1 / 57

คุณธรรมและการกำกับคุณธรรม ของผู้บริหาร

คุณธรรมและการกำกับคุณธรรม ของผู้บริหาร. โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หลักสูตรสำหรับผู้บริหารการศึกษา วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554 เวลา 13.00-16.00น. ณ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. 1. คุณธรรมคือองค์ประกอบสำคัญของการบริหาร.

Download Presentation

คุณธรรมและการกำกับคุณธรรม ของผู้บริหาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คุณธรรมและการกำกับคุณธรรมของผู้บริหารคุณธรรมและการกำกับคุณธรรมของผู้บริหาร โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม หลักสูตรสำหรับผู้บริหารการศึกษา วันอังคารที่ 9 สิงหาคม 2554 เวลา 13.00-16.00น. ณ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา

  2. 1. คุณธรรมคือองค์ประกอบสำคัญของการบริหาร ธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เป็นหลักการขั้นพื้นฐานของการบริหารและเป็นที่ยอมรับทั่วโลกรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หลักการของธรรมาภิบาล ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2)หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า - คุณธรรมเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของหลัก ธรรมาภิบาลในการบริหารงาน

  3. วิธีการสร้างคนดีคนเก่งในวงราชการโดยการวางระบบ ๑.ระบบตรวจสอบและพิพากษา:สตง./ป.ป.ช./ DSI /ศาลปกครอง/ก.พ.ค. /ป.ป.ท. ๒. ออกกฎหมาย :พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน, พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน,พ.ร.บ. ข้าราชการครูและบุคลากรฯฯลฯ ๓.วางระบบคุณธรรมในระบบราชการ: ม.๔๒ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๕๕๑ และมีกรรมการ ก.พ.ค., ระบบประมวลจริยธรรมโดยมีคณะกรรมการจริยธรรม ๔.วางระบบบริหารราชการโดย ก.พ.ร.:มีตัวชี้วัดผลงาน/PMQA ๕.วางระบบบริหารข้าราชการ(บริหารงานบุคคล)โดยก.พ.,ก.ค.ศ. : เกณฑ์พิจารณาความดีความชอบ, การเข้าสู่ตำแหน่ง,การดำเนินการทางวินัย

  4. กลไกที่ใช้กำกับตรวจสอบจริยธรรมของข้าราชการกลไกที่ใช้กำกับตรวจสอบจริยธรรมของข้าราชการ • หลักคุณธรรม เป็นกลไกสำคัญของการสร้างจิตสำนึกในองค์กรทุกระดับ โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการของรัฐ และนักการเมือง เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี • วิธีการที่สำคัญของการส่งเสริมคุณธรรม คือการนำหลักคุณธรรมไปจัดทำเป็นประมวลจริยธรรม(Codes of Conduct) ให้เหมาะสมกับลักษณะและเอกลักษณ์ทางวิชาชีพของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐแต่ละประเภท

  5. การจัดทำประมวลจริยธรรมการจัดทำประมวลจริยธรรม • ในส่วนประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องประมวลจริยธรรมโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้มีการจัดทำประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ • เพื่อกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท • ซึ่งเหน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการให้การขับเคลื่อนการนำประมวลจริยธรรมไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  6. ค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม กำหนดโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน • 1. การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม • 2. การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริตและรับผิดชอบ • 3. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน • 4. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย • 5. การให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ • 6. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง • 7. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ • 8. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • 9. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

  7. ปัญหาธรรมาภิบาลในภาพรวมของไทยทั้งภาครัฐและเอกชนปัญหาธรรมาภิบาลในภาพรวมของไทยทั้งภาครัฐและเอกชน • 1. การบริหารแบบไทยๆที่อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว สายสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ ความกตัญญูตอบแทนกัน ซึ่งสายสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์มักจะบดบังระบบการบริหารจัดการที่ดี • 2. ยังขาดการบูรณาการเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนจริยธรรมในส่วนของสังคมไทยในวงกว้าง ซึ่งสังคมไทยกำลังเผชิญกับความเจริญทางวัตถุและกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะขาดการตรวจสอบจากภาคประชาชน

