1 / 52

สืบพันธุ์ของพืชดอก

สืบพันธุ์ของพืชดอก. การสืบพันธุ์ของพืชดอก.

samara
Download Presentation

สืบพันธุ์ของพืชดอก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สืบพันธุ์ของพืชดอก

  2. การสืบพันธุ์ของพืชดอกการสืบพันธุ์ของพืชดอก    ดอกไม้นานาชนิด จะเห็นว่านอกจากจะมีสีต่างกันแล้วยังมีรูปร่าง ขนาดและโครงสร้างขอกดอกแตกต่างกัน ดอกบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้นบางชนิดมีกลีบดอกไม่มากนักและมีชั้นเดียว ดอกบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก บางชนิดเล็กเท่าเข็มหมุด นอกจากนี้ดอกบางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นใจ แต่บางชนิดมีกลิ่นฉุนหรือบางชนิดไม่มีกลิ่น ความหลากหลายของดอกไม้เหล่านี้เกิดจากการที่พืชดอกมีวิวัฒนาการมายาวนาน จึงมีความหลากหลายทั้งสี รูปร่างโครงสร้าง กลิ่น ฯลฯ แต่ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันดอกก็ทำหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืช

  3. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยเพศ โดยที่มีการสร้าง เซลสืบพันธุ์ เพศผู้และเซลสืบพันธุ์เพศเมียแล้วผสมกันเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตหน่วยใหม่ ซึ่งมีลักษณะ เหมือนพ่อและแม่ มี 2 วิธีคือ คอนจูเกชัน และการปฎิสนธิ คอนจูเกชัน (Conjugation) คอนจูเกชัน เป้นการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน (Isogamete) ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสเปิร์มหรือไข่ พบในสาหร่ายสไปโรไจรา แต่วิธีนี้ไม่พบในพืชดอก

  4. 2. การปฎิสนธิ (Fertilization) การปฎิสนธิเป็นการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกัน (Heterogamete) เช่น สเปิร์มกับไข่ การปฎิสนธิของพืชดอก อวัยวะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช คือ ดอก (Flower)

  5. โครงสร้างดอก ดอกประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะเรียงกันเป็นชั้นหรือวง (Whorl) โดยมีทั้งหมด 4 ชั้น หรือ 4 วง เรียงตามลำดับจากนอกสุดเข้าสู่ด้านในคือ 1. กลีบเลี้ยง (Sepal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ จึงมักมีสีเขียว ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายต่างๆ ให้แก่ส่วนในของดอก นอกจากนี้จะช่วยในการสังเคราะห์แสงได้ด้วย กลีบเลี้ยงของพืชอาจอยู่แยกกันเป็นกลีบๆ เรียกว่าอะโปเซพัลลัส (Asoposepalous) หรือพอลิเซพัลลัส (Polysepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกบัวสาย และดอกพุทธรักษา แต่บางชนิดกลีบเลี้ยงจะเชื่อมติดกันเรียกว่าแกมโมเซพัลลัส (Gamosepalous) หรือซินเซพัลลัส (Synsepalous) ได้แก่ กลีบเลี้ยงของดอกชบา แตง บานบุรี และดอกแค เป็นต้น วงกลีบเลี้ยงทั้งหมดนี้เรียกว่าแคลิกซ์ (Calyx)

  6. 2. กลีบดอก (Petal) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปข้างใน มักมีสีสันต่างๆ สวยงาม เนื่องจากมีรงควัตถุชนิดต่างๆ ได้แก่แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และแอนโทแซนทิน (Anthoxanthin) ละลายอยู่ในสารละลายแวคิวโอล ทำให้กลีบดอกเป็นสีต่างๆ เช่น สีม่วง สีแดง สีน้ำเงิน หรืออาจมีแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ในพลาสติด ทำให้กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือแสด ส่วนดอกสีขาวและไม่มีสีเกิดจากไม่มีรงควัตถุอยู่ภายในเซลล์ของกลีบดอก นอกจากนี้กลีบดอกของพืชบางชนิด อาทิเช่น ดอกพุดตาลสามารถเปลี่ยนสีได้ ทั้งนี้เนื่องจากความเป็นกรดและด่างภายในเซลล์ของกลีบดอกเปลี่ยนแปลงไป วงของกลีบดอกทั้งหมดเรียกว่าcollora ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกจัดเป็นส่วนประกอบรอง (Acessory part) ห่อหุ้มอยู่รอบนอกของดอก พืชบางชนิดกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน แยกกันไม่ออกเรียกชั้นนี้ว่าวงกลีบรวม (Perianth) กลีบแต่ละกลีบเรียกว่าทีพัล (Tepal) ได้แก่ บัวหลวง จำปี และจำปา เป็นต้น

