1 / 57

01460441 สังคมวิทยาการพัฒนา

01460441 สังคมวิทยาการพัฒนา. Sociology of Development. ผลการพัฒนา : สิ่งแวดล้อม. ปรากฏการณ์ของสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบัน. ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมกันอยู่ทั่วโลก - ปัญหาโลกร้อนจากมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าและรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา

Download Presentation

01460441 สังคมวิทยาการพัฒนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 01460441สังคมวิทยาการพัฒนา01460441สังคมวิทยาการพัฒนา Sociology of Development ผลการพัฒนา : สิ่งแวดล้อม

  2. ปรากฏการณ์ของสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบัน ปรากฏการณ์ของสิ่งแวดล้อมโลกในปัจจุบัน ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมกันอยู่ทั่วโลก - ปัญหาโลกร้อนจากมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าและรถยนต์ในสหรัฐอเมริกา - การเสี่ยงภัยจากน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้นในยุโรป - ปัญหาความแห้งแล้งในทวีปเอเชีย - ปัญหาการปนเปื้อนของสารปรอทที่มากับการขายปลาในซุปเปอร์มาเก็ตของสหรัฐอเมริกา - การป้องกันภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชน - แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่เข้าขั้นวิกฤตจากอุตสาหกรรม - ภาวะโลกร้อน การสูญพันธุ์และการลักลอบทำลายป่า

  3. โลกขาดน้ำต้องพึ่งทะเล:โลกขาดน้ำต้องพึ่งทะเล: ในอนาคตอันใกล้นี้ ชาวโลกหลายพันล้านคนมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนน้ำจนหลายประเทศอาจต้องพึ่งพาน้ำที่กลั่นจากน้ำทะเลแทน ปัญหาเรื่องน้ำจะเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 นี้ ซึ่งในปี 2538 ประชากรโลกประมาณ 500 ล้านคนใน 31 ประเทศขาดแคลนน้ำ และคาดว่าในปี 2568 ประชากรโลกประมาณ 3,000 ล้านคนใน 48 ประเทศจะเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำ และในปี 2598 ประชากรโลกจะขาดแคลนน้ำมากถึง 4,000 ล้านคน ใน 54 ประเทศ ปัญหานี้อาจทำให้หลายประเทศต้องนำน้ำทะเลมากลั่นเพื่อบริโภค แม้จะมีต้นทุนที่สูง และอาจเกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำถึงขั้นเกิดสงครามได้ ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2544

  4. ‘ยูเอ็น’ เตือนโลกเผชิญวิกฤติน้ำ หลังปริมาณน้ำจืดลดลง ขณะความต้องการมีแต่เพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี 2593 ประชากร 2,000 ล้านคน ใน 48 ประเทศ และ7,000 ล้านคนใน 60 ประเทศ จะเผชิญภาวะขาดแคลนน้ำจืด ตัวเลขนี้จะพลิกผันไปตามการขยายตัวของประชากรและนโยบายของรัฐบาลในการควบคุมประชากรและของเสีย แม้ว่าอัตราการเกิดชะลอตัวลง แต่ประชากรในโลกน่าจะขึ้นถึง 9,300 ล้านคนภายในปี 2593 เทียบกับ 6,100 ล้านคนในปี 2544 ขณะที่ปริมาณการทิ้งของเสียลงสู่แม่น้ำ ทะเลสาบ และลำธารมีวันละ 2 ล้านตัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจะทำให้น้ำลดลง 1ใน 5 เพราะรูปแบบของฝนจะเปลี่ยนแปลงไป ที่มา: หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ รายวัน

  5. How does this dramatic ice melt affect the Arctic? การละลายของน้ำแข็งได้มีผลกระทบแล้วต่อชนพื้นเมือง สัตว์ป่า และพืชพรรณต่างๆ เมื่อ Ward Hunt Ice Shelf แตกออกเป็นเสี่ยงๆ ปลาน้ำจืดในทะเลสาบจะออกสู่มหาสมุทร หมีขั้วโลก ปลาวาฬ ช้างน้ำ กำลังเปลี่ยนรูปแบบการหาอาหารและการอพยพ ทำให้ชนพื้นเมืองต้องยากลำบากในการล่ามัน และตามแนวชายฝั่งทะเล Arctic หมู่บ้านเกือบทั้งหมดต้องเคลื่อนย้ายเพราะอันตรายจากการกลายเป็นหนองน้ำ ชาวพื้นเมืองของ Arctic ได้รู้ว่าการที่โลกร้อนขึ้นเป็นภัยคุกคามต่อขนบธรรมเนียมประเพนีและความอยู่รอดของพวกเขา