  8. ปัญหาธรรมาภิบาลในภาพรวมของไทยปัญหาธรรมาภิบาลในภาพรวมของไทย • 3. ผู้นำทำผิดเองโดยเฉพาะนักการเมือง และ ผู้บริหารระดับสูง • 4. ความล้มเหลวของการบริหารจัดการที่ดี มักถูกมองไปที่คอร์รัปชั่นซึ่งเป็นความผิดขั้นรุนแรงแล้ว ทั้งที่ยังมีความล้มเหลวอื่นอีก เช่นการไม่รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ ขาดความสามัคคี การเบียดบังเวลาราชการเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งต้องได้รับการแก้ไข ก่อนการกระทำผิดจะลุกลามเพิ่มระดับความรุนแรงถึงขั้นทุจริตคอร์รัปชั่น • 5. การเกิดข้อโต้แย้งหรือต้องตีความในความไม่ชัดเจนของประมวลจริยธรรมของแต่ละหน่วยงาน • 6. ขาดการส่งเสริมผลักดันให้เจ้าหน้าที่เกิดจิตสำนึกและยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง และขาดมาตรการบังคับในกรณีมีการฝ่าฝืนจริยธรรม ซึ่งควรมีข้อกำหนดโทษทางวินัย

  9. ผู้บริหารคุณธรรม • 1. ควบคุมดูแลจริยธรรมของลูกน้อง ต้องหาวิธีในการกำกับดูแล อย่าละเลยหน้าที่ ต้องมีความเด็ดขาดในการลงโทษผู้กระทำผิด • 2. สร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เป็นบรรยากาศแห่งความซื่อตรง • 3 ต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา • 4 พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้รู้ด้านวินัยและคุณธรรมตั้งแต่เริ่มต้นเข้ามาทำงาน

  10. ผู้บริหารคุณธรรม • 5. สื่อสารให้ทุกคนรู้ในสารเดียวกันในองค์กร • 6 จัดการประโยชน์ทับซ้อน • 7 ต้องแก้ปัญหาในระยะยาวอย่างยั่งยืน ใน 3 เรื่องหลัก 1) การจัดซื้อจัดจ้างในราคากลาง เป็นการป้องกันการทุจริตจากระบบอุปถัมภ์ 2) รณรงค์สร้างค่านิยมซื่อสัตย์สุจริต มีการ บูรณาการแผน งบประมาณ และทรัพยากรบุคคล 3)การแต่งตั้งบุคลากรที่โปร่งใส และเป็นธรรม เพื่อป้องกันการซื้อขายตำแหน่ง • 8 ตั้งใจทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ

  11. องค์กรคุณธรรม • 1. ต้องสร้างกระบวนการขับเคลื่อนองค์กร 9 วิธีการ 1) สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อตรง 2) มีการตรวจสอบพฤติกรรมการทุจริตกันเองในองค์กร 3) ทำความเข้าใจให้ตรงกันในหน่วยงานว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดไม่ถูกต้อง 4) ให้อภัยและให้โอกาสผู้ที่เคยทำผิดแต่สามารถกลับตัวได้ 5) คนทำดีต้องได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณ 6) ให้ทุกคนมองถึงความสำเร็จขององค์กร 7) เน้นความเสมอภาคและความเป็นธรรมกับคนในองค์กร ไม่มีการเล่นพรรคเล่นพวก 8) สร้างธรรมาภิบาลให้เกิดในองค์กร 9) มีความโปร่งใสในการทำงาน สามารถให้ประชาชนตรวจสอบได้

