากฏว่า ประเภทเหมาคันประหยัดกว่าหรือสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยกว่า • เป็นสิ่งอุปกรณ์ที่การรถไฟฯบังคับว่าจะต้องส่งโดยวิธีเหมาคัน • เพื่อเป็นการรักษาความลับของทางราชการ • วิธีดำเนินการขอใช้รถไฟเพื่อขนส่งสิ่งอุปกรณ์ ประเภทเหมาคัน สำหรับส่วนราชการ • การส่งจากคลังฝ่ายยุทธบริการหรือคลังฝ่ายกิจการพิเศษ ไปยังส่วนภูมิภาคหรือหน่วยใช้หรือการส่งซ่อมเป็นหน้าที่ของกองจัดการเคลื่อนย้าย ขส.ทบ. เป็นผู้รับผิดชอบ • การส่งสิ่งอุปกรณ์ของหน่วยเพื่อการฝึกหรือศึกษา เป็นหน้าที่ของ จนท. จัดการเคลื่อนย้ายของหน่วยดำเนินการ • การขอใช้รถไฟสำหรับส่วนกลาง กองจัดการเคลื่อนย้าย ขส.ทบ. หรือหน่วยขอใช้ตามข้อ 2 เสนอคำขอไปยังกองสินค้าฝ่ายการเดินรถ การรถไฟฯ ล่วงหน้าก่อนการบรรทุกอย่างน้อย 48 ชั่วโมง และต้องระบุรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้ ก วันเวลาที่จะทำการบรรทุก ข สถานที่ทำการบรรทุก ค จำนวนตู้รถไฟที่ต้องการ ง วันเวลาที่ต้องการให้ถึงสถานีปลายทาง จ ยศ ชื่อ ผู้ดำเนินการบรรทุก ฉ รายชื่อผู้ควบคุม ( ถ้ามี )

  5. การขอใช้รถไฟขนส่งสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคันในส่วนภูมิภาคการขอใช้รถไฟขนส่งสิ่งอุปกรณ์ประเภทเหมาคันในส่วนภูมิภาค • หน่วยที่ขอใช้รถไฟเสนอความต้องการไปยังสำนักงานขนส่งล่วงหน้า7 วัน • สขส.ดำเนินการติดต่อขอใช้รถไฟล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชม. • รายละเอียดอื่นๆคงปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในส่วนกลาง

  6. การขอใช้รถไฟเพื่อการขนส่งกำลังพลประเภทเหมาคันการขอใช้รถไฟเพื่อการขนส่งกำลังพลประเภทเหมาคัน หน่วยขอใช้เพื่อขนส่งกำลังพลเป็นหน่วยต้องปฏิบัติตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการใช้กำลังทหารการเคลื่อนย้ายกำลังทหารและการเตรียมพร้อมพ.ศ.2519 และเสนอความต้องการขอใช้รถไฟเช่นเดียวกับการส่งสิ่งอุปกรณ์

  7. การขอใช้แบบขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษการขอใช้แบบขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ • โอกาสที่จะเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ • ขนกระสุนวัตถุระเบิดจำนวนเกินกว่า 5 ตันในขบวนเดียวกัน • บรรทุกสิ่งอุปกรณ์ที่มีขนาดเกินเขตบรรทุกแต่ไม่เกินเขตโครงสร้างหรือในการบรรทุกที่ต้องเปิดฝาข้างของรถไฟ(เช่นรถถัง) • ไม่สามารถจะโดยสารหรือจัดพ่วงไปกับขบวนรถสินค้าได้เพราะเกินหน่วยลากจูงขบวนปกติได้ • เมื่อต้องการเอกภาพในการบังคับบัญชา

  8. วิธีดำเนินการขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษวิธีดำเนินการขอเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษ การเปิดเดินรถไฟขบวนพิเศษต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากกองทัพบกควบคุมการใช้เป็นพิเศษฉะนั้นการขอเปิดเดินรถไฟฯทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องได้รับอนุมัติจากทบ.ก่อนจึงจะดำเนินการได้ • หน่วยส่วนกลางต้องทำรายงานขออนุมัติหลักการและรายละเอียดในการเคลื่อนย้ายตรงต่อทบ.ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วันเมื่อทบ.อนุมัติแล้วให้ส่งหลักฐานการอนุมัติให้ขส.ทบ.ขอเปิดเดินรถไฟ ขบวนพิเศษต่อไปการขอต้องขอล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 48 ชม.

