1 / 206

โดย

สิทธิในสัญชาติไทย ของบุคคลธรรมดา ที่มีองค์ประกอบต่างด้าว. โดย. รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖. (๑). แนวคิดทั่วไป. ปัญหาที่ ๗ ที่คนต่างด้าวต้องเผชิญ ก็คือ. ปัญหาสัญชาติไทย ของตนเองและ ครอบครัว. ๑.ปัญหาการเข้าเมือง. ๒.ปัญหาการอาศัยอยู่.

russ
Download Presentation

โดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิในสัญชาติไทย ของบุคคลธรรมดา ที่มีองค์ประกอบต่างด้าว โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  2. (๑) แนวคิดทั่วไป พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  3. ปัญหาที่ ๗ที่คนต่างด้าวต้องเผชิญ ก็คือ ปัญหาสัญชาติไทย ของตนเองและ ครอบครัว พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  4. ๑.ปัญหาการเข้าเมือง ๒.ปัญหาการอาศัยอยู่ ปัญหาของ คนต่างด้าว ๓.ปัญหาการประกอบอาชีพ ๔.ปัญหาการถือครองทรัพย์สิน ๕.ปัญหาการก่อตั้งครอบครัว ๖.ปัญหาการเข้าร่วมทางการเมือง ๗.ปัญหาการขอสถานะคนชาติ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  5. ประเด็นแห่งปัญหา • สิทธิคืออะไร ??? • คนต่างด้าวคือใคร ??? • สัญชาติคืออะไร ??? พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  6. (๒) กฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยสัญชาติ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  7. จารีตประเพณี ระหว่างประเทศ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  8. นิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชนนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน ที่มีลักษณะระหว่างประเทศ เป็นไปตามกฎหมายมหาชนภายใน ของรัฐคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ เว้นแต่จะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่น พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  9. ข้อเท็จจริง ที่ทำให้ได้ สัญชาติ โดย การเกิด หลักสืบสายโลหิต (จากบิดามารดา) หลักดินแดน (ดินแดนที่เกิด) หลักบุคคล (การสมรส) โดยภายหลัง การเกิด หลักดินแดน (แสดงความจงรักภักดีต่อดินแดน) พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  10. ข้อเท็จจริง ที่ทำให้ เสียสัญชาติไทย ขาด โดยเจตนาของรัฐ มีข้อเท็จจริงว่า ขาดจุดเกาะเกี่ยว ระหว่างรัฐและเอกชน ขาด โดยเจตนา ของเอกชน พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  11. ข้อเท็จจริง ที่ทำให้ กลับคืนสัญชาติไทย กลับคืน โดยเจตนาของรัฐ กลับคืน โดยเจตนา ของเอกชน มีข้อเท็จจริงว่า กลับมีจุดเกาะเกี่ยว ระหว่างรัฐและเอกชน พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  12. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.๑๙๔๘ • ข้อ ๑๕ • (๑) บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ. • (๒) การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือการปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติของบุคคลใดนั้นจะกระทำมิได้. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  13. สนธิสัญญา พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  14. Convention on Certain Questions relating to the Conflict of Nationality Laws (The Hague, 12 April 1930) Entry into force generally : 1 July 1937 พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  15. Article 1 • It is for each State to determine under its own law who are its nationals. • This law shall be recognised by other States in so far as it is consistent with international conventions, international custom, and the principles of law generally recognised with regard to nationality. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  16. Article 2 • Any question as to whether a person possesses the nationality of a particular State • shall be determined in accordance with the law of that State. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  17. Article 3 • Subject to the provisions of the present Convention, • a person having two or more nationalities • may be regarded as its national by each of the States whose nationality he possesses. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  18. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง (พลเมือง) และทางการเมือง ค.ศ.๑๙๖๖ • ข้อ ๒๔ • ๑. เด็กทุกคนย่อมมิสิทธิในมาตรการต่าง ๆ เพื่อการคุ้มครองเท่าที่จำเป็นแก่สถานะแห่งผู้เยาว์ในส่วนของครอบครัวของตน สังคมและรัฐโดยปราศจากการเลือกประติบัติอันเนื่องจากเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน หรือกำเนิด. • ๒. เด็กทุกคนย่อมมีหลักฐานทางทะเบียนทันทีที่ถือกำหนดและย่อมได้รับการตั้งชื่อ. • ๓. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  19. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.๑๙๘๙ • ข้อ ๗ • ๑. เด็กจะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด และสิทธิที่จะได้สัญชาติ และเท่าที่จะเป็นไปได้สิทธิที่จะรู้จัก และได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน • ๒. รัฐภาคีจะประกันให้มีการปฏิบัติตามสิทธิเหล่านี้ตามกฎหมายภายในและพันธกรณีของรัฐภาคี ที่มีอยู่ภายใต้ตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เด็กจะตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  20. (๓) กฎหมายไทยว่าด้วย สัญชาติไทย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  21. หลักกฎหมายที่ ๑ ข้อเท็จจริงที่ทำให้บุคคลได้สัญชาติไทยหรือเสียสัญชาติไทยหรือกลับคืนสัญชาติไทยนั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายที่มีผลในขณะที่เกิดข้อเท็จจริงนั้น พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  22. หลักกฎหมายที่ ๒ บุคคลจะได้สัญชาติไทยหรือจะเสียสัญชาติไทยหรือจะกลับคืนสัญชาติไทยนั้นหากมีข้อเท็จจริงครบองค์ประกอบตามที่กฎหมายที่มีผลในขณะที่เกิดข้อเท็จจริงนั้นกำหนด พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  23. ตั้งแต่ต้นประวัติศาสตร์ชาติไทยจนถึงปัจจุบันตั้งแต่ต้นประวัติศาสตร์ชาติไทยจนถึงปัจจุบัน อาจจะแบ่งแยกบทกฎหมายไทยว่าด้วยความเป็นไทยของบุคคลธรรมดาออกเป็น ๑๑ ช่วงกล่าวคือ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  24. บทกฎหมายไทยว่าด้วย ความเป็นไทยของบุคคลธรรมดา ช่วงที่ ๑ มูลนิติธรรมประเพณี (ต้นประวัติศาสตร์>> ๑๗/๕/๒๔๕๔) พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  25. ต้นประวัติศาสตร์ชาติไทย >>๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔ การกำหนดสัญชาติไทย ภายใต้มูลนิติธรรมประเพณี โดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา โดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา โดยพระบรมราชโองการให้แปลงสัญชาติ สังเกต !!! ไม่มีสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน !!!!! ผลก็คือ บุตรที่เกิดในไทยของบิดาและมารดาต่างด้าว ไม่ได้สัญชาติไทยจากดินแดน พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  26. บทกฎหมายไทยว่าด้วย ความเป็นไทยของบุคคลธรรมดา ช่วงที่ ๒ มูลนิติธรรมประเพณี ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แปลงชาติ รศ.๑๓๐ (๑๘/๕/๒๔๕๔ >>>>> ๙/๔/๒๔๕๖) พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  27. ๑๘/๕/๒๔๕๔ >>> ๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ การกำหนดสัญชาติไทย ภายใต้ มูลนิติธรรมประเพณี ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แปลงชาติ รศ.๑๓๐ โดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา โดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา โดยการแปลงสัญชาติ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  28. มาตรา ๖ แห่ง พ.ร.บ.แปลงชาติ ร.ศ.๑๓๐ • ห้ามมิให้อนุญาตให้แปลงชาติจนกว่า • (๑) ผู้ร้องขอนั้นเปนคนมีอายุเต็มบริบรูณ์ ตามกำหนดในกฎหมายไทย แลกฎหมายแห่งชาติของตนด้วยแล้ว แล • (๒) ผู้ร้องขอนั้นเปนคนอยู่ ณ กรุงสยามในเวลาที่ร้องขอนั้นด้วย แล • (๓) ผู้ร้องขอนั้นเปนคนที่ได้เคยอยู่ในกรุงสยามมาแต่ก่อนไม่น้อยกว่า ๕ ปีแล้วด้วย แล • (๔) ผู้ร้องขอนั้นเปนคนมีประพฤติดี แลมีสมบัติพอที่จะเลี้ยงตนได้ด้วย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  29. มาตรา ๗ แห่ง พ.ร.บ.แปลงชาติ ร.ศ.๑๓๐ • ข้อกำหนดเวลาที่ต้องได้อยู่ในกรุงสยาม ๕ ปีนั้น ไม่จำต้องใช้ในข้อที่กล่าวต่อไปนี้ คือ • (๑) ถ้าผู้ร้องขอนั้นได้กระทำการมีความชอบอย่างวิเศษต่อรัฐบาลสยาม ฤๅ • (๒) ถ้าผู้ร้องขอนั้น แต่เดิมเปนคนในบังคับสยาม ภายหลังได้ไปแปลงชาติในเมืองต่างประเทศโดยได้รับอนุญาตของรัฐบาลสยามให้แปลงแล้ว แลบัดนี้มีความปรารถนาจะกลับแปลงชาติเปนไทยตามเดิม • (๓) ถ้าผู้ร้องขอนั้นเปนบุตร์ของคนต่างประเทศผู้ที่ได้แปลงชาติมาเปนคนในบังคับไทยแล้ว แลเมื่อเวลาที่แปลงชาตินี้ ผู้ร้องขอนั้นมีอายุครบเต็มบริบรูณ์ตามกำหนดในกฎหมายไทย แลกฎหมายชาติของตนด้วย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  30. มาตรา ๑๒ แห่ง พ.ร.บ.แปลงชาติ ร.ศ.๑๓๐ • ภรรยาของคนที่ได้แปลงชาติแล้วนั้นย่อมมีอำนาจอันชอบธรรม • เปนคนในบังคับไทยด้วยสามี พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  31. มาตรา ๑๓ แห่ง พ.ร.บ.แปลงชาติ ร.ศ.๑๓๐ • บุตร์ทุกคนของผู้ที่ได้แปลงชาติแล้ว บรรดาที่ยังมีอายุไม่ครบบริบรูณ์ในเวลาที่แปลงชาตินั้น ย่อมมีอำนาจอันชอบธรรมเปนคนในบังคับสยามตามบิดาด้วย • แต่ว่าบุตรอย่างเช่นว่านี้ ถ้าทำคำแสดงตนยื่นต่อเสนาบดีว่าการต่างประเทศภายในกำหนดปี ๑ ตั้งแต่เวลาที่ตนมีอายุครบบริบรูณ์แล้ว ว่าไม่สมัคอยู่ในบังคับไทย จะขอกลับไปเปนคนในบังคับชาติเดิมของตนนั้น ก็ให้เปนได้ดังปรารถนา • ผู้แสดงตนอย่างว่ามานี้จะต้องการหนังสือตอบรับคำแสดงนั้นไว้เปนสำคัญ ก็ให้ทำให้ด้วย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  32. บทกฎหมายไทยว่าด้วย ความเป็นไทยของบุคคลธรรมดา ช่วงที่ ๓ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แปลงชาติ รศ.๑๓๐ (๑๐/๔/๒๔๕๖ >>>>> ๑๒/๒/๒๔๙๕) พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  33. มาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ • บุทคนเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเปนคนไทย คือ • (๑) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่บิดาเปนคนไทย แม้เกิดในพระราชอาณาจักรก็ดี เกิดนอกพระราชอาณาจักรก็ดี • (๒) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่มารดาเปนคนไทย แต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฏ • (๓) บุทคนผู้ได้กำเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม • (๔) หญิงต่างชาติผู้ได้ทำงานสมรสกับคนไทยตามกฎหมายประเวณี • (๕) คนต่างประเทศผู้ได้แปลงชาติมาถือเอาสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  34. สัญชาติไทยภายใต้ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ +พ.ร.บ.แปลงชาติ รศ.๑๓๐ ๑. โดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา - ๓(๑) ๑๐/๔/๒๔๕๖ ๒.โดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา - ๓(๒) ๑๒/๒/๒๔๙๕ ๓.โดยหลักดินแดน - ๓(๓) ๔.โดยการสมรสกับชายไทย - ๓(๔) ๕.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขทั่วไป - ๓(๕) + ๖ ๖.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขพิเศษ - ๓(๕) + ๗ ๗.โดยผลของการแปลงสัญชาติของสามี - ๓(๕) + ๑๒ ๘.โดยผลของการแปลงสัญชาติของบิดา - ๓(๕) + ๑๓ พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  35. บทกฎหมายไทยว่าด้วย ความเป็นไทยของบุคคลธรรมดา ช่วงที่ ๔ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ ฉบับดั้งเดิม (๑๓/๒/๒๔๙๕ >>>>> ๓/๒/๒๔๙๖) พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  36. มาตรา ๗ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ • บุคคลดั่งต่อไปนี้ ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด • (๑) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นคนไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร • (๒) ผู้เกิดโดยมารดาเป็นคนไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร • (๓) ผู้เกิดในราชอาณาจักร พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  37. มาตรา ๘ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ • หญิงต่างด้าวที่ทำการสมรสกับคนไทย • ย่อมได้สัญชาติไทย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  38. มาตรา ๙ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ • คนต่างด้าวในลักษณะดั่งต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้ คือ • (๑) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและตามกฎหมายแห่งชาติตน • (๒) มีความประพฤติดีและมีอาชีพเป็นหลักฐาน • (๓) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันยื่นขอแปลงสัญชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี • (๔) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  39. มาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ • บทบัญญัติในมาตรา ๙(๓) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติ • (๑) ได้กระทำความดีความชอบพิเศษต่อประเทศไทย • (๒) เป็นบุตรของผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ที่ได้คืนสัญชาติไทย ซึ่งในขณะที่บิดาหรือมารดาแปลงหรือได้คืนสัญชาติไทยนั้น ตนบรรลุภาวะแล้ว • (๓) เป็นบุคคลผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาแล้ว พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  40. มาตรา ๑๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ • การแปลงสัญชาติเป็นไทยให้มีผลเฉพาะตัว พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  41. สัญชาติไทยภายใต้ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ ๑. โดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา-๗(๑) ๑๓/๒/๒๔๙๕ ๒.โดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา-๗(๒) ๓.โดยหลักดินแดน - ๗(๓) ๔.โดยการสมรสกับชายไทย - ๘ ๓/๒/๒๔๙๖ ๕.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขทั่วไป- ๙ ๖.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขพิเศษ - ๑๐ ทำไม ? โดยผลของการแปลงสัญชาติของสามี ไม่มีแล้ว ในยุคนี้ โดยผลของการแปลงสัญชาติของบิดา พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  42. บทกฎหมายไทยว่าด้วย ความเป็นไทยของบุคคลธรรมดา ช่วงที่ ๕ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๖ (๔/๒/๒๔๙๖ >>>>> ๑๒/๒/๒๕๐๐) พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  43. มาตรา ๗ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๖ • บุคคลดั่งต่อไปนี้ ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด • (๑) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นคนไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร • (๒) ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรโดยมารดาเป็นคนไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาไม่มีสัญชาติ • (๓) ผู้เกิดในราชอาณาจักรโดยมารดาเป็นคนไทย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  44. สัญชาติไทยภายใต้ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ + พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๖) ๑. โดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา - ๗(๑) ๔/๒/๒๔๙๖ ๒.โดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา - ๗(๒) ๓.โดยหลักดินแดน - ๗(๓) ๑๒/๒/๒๕๐๐ ๔.โดยการสมรสกับชายไทย - ๘ ๕.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขทั่วไป - ๙ ๖.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขพิเศษ - ๑๐ บุตรของบิดาและมารดาต่างด้าวไม่ได้สัญชาติไทยจากดินแดน ทำไม ? พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  45. บทกฎหมายไทยว่าด้วย ความเป็นไทยของบุคคลธรรมดา ช่วงที่ ๖ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๔๙๖ และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ.๒๔๙๙ (๑๓/๒/๒๕๐๐ >>>>> ๑/๒/๒๕๐๓) พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  46. มาตรา ๗ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙ • บุคคลต่อไปนี้ ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด • (๑) ผู้เกิดโดยบิดาเป็นคนไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร • (๒) ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรโดยมารดาเป็นคนไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ • (๓) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  47. มาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙ • บุคคลซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทย • โดยมารดามิใช่คนไทย • ในระหว่างใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๖ • ย่อมได้สัญชาติไทย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  48. มาตรา ๙ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙ • คนต่างด้าวในลักษณะดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้ • (๑) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายแห่งชาติของตน • (๒) มีความประพฤติดีและมีอาชีพเป็นหลักฐาน • (๓) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี และ • (๔) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  49. มาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙ • บทบัญญัติในมาตรา ๙(๓) และ (๔) มิให้นำมาใช้บังคับ ถ้าผู้ขอแปลงสัญชาติ • (๑) ได้กระทำความดีความชอบเป็นพิเศษต่อประเทศไทย หรือได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ราชการของรัฐบาลไทย ซึ่งรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควร • (๒) เป็นบุตรของผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทย หรือของผู้ที่ได้คืนสัญชาติไทย ซึ่งในขณะที่บิดาหรือมารดาแปลงหรือได้คืนสัญชาติไทยนั้น ตนบรรลุภาวะแล้ว หรือ • (๓) เป็นบุคคลผู้ได้เคยมีสัญชาติไทยมาแล้ว พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

  50. สัญชาติไทยภายใต้ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๔๙๕ +๒๔๙๖ + พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙ ๑. โดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา-๗(๑) ๑๓/๒/๒๕๐๐ ๒.โดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา-๗(๒) ๓.โดยหลักดินแดน - ๗(๓) ๔.โดยการสมรสกับชายไทย - ๘ ๑/๒/๒๕๐๓ ๕.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขทั่วไป- ๙ ๖.โดยการแปลงสัญชาติโดยเงื่อนไขพิเศษ-๑๐ ม.๔/๒๔๙๙ >บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในไทย ในขณะใช้ พรบ.๒๔๙๖ ได้สัญชาติไทย พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร - สิทธิในสัญชาติไทย

More Related