  6. Will Arctic ice melt have any effects beyond the polar region? Yes– เมื่อโลกร้อนขึ้น หิมะและน้ำแข็งที่ปกคลุม Arctic อยู่ก็จะละลาย โลกก็ดูดซับแสงอาทิตย์มากขึ้น โลกก็จะร้อนมากขึ้น จากข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ว่ามันเป็นผลทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิได้มีผลต่อ Alaska เรียบร้อยแล้ว ทำให้แมลงปีกแข็งที่เจาะเปลือกไม้สนมีการแพร่พันธุ์อย่างเร็วในอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น ในปัจจุบันมันเกิดขึ้นมาก ตั้งแต่ปี 1993-2003 มันได้กัดกินป่าใน Alaska มากกว่า 3.4 ล้านเอเคอร์

  7. Can we do anything to stop global warming? Yes.เมื่อเราเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและเพื่อยวดยานพาหนะของเรา นั่นเรากำลังผลิต heat-trapping gases ซึ่งเป็นสาเหตุของ global warming. ยิ่งเราเผามากขึ้นเท่าไหร่ เรายิ่งกระตุ้นการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศโลกให้เร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่เราสามารถทำได้คือ ประหยัดพลังงาน

  8. การประชุมสมัชชาการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 3 หรือ World Conservation Congress (WCC) โดย IUCN ตัวแทนทั้ง 5 ภูมิภาค ประกอบด้วย เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียแปซิฟิคใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และเอเชียกลาง เพื่อกำหนดให้เป็นวาระเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาโดยได้ผลสรุปดังนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมคือ ปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดน ซึ่งสมาชิกได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงมลพิษหมอกควันข้ามแดน เอเชียใต้ปัญหาที่สำคัญคือ ความยากจนและความหนาแน่นของประชากร นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของดิน คุณภาพของแม่น้ำ คุณภาพอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ เอเชียแปซิฟิคใต้ประสบกับปัญหาการขยายตัวของชุมชนเมือง ระบบนิเวศทางทะเลที่เปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาคือความแห้งแล้ง ความเสื่อมโทรมของดิน เอเชียกลาง ปัญหาคือ ความเสื่อมโทรมของดิน มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศของเมืองใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงมลพิษทางอากาศข้ามแดนด้วย จาก นสพ.มติชน 19 พ.ย. 47

  9. สภาวะเรือนกระจกเกิดขึ้นได้อย่างไร • โลกรับแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 70% อีก 30% สะท้อนกลับแต่ ไม่สามารถส่งกลับในรูปแสงได้แต่กลับในรูปรังสีอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน • ก๊าซเรือนกระจก เป็นสิ่งกีดขวางแสงอินฟราเรดที่สะท้อนกลับ จึงไม่สามารถทะลุผ่านอากาศได้เหมือนแสงสว่าง ก๊าซเรือนกระจก (GHG) คืออะไร • ก๊าซเรือนกระจกตามธรรมชาติคือไอน้ำ CO2, O3, CH4และ N2O รวมกัน ไม่ถึง 15 ของบรรยากาศ นอกจากนี้ยังมีสารฮาโลคาร์บอน (CFCs, HFCs, PFCs) • กิจกรรมของมนุษย์ทำให้ก๊าซเหล่านี้เปลี่ยนแปลงลักษณะการดูดวับอากาศผลคือปรากฏการณ์ของ ก๊าซเรือนกระจกขยายตัว

