1 / 47

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒. นายวิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมาย. ๔ เมษายน ๒๕๕๖ ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. โรงแรมเอเชีย. บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒.

sancho
Download Presentation

พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ นายวิทยา นีติธรรม ผู้อำนวยการกองกฎหมาย ๔ เมษายน ๒๕๕๖ ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. โรงแรมเอเชีย

  2. บทบาทและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒

  3. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๔ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่.....”

  4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๕๖ คุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่

  5. ข้อ ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ • เป็นข้าราชการของสำนักงานซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันหรือการปราบปรามการฟอกเงินเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (๒) เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตำแหน่งประเภทวิชาการ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงานขึ้นไป หมวด ๑ คุณสมบัติและการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่

  6. (ต่อ) ข้อ ๔ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๓) เป็นข้าราชการตำรวจหรือทหาร ตั้งแต่ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป (๔) เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ระดับ ๔ หรือเทียบเท่าขึ้นไป

  7. ข้อ ๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้เสนอเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๔

  8. ข้อ ๖ เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้เลขาธิการออกบัตรประจำตัวให้เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งอาจได้รับการมอบหมายเป็นหนังสือเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เลขาธิการกำหนด

  9. ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๔ (๒) กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดในหมวด ๒ หรือหมวด ๓ ของระเบียบนี้ (๓) นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามความเห็นของเลขาธิการ

  10. ข้อ ๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายทราบก่อนดำเนินการ เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน ให้ดำเนินการไปก่อนแล้วรายงานให้ทราบโดยเร็ว หมวด ๒ การปฏิบัติหน้าที่

  11. ข้อ ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๘ (๑) หรือ (๒) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายทราบก่อนดำเนินการ เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน ให้ดำเนินการไปก่อนแล้วรายงานให้ทราบโดยเร็ว (๒) ต้องระบุข้อความที่แสดงว่าเป็นพนักงานเจ้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายไว้ในหนังสือที่ออกตามมาตรา ๓๘ (๑) หรือ (๒) (๓) จัดทำรายงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนด แล้วส่งรายงานดังกล่าวให้เลขาธิการทราบภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่

  12. ข้อ ๑๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๘ (๓) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ • แจ้งให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายทราบก่อนดำเนินการเว้นแต่เป็นกรณีเร่งด่วน ให้ดำเนินการไปก่อนแล้วรายงานให้ทราบโดยเร็ว

  13. (๒) ในกรณีที่เป็นการค้นเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ ต้องแสดงเอกสารมอบหมายและบัตรประจำตัวต่อผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลสถานที่นั้น ถ้าหาผู้นั้นไม่พบให้แสดงต่อบุคคลที่อยู่ในสถานที่นั้น ก่อนลงมือค้นให้แสดงความบริสุทธิ์เสียก่อน และให้ค้นต่อหน้าบุคคลดังกล่าว หรือถ้าหาบุคคลดังกล่าวไม่ได้ก็ให้ค้นต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ขอร้องให้มาเป็นพยาน (๓) เมื่อค้นแล้ว ให้บันทึกรายละเอียดแห่งการค้นและบัญชีสิ่งของที่ค้นได้แล้วอ่านให้บุคคลตาม (๒) ฟังและลงลายมือชื่อรับรองไว้ หากบุคคลดังกล่าวไม่ยอมลงลายมือชื่อให้หมายเหตุไว้ในบันทึกการค้น

  14. (๔) จัดทำรายงานการค้นตามแบบที่เลขาธิการกำหนด แล้วส่งรายงานดังกล่าวพร้อมสำเนาบันทึกการค้นและบัญชีสิ่งของให้เลขาธิการทราบภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ค้น

  15. ข้อ ๑๑ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๘/๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายทราบก่อนดำเนินการเว้นแต่เป็นกรณีเร่งด่วน ให้ดำเนินการไปก่อนแล้วรายงานให้ทราบโดยเร็ว (๒) ในการจับนั้น จะต้องประกอบด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสองคน โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจหรือทหารตั้งแต่ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป เป็นหัวหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละครั้ง

  16. (๓) แสดงเอกสารมอบหมายและบัตรประจำตัวต่อผู้จะถูกจับ (๔) แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ และแจ้งด้วยว่า (ก) ผู้ถูกจับมีสิทธิจะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ (ข) ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และ (ค) ผู้ถูกจับมีสิทธิจะพบทนายและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ

  17. (๕) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องอนุญาตให้ผู้ถูกจับแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม หากผู้ถูกจับประสงค์เช่นนั้น เว้นแต่ (ก) ไม่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวก (ข) เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือ (ค) ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด

  18. (๖) บันทึกถ้อยคำผู้ถูกจับเพื่อเป็นหลักฐานเบื้องต้นแล้วส่งตัวผู้ถูกจับพร้อมสำเนาบันทึกถ้อยคำไปยังพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ หรือในกรณีที่สามารถส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้นก็ให้นำตัวไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทั้งนี้ การส่งตัวผู้ถูกจับไปยังพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง (๗) จัดทำรายงานการจับตามแบบที่เลขาธิการกำหนด แล้วส่งรายงานดังกล่าวพร้อมสำเนาบันทึกถ้อยคำผู้ถูกจับให้เลขาธิการทราบภายในสามวันทำการนับแต่วันที่จับ

  19. ข้อ ๑๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๖ เมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้กระทำการได้แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) แจ้งให้เลขาธิการหรือรองเลขาธิการซึ่งเลขาธิการมอบหมายทราบก่อนดำเนินการ เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน ให้ดำเนินการไปก่อนแล้วรายงานให้ทราบโดยเร็ว (๒) จัดทำหนังสือโดยระบุชื่อ ตำแหน่ง สังกัด และคำสั่งอนุญาตของศาลเพื่อแสดงต่อบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับบัญชี ข้อมูลทางการสื่อสาร หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์เมื่อผู้นั้นร้องขอ

  20. (๓) จัดทำหนังสือโดยระบุรายละเอียดเท่าที่มีเกี่ยวกับบัญชีของลูกค้าสถาบันการเงิน ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสารหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่ต้องการเข้าถึง เพื่อแสดงต่อบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องเมื่อมีการร้องขอ (๔) จัดทำรายงานตามแบบที่เลขาธิการกำหนด แล้วส่งรายงานดังกล่าวให้เลขาธิการทราบภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ รายงานตาม (๔) ให้เลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บรักษาและใช้ประโยชน์

  21. หมวด ๓ การกำกับดูแล ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการหรือผู้ที่เลขาธิการมอบหมายเป็นผู้กำกับดูแลและติดตามประเมินผลการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบนี้ และให้เลขาธิการมีอำนาจออกประกาศคำสั่งหรือแนวทางเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เลขาธิการอาจจัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่อาจจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่เลขาธิการกำหนดก็ได้

  22. ข้อ ๑๔ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยอันเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้นั้นรายงานข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีให้เลขาธิการทราบโดยเร็ว เมื่อเลขาธิการได้รับรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาดำเนินการตามระเบียบของทางราชการ ถ้าไม่มีระเบียบดังกล่าวให้พิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี แล้วรายงานให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทราบ

  23. ข้อ ๑๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบนี้ บทเฉพาะกาล

  24. อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๒ อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแจ้งสถาบันการเงินเกี่ยวกับการเก็บรักษาเอกสารข้อมูลธุรกรรม อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  25. มาตรา ๓๘ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการมีอำนาจดังต่อไปนี้ • (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกเอกสารจากหน่วยงานอื่นๆเพื่อมาตรวจสอบ • (๒) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆมาเพื่อให้ถ้อยคำ • (๓) เข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใดๆที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการซุกซ่อนพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพื่อตรวจค้นหรือเพื่อประโยชน์ในการติดตามตรวจสอบ • ในการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๓) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งแสดงเอกสารมอบหมายและบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  26. มาตรา ๓๘/๑ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เลขาธิการ รองเลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเลขาธิการมีอำนาจจับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินและบันทึกถ้อยคำผู้ถูกจับเพื่อเป็นหลักฐานเบื้องต้นแล้วส่งตัวไปยังพนักงานสอบสวนโดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมง อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  27. มาตรา ๔๖ ในกรณีที่มีพยานหลักฐานตามสมควรว่าบัญชีลูกค้าของสถาบันการเงินเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสาร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเลขาธิการมอบหมายเป็นหนังสือจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลแพ่ง เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงบัญชีข้อมูลทางการสื่อสาร หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นก็ได้ อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  28. ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ศาลจะสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ยื่นคำขอดำเนินการโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้ให้อนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวัน เมื่อศาลได้สั่งอนุญาตตามความในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ผู้เกี่ยวข้องกับบัญชีข้อมูลทางการสื่อสาร หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามคำสั่งดังกล่าวจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  29. มาตรา ๔๖/๑ ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อสำนักงานร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษใช้อำนาจสืบสวน สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงาน อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  30. เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยการเสนอแนะของเลขาธิการอาจมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานผู้หนึ่งผู้ใดเป็นพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการสืบสวน การสอบสวน และการรวบรวมพยานหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษในส่วนที่เกี่ยวที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษและเลขาธิการ ร่วมกันกำหนด อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  31. มาตรา ๕๖ เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมหรือเลขาธิการ แล้วแต่กรณี ได้มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินใดตามมาตรา ๔๘แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามคำสั่ง แล้วรายงานให้ทราบพร้อมทั้งประเมินราคาทรัพย์สินนั้นโดยเร็ว