  7. 3. เกสรตัวผู้ (Stamen) เป็นส่วนของดอกที่จำเป็นในการสืบพันธุ์ อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสรตัวผู้มักมีหลายอันเรียงเป็นชั้นหรือเป็นวงเรียกว่าแอนดรีเซียม (Andrecium) เกสรตัวผู้แต่ละอันอาจอยู่แยกกัน หรือเชื่อมติดกัน บางชนิดอาจติดกับส่วนอื่นของดอกก็ได้ เกสรตัวผู้แต่ละอันจะประกอบขึ้นด้วยก้านเกสรตัวผู้ (Filament) และอับเรณู (Anther) ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงมี 2 พู ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ ยาว 4 ถุงเรียกว่าถุงเรณู (Pollen sac หรือ Microsporangium) จะบรรจุละอองเรณู (Pollen grain) จำนวนมาก ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้ว ถุงเรณูจะแตกออก ละอองเรณูจะปลิวออกมา จำนวนเกสรตัวผู้ในแต่ละดอกจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช พืชโบราณมักมีเกสรตัวผู้จำนวนมากในขณะที่พืชซึ่งมีวิวัฒนาการสูงขึ้น จำนวนเกสรตัวผู้ในดอกจะลดน้อยลง อนึ่งเกสรตัวผู้ของพืชบางชนิดอาจเป็นหมัน จึงไม่สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือละอองเรณูได้เรียกว่าสตามิโนด (Staminode) ตัวอย่างเช่น เกสรบางอันของกล้วย และชงโค บางชนิดอาจมีสีสันสวยงามแผ่เป็นแผ่นแบน คล้ายกลีบดอกเรียกว่าเพทัลลอยด์สตามิโนด (Petaloidstaminode) เช่น พุทธรักษา

  8. 4. เกสรตัวเมีย (Pistil or carpel) เป็นส่วนของดอกที่อยู่ในสุด และจำเป็นในการสืบพันธุ์ ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกสรตัวเมียในแต่ละดอกอาจมี 1 หรือหลายอันซึ่งแยกจากกันเป็นอิสระ หรือเชื่อมติดกัน ชั้นของเกสรตัวเมียเรียกว่าจินนีเซียม (Gymnoecium) เกสรตัวเมียแต่ละอันประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1) รังไข่ (Ovary) เป็นส่วนที่พองโตออกเป็นกระพุ้ง2) ก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เป็นเส้นเรียวยาวเล็กๆ ทำหน้าที่ชูเกสรตัวเมีย และเป็นทางผ่านของหลอดละอองเรณู (Pollen tube) 3) ยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) อยู่ส่วนปลายของละอองเรณูซึ่งมักพองออกเป็นปมมีขนหรือน้ำเหนียวๆ สำหรับจับละอองเรณูที่ปลิวมา หรือพาหะพามา

  9. ภายในรังไข่แต่ละอันจะมีโอวุล (Ovule) 1 หรือหลายอัน แต่ละโอวุลจะมีไข่ (Egg) ซึ่งเมื่อผสมกับสเปิร์ม (Sperm) แล้วจะกลายเป็นไซโกต (Zygote) และมีการเจริญเติบโตพัฒนาต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) หรือต้นอ่อน ส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ดห่อหุ้มเอมบริโอไว้ โอวุลจะติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ เรียกว่าฟันนิคูลัส(Funiculus) ผนังของรังไข่ตรงที่ฟันนิคูลัสมาเกาะมักพองโตเล็กน้อยเรียกว่ารก (Placenta) ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก เปลี่ยนสภาพมาจากกิ่งเพื่อรองรับส่วนต่างๆ ของดอก มีรูปร่างแตกต่างกันไปหลายแบบ อาทิเช่น แผ่แบนคล้ายจาน เช่น ทานตะวันเว้าเป็นรูปถ้วย เช่น กุหลาบ นูนสูง เช่น สตรอเบอรี่ เป็นต้น