  10. ก๊าซเรือนกระจกเปลี่ยนแปลงเพียงใดก๊าซเรือนกระจกเปลี่ยนแปลงเพียงใด • GHG เกิดจากกิจกรรมมนุษย์เป็นการเพิ่ม CO2มากกว่าร้อยละ 60 ในปี 2534 และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง • การทำการเกษตรและปศุสัตว์ทำให้เกิดก๊าซมีเทนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ประมาณว่าร้อยละ 15-20 ของ GHG ที่เพิ่มขึ้นมาจากก๊าซมีเทน • GHG ที่เพิ่มขึ้น ประมาณ 20 % เพิ่มจาก N2O, CFCs และ O3 • N2O เพิ่มขึ้นร้อยละ 15

  11. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร • โลกร้อนขึ้น • หิมะละลาย • ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น “การกระทำของมนุษย์มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ”

  12. การเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคเป็นอย่างไรการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคเป็นอย่างไร • แตกต่างกันระหว่างภูมิภาค อุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดคาดว่าจะเป็นฤดูหนาวซีกโลกเหนือ คาดว่าในปี 2643 ส่วนหนึ่งของพื้นที่ภาคเหนือของแคนนาดาและไซบีเรียจะมีอุณหภูมิสูงถึง 10oC ในฤดูหนาวแต่จะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 2oC ในฤดูร้อน • ปริมาณฝนโดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ฝนมากในพื้นที่ใกล้ขั้วโลกเหนือ แต่ภูมิภาคอื่นไม่สามารถคาดเดาขึ้นกับ GHG ของภูมิภาคนั้นๆ • ฝนและหิมะในแถบหนาวจะทำให้ดินชุ่มชื้นมากขึ้นแต่อุณหภูมิในหน้าร้อนจะทำให้ดินแห้งได้เช่นกัน ซึ่งมีผลต่อการเกษตร

  13. ภูมิอากาศได้เปลี่ยนแปลงแล้วหรือยังภูมิอากาศได้เปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง • อุณหภูมิโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2403 สูงขึ้น 0.3-0.6 องศาเซลเซียส • ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 10-25 เซนติเมตร • สอดคล้องกับแบบจำลองและส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นช่วง 2453-2493 เราจะปรับตัวอย่างไร หากน้ำทะเลสูงขึ้น • การป้องกัน (เขื่อน แนวป้องกัน แอ่งน้ำ) • การรองรับ (ออกกฎระเบียบ ป้องกันการคุกคามระบบนิเวศ) • การฟื้นฟู (กำหนดระเบียบในการพัฒนาชายฝั่งใหม่) • การขุดลอกท่าเรือ • การปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างพื้นที่นอกชายฝั่งหรือการจัดการพื้นที่ชายฝั่งครบวงจร • มาตรการด้านสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย การเงิน เศรษฐกิจและสถาบัน

  14. ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากความรุนแรงของภูมิอากาศผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากความรุนแรงของภูมิอากาศ (IPCC, 2001)

  15. ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากความรุนแรงของภูมิอากาศผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากความรุนแรงของภูมิอากาศ (IPCC, 2001)

  16. IPCC: Developing countries will be affected hardest by climate change because lack of knowledge, technology, institutions for adaptation IPCC: ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศรุนแรงที่สุด เพราะขาดความรู้ เทคโนโลยี กลไกและสถาบันในการปรับตัว

  17. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพลังงาน ปล่อยก๊าซ CO2 257 ล้านตัน คิดเป็น ร้อยละ 80 2) กลุ่มการเกษตร:- การปลูกข้าวและการจัดการมูลสัตว์ ปล่อยก๊าซมีเทน 3.3 ล้านตัน ส่วนใหญ่จากกิจกรรมในภาคเกษตรร้อยละ 91 ในจำนวนนี้ ปล่อยจากนาข้าว ร้อยละ 73 และปศุสัตว์ ร้อยละ 26 และไนตรัสออกไซด์ 70,000 ตัน คิดเป็น 92 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์ หรือร้อยละ 16 ของปริมาณ การปล่อยก๊าซทั้งหมด 3) กลุ่มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้ มีการปล่อยก๊าซ CO2 36 ล้านตัน แต่มีการดูดซับ CO2 13 ล้านตัน มนู ศรีขจร (2544)