  9. การขอต้องระบุรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้การขอต้องระบุรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้ • จำนวนและชนิดของรถพ่วงที่ต้องใช้ • วันเวลาที่ต้องการให้ขบวนรถออกเดินทาง • สถานที่ทำการบรรทุก • สถานีปลายทางที่จะทำการขนลง • หน่วยส่วนภูมิภาคดำเนินการเช่นเดียวกันแต่หลักฐานการอนุมัติต้องมอบให้สขส.ดำเนินการขอใช้รถไฟผ่านสารวัตรเดินรถเขตหรือนายสถานี

  10. ประเภทของรถไฟขบวนพิเศษประเภทของรถไฟขบวนพิเศษ รถไฟขบวนพิเศษแบ่งเป็น 3 ประเภท • รถไฟขบวนพิเศษโดยสาร • รถไฟขบวนพิเศษรวมซึ่งมีทั้งรถโดยสารและรถสินค้า • รถไฟขบวนพิเศษสินค้า

  11. กฎข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการโดยสารรถไฟกฎข้อบังคับและระเบียบว่าด้วยการโดยสารรถไฟ • ว่าด้วยอัตราค่าโดยสาร ก.อัตราค่าโดยสารปกติทุกชั้น มีหลักเกณฑ์การคิดดังนี้ • ระยะทางตั้งแต่๑ถึง๑๐๐กม. ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๙๓๒บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๔๘๘บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๒๑๕บาท

  12. ระยะทางตั้งแต่๑๐๑ถึง๒๐๐กม.ระยะทางตั้งแต่๑๐๑ถึง๒๐๐กม. ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๘๕๓บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๔๒๐บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๑๘๐บาท • ระยะทางตั้งแต่๒๐๑ถึง๓๐๐กม. ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๗๘๕บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๓๗๕บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๑๖๐บาท

  13. 4 ระยะทางตั้งแต่๓๐๑กม.ขึ้นไป ชั้นที่๑คิดกม.ละ๐.๗๓๙บาท ชั้นที่๒คิดกม.ละ๐.๓๖๖บาท ชั้นที่๓คิดกม.ละ๐.๑๔๕บาท 5 การคิดค่าโดยสารระยะตั้งแต่๑๐๑กม.ขึ้นไปคิดเป็นช่วงๆละ๕ กม. โดยคิดค่าโดยสารที่กม.ปลายช่วงทั้งนี้สุดแต่ระยะของสถานีปลาย ทางจะอยู่ในช่วงใด 6 อัตราค่าโดยสารขั้นต่ำชั้นที่๑คิด๖บาท ชั้นที่๒คิด๔บาท ชั้นที่๓คิด๒บาท

  14. 7 การปัดเศษยกเศษสตางค์ เมื่อคำนวณค่าโดยสารตามหลักเกณฑ์ในข้อ๑ถึง๕ให้ปัดเศษยก เศษในครั้งสุดท้าย ถ้ามีเศษต่ำกว่า๕๐สตางค์ให้ปัดทิ้งตั้งแต่๕๐สตางค์ขึ้นไป ให้ยกเป็น๑บาท 8 การคิดค่าโดยสารขั้นต่ำใน๖และการปัดเศษยกเศษใน๗ให้ ใช้กับค่าโดยสารที่มีส่วนลดทุกประเภทด้วย

  15. ค่าธรรมเนียม ผู้โดยสารทุกชั้นซึ่งเดินทางไปกับขบวนรถบางประเภทและหรือในรถ โดยสารบางชนิดจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของขบวนรถ และหรือชนิดของรถโดยสารนั้นๆเพิ่มขึ้นจากค่าโดยสารแล้วแต่ กรณี

  16. ข้อบังคับว่าด้วยการโดยสารโดยตั๋วพิเศษข้อบังคับว่าด้วยการโดยสารโดยตั๋วพิเศษ ว่าด้วยการโดยสารสำหรับทหารบกเรืออากาศที่ขึ้นตรงต่อกห.และตำรวจ เมื่อโดยสารไปในหน้าที่ราชการโดยใช้ใบแลกการขนส่งโดยสารหรือหนังสือแลกตั๋วโดยสารการรถไฟฯจะคิดค่าโดยสารตามสิทธิที่ได้รับลดค่าโดยสารของอัตราค่าโดยสารตามชั้นและระยะทางที่โดยสาร เดินทางด้วยกิจส่วนตัวการรถไฟฯจะคิดค่าโดยสารเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราค่าโดยสารตามระยะที่โดยสารทุกชั้นจะต้องนำบัตรประจำตัวแสดงต่อผู้ขายตั๋วด้วย