  10. ริ้วประดับ (Bract) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ช่วยรองรับดอก หรือช่อดอก อยู่บริเวณโคนก้านดอก มักมีสีเขียว มีรูปร่างต่างๆ เช่น คล้ายใบที่ลดขนาดลง หรือเปลี่ยนมาเป็นริ้วเล็กๆ ในดอกชบา พู่ระหง ริ้วประดับมีสีเขียวคล้ายกลีบเลี้ยงเล็กๆ เรียกว่าเอพิแคลิกซ์ (Epicalyx) ริ้วประดับของดอกทานตะวันเป็นใบเล็กๆ ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ บางครั้งริ้วประดับอาจมีสีฉูดฉาดสวยงามคล้ายกลีบดอก เช่น เฟื่องฟ้า คริสต์มาส ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิดริ้วประดับแผ่เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียว อาจมีสีสันสวยงาม เช่น ดอกหน้าวัว อุตพิต หรือกาบปลีกล้วย มะพร้าว และหมาก เป็นต้น

  11. ประเภทของดอก จำแนกโดยการติดของส่วนต่างๆ บนฐานรองดอก ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1 ดอกไฮโพจีนัส (hypogenous flower) เป็นชนิดของดอก ที่กลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศ ผู้ ติดอยู่บนฐานรองดอกที่ต่ำกว่ารังไข่ของเกสรเพศเมีย รังไข่แบบนี้เรียกว่า Superior-ovary ได้แก่ ดอกมะเขือ พริก มะละกอ หอม องุ่น บานบุรี ข้าวโพด ผักกาด ฯลฯ 2 ดอกเอพิจีนัส (epigenous flower)เป็น ชนิดของดอก ที่กลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรเพศผู้ ติดอยู่บนฐานรองดอก ที่สูงกว่ารังไข่ ของเกสรเพศเมีย เนื่องจากฐานรองดอกมีขอบโค้งขึ้นไปหุ้มรังไข่ไว้หมด รังไข่แบบนี้เรียกว่า Inferior ovary ได้แก่ ดอกกล้วย แตงกวา บวบ ชมพู่ ฝรั่ง ฟักทอง กระบองเพชร แอปเปิล ฯลฯ

  12. 3.3 ดอกเพริจีนัส (perigenous flower) เป็นชนิดของดอก ที่กลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศผู้ ติดอยู่บนฐานรองดอกในระดับเดียวกับรังไข่ของเกสรเพศเมียเนื่องจากฐานรองดอกเว้าลงไปและมีขอบโค้งเป็นรูปถ้วยอยู่รอบรังไข่ รังไข่แบบนี้เรียกว่า Half-superior หรือ Half-inferior ovary ได้แก่ ดอกกุหลาบ ถั่วตะแบก อินทนิน เชอรี่ ฯลฯ

  13. การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอกการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอก เกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther)โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell)แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 ไมโครสปอร์ (microspore)แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับ n หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียส คือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส(generativenucleus)และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus)เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า ละอองเรณู(pollen grain)หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte)ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบืหรือเป็นหนามเล็กๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืช เมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้

  14. การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอก การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอก เกิดขึ้นภายในรังไข่ ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule)หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์(megaspore mother cell)มีจำนวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์ เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์ (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์  3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์  (micropyle)เรียกว่า แอนติแดล(antipodals)ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ(polar nuclei cell)ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่(egg cell)และ2 ข้างเรียก ซินเนอร์จิดส์ (synergids)ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac)หรือ แกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)