  18. สาเหตุที่เกิด สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นคือ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากฟอสซิลและกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การเพาะปลูก และการทำเหมืองแร่ มากกว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การหายใจของพืช และการย่อยสลายของอินทรียวัตถุ ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ดังนี้ - การปล่อยก๊าซ CO2ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาถ่าน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ - ก๊าซมีเทนและไนตรัสออกไซด์ เกิดจากการเกษตรกรรมและ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน - ก๊าซโอโซน จากควันที่ระบายจากท่อไอเสียของรถยนต์ - สาร CFCs จากภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้การดูดซึมพลังงาน ของบรรยากาศเปลี่ยนไป - การผลิตปูน (lime) เพื่อผลิตซีเมนต์ ปล่อยก๊าซร้อยละ 2.5 ของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด มนู ศรีขจร (2544)

  19. ผลกระทบ ภายในปี ค.ศ. 2100 คาดว่าค่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย จะเพิ่มขึ้น 15-95 เซนติเมตร ส่งผลให้พื้นที่ต่ำเกิดน้ำท่วมและยังเกิดความเสียหายอื่นๆ อีกด้วย เขตภูมิอากาศในบริเวณเส้นละติจูดตอนกลาง จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ขั้วโลกขึ้นเป็นระยะทางประมาณ 150-550 กิโลเมตร ป่าไม้ ทะเลทราย ปศุสัตว์ และระบบนิเวศน์อื่นๆ ที่ไม่มีการเข้าไปจัดการใดๆ จะต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศใหม่ๆ นักวิทยาศาสตร์ได้คาดว่า หากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงดำเนินไปในสภาพปัจจุบัน ภายในปี ค.ศ. 2100 หรืออีก 100 ปีข้างหน้า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าอุณหภูมิบนพื้น ผิวโลกจะสูงขึ้น 1.5-4.5 องศาเซลเซียส อันจะส่งผลให้เขตภูมิอากาศ (climate zone) เปลี่ยนแปลงและผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้ มนู ศรีขจร (2544)

  20. การที่อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร เพิ่มสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มละลาย ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้น ประเทศต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณชายฝั่งทั่วโลก จะถูกน้ำ ท่วม พื้นที่ชายฝั่งบางส่วนจะหายไป • 2. จากการคาดคะเนว่าโลกจะอุ่นขึ้น แบบจำลองภูมิอากาศได้พยากรณ์ว่า • - การระเหยของไอน้ำและการรวมตัวของไอน้ำในอากาศจะมีมากขึ้น • - เหตุการณ์ฝนตกหนักก็จะถี่ขึ้นด้วย • - ในบางภูมิภาคซึ่งเสี่ยงต่อภัยแล้งอยู่แล้ว อาจประสบภัยแล้งที่รุนแรง และยาวนานยิ่งขึ้น • - ความชุ่มชื้นของดินจะลดลงในภูมิภาคละติจูดตอนกลางระหว่างฤดูร้อน • - ในขณะที่บริเวณละติจูดสูงๆในช่วงฤดูหนาวอาจมีฝนและหิมะตกมากขึ้น มนู ศรีขจร (2544)

  21. 3. เขตภูมิอากาศและเขตเกษตรกรรม จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้ขั้วโลกมากขึ้น เนื่องจากคาดว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น บริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือและขั้นโลกมากกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นการเคลื่อนตัวของเขตภูมิอากาศ จะเด่นชัดมากบริเวณละติจูดสูงๆ เขตอุณหภูมิปัจจุบันในภูมิภาคละติจูดตอนกลาง อาจเคลื่อนขึ้นไปจากเดิมประมาณ 150-550 กิโลเมตร 4. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสำหรับไทย จะพบการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ - อุณหภูมิและปริมาณฝน อุณหภูมิในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เฉลี่ย 2.5-4 oC โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจสูงขึ้น 4 oCในภาคใต้อาจสูงขึ้น 2.5 oCแบบจำลองยังประเมินว่าค่าเฉลี่ยของฝนรายปีมีแนวโน้ม ที่จะเพิ่มขึ้น - แบบจำลองประเมินว่าค่าเฉลี่ยของฝนรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณปกติ แต่ภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 40 - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแห้งแล้งขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นน้อย มนู ศรีขจร (2544)