  17. การเช่ารถโดยสาร • การคิดค่าเช่าและจำนวนผู้โดยสารต่อรถโยสาร๑คัน • ค่าเช่ารถโดยสารจะคิดเท่ากับค่าโดยสารผู้ใหญ่เต็มราคาตามระยะทางชั้นที่นั่งและค่าธรรมเนียมต่างๆอันจะพึงมีของรถที่ขอเช่าและขบวนรถที่จะพ่วงไปตามจำนวนผู้โดยสารจริงอย่างน้อยเท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้ • การเช่ารถโบกี้จัดเฉพาะหรือรถปรับอากาศจัดเฉพาะเที่ยวเดียวคิดเพิ่มอีกร้อยละ๕๐ของค่าเช่า • การเช่ารถนอนหรือรถปรับอากาศเที่ยวเดียวคิดเพิ่มอีกร้อยละ๒๐ของค่าเช่า • การคิดค่าเช่ารถโดยสารเฉพาะคันให้ปัดเศษยกเศษในครั้งสุดท้ายหากมีเศษต่ำกว่า๑๐๐บาทให้ยกขึ้นเป็น๑๐๐บาท

  18. ค่าเช่าขั้นต่ำต่อ๑คันค่าเช่าขั้นต่ำต่อ๑คัน • รถดีเซลรางปรับอากาศวันละ๗,๕๐๐บาท • รถดีเซลรางธรรมดาวันละ๕,๒๐๐บาท • รถนอนรถปรับอากาศวันละ๓,๕๐๐บาท • รถโดยสารอื่นๆวันละ๑,๖๐๐บาท • การนับเวลาถือว่า๒๔ชม.เท่ากับ๑วันโดยนับเวลาที่รถ ออกจากสถานีต้นทางตามประกาศเดินรถหรือเวลาที่มอบรถให้ผู้เช่าเศษของวันให้นับเป็น๑วัน

  19. จำนวนผู้โดยสารที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าเช่าจำนวนผู้โดยสารที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าเช่า • รถโดยสารประเภทที่ใช้กับงานเฉพาะกิจ(ตามข้อ๑.๑-๑.๘) • รถโดยสารนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ๑.๑-๑.๘จำนวนผู้โดยสารที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าเช่ารถให้คิดตามจำนวนที่นั่งของรถที่ประสงค์จะขอเช่านั้น • ตัวอย่างเช่าเหมาคันไปอยุธยาใช้บชส.จำนวน๗๖ที่นั่งผู้โดยสาร๗๐คน ระยะทางจากกรุงเทพฯถึงอยุธยาเท่ากับ๗๑กม. ค่าโดยสารคนละ๑๕บาท รวมเป็นเงินค่าโดยสาร=๗๖ X ๑๕=๑,๑๔๐(คิดตามจำนวนที่นั่งของรถที่ขอเช่า) ปัดเศษ๔๐บาทเป็น๑๐๐บาทค่าเช่าจะเท่ากับ๑,๒๐๐บาท แต่ค่าเช่าบชส.ขั้นต่ำวันละ๑,๖๐๐บาท เพราะฉะนั้นค่าเช่าจึงเท่ากับ๑,๖๐๐บาทเข้าใจไม๊

  20. กฎข้อบังคับและระเบียบการบรรทุกสินค้ากฎข้อบังคับและระเบียบการบรรทุกสินค้า • ความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องระเบียบการบรรทุกสินค้าประเภทห่อวัตถุประเภทเหมาหลังและระเบียบเกี่ยวกับการจัดรถไฟเป็นขบวนพิเศษสำหรับใช้ในการวางแผนและติดต่อประสานได้ถูกต้องและรวดเร็ว • การบรรทุกห่อวัตถุโดยทางรถไฟนั้นจะส่งโดยขบวนรถด่วนรถเร็วรถรวมหรือรถสินค้าก็ได้ขบวนใดจะต้องคิดค่าระวางอัตราด่วนหรือธรรมดามีปรากฏในข้อบังคับ • การบรรทุกสินค้าเครื่องล้อเลื่อนสัตว์มีชีวิตในประเภทเหมาหลังผู้ส่งมิได้ขอส่งในอัตราด่วนนั้นจะจัดพ่วงส่งไปกับขบวนรถสินค้าธรรมดาหรือขบวนรถซึ่งมิได้กำหนดให้คิดค่าระวางในอัตราด่วน

