1 / 18

ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ

Download Presentation

ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล

  2. 21. ลุ่มน้ำภาคใตัฝั่งตะวันออก ที่ตั้ง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีพื้น ที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ ลุ่มน้ำปัตตานี แทรกตัวอยู่เป็นช่วงๆ ตามรูปที่21.1 รูปที่ 21-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

  3. ลักษณะภูมิประเทศ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นพื้นที่ชายฝั่งติดอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งทะเลราบเรียบ มีที่ราบแคบตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปถึงจังหวัดนราธิวาส แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆไหลลงสู่อ่าวไทย ทางตะวันตกจะเป็นทิวเขาภูเก็ต ซึ่งเป็นทิวเขาต่อเนื่องมาจากทิวเขาตะนาวศรี ทอดยาวลงมาทางใต้จนถึงจังหวัดพังงา แล้วเบนออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้จรดทิวเขานครศรีธรรมราชพาดผ่านลงมาทางใต้ ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง ลงไปจนถึงจังหวัดสตูล แล้วไปจรดกับทิวเขาสันกลาคีรี รูปที่ 21-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

  4. พื้นที่ลุ่มน้ำ ตารางที่ 21-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ประมาณ 26,365 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 13 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 21-1 และ รูปที่ 21-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 21.01 21.02 21.03 21.04 21.05 21.06 21.07 21.08 21.10 21.09 21.11 21.12 21.13 รูปที่ 21-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก

  5. ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้วตามตารางที่ 21-2 ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 21-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ

  6. ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยผันแปร ตั้งแต่ 1,400 มิลลิเมตร จนถึงประมาณ 3,800 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 2,052.3 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนได้แสดงไว้ตาม ตารางที่ 21-4 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย ตามรูปที่ 21-4 รูปที่ 21-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย รูปที่ 21-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 21-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 26,353 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยประมาณ 22,260.7 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 21-4 หรือมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 26.79 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร และตามรูปที่ 21-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย

  7. ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า

  8. ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืช ออกได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 21-5 และแต่ละกลุ่มดินมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 21-4 ตารางที่ 21-4 รูปที่ 21-5 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช

  9. การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1.) พื้นที่ทำการเกษตร.....................55.43 % พืชไร่.....................................0.08 % ไม้ผล–ยืนต้น.........................70.96 % ข้าว................................. ....18.91 % พืชผัก....................................0.01 % รูปที่ 21-6 การทำเกษตร 2.) ป่าไม้.....................................39.23 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า................. 5.80 % เขตอุทยานแห่งชาติ.................... 14.55 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์.......................... 79.65 % รูปที่ 21-7 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3.) ที่อยู่อาศัย............................... 1.55 % 4.) แหล่งน้ำ................................. 0.02 % 5.) อื่นๆ....................................... 3.77 % รูปที่ 24-8 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน

  10. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ 14,607.47ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชต่างๆประมาณ 8,825.20 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60.42 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 4,223.69 ตารางกิโลเมตร (18.9 %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 1.41 ตารางกิโลเมตร (0.10 %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 10.98 ตารางกิโลเมตร (0.08%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 10,365.13 ตร.กม. (70.96%) พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกพืช ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณท้ายน้ำของลำน้ำย่อยต่างๆ ที่ไหลลงอ่าวไทยทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำ ซึ่งจะมีพื้นที่หนาแน่นบริเวณแม่น้ำปากพนัง ซึ่งรวมแล้วประมาณร้อยละ 33.49 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตรพบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืชส่วนใหญ่มีการปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น และข้าวบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมดี แต่ในการปลูกพืชผักและพืชไร่ยังปลูกบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสมอยู่ รูปที่ 21-9 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร รูปที่ 21-9 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร

  11. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทานในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณท้ายน้ำของลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทยทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำโดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,770.63 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 54.06 ของพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือคิดเป็นร้อยละ 32.66 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 21-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นทีที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน

  12. การประเมินความต้องการน้ำ การประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากร ทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง และนอกเขตเมืองรวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 21-10 รักษาระบบนิเวศ ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) ชลประทาน อุปโภค - บริโภค อุตสาหกรรม รูปที่ 21-10 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท

  13. ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัยสภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ∶- • 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่างๆ จะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอลานสะกา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา อำเภอสุคีริน อำเภอจะแนะ และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม จะเกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอสิชล อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

  14. ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำนี้ เกิดจาภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 ในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด3,199 หมู่บ้าน พบว่า มีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งจำนวน 1,562 หมู่บ้าน (ร้อยละ 48.83) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 827 หมู่บ้าน (ร้อยละ 25.85) และ หมู่บ้านที่ขาดแคลนทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตรจำนวน 735 หมู่บ้าน (ร้อยละ 30.67) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่ จะอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชถึง 479 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 30.67 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 21-10 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

  15. แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกัน เมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวม โดยสรุปดังนี้ 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางในแต่ละลุ่มน้ำสาขาที่มีศักยภาพ เพื่อเก็บ กักปริมาณน้ำหลากในฤดูฝน และส่งน้ำให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำสาขานั้นๆ 2) เพิ่มประสิทธิภาพ หรือขีดความสามารถกระจายน้ำให้ทั่วถึง 3) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตัวเมืองและพื้นที่โดยรอบ มิให้ลุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 5) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ / นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่

More Related