1 / 12

ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ

ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ. จุดมุ่งหมายความสำคัญของงานวิจัย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วิธีการและเทคนิค เทคนิคการเขียนความสำคัญของการวิจัย หลักการการเขียนความสำคัญของงานวิจัย. จุดมุ่งหมายความสำคัญของงานวิจัย.

rowena
Download Presentation

ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความสำคัญของงานวิจัยเสนอรศ.ดร.เผชิญ กิจระการ

  2. จุดมุ่งหมายความสำคัญของงานวิจัยจุดมุ่งหมายความสำคัญของงานวิจัย • ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • วิธีการและเทคนิค • เทคนิคการเขียนความสำคัญของการวิจัย • หลักการการเขียนความสำคัญของงานวิจัย

  3. จุดมุ่งหมายความสำคัญของงานวิจัยจุดมุ่งหมายความสำคัญของงานวิจัย ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐานและเข้าใจในปัญหา ที่กำลังจะศึกษาอย่างชัดเจนทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถระบุถึงความสำคัญของปัญหา ความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับอย่างมีเหตุผล ระบุเป็นไปตามคาดหมาย หรือตรงกันข้ามกับที่คาดหมาย การวางกรอบทฤษฎีและแยกแยะโครงสร้างของทฤษฎีไว้

  4. อย่างชัดเจน จะทำให้ทราบถึงชนิดของตัวแปรและจำนวนของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ทราบว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์กัน และลักษณะความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางใด ต้องมีการควบคุมตัวแปรใดบ้าง และทำให้ทราบถึงแนวทางในการสร้างเครื่องมือ และใช้เครื่องมือวัดตัวแปร

  5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Problem) • เป็นส่วนประกอบอันแรกของเอกสารวิจัยส่วนบุคคล (ความยาวของเนื้อหาประมาณ ๒ - ๓ หน้า) • สภาพปัญหาที่เลือกมาศึกษา ต้องอ้างอิงหลักฐานจากทฤษฎีหรืองานวิจัยอื่นเพื่อสร้างความหนักแน่นให้แก่เหตุผลที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ • ความสำคัญของปัญหา พิจารณาได้จาก • จำนวนบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือถูกกระทบกระเทือนจากปัญหาหรือเรื่องที่จะทำการวิจัย • ความถี่และความกว้างของการเกิดขึ้นของเหตุการณ์

  6. ความเป็นไปได้ • ความน่าสนใจและทันต่อเหตุการณ์ • ความสนใจของผู้วิจัย • ความสามารถที่จะทำการวิจัยให้ลุล่วง (หมายถึงข้อมูลที่มี / แนวคิดที่มี) • สำหรับขั้นตอนในการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาควรมีลำดับ ดังนี้ ๑. กล่าวนำเข้าสู่ปัญหาอย่างมีลำดับขั้นตอน ชัดเจน รัดกุมโดยมีการทบทวนวรรณกรรมพอสังเขปโดยเขียนอธิบายในภาพรวมของปัญหา (Macro) มาสู่ประเด็นปัญหาที่เจาะจงจะศึกษาวิจัยที่แคบลง (Micro)

  7. ระบุว่าปัญหาคืออะไร มีข้อมูล หลักฐานยืนยันว่าเป็นความจริง ๓. กล่าวถึงความรุนแรงของปัญหามีมากน้อยเพียงใด ส่งผลกระทบถึงส่วนรวมอย่างไร บ้าง และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงต่อไปในอนาคตอย่างไร • ระบุความจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัย ๕. ผลที่ได้จากการวิจัยจะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร

  8. เทคนิคการเขียนความสำคัญของการวิจัยเทคนิคการเขียนความสำคัญของการวิจัย แนวในการเขียนแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ      1.1 เริ่มจากจากสภาพปัจจุบันของสิ่งที่จะวิจัย       1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะวิจัย 1.3 แนวทาง หรือ หลักการที่จะแก้ปัญหานั้น 2. ตรงประเด็น และชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย ไม่ควรเขียนเยินเยอ และนอกเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้เขวได้ 3. มีข้อมูลอ้างอิง เพื่อความน่าเชื่อถือ การมีข้อมูลอ้างอิงจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า และบางครั้งทำให้การเขียนมีความสละสลวย มีเหตุมีผล 4. มีความต่อเนื่องกัน ในแต่ละย่อหน้าผู้เขียนต้องเขียนให้ต่อเนื่องกัน ห้ามเขียนวกไปวนมา โดยต้องยึดหลักการเขียนตามข้อ 1 5. สรุปเหตุผลที่ผู้วิจัยจะศึกษา ในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย

  9. วิธีการและเทคนิค 1) ทันสมัย      2) ทันต่อเหตุการณ์       3) เป็นสากล       4) ท้าทาย       5)สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือสร้างสาระสำคัญของความรู้ทาง วิชาการใหม่       6) เป็นความคิดริเริ่มใหม่       7)เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครทำมาก่อนหรือมีแต่น้อยมาก       8)มีผู้ศึกษาไว้พอสมควรแต่กระจัดกระจายและยังไม่เป็น ระบบผู้ศึกษาจึงนำมาประมวลและจัดระบบ       9) ช่วยเพิ่มความรู้ด้านวิชาการให้มากขึ้นอย่างชัดเจน     10)เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการหรือสังคมส่วนรวม เช่น ประเทศชาติ ชุมชน และ/หรือ ประชาชน     11)สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือประยุกต์ใช้ได้อย่าง กว้างขวาง

  10. หลักการการเขียนความสำคัญของงานวิจัยหลักการการเขียนความสำคัญของงานวิจัย แสดงเหตุผลให้เห็นว่าเรื่องที่นำมาศึกษานี้สำคัญและจำเป็น หรือจูงใจอย่างมากจนถึงขนาดที่ทำให้ผู้ศึกษาหรือคณะผู้ศึกษาสนใจและได้ตัดสินใจเลือกศึกษาเรื่องนี้ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นความพยายามของผู้ศึกษาที่จะเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกว่าเรื่องที่ศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ น่าสนใจ และต้องการอ่านต้องการติดตาม

  11. ตัวอย่างของการเขียนความสำคัญของงานวิจัยตัวอย่างของการเขียนความสำคัญของงานวิจัย เรื่อง การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง ความสำคัญและที่มา จากการสอนทักษะการเขียนสะกดคำ พบว่า เมื่อครูให้นักเรียนอ่านบทเรียน หรือ หนังสือนอกเวลา แล้วกำหนดคำให้นักเรียนเขียนตามคำบอก จากคำที่ครูกำหนดขึ้น นักเรียนไม่สามารถเขียนคำได้ถูกต้อง ตามมาตราตัวสะกด ต่างๆ ครูผู้สอนจึงจึงเกิดความคิดที่ว่า การ ให้นักเรียนค้นหาคำศัพท์ที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดต่างๆจากหนังสือพิมพ์ หรือวารสารต่างๆ และการฝึกให้นักเรียนได้เขียนสะกดคำบ่อยๆ จะช่วยให้นักเรียนเขียนสะกดคำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

  12. ที่มาของตัวอย่างอ้างอิงที่มาของตัวอย่างอ้างอิง ผู้วิจัย ครูฉายพรรณ สนิทนาน เรื่อง การแก้ปัญหานักเรียนเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง กลุ่มการเรียนรู้วิชาภาษาไทย/2546

More Related