  21. การยกน้ำหนักเพื่อคิดค่าระวางการยกน้ำหนักเพื่อคิดค่าระวาง • ห่อวัตถุน้ำหนักตั้งแต่ 1ถึง 20 กก.คิดค่าระวางเท่ากับน้ำหนัก 20 กก. • ส่วนที่เกิน 20 กก.จะคิดค่าระวางในน้ำหนักซึ่งยกเศษของ 10 กก.เป็น 10 กก. • การยกเศษที่เกินกว่าทุกร้อยกก.จะต้องยกขึ้นเป็น 20 กก.เสมอ • ต่อจากนั้นคงยกเป็น 10 กก. ดูตัวอย่างดูตัวอย่าง

  22. หีบห่อที่ไม่นับเข้าเกณฑ์ห่อวัตถุหีบห่อที่ไม่นับเข้าเกณฑ์ห่อวัตถุ ห่อวัตถุเป็นของชิ้นเดียวหรือหน่วยเดียวมีขนาดขั้นต่ำต้องไม่เล็กกว่า๒๐x ๑๔ x ๖ซม.กินเนื้อที่ในทางราบไม่น้อยกว่า๒๘๐ตารางซม.และสูงไม่น้อยกว่า๖ซม.มีน้ำหนักไม่เกินกว่า๑,๐๐๐กก.ต่อชิ้น หรือมีขนาดต้องไม่เกินกว่า๒.๕๐ x ๐.๘๐ X ๑.๐๐เมตรกินเนื้อที่ในทางไม่เกิน๒ตารางม.และสูงไม่เกิน๑ม. ถ้ามีน้ำหนักและขนาดเกินกว่าขั้นสูงจะต้องบรรทุกส่งในประเภทเหมาคัน

  23. ประเภทและอัตราค่าระวางห่อวัตถุประเภทและอัตราค่าระวางห่อวัตถุ • สินค้าห่อวัตถุมี๒ประเภทคือก.ห่อวัตถุ ข.สิ่งพิมพ์ ค่าระวางห่อวัตถุแบ่งเป็น๒อัตราคืออัตราธรรมดาและอัตราด่วนสำหรับสิ่งพิมพ์ให้คิดค่าระวางตามข้อ๖๐ ห่อวัตถุที่บรรทุกส่งไปกับขบวนรถด่วนรถเร็วหรือขบวนรถโดยสารให้คิดค่าระวางในอัตราด่วนเสมอค่าระวางขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า๔๐บาทคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกร้อยละ๑๐ของค่าระวางเงินค่าธรรมเนียมที่คิดได้ถ้ามีเศษต่ำกว่า๑บาทยกเป็น๑บาทค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า๑๐บาท

  24. ค่าระวางห่อวัตถุอัตราธรรมดาคิดตามอัตราและช่วงระยะทางกิโลเมตรในแบบสำเร็จท้ายข้อบังคับนี้(ตามผนวกค)ค่าระวางห่อวัตถุอัตราธรรมดาคิดตามอัตราและช่วงระยะทางกิโลเมตรในแบบสำเร็จท้ายข้อบังคับนี้(ตามผนวกค) • อัตราค่าระวางด่วนคิด๒เท่าของอัตราธรรมดา • ค่าระวางขั้นต่ำ อัตราธรรมดาต้องไม่น้อยกว่า๑๐บาท อัตราด่วนต้องไม่น้อยกว่า๒๐บาท • การปัดเศษยกเศษจำนวนเงินค่าระวางที่คิดได้ครั้งสุดท้ายถ้ามีเศษต่ำกว่า๑บาทให้ยกขึ้นเป็น๑บาท

  25. ตัวอย่าง ส่งห่อวัตถุน้ำหนัก๖๕กก.จากบางซื่อกรุงเทพฯไปอยุธยาส่งอัตราธรรมดาจะต้องเสียค่าระวางกี่บาท? • ระยะทางจากบางซื่อ –อยุธยา๗๑-๗=๖๔กม. • ห่อวัตถุหนัก๖๕กก.ยกเป็น๗๐กก. ตามแบบสำเร็จผนวกคค่าระวางห่อวัตถุระยะทาง๖๔กม.ห่อวัตถุหนัก๗๐กก.จะต้องเสียค่าระวางเป็นเงิน๑๐.๖บาท ไม่ยากเลยยยย