  15. 1. การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิดเดียวกัน  จะเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูแก่เต็มที่ อับเรณูก็จะแตกออกเกิดเป็นละอองกระจายไป โดยอาศัยลม น้ำ หรือสิ่งอื่นๆพาไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะแมลง             พืชดอกแต่ล่ะชนิดมีละอองเรณูและรังไข่ที่มีรูปร่างลักษณะ และจำนวนที่แตกต่างกันเมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ผนังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรตัวเมียโดยอาศัยสื่อต่างๆพาไป เช่น ลม น้ำ แมลง สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูตกลงสู่ยอดเกสรตัวเมีย เรียกว่า การถ่ายละอองเรณู (pollination) การถ่ายละอองเรณูและการปฎิสนธิ

  16. 2. การปฎิสนธิ เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูแต่ละอันจะสร้างหลอดละอองเรณูด้วยการงอกหลอดลงไปตามก้านเกสรเพศเมียผ่านทางรูไมโครไพล์ของออวุล ระยะนี้เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะแบบนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้ 2 สเปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus)สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสไอได้ เอนโดสเปิร์ม (endosperm)เรียกการผสม 2 ครั้ง ของสเปิร์มนิวเคลียสนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)

  17. การเจริญเปลี่ยนแปลงหลังการปฎิสนธิของพืชดอกการเจริญเปลี่ยนแปลงหลังการปฎิสนธิของพืชดอก

  18. ประเภทของผล ในการศึกษาชนิดของผลมีหลักเกณฑ์ในการจำแนกหลายหลักเกณฑ์ เช่น ลักษณะและ โครงสร้างของดอก จำนวนและชนิดของรังไข่ ลักษณะของเนื้อผลไม้นั้นแก่แล้วแตกออกหรือไม่ มีส่วนของกลีบเลี้ยงหรือฐานดอกเป็นส่วนประกอบของผลหรือไม่ เป็นต้น แต่ในชั้นนี้จะแบ่งตามวิธีการเกิดของผลเป็นเกณฑ์ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้  ผลเดี่ยว (Simple Fruit) ผลกลุ่ม (Aggregate Fruit) ผลรวม (Multple Fruit)

  19. 1. ผลเดี่ยว ( Simple fruit ) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวในดอกเดียว ดอกอาจเป็น ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อก็ได้ ตัวอย่างเช่น ผลมะเขือ แตง ฟักทอง ส้ม เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกเดี่ยว และมะม่วง ชมพู่ มะกอก เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อ เป็นต้น ลักษณะของดอกที่จะกลายเป็น ผลเดี่ยว คือ ดอก 1 ดอกจะมีรังไข่ 1 อัน เป็นดอกเดียวหรือดอกช่อก็ได้ ถ้าเป็นดอกช่อรังไข่ของแต่ละดอกต้องไม่หลอมรวมกัน  เช่น พุทรา มะม่วง มะพร้าว

  20. 2. ผลกลุ่ม ( Aggregate fruit ) คือผลที่เกิดจากกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอกเดี่ยว รังไข่แต่ละอันก็จะกลายเป็นผลย่อยหนึ่งผล แต่เนื่องจากอยู่อัดกันแน่นจึงดูคล้ายกับเป็นผลเดี่ยว เช่น ผลน้อยหน่า สตรอเบอรี่ เป็นต้น แต่บางชนิดก็ไม่อยู่อัดกันแน่นนัก คงแยกเป็นผลเล็ก ๆ เช่น ผลของ กระดังงา การะเวก นมแมว เป็นต้น ลักษณะของดอกที่จะกลายเป็นผลกลุ่ม คือ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ใน 1 ดอก มีรังไข่หลายอัน อาจเชื่อมรวมกันหรือไม่ก็ได้ 2. ผลกลุ่ม ( Aggregate fruit ) คือผลที่เกิดจากกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอกเดี่ยว รังไข่แต่ละอันก็จะกลายเป็นผลย่อยหนึ่งผล แต่เนื่องจากอยู่อัดกันแน่นจึงดูคล้ายกับเป็นผลเดี่ยว เช่น ผลน้อยหน่า สตรอเบอรี่ เป็นต้น แต่บางชนิดก็ไม่อยู่อัดกันแน่นนัก คงแยกเป็นผลเล็ก ๆ เช่น ผลของ กระดังงา การะเวก นมแมว เป็นต้น ลักษณะของดอกที่จะกลายเป็นผลกลุ่ม คือ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ใน 1 ดอก มีรังไข่หลายอัน อาจเชื่อมรวมกันหรือไม่ก็ได้ 

