1 / 12

Web Accessibility

การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา. Web Accessibility.

saki
Download Presentation

Web Accessibility

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตาการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา Web Accessibility

  2. ในปัจจุบันนั้นเป็นยุคของเว็บ 2.0 ซึ่งมีปัญหาหลายอย่างต่อการเข้าถึงของคนพิการ เหตุผลหลักๆ นั้นก็คือ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บ 2.0 ในช่วงเริ่มต้นนี้ ไม่ได้มีการคำนึงถึงเรื่องการเข้าถึงของคนพิการเลย ตัวอย่างปัญหาที่สำคัญคือการใช้ AJAX ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่อการอ่านเนื้อหาของโปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen Reader) ไม่สามารถอ่านข้อมูลของเว็บนั้นๆ ได้ หรือ แม้จะอ่านได้แต่ไม่ครบถ้วน. ความสำคัญและที่มาของปัญหา

  3. จากการสำรวจผู้พิการทางสายตาเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์ พบว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่มีลักษณะ ดังนี้ • การเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่ใช่ตัวอักษรเช่นภาพ ซึ่งทำให้ผู้พิการไม่สามารถเข้าใจความหมายของภาพนั้นได้ • เว็บไซต์มีตัวอักษรขนาดเล็กไม่สามารถขยายใหญ่ขึ้น • การสร้างตารางที่ซับซ้อนยุ่งยากทำให้การอ่านของโปรแกรมไม่สามารถอ่านข้อมูลของเว็บนั้นๆ ได้ หรืออ่านได้แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน • กล่องล็อกอินที่ต้องการให้กรอกรหัสผ่านที่เป็นภาพ (Captcha) โดยที่ไม่มีข้อมูลในรูปแบบอื่นให้เลือก • ปัญหาที่สำคัญคือการใช้ AJAX ในการเขียนเว็บ

  4. จากการสำรวจผู้พิการทางสายตาเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์ พบว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่มีลักษณะ ดังนี้ (ต่อ) จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเว็บไซด์ที่สามารถให้ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) ทัดเทียมกัน โดยการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้นั้น สิ่งสำคัญคือความเข้าใจในข้อจำกัดในการเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ และทราบถึงวิธีการแก้ปัญหาในจุดต่างๆ ภายใต้องค์กร W3C นั้น ได้สร้างแนวทางของเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้คือ Web Content Accessibility Guidelines (WCAG)

  5. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้ผู้บกพร่องทางสายตาที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไม่มีข้อจำกัด 2. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ตามข้อกำหนดเบื้องต้นของ WCAG2.0 ที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงเว็บไซต์สำหรับกลุ่มคนพิการที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้บกพร่องทางสายตากับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว

  6. วัตถุประสงค์(ต่อ) • 4. เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงข้อมูลประเภท รูปภาพ เป้าหมายและขอบเขต 1. พัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ให้ผู้พิการทางสายตาเข้าถึงได้ 2. ออกแบบเว็บไซต์ให้ได้ตามมาตรฐาน WCAG , TWCAG

  7. ความหมายของ Web Accessibility หมายถึงเว็บไซต์ที่สามารถให้บริการข้อมูลข่าวสารที่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการสามารถใช้บริการได้ ซึ่งผู้ที่พัฒนาเว็บจะต้องมีแนวทางในการพัฒนาที่ตรงกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ให้คนพิการสามารถใช้บริการได้ด้วย โดยจะคำนึงถึงความพิการในทุกๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปทางผู้บกพร่องทางการมองเห็น เนื่องจากการมองเห็น คือการดูข้อมูลข่าวสารเพื่อที่จะอ่านทำความเข้าใจ ดังนั้นแล้วจึงต้องมีทางเลือกใหม่สำหรับผู้บกพร่องทางด้านนี้ซึ่ง ก็คือเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวอักษร ให้เป็นข้อมูลทางเสียง นั่นก็หมายถึงว่าจะต้องมีโปรแกรมสำหรับอ่านหน้าจอ

  8. จะรู้ได้อย่างไรว่า เว็บไหนอำนวยความสะดวก ให้คนพิการเข้าถึงข้อมูลได้ เว็บที่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้นั้น จะต้องมีสัญลักษณ์กำกับอยู่ที่หน้าแรกของเว็บนั้น ซึ่งหมายถึงการที่เว็บนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ ตามแนวทางของการเข้าถึงข้อมูล (Web Content Accessibility Guideline1.0 WCAG1.0)ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วโลก

  9. การกำหนดระดับในการเข้าถึงไว้ 3 ระดับ ระดับ A : แนวทางขั้นต่ำสุดที่ต้องทำ ไม่เช่นนั้นแล้ว การเข้าถึงจะเป็นไปได้ยากหรือไม่ได้เลย ระดับ AA : แนวทางขั้นกลางที่ควรจะทำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเพิ่มขึ้น ระดับ AAA : แนวทางขั้นสูงสุดที่อาจจะทำ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงและใช้งานเนื้อหาเว็บได้สูงสุด

  10. เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบเว็บเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบเว็บ มีวิธีการอยู่ 2 วิธี คือ Automatic Check แบบอัตโนมัติ โดยใช้โปรแกรมตรวจสอบ ซึ่งอาจเป็นโปรแกรมที่ให้บริการตรวจสอบผ่านเว็บ หรือโปรแกรมที่ติดตั้งบนเครื่อง ก็ได้ Manual Check แบบตรวจสอบเอง โดยพิจารณาจากตัวผู้ตรวจสอบเองซึ่งจะอ้างอิงตามข้อกำหนดจาก Guideline ในหัวข้อ Checkpoint

  11. เครื่องมือในการสร้างและพัฒนาเว็บเครื่องมือในการสร้างและพัฒนาเว็บ • ตรวจสอบ XHTML • http://validator.w3.org/ • ตรวจสอบ CSS • http://jigsaw.w3.org/css-validator/ • เช็คค่าความตัดกันของสี Color Contrast Analyzer • http://www.paciellogroup.com/resources/CCA-2.2.zip • http://www.paciellogroup.com/resources/contrast-analyser.html • Add-On ใน Firefox สำหรับตรวจสอบความตัดกันของสี • https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/7313

  12. ตัวอย่างเว็บไซต์

More Related