  26. อีกหนึ่งตัวอย่าง ส่งห่อวัตถุจำนวน๕๐ห่อมีน้ำหนักรวม๑,๐๑๕กก.จากบางซื่อไปลพบุรีในอัตราค่าระวางธรรมดาจะต้องเสียค่าระวางกี่บาท? ระทางจากบางซื่อ – ลพบุรี=๑๓๓-๗=๑๒๖กม. น้ำหนัก๑,๐๑๕กก.ยกเป็น๑,๐๒๐กก. ตามผนวกค ระยะทาง๑๒๖กม.ห่อวัตถุหนัก๑๐๐กก.คิดค่าระวาง๒๙.๗บาท ห่อวัตถุหนัก๑,๐๐๐กก.ค่าระวาง=๒๙.๗ X ๑,๐๐๐หาร๑๐๐ = ๒๙๗บาท ห่อวัตถุอีก๒๐กก.คิด๕.๙บาท รวมค่าระวางห่อวัตถุ=๒๙๗+๕.๙=๓๐๒.๙ยกเศษ.๙บาทเป็น๑บาท จะต้องเสียค่าระวางรวม=๓๐๓บาท

  27. กฎข้อบังคับว่าด้วยการบรรทุกส่งสินค้าเครื่องล้อเลื่อนและสัตว์มีชีวิตกฎข้อบังคับว่าด้วยการบรรทุกส่งสินค้าเครื่องล้อเลื่อนและสัตว์มีชีวิต • การบรรทุกส่งสินค้าเครื่องล้อเลื่อนและสัตว์มีชีวิตโดยวิธีเหมาหลังทางรถไฟนั้นต้องบรรทุกตามพิกัดน้ำหนักความจุของรถห้ามไม่ให้บรรทุกเกินกว่าน้ำหนักที่ปรากฏอยู่ข้างรถนั้น • การบรรทุกรถยนต์เครื่องมือกลและล้อเลื่อนที่ใช้กำลังเครื่องจักรไอน้ำกำลังเครื่องยนต์รถบดถนนทั้งคันรถพ่วงทุกชนิดที่ไม่มีกำลังขับเคลื่อนในตัวเองในประเภทเหมาหลังอนุญาตให้บรรทุกในรถสินค้า 4 ล้อคันหนึ่งได้ไม่เกิน 2 คันในรถ 8 ล้อคันหนึ่งได้ไม่เกิน 3 คันและให้บรรทุกรวมกันไปได้แต่จำนวนรวมทั้งรถพ่วงด้วยแล้วต้องไม่เกินจำนวนคันที่กำหนด

  28. น้ำหนักขั้นต่ำในการคิดค่าระวางน้ำหนักขั้นต่ำในการคิดค่าระวาง • รถชนิด 4 ล้อ(ไม่ใช่การขนส่งระบบคอนเทนเอร์) พิกัดบรรทุกคิดน้ำหนักขั้นต่ำ ไม่เกิน 13,500 กก. 10,000 กก. 13,501-15,500 กก. 12,000 กก. 15,501-17,500 กก. 13,000 กก. 17,501-ขึ้นไป 14,000 กก.

  29. รถชนิด๘ล้อซึ่งไม่ใช้การขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์รถชนิด๘ล้อซึ่งไม่ใช้การขนส่งในระบบคอนเทนเนอร์ พิกัดบรรทุกคิดน้ำหนักขั้นต่ำ ไม่เกิน 25,000 กก. 18,000 กก. 25,001-30,000 กก. 22,000 กก. 30,001-37,000 กก. 26,000 กก. 37,001-41,000 กก. 30,000 กก. 41,001- ขึ้นไป 34,000 กก.