  22. ผลกระทบต่อประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำในประเทศไทย มีแนวโน้มลดลง ประมาณร้อยละ 5-10 และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง จะทำให้การระบายน้ำลงสู่ทะเลช้าลง รวมทั้งการรุกของน้ำทะเลเข้ามาในแม่น้ำจะทำให้ได้รับผลกระทบ พื้นที่จะได้รับผลมากที่สุดคือบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ด้านอุณหภูมิและปริมาณฝน อุณหภูมิในประเทศไทยมีแนวโน้มสูง ขึ้นเฉลี่ย 2.5-4oC โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจสูงขึ้น 4oCในภาคใต้ อาจสูงขึ้น 2.5 oCแบบจำลองยังประเมินว่าค่าเฉลี่ยของฝนรายปีมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น - แบบจำลองประเมินว่าค่าเฉลี่ยของฝนรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณปกติ แต่ภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 40 - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแห้งแล้งขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นน้อย มนู ศรีขจร (2544)

  23. ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อนปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน (global warming) เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gases) อันได้แก่ ก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ (Carbon dioxide: CO2) ก๊าซมีเทน (Methane: CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide : N2O) สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chloro-fluorocarbon: CFC) และโอโซน (Ozone : O3) เป็นต้น IPCC (1994) กล่าวว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ สารคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน และไฮโดร-ฟลูโอโรคาร์บอน ที่ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศในแต่ละปี มีปริมาณที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศในแต่ละปีมีปริมาณ 26,000, 300, 6, 0.9 และ 0.1 ล้านตัน ตามลำดับ

  24. นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าสภาพภูมิอากาศโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงโดย IPCC (1990) และ UNFCC (1996) ได้ทำนายผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ 1) อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 องศาเซลเซียสภายใน ปี ค. ศ. 2100 โดยการประเมินการเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางของ IPCC อยู่ในช่วง 1.5 – 4.5 องศาเซลเซียส 2) ผลต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกและปริมาณน้ำฝนคือ ป่าไม้บางส่วน ( คาดว่าประมาณ 1 ใน 3 ถึง 1 ใน 7 ของโลก) จะมีการเปลี่ยนแปลงของพรรณไม้ที่สำคัญ 3) ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการปรับสภาพให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้

  25. นอกจากนี้ การศึกษาของ Center for Global Change Science (1998) พบว่าในปี ค. ศ. 2100 อุณหภูมิผิวพื้นโลกเฉลี่ย จะเพิ่มสูงขึ้น ประมาณ1 – 5 องศาเซลเซียส การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำโคลัมเบีย โดยกำหนดว่าเมื่อมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอีก 50–100 ปีข้างหน้า จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น 20 – 50 เปอร์เซ็นต์ (Ferguson, 1997) นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มสูงขึ้น ส่วนปริมาณน้ำฝนและฤดูกาล มีทั้งส่วนที่อาจลดลงและเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยจะขึ้น อยู่กับลักษณะเฉพาะของพื้นที่นั้น ๆ (EPA, 1999) ในประเทศอังกฤษนั้นได้ มีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อลักษณะทางอุทกวิทยากันอย่างกว้างขวาง

  26. ความเสียหายที่อาจเกิดจากการคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคือ ฤดูกาลของฝนอาจเปลี่ยนไป โดยคาดว่าการระเหยและกลั่นตัวของน้ำในโลกอาจเร็วขึ้น ซึ่งหมายถึงฝนอาจตกบ่อยขึ้น แต่ก็ระเหยเร็วขึ้นทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูปลูก ผลกระทบตามมาคืออาจ มีปริมาณน้ำสะอาดลดลงจนถึงขั้นวิกฤตได้ นักวิทยาศาสตร์ยังคาดการณ์อีกว่า โลกจะมีความชุ่มชื้นมากขึ้นหรือ แห้งแล้งมากในระดับใดนั้น ต้องผนวกอยู่กับปัญหาจากสาเหตุการขยายตัวของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วย พื้นที่เกษตรและภูมิอากาศใหม่อาจเคลื่อนย้ายไปยังขั้วโลกเหนือและใต้ ส่วนบริเวณศูนย์สูตรคาดว่าภูมิอากาศใหม่เคลื่อนย้ายราว 200 – 300 กิโลเมตร สำหรับทุก 1 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น โดยจะส่งผลให้พื้นที่เกษตรมีความแห้งแล้งเพิ่มขึ้นในหน้าร้อน และอาจลดผล ผลิตต่อไร่ในบริเวณศูนย์สูตรลงไปร้อยละ 10 – 30 เขตเกษตรกรรมในพื้นที่ ที่ค่อนไปทางขั้วโลกอาจได้รับผลดีจากการที่อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น และ ที่สำคัญคือภูมิอากาศใหม่จะส่งผลต่อการละลายของภูเขาน้ำแข็ง และ การพองตัวของน้ำทะเล โดยทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น (วิรัต, 2543 อ้างถึง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย)