  32. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนำทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินส่งให้กระทรวงการคลัง พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ ของระเบียบกำหนดว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกองบริหารจัดการทรัพย์สินในการเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง” อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  33. แบบฟอร์มการยื่นคำขอแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง.และแบบฟอร์มการยื่นคำขอมีบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง.

  34. กรณียื่นคำขอแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบ ขต. ๑ (ขอแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง.ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒) อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  35. ข.ต. ๑ ขอแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง.ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ เขียนที่............................................................................ วันที่ ............................................................................... ๑. ชื่อ....................................................ชื่อรอง......................................ชื่อสกุล................................................... ๒. เกิดวันที่..................เดือน..........................พ.ศ. ............................จังหวัดที่เกิด.............................................. ๓. นับถือศาสนา................................................................................................................................................... ๔. ความรู้ภาษาต่างประเทศ/มากน้อยเพียงใด....................................................................................................... ๕. ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เลขที่...............หมู่ที่/หมู่บ้าน...............................ตรอก/ซอย....................................... ถนน........................................ตำบล/แขวง................................................อำเภอ/เขต..................................... จังหวัด.....................................รหัสไปรษณีย์.............................................โทรศัพท์....................................... ๖. การศึกษา ระดับประถมศึกษา/สถานศึกษา....................................................................................................................... ระดับมัธยมศึกษา/สถานศึกษา......................................................................................................................... วุฒิการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรี/สถานศึกษา............................................................................ วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท/สถานศึกษา..................................................................................................... อื่นๆ................................................................................................................................................................

  36. ๗. ประวัติการทำงาน (สำหรับข้าราชการ/เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ) รับราชการครั้งแรกตำแหน่ง........................................................หน่วยงาน..................................................... ..................................................................เข้ารับราชการเมื่อวันที่...........เดือน............................พ.ศ. ............ ปัจจุบันรับราชการในตำแหน่ง...................................................กอง/เทียบเท่ากอง.......................................... .................................................กองบัญชาการ/สำนัก........................................................................................ กรม.............................................................สถานที่ทำงานที่ติดต่อได้ทางไปรษณีย์.......................................... ...............................................................................................รหัสไปรษณีย์.......................โทรศัพท์................ ๘. ประวัติการทำงาน (สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ข้าราชการ) เคยทำงานในตำแหน่ง..........................................................สังกัด (ฝ่าย/ส่วน)................................................. ชื่อหน่วยงาน..................................................................................................................................................... ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง...................................................สังกัด (ฝ่าย/ส่วน)................................................. ชื่อหน่วยงาน.......................................................................................สถานที่ทำงานที่ติดต่อได้ทางไปรษณีย์ ......................................................................................................................................................................... รหัสไปรษณีย์..............โทรศัพท์..................................................................................................................... ๙. สถานที่ติดต่อข้าพเจ้าได้สะดวก ( ) ที่ทำงาน ( ) ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ( ) อื่นๆ ระบุ................................. ........................................................................................................................................................................... (ลงชื่อ)……….…………………….ผู้ขอรับการแต่งตั้ง