  30. การใช้รถสินค้าชนิด๔ล้อและ๘ล้อบรรทุกสินค้าดังกล่าวถ้าชั่งได้น้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักขั้นต่ำที่กำหนดไว้แต่ไม่เกินพิกัดความจุของรถให้คิดค่าระวางเพิ่มขึ้นตามส่วนเป็น๑๐๐กก.เศษของ๑๐๐กก.ยกขึ้นเป็น๑๐๐กก.การใช้รถสินค้าชนิด๔ล้อและ๘ล้อบรรทุกสินค้าดังกล่าวถ้าชั่งได้น้ำหนักเกินกว่าน้ำหนักขั้นต่ำที่กำหนดไว้แต่ไม่เกินพิกัดความจุของรถให้คิดค่าระวางเพิ่มขึ้นตามส่วนเป็น๑๐๐กก.เศษของ๑๐๐กก.ยกขึ้นเป็น๑๐๐กก. • ประเภทและอัตราค่าระวางสินค้าเหมาหลัง • สินค้าที่ส่งในประเภทเหมาหลังได้กำหนดอัตราค่าระวางไว้๖ประเภท ๑สินค้าประเภท๓ ๒สินค้าประเภท๔ ๓น้ำมันเชื้อเพลิง(ยกเว้นน้ำมันเตา)ขนส่งในรถบรรทุกน้ำมัน ๔น้ำมันเตาขนส่งในรถบรรทุกน้ำมัน ๕ก๊าซขนส่งในรถบรรทุกก๊าซ ๖ตู้สินค้าหรือคอนเทนเนอร์

  31. การคิดค่าระวางสินค้าเหมาหลังให้คิดตามประเภทสินค้าที่บรรทุกส่งและช่วงระทางเป็นกิโลเมตรตามบัญชีรายชื่อสินค้าและแบบสำเร็จอัตราค่าระวางท้ายกฎข้อบังคับการคิดค่าระวางสินค้าเหมาหลังให้คิดตามประเภทสินค้าที่บรรทุกส่งและช่วงระทางเป็นกิโลเมตรตามบัญชีรายชื่อสินค้าและแบบสำเร็จอัตราค่าระวางท้ายกฎข้อบังคับ • จำนวนเงินค่าระวางที่คิดได้ครั้งสุดท้ายถ้ามีเศษไม่ถึง๕บาทให้ยกขึ้นเป็น๕บาทหากเกิน๕บาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง๑๐บาทให้ยกขึ้นเป็น๑๐บาท • ค่าระวางอัตราด่วนสำหรับสินค้าเหมาหลังให้คิด 2 เท่าของอัตราค่าระวางในแบบสำเร็จท้ายกฎข้อบังคับ

  32. ค่าระวางขั้นต่ำสำหรับการส่งสินค้าเหมาหลังค่าระวางขั้นต่ำสำหรับการส่งสินค้าเหมาหลัง • ส่งจากหรือถึงสถานีต่างๆตลอดทางทุกสายยกเว้นสถานีปาดังเบซาร์ให้คิดหลังละ๕๐๐บาทสำหรับรถ๔ล้อและหลังละ๑,๐๐๐บาทสำหรับรถ๘ล้อ • ส่งจากสถานีต่างๆถึงสถานีปาดังเบซาร์ให้คิดหลังละ๘๐๐บาทสำหรับรถ๔ล้อและหลังละ๑,๖๐๐บาทสำหรับรถ๘ล้อ • อัตราด่วนให้คิดค่าระวางขั้นต่ำ๒เท่า

  33. ตัวอย่าง ขนส่งสป.น้ำหนักรวม๙,๕๐๐กก.จากที่รับส่งสินค้าพหลโยธินไปพิษณุโลก โดยวิธีเหมาหลังใช้รถตญ.จงคิดค่าระวางบรรทุก รถตญ.มีพิกัดบรรทุก๑๓,๕๐๐กก.คิดน้ำหนักขั้นต่ำ๑๐,๐๐๐กก. สป.หนัก๙,๕๐๐กก.ไม่ถึงขั้นต่ำคิดตามน้ำหนักขั้นต่ำ๑๐,๐๐๐กก. ระยะทางจากที่รับส่งฯถึงพิษณุโลก=๓๘๙ – ๗=๓๘๒กม. ตามแบบสำเร็จ(ผนวกจ)คิดอัตราค่าระวางสินค้าประเภท๔ ระยะทาง๓๘๒กม.สป.หนัก๑,๐๐๐กก.ค่าระวาง=๒๒๑บาท สป.หนัก๑๐,๐๐๐กก.ค่าระวาง=๒๒๑x๑๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐ = ๒,๒๑๐ จะต้องเสียค่าระวางบรรทุกวิธีเหมาหลัง=๒,๒๑๐บาท

More Related