  27. คำถาม ที่สำคัญของมนุษย์ โจทย์วิจัยหลัก จะอยู่ในโลกที่มีภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงได้อย่างไร? • สร้างภาพจำลองภูมิอากาศในอนาคต • (Climate Change Scenarios) • ศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Impact) • ปรับตัวให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด (Adaptation) • ลดสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Mitigation)

  28. สถานการณ์ความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมโลกสถานการณ์ความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environmental Degradation) • การเสื่อมโทรมของที่ดิน (land degradation) • ภาวะการขาดแคลนน้ำ (water scarcity) • การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity loss) • การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก (climate change)

  29. ขีดจำกัดของทรัพยากรที่ดินของโลกขีดจำกัดของทรัพยากรที่ดินของโลก • ต้องเปลี่ยนพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นเพื่อเอาที่ดินมาทำการเกษตร • คาดว่าพื้นที่ป่าจะหมดจากโลกนี้ในศตวรรษนี้(21) ในกรณี ที่ยังสร้างผลผลิตการเกษตรเท่าที่ทำได้อยู่ในปัจจุบัน • อย่างน้อยต้องเพิ่มผลผลิตการเกษตรเป็น 2 เท่าถึงพออยู่ กันได้

  30. ขีดจำกัดของทรัพยากรน้ำของโลกขีดจำกัดของทรัพยากรน้ำของโลก • ในปี ค.ศ. 1950 ประชากรโลกใช้น้ำเพียงครึ่งเดียว ของน้ำที่นำมาใช้ได้ • ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาศัยเขื่อนเก็บกักน้ำที่ต้องการไว้ • การเกิดมลภาวะของน้ำทำให้สูญเสียน้ำที่เคยใช้ได้ไป ถึง 33% • ขณะนี้กำลังใกล้ถึงขีดจำกัดแล้ว

  31. การใช้พลังงานของประชากรโลกการใช้พลังงานของประชากรโลก • ใช้กันในอัตราที่สูงมากตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา • ส่วนใหญ่เป็นเชื้อเพลิงพวกไฮโดรคาร์บอน • เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปและส่งผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก

  32. ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก เป็นปรากฎการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด เพียงแต่ความรุนแรงของปัญหาในแต่ละซีกโลกอาจไม่เท่ากันหรือแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม และสภาพพื้นที่ที่ปรากฎการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น อาทิ ปัญหาพืชผลดัดแปลงพันธุ์กรรม (GMOs) ปรากฏการณ์เอลนินโญ เอน-โซ ลา-นีญา และคลื่นยักษ์สึนามิ และสารพิษต่างๆ เป็นต้น

  33. GMOs

  34. GMOs GMOsย่อมาจาก Genetically Modified Organismหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ได้จากการเปลี่ยนถ่ายพันธุกรรม (gene) โดยมีการนำวัสดุพันธุกรรมจากเซลล์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่ว่านี้อาจจะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ตัวอย่างการใส่ยีนจาก ปลาอาร์กติกใส่ในมะเขือเทศและสตรอเบอร์รี่เพื่อให้ทนทานต่อความหนาวเย็นส่วนใหญ่พืชผลดัดแปลงพันธุ์กรรมจะปลูกในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอาร์เจนตินา