  21. แสดงผลกลุ่ม

  22. 3.ผลรวม ( Multiple fruit ) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่ของดอกแต่ละดอกของดอกช่อซึ่งเชื่อมรวมกันแน่น รังไข่เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อย ๆ เชื่อมรวมกันแน่นจนคล้ายเป็นผลเดี่ยว ได้แก่ ผลสับปะรด ขนุน สาเก ยอ หม่อน มะเดื่อ เป็นต้น ลักษณะของดอกที่จะกลายเป็นผลรวมคือ ดอกเป็นดอกช่อที่มีรังไข่ของดอกย่อย แต่ละดอกมาเชื่อมรวมกัน 

  23. ข้อดีของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชข้อดีของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช 1. เหมาะสำหรับใช้ในการขยายพันธุ์พืชล้มลุกและพืชที่มีอายุสั้น     เช่น ข้าว ผัก และไม้ดอกต่าง ๆ 2. ใช้ได้ดีกับพืชที่มีการผสมตัวเอง พืชพวกนี้แม้จะใช้เมล็ดเพาะ ต้นใหม่    ก็จะไม่กลายพันธุ์ เช่น ข้าว  ถั่ว 3. ใช้สำหรับปลูกพืชที่มีระบบรากแก้วที่แข็งแร็งและมีอายุยืน เช่น    การปลูกสวนป่า  การปลูกต้นไม้    ริมทาง 4. ใช้ในการผสมพันธุ์โดยตรง คือการรวมลักษณะที่ดีของพืช 2 ต้น     ไว้ในต้นเดียวกัน ทำได้โดยเขี่ยละอองเรณูของต้นหนึ่งไปใส่บน    ยอดเกสรตัวเมียของอีกต้นหนึ่ง รอให้ดอกที่ได้รับการผสม    ติดผลจนแก่แล้วจึงนำเมล็ดไปเพาะ  เมล็ดที่ได้นี้จะเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม

  24. ข้อเสียของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้อเสียของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ 1. หากเป็นพืชพวกที่มีการผสมข้าม เมื่อนำเมล็ดไปเพาะ มักจะได้ต้นใหม่ที่มีลักษณะไม่ตรงกับต้นพ่อหรือต้นแม่  เนื่องมาจากต้นใหม่ได้รับลักษณะจากต้นพ่อและต้นแม่รวมกัน สังเกตได้จากการเพาะเมล็ดมะม่วง ต้นใหม่ที่ได้อาจมีรสชาติของผลต่างไปจากต้นเดิม 2. ต้นไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะติดผล เมื่อเทียบกับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น

  25. ลำดับขั้นตอนในกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ   สรุปได้ดังนี้ 1. เกิดการถ่ายละอองเรณู 2. ละอองเรณูงอกเป็นหลอดแทงลงไปตามก้านเกสรตัวเมีย  เรียกว่า หลอดละอองเรณู 3. นิวเคลียสอันหนึ่งในละอองเรณู จะแบ่งตัวเกิดเป็นสเปิร์ม  2  เซลล์ 4. หลอดละอองเรณูแทงเข้าไปในออวุลทางรูไมโครไพล์  โดยสเปิร์มเซลล์หนึ่งจะเข้าไปผสมกับไข่  สเปิร์มที่เหลืออีกเซลล์หนึ่งจะเข้าไปผสมกับโพลาร์นิวเคลียส เรียกการปฏิสนธิแบบนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน

  26. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) เป็นการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องอาศัยเพศเข้ามาเกี่ยวข้องและไม่มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์มีหลายแบบ ดังนี้ 1 การแบ่งออกเป็น 2 ส่วน (binary fission) เริ่มโดยนิวเคลียสค่อย ๆ ยืดยาวออก แล้วค่อย ๆ คอดเข้าหากันจนขาดออกจากกัน จากนั้นผนังเซลล์จะเริ่มคอดตามจนติดกันและขาดออกจากกัน สองส่วนที่ได้นี้จะมีขนาดเท่า ๆ กัน การสืบพันธุ์แบบนี้พบในสิ่งมีชีวิตพวกโปรติสต์ เซลล์เดียว เช่น แบคทีเรีย อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา แต่มีโปรติสต์บางชนิดแบ่งเป็น 2 เซลล์แล้ว เซลล์ที่ได้จะไม่แยกออกจากกันแต่จะติดกันเป็นกลุ่มๆ เช่น ตะไคร่น้ำ (โปรโตคอคคัส) หรืออาจติดเป็นสายยาว เช่น เทาน้ำ (spirogyra) เมื่อจำนวนมากพอจึงแยกออกจากกันภายหลัง

  27. 2 การแตกหน่อ ( budding) เป็นการสืบพันธุ์ที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ซึ่งจะเกิดขึ้นตามบริเวณผนังเซลล์รอบนอก โดยบริเวณผนังเซลล์ดังกล่าวจะมีการแบ่งเซลล์แบบmitosis เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นตุ่มยื่นออกมา โดยจะไม่เกิดซ้ำกับผนังเซลล์ตำแหน่งเดิม ซึ่งอาจติดอยู่ หรือหลุดออกจากเซลล์แม่หรือตัวแม่ก็ได้ เช่น ยีสต์ (ขณะที่อาหารสมบูรณ์) 

  28. 3 การสร้างสปอร์ (sporulation) เป็นการสืบพันธุ์แบบที่เซลล์มีการแบ่งนิวเคลียสหลายครั้งจนได้เป็นเซลล์จำนวนมาก ต่อมามีโพรโทพลาซึมมาหุ้มนิวเคลียสนั้น จนมีผนังหนาเกิดขึ้นกลายเป็นสปอร์ ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ผนังเซลล์เดิมกลายเป็นอับสปอร์(sporangium) เมื่อแก่จะแตกออกเป็น สปอร์ (spore) ปลิวไปยังที่ต่าง ๆ เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม จะงอกเป็นเส้นใย ( hyphaหรือ hyphae) พบในยีสต์ (ขณะขาดแคลนอาหาร) 4 การงอกใหม่ (regeneration) หมายถึง การสร้างส่วนของร่างกายที่ขาดหายไปขึ้นมาใหม่ให้ครบเหมือนเดิม และได้ชีวิตใหม่เพิ่มขึ้น เช่น พลานาเรีย ไฮดรา ดาวทะเล ดอกไม้ทะเลการงอกใหม่ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น จิ้งจกที่หางขาด กุ้งขาหลุดไป สามารถ สร้างส่วนหางและขาเพิ่มให้ครบดังเดิมได้ ไม่ได้เพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิต จึงไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ จัดเป็นการงอกใหม่เพื่อซ่อมแซมส่วนที่ขาดหายไป

  29. 5 พาเธนโนจีนีซีส (parthenogenesis)คือ กระบวนการเจริญพัฒนาของไข่กลาย เป็นตัวอ่อน โดยไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ เช่น ผึ้งและ ตัวต่อ เพศผู้การสืบพันธุ์แบบ parthenogenesis ของผึ้ง คือไข่ที่ไม่มีการปฏิสนธิ จะเจริญไปเป็นตัวผู้ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะเจริญไปเป็นตัวเมีย ผึ้งราชินี จะรับสเปิร์มจากผึ้งตัวผู้เพียงครั้งเดียว แล้วเก็บไว้ในถุง ซึ่งต่อกับท่อสืบพันธุ์ ที่ปากถุงมีกล้ามเนื้อคล้ายลิ้น คอยปิด-เปิดปากถุง ถ้าต้องการลูกตัวเมีย ลิ้นที่ปากถุงจะเปิด ให้สเปิร์มเข้าปฏิสนธิกับไข่จะได้ลูกตัวเมีย ถ้าต้องการลูกตัวผู้ลิ้นจะปิด ไข่ไม่ถูกปฏิสนธิ 6 การหักเป็นส่วน ๆ (fragmentation) เป็นการสืบพันธุ์ที่พบในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น หนอนตัวแบน การสืบพันธุ์แบบนี้เกิดขึ้นโดยที่ส่วนของร่างกายหลุดออกเป็นท่อน ๆ หรือเป็นส่วน ๆ ซึ่งต่อมาแต่ละส่วนเหล่านี้จะเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ขึ้นมา

More Related