  12. องค์กรคุณธรรม • 2. ต้องขจัดอุปสรรคในการพัฒนาจริยธรรมในองค์กร ซึ่งมาจาก • 1) คนในองค์กรมีความรู้น้อย • 2) การเอาอย่างสังคมที่คดโกง โดยยึดว่า “ใครๆ เขาก็ทำกัน” • 3) ความกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนหากนำเรื่องความไม่ซื่อตรงของผู้อื่นไปแจ้งแก่ผู้บังคับบัญชา และ • 4) ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่รู้ว่าสิ่งที่กระทำเป็นการไม่ซื่อตรง เพราะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย

  13. องค์กรคุณธรรม • 5.3 ต้องสร้างเสริมให้เกิดปัจจัยในทางเชิงสร้างสรรค์ภายในองค์กร ให้เกิด • 1)ความเชื่อ ความศรัทธาในหลักศาสนาและปรัชญาของแต่ละบุคคล • 2) การถูกปลูกฝัง การบ่มเพาะจากครอบครัวและหน่วยงาน • 3) ความต้องการที่จะได้รับสิ่งตอบแทนเมื่อมีการกระทำดี ซึ่งทุกคนคาดหวังว่าทำดี ต้องได้ดี • 4) ความเกรงกลัวการถูกลงโทษเมื่อทำชั่ว (หิริโอตตัปปะ คือความละอายที่จะทำชั่วและเกรงกลัวต่อบาปจากการทำชั่ว) • 5)บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในสังคมที่อยู่ • 6) กำลังใจหรือแรงจูงใจจากตนเองและบุคคลรอบข้าง และ • 7) มีบุคคลต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำความดี และ ภาวะผู้นำที่ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

  14. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรจริยธรรมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรจริยธรรม 1. สร้างวัฒนธรรมองค์กร– มีจิตวิญญาณ -ผูกพันต่อคุณภาพ - มีสำนึกต่อลูกค้าและสังคม 2)บำรุงปรุงแต่งองค์กรแบบสิ่งมีชีวิต – เน้นการมีส่วนร่วม - ทำงานเป็นทีม – สนใจความต้องการของบุคลากร 3)ผลักดันองค์กรให้เกิดวินัย- มีวินัยตนเอง กระตือรือร้น - รับฟังผู้อื่น - สร้างฝันร่วมกัน - เรียนรู้ร่วมกัน – คิดเป็นระบบภาพรวม 4)ขับเคลื่อนองค์กรให้เรียนรู้ต่อเนื่อง- เรียนรู้โดยการปฏิบัติ - มีมาตรฐานเปรียบเทียบ - ยินดีให้ผู้อื่นฝึกสอน - ฝึกเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้อื่น -มีแฟ้มงานเพื่อพัฒนา 5

  15. ดัชนีวัดคุณธรรมจริยธรรมขององค์กร (11ตัว) 1.ส่งเสริมให้ผู้ทำงานมีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน :ความรับผิดชอบ + ทำงานร่วมกับผู้อื่น 2.จัดกิจกรรมครอบคลุมทั้งการคิด+ พฤติกรรมที่ทำ+ เกิดความรู้สึก 3.ใช้วิธีส่งเสริมแบบบูรณาการให้เกิดความคิดในเชิงบวก 4. สร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น 5. สร้างโอกาสการเรียนรู้เชิงคุณธรรมให้แก่บุคลากร 6

  16. ดัชนีวัดจริยธรรมเชิงสร้างสรรค์ 44 6.สอดแทรกคุณธรรมทุกโอกาสและ ให้เกียรติผู้ร่วมงาน 7.กระตุ้นให้ผู้ทำงานเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 8.กระตุ้นหัวหน้าทุกระดับเป็นแบบอย่างที่ดีของทีมงาน 9.สร้างกิจกรรมพัฒนาบุคลากรในการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม 10.ขอความร่วมมือประชาชนและชุมชน สนับสนุนการทำดีของบุคลากร 11.การประเมินความสำเร็จขององค์กรให้ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรนั้น