  35. วิธีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรมวิธีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม วิธีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรมหรือที่เรียกกันว่า “การตัดต่อยีน” นั้น สามารถทำได้โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า“พันธุวิศวกรรม” ซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกสายพันธุ์โดยตรงโดยการค้นหา gene ตัวใหม่ ที่กำหนดลักษณะเฉพาะ (Traits) ตามที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะเป็น geneจากพืช สัตว์ หรือ bacteria ก็ได้ จากนั้นทำการถ่ายแบบ (copy) ยีนดังกล่าวลงไปในchromozome ฯลฯ

  36. gene หรือหน่วยพันธุกรรมที่จำเป็นจะต้องใส่เข้าไปด้วยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรมคือ “marker gene”Marker Geneเป็น gene ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตใหม่นั้นมีความต้าน ทานต่อ herbicide insect และ antibiotic เพราะ cell ใหม่เพียง cell เดียวที่ได้นั้น จะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปในอาหารที่มีสารantibiotic เพื่อฆ่าเชื้อ bacteria และสาร herbicide ที่ติดมากับอาหาร GMOs ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคของมนุษย์มีอยู่ 2 ส่วนคือ 1. ส่วนที่เป็นเมล็ดพันธุ์หรือพืชพันธุ์(สำหรับทำพันธุ์เพาะปลูก) 2. ส่วนที่เป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีการปนเปื้อนของวัตถุดิบที่เป็น GMOs

  37. นโยบาย GMOs ของประเทศต่างๆ 1.สหรัฐอเมริกาและแคนาดา: อนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาดสหรัฐได้ 2. สหภาพยุโรป: ต้องขออนุญาติในการนำเข้า และติดฉลากบอก 3. ญี่ปุ่น: อนุญาตนำเข้าและต้องแสดงฉลาก 4. ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์: จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัย ก่อนจำหน่ายและให้มีการแสดงฉลาก 5. ไทย: มีเพียงกฎหมายห้ามการปลูกพืชที่เป็น GMOs แต่ยังไม่มี กฏหมายห้ามการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิต รวมทั้งอาหารที่สำเร็จรูป

  38. รายงานผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ GMOs (1)บัญชีเขียว (Green List) : หมายถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดจาก GMOs และไม่ได้ใช้ส่วนประกอบที่มาจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ในการผลิตอาหาร (2) บัญชีเทา (Grey List) :หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่พยายามจะดำเนินการเพื่อการปลอด GMOs (3) บัญชีดำ (Black List) : หมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีนโยบายปลอด GMOs

  39. ผลกระทบที่เกิดจากอาหาร GMOs 1. ทำให้เกิดพิษหรืออาหารภูมิแพ้ที่ไม่คาดคิด 2. การดื้อยาปฏิชีวนะ 3. ผลต่อสิ่งแวดล้อม : มนุษย์ สัตว์ และพืช

  40. ปรากฏการณ์เอลนินโญ เอนโซ และลานีญา

  41. ปรากฏการณ์เอล-นินโญ (EL-Nino) เอล-นินโญ คือการไหลย้อนกลับของผิวทะเลที่อุ่นในช่วงเวลาหนึ่งจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่พัดอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิก ตะวันตกไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่พัดอยู่เดิมตามบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และบริเวณชายฝั่งตะวัน ออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ (เอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ)

  42. เอล-นินโญ เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วนานนับพันปีและทุกๆ 10 ปี จะเกิดปรากฏการณ์นี้เฉลี่ย 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 8-12 เดือน โดยจะปรากฏชัดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก แถบชายฝั่งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ นับจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป 10 องศาเหนือและลงมาอีก 10 องศาใต้

  43. ปรากฏการณ์เอน-โซ (ENSO) เอน-โซ เป็นคำรวมของ เอล-นินโญ กับ ความแปรผันของระบบอากาศในซีกโลกใต้ เอน-โซจัดเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก เพราะการเกิดที่รุนแรง จะนำไปสู่ความผิดปกติทางภูมิกาศอย่างมาก เช่น ความแห้งแล้งในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย คาบสมุทรอินเดีย อาฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกากลาง และทะเลคาริบเบียน ขณะที่มีน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก บริเวณมหาสมุทรแปซิกฟิกกลางทางเหนือและตะวันออกบริเวณเส้นศูนย์ของอาฟริกา เป็นต้น

