1 / 13

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา

การวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบโดยวิธี B-Index ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา. 1. การตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์โดยวิธีหาค่าดัชนีจำ แนก B (B-Index). 2. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย (Essay Item). 3. การวิเคราะห์แบบสอบถามแบบ Rating Scale.

sal
Download Presentation

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบโดยวิธี B-Index ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการศึกษา

  2. 1.การตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงเกณฑ์โดยวิธีหาค่าดัชนีจำ แนก B (B-Index) 2. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย (Essay Item) 3. การวิเคราะห์แบบสอบถามแบบ Rating Scale ความสามารถของโปรแกรม www.sct.ac.th

  3. คุณสมบัติของโปรแกรม www.sct.ac.th • เป็นโปรแกรมที่สามารถตรวจข้อสอบ และวิเคราะห์ข้อสอบ เลือกตอบ 4-5 ตัวเลือก เมื่อสอบแล้วนำ มาวิเคราะห์ได้เลย โดยไม่ต้องตรวจข้อสอบก่อน • โปรแกรมจะรายงานคะแนนผลการสอบรายบุคคล รายจุดประสงค์ ผ่านหรือไม่ผ่านจุดประสงค์ ใดบ้าง • สามารถวิเคราะห์ข้อสอบจำ แนกเป็น รายจุดประสงค์ และวิเคราะห์เป็นรายข้อ • สามารถวิเคราะห์ตัวเลือกได้ทุกตัวเลือก และบ่งชี้คุณภาพของตัวเลือกทุกข้อ • วิเคราะห์ ค่า Mean , S.D. • วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์ทั้งฉบับ • สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งแบบอิงกลุ่มและแบบอิงเกณฑ์ • โปรแกรม Version นี้ ใช้งานบน Windows 98 , NT, Windows 2000 และWindows XP.

  4. ข้อสอบที่นำ มาวิเคราะห์ ต้องเป็นข้อสอบที่สอบวัด และ จำแนกตามจุดประสงค์การเรียนรู้ หรือจำแนกตามกลุ่มพฤติกรรม (ควรจะผ่านการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาหรือตรงตามจุดประสงค์ มาก่อน ถ้ายังไม่วิเคราะห์มาก่อนก็สามารถวิเคราะห์ได้ แต่ข้อสอบต้องสอบวัดตามจุดประสงค์) 1 ข้อสอบที่สอบวัดแต่ละจุดประสงค์จะต้องเรียงข้อสอบเป็นชุด ๆ เช่นจุดประสงค์ที่ 1 ข้อ 1-8 จุดประสงค์ที่ 2 ข้อ 9-15 เป็นต้น 2 ข้อสอบที่สอบวัดแต่ละจุดประสงค์ จะต้องมีจำนวนมากพอที่จะเป็นตัวแทนของพฤติกรรมตามจุดประสงค์นั้น ๆ(ไม่ควรตํ่ากว่า 5 ข้อ) 3 เงื่อนไขสำคัญ และความคิดรวบยอดของการวิเคราะห์ www.sct.ac.th

  5. ข้อสอบที่ดี ผลการวิเคราะห์ควรจะมีค่าดังนี้ www.sct.ac.th • ข้อถูกหรือตัวเลือกที่ถูก ค่าอำนาจจำแนกต้องมีค่าเป็นบวก ระหว่าง 0.20 ถึง 1.00 • ค่าอำนาจจำแนกของตัวลวง จะต้องมีค่าเป็นลบ (ลวงกลุ่มไม่ผ่านเกณฑ์มากกว่า กลุ่มผ่านเกณฑ์) • การเลือกตอบแต่ละตัวเลือกที่เป็นตัวลวงควรจะกระจายทุก ๆ ข้อใกล้เคียงกัน (ค่าสัดส่วนใกล้เคียงกัน)

  6. การใช้งานโปรแกรม www.sct.ac.th • 1. การเตรียมข้อสอบที่จะนำมาวิเคราะห์ • 1.1 ถ้าต้องการรายงานคะแนนนักเรียนทุกคน ให้เตรียมข้อสอบไว้ทั้งหมด • 1.2 ถ้าต้องการผลการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาข้อสอบอย่างเดียว ให้เลือกข้อสอบประมาณ 100 ฉบับขึ้นไป ถ้ามีข้อสอบตํ่ากว่า 100 ฉบับ ควรใช้ทั้งหมด • 1.3 ถ้าข้อสอบมีมากอาจจะเลือก 27% สูง-ตํ่าก็ได้ จะทำ ให้ผลการวิเคราะห์เชื่อถือได้ยิ่งขึ้น • 1.4 ถ้าจะให้ง่ายและสะดวกอาจจะนำ ห้องเก่งมา 1 ห้อง และ ห้องไม่เก่งมา 1 ห้อง ก็ได้ แต่ถ้าเตรียมเรียงข้อมูล 27% สูง-ตํ่า ก็จะดีกว่า

  7. ผลการวิเคราะห์อื่น ๆ www.sct.ac.th • ค่า คะแนนเฉลี่ย เป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มที่นำ มาวิเคราะห์ทั้งหมด • ค่า S.D.เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงการกระจาย หรือ ความแตกต่างของคะแนนของกลุ่ม ถ้าค่า S.D. มาก แสดงว่า คะแนนของนักเรียนกระจายต่างจากค่าเฉลี่ยมากและ ถ้าค่า S.D. น้อย แสดงว่า คะแนนของนักเรียน แตกต่างกันน้อย (คะแนนใกล้เคียงกับคะแนนเฉลี่ยเป็นจำ นวนมาก ) บ่งชี้ถึงความสำ เร็จของการสอนเราด้วย เช่น ถ้าเราสอบก่อนสอน ได้ค่าเฉลี่ยตํ่า การกระจายมาก (S.D. มาก) และหลังการสอน ได้ค่าเฉลี่ยสูง การกระจาย น้อย นั่นคือเราได้พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นจริง แต่อย่างไรก็ตามอาจจะต้องใช้ข้อมูลอื่น ๆ ประกอบการพิจารณาด้วย • ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ( ค่า rtt และ ค่า rcc ) ผลการวิเคราะห์ 2 ค่านี้มีความหมายว่า ข้อสอบนี้มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับใด ซึ่งจะมีค่า อยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00