  37. คำรับรองของผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยงานคำรับรองของผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยงาน วันที่..............เดือน............................พ.ศ. ........... ข้าพเจ้า.................................................... . . . . . . . . . . ........ตำแหน่ง..................................................... ขอรับรองว่า................................................................ซึ่งขอรับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้น เป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของข้าพเจ้า ผู้ขอรับการแต่งตั้งผู้นี้ เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้ สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๓ (ลงชื่อ)...........................................................ผู้รับรอง หมายเหตุ ผู้รับรองจะต้องเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้ขอรับการแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยงานตั้งแต่ ผู้อำนวยการกอง ผู้บังคับการตำรวจ ผู้บังคับการกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป

  38. กรณียื่นคำขอมีบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ครั้งแรกกรณียื่นคำขอมีบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ครั้งแรก แบบ บพ. ๑ (คำขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒) อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  39. คำขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่คำขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ติดรูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว (ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน) (กรุณาติดกาว/อย่าใช้ลวดเย็บกระดาษ) เขียนที่ วันที่ เรื่อง ขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ เรียน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. แบบฟอร์มข้อมูลบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จำนวน ๑ ชุด ๒. สำเนาบัตรเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน ๑ ชุด ๓. ภาพถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ ภาพ (ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน) ๔. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ชุด ๕. สำเนาวุฒิบัตรการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ จำนวน ๑ ชุด ๖.

  40. ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว/ยศ เลขประจำตัวประชาชนเลขที่ตำแหน่ง สังกัด แผนก/งานฝ่าย/ส่วนกอง/สำนัก กรมกระทรวงปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ อาคารเลขที่หมู่ที่ตรอก/ซอยถนน แขวง/ตำบลเขต/อำเภอจังหวัดรหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์โทรสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ / และผ่านการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักสูตรที่ เลขาธิการกำหนดแล้วตามข้อ ๘ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ ๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๓ มีความประสงค์ขอมีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยได้แนบเอกสารประกอบคำขอ รวมรายการปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ  ลงชื่อ (กรุณาลงลายมือชื่อบริเวณกึ่งกลางช่องว่างด้วยหมึกสีดำ)

  41. คำรับรองผู้บังคับบัญชาคำรับรองผู้บังคับบัญชา ขอรับรองว่า . เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อ ๔ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ข้อ ๕ ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๓ และขอรับรองว่าข้อความข้างต้นในคำขอเป็นความจริงทุกประการ ลงชื่อ () ตำแหน่ง วันที่ หมายเหตุ:-ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคุณสมบัติ การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๔๓ ข้อ ๔ ผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง กฎหมาย หรือสาขาใดสาขาหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ ๓ หรือเทียบเท่า หรือเป็นข้าราชการตำรวจหรือทหารตั้งแต่ชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป หรือ (๒) เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ตั้งแต่ระดับ 4 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ (๓) เป็นผู้ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ข้อ ๕ ผู้ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๔ ต้องไม่เคยมีมลทินมัวหมองหรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น การทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

  42. การพิจารณาของสำนักงาน ปปง. ความเห็นของเจ้าหน้าที่ ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ลงชื่อ.......................................... ( ) ตำแหน่ง วันที่........................................ คำสั่งเลขาธิการ ปปง. ออกบัตรประจำตัวให้ตามคำขอ วันออกบัตร _ วันบัตรหมดอายุ ยกคำขอ ลงชื่อ.......................................... ( ) วันที่........................................

  43. คำสั่งนายกรัฐมนตรี ๑๓ ครั้ง ผู้ได้รับการแต่งตั้งทั้งหมด ๕,๓๕๖ คน พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เป็นข้าราชการของหน่วยงานอื่นๆ ๕,๐๗๒ คน พนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง. ๒๘๔ คน พนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง.ที่ยังปฏิบัติราชการอยู่ที่สำนักงานฯ ๑๗๐ คน ข้อมูลการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านมา

  44. ปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินการตามกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านมา  ความไม่ชัดเจนของบทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่  ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่  หลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่  คู่มือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่  การสร้างเครือข่ายระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่  การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่โดยพิจารณาจากความผิดมูลฐาน

  45. ปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินการตามกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผ่านมา  แนวทางการช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่  ปัญหาเรื่องอายุบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่  ปัญหาความรู้ของพนักงานเจ้าหน้าที่กรณีมีการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ปัญหาแนวทางในการออกบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ การจัดทำทำเนียบรุ่นของพนักงานเจ้าหน้าที่  จัดการอบรมหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สร้างความเชี่ยวชาญ ชำนาญเฉพาะด้าน

  46. จบการนำเสนอ

  47. ถาม-ตอบ

More Related