  44. ปรากฏการณ์ลา-นีญา (La Nina) ปรากฏการณ์ลา-นีญา คือความผันผวนของสภาพอากาศของโลก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ช่วงระยะเวลาเย็นลงของน้ำทะเลของ ปรากฎการณ์เอล-นินโญ โดยจะส่งผลให้พื้นที่เคยอากาศหนาวอยู่แล้วกลับมีอุณหภูมิเย็นลงอีก และในบริเวณที่มีฝนตกเป็นประจำและมีฝนตกชุกยิ่งขึ้น

  45. ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากลานีญามากที่สุดคือ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ตอนล่าง เนื่องจากอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรตรงมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับประเทศไทย จะได้รับอิทธิพลความชุ่มชื้นจาก พายุฝนที่ก่อตัวจากมหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเคลื่อนเข้าไทยเป็นประจำประมาณ 3-4 ลูกต่อปี แต่เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอล-นินโญ พายุก็เปลี่ยนทิศทางขึ้นเหนือเข้าสู่ทะเลจีนใต้หมด ทำให้ประเทศไทยและที่อยู่แถบแหลมอินโดจีนเกิดภาวะแห้งแล้งในปี 2540 และตอนต้นปี 2541

  46. ภูมิภาคและประเทศที่รับผลกระทบภูมิภาคและประเทศที่รับผลกระทบ 1. บริเวณเขตร้อนของประเทศออสเตรเลีย เกิดความแห้งแล้งอย่างหนัก ตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนเกิดไฟป่าเป็นบริเวณกว้าง ปริมาณน้ำฝนไม่พอเพียง2. ปาปัวนิวกินี มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 คน และอีก 700,000 คน ต้องเผชิญกับความอดอยากและโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคไทฟอยด์ ท้องร่วง และมาเลเรีย เป็นต้น 3. แอฟริกาใต้ พบว่าการเริ่มต้นฤดูฝนเกิดช้ากว่าปกติ 4. แอฟริกาตะวันออก มีปริมาณฝนสูงกว่าปีปกติ

  47. 5. อเมริกาตอนกลาง เกิดสภาพความแห้งแล้งผิดปกติ 6. กัวเตมาลาและคอสตาริกา พบว่าผลผลิตข้าวโพด ถั่ว กาแฟ ได้รับความเสียหาย ประมาณราว 25-50%7. ชิลี เกิดน้ำท่วมใหญ่และรุนแรง8. เปรู มีคนตายกว่า 100 คน จากสภาพน้ำท่วมและ แผ่นดินถล่ม 9. โคลัมเบียมีอัตราคนป่วยด้วยโรคมาเลเรียเพิ่มขึ้น ฯลฯ

  48. ผลกระทบต่างๆ ของเอลนิโญ-เอนโซ-ลานีญา 1. อเมริการ้อนจัดขึ้น 5-7 องศา 2. อีก 30 ปีข้างหน้าธารน้ำแข็งละลายหมด

  49. ไดอ๊อกซิน สารพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

  50. ไดอ๊อกซิน เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีพิษร้ายแรงต่อมนุษย์และสัตว์ต่างๆ ปัจจุบันได้มีผู้ศึกษาถึงพิษภัยของสารเคมีกลุ่มนี้อย่างมาก และพบว่า สารไดอ๊อกซินมีผลทำให้เกิดมะเร็ง ลดภูมิต้านทานของร่างกายและ มีผลกระทบต่อการสืบพันธุ์และอื่นๆ อีกมาก สารไดอ๊อกซินมีอยู่ทั่วๆไปบนพื้นโลก ทั้งในน้ำบนดินและในบรรยากาศ จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (WHO : 1990) พบว่า ปริมาณของสารไดอ๊อกซินที่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์ คือต้องได้รับสารนี้ในปริมาณต่ำกว่า 10 กิโลกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งในปริมาณนี้ร่างกายมนุษย์สามารถรับได้โดยไม่มีความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ

More Related