  17. ปรัชญาของธรรมะ ผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้นที่จะเห็นธรรม รู้ว่าจะไปฝึกธรรมเรื่องใดได้จาก ที่ไหนและอย่างไร ผู้เรียนรู้ธรรมด้วย ตนเองที่เก่งที่สุด ผู้บริหารที่เก่งที่สุด ผู้บริหารที่สามารถบอกได้ครบว่า 1. บุคลากรของท่านมีปัญหาอะไร ทั้งด้านการทำงานและพฤติกรรม 2. รู้ว่าควรใช้วิธีอะไรแก้ปัญหา 3. วิธีที่ใช้ได้ผลอย่างไร 4. ปีหน้าจะทำอย่างไร 2

  18. ปัญหาหลักของหน่วยงานที่วางแผนขับเคลื่อนประมวลจริยธรรมแล้วแผนนิ่งปัญหาหลักของหน่วยงานที่วางแผนขับเคลื่อนประมวลจริยธรรมแล้วแผนนิ่ง 8 1. ยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจน แปลความได้หลายอย่างไม่ตรงกัน 2. กำหนดยุทธศาสตร์แล้วนำสู่การปฏิบัติไม่ได้ 3. ขาดการทำงานแบบร่วมบูรณาการทั้งองค์กร

  19. การสร้างภาวะผู้นำที่มีคุณภาพและคุณธรรม :4หมวด 25 ข้อแนะนำของJack Welch ก.นำมากกว่าจัดการ: 1.แนะนำมากขึ้น 2.จัดการลดลง 3.วิสัยทัศน์ยาวไกล4.ทำให้เป็นเรื่องง่าย 5.ลดพิธีที่เป็นทางการ 6.ให้กำลังใจผู้อื่น 7.ยอมรับความจริง 8.มองการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส 9. เก็บเกี่ยวข้อเสนอดีๆจากทุกคน10.ติดตามผล ข.สร้างองค์กรที่ทุกคนชนะ: 11.ลดศักดินา 12. ขจัดสิ่งที่ขวางหน้า 13.คุณค่าต้องมาก่อน 14.เป็นผู้นำที่พร้อมพัฒนาตนเอง 15. สร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ ค. ครองใจผู้คน : 16.ให้ทุกคนมีส่วนร่วม 17.ให้โอกาสทุกคนในทีมได้ทำ 18.ยืดหยุ่น, 19.มีความมั่นใจตนเอง 20. มีอารมณ์ขัน ง. สร้างหน่วยงานให้เป็นผู้นำในวงการ: 21. องค์กรเป็นผู้นำหมายเลข1 หรือ 2 ของวงการ 22.อยู่ด้วยคุณภาพ 23.เน้นสร้างนวัตกรรมใหม่ 24.ปรับตัวไปกับความรวดเร็ว 25.ทำตัวเรียบง่ายเหมือนอยู่องค์กรเล็กที่อ่อนน้อมรู้จักตน 23

  20. ลักษณะตัวอย่างอุทธรณ์ที่ ก.พ.ค.วินิจฉัยแล้ว 1. เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังขึ้นและให้ยกเลิกคำสั่ง 2. อุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้ลดโทษ 3.เรื่องอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ 4. เรื่องอุทธรณ์ที่สั่งให้ยกเลิกคำสั่งทั้งหมด เพื่อไปแก้ไข โดยไม่วินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ 5. อุทธรณ์ที่สั่งให้แก้ไขคำสั่งบางส่วน เพื่อไปดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง 6. อุทธรณ์ที่ ป.ป.ช.ชี้มูล ก.พ.ค.ลดโทษได้ แต่สั่งเปลี่ยนฐานความผิดไม่ได้ 10

  21. 1. อุทธรณ์ที่ฟังขึ้นและให้ยกเลิกคำสั่ง กรณีที่ ๑.ข้าราชการ ๓ รายได้รับการล้างมลทินแล้ว แต่กรมลงโทษตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูลในฐานความผิดเดิมอีก ถูกกรมสั่งลงโทษไล่ออก ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ จึงถือว่าได้ถูกลงโทษวินัยตาม ม. ๓ แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ พ.ศ