  8. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย(Essay Item) www.sct.ac.th • การวิเคราะห์ ค่าดัชนีอำ นาจจำ แนกของข้อสอบ และ ค่าดัชนีความยากของข้อสอบแต่ละข้อ ในที่นี้ เลือกใช้ตามวิธีของ D.R Whitney และ D.L Sabers (อ้างอิงในโกวิท ประวาลพฤกษ์ , 2527 : 276) และการวิเคราะห์ ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบใช้วิธี หาค่า Coefficient Alpha (α) ของ Cronbrach (1951) • ค่าดัชนีอำ นาจจำ แนกของข้อสอบแต่ละข้อ หมายถึง ตัวเลขที่บ่งชี้คุณภาพของข้อสอบแต่ละข้อว่า มีความสามารถจำ แนกผู้ที่เข้าสอบที่มีความรู้ความสามารถจริงหรือ ผ่านจุดประสงค์อย่างแท้จริง และ ผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความสามารถ หรือ ไม่ผ่านจุดประสงค์ ออกจากกันได้หรือไม่เพียงใด • ค่าดัชนีความยากของข้อสอบแต่ละข้อ หมายถึง ตัวเลขสัดส่วนที่บ่งชี้ถึงความยากของข้อสอบแต่ละข้อ โดยคิดเปรียบเทียบค่าคะแนนที่ได้จริงของทั้ง 2 กลุ่มเปรียบเทียบกับคะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ ของทั้งสองกลุ่ม เช่น ข้อสอบข้อที่ 1คะแนนเต็ม 5 คะแนน (คะแนนสูงสุด) และ คะแนนตํ่าสุดคือ 0 คะแนน ตัวเลขนี้ คือตัวเลขคะแนนสูงสุดและตํ่าสุดที่เป็นไปได้

  9. คุณสมบัติของโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัยคุณสมบัติของโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย www.sct.ac.th • ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อ (Index of Discrimination) • ค่าความยากของข้อสอบรายข้อ ( Index of Difficulty) • ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ (Coefficient Alpha) • นอกจากนี้ยังสามารถสรุปรายงานข้อมูล ค่าสถิติ ต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อสอบฉบับนั้นอีกทุกแง่ทุกมุม เช่น ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนของคะแนนรายข้อ และทั้งกลุ่ม ฯลฯ

  10. การแปลความหมายผลการวิเคราะห์การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ www.sct.ac.th • ค่าความยาก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 ข้อสอบยาก ค่าความยากจะเข้าใกล้ 0 และ ข้อสอบง่าย ค่าความยาก จะเข้าใกล้ 1.00 หรือ ตัวเลขมาก ข้อสอบง่าย ตัวเลขน้อย ข้อสอบยาก โดยทั่ว ๆ ไป ค่าความยากจะอยู่ที่ระดับ 0.20-0.80 ถ้าตํ่าหรือสูงกว่านี้ จะเป็นข้อสอบที่ยากหรือง่ายเกินไป • ค่าอำนาจจำแนกที่ยอมรับ คือค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป จนถึง 1.00 ถ้าต่ำกว่า 0.20 จะต้องปรับปรุงข้อสอบข้อนั้นหรือตัดทิ้งไป • ค่าความเชื่อมั่น มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับทั่วไปมีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 88)

  11. ค่าอำนาจจำแนก www.sct.ac.th • ค่าอำนาจจำแนก เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของข้อสอบข้อนั้น ๆ ว่ามีความสามารถจำแนกผู้เข้าสอบได้ดีเพียงใด ถ้าข้อสอบสามารถจำแนกคนที่ ไม่มีความรู้ความสามารถจริงตามจุดประสงค์นั้น และผู้ที่มีความรู้ความสามารถจริงตามจุดประสงค์นั้นออกจากกันได้ทุกคนอย่างถูกต้อง ข้อสอบข้อนั้นมีค่าอำนาจจำแนก100 % หรือ ค่าอำนาจจำแนก = 1.00

  12. ค่าความเชื่อมั่น www.sct.ac.th • ตัวเลขที่สำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ค่าความเชื่อมั่น (Coefficient Alpha) ของข้อสอบซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่าข้อสอบฉบับนี้เชื่อมั่นได้มากน้อยเพียงใด ถ้าข้อสอบมีความเชื่อมั่นสูงหมายความว่า ไม่ว่าจะสอบกี่ครั้ง ในกลุ่มเดิม (เว้นระยะห่างพอสมควร เช่น 1 สัปดาห์) ผลการสอบวัดก็ยังคงเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกัน เช่น คนที่ทำข้อสอบไม่ได้ ก็ยังคงไม่ได้เหมือนเดิม หรือ คนที่ทำ ข้อสอบได้ ก็ยังคงทำ ได้เหมือนเดิม • ค่าความเชื่อมั่น มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับทั่วไปมีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป (กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ, 2545 : 88)

  13. Thank You ! www.sct.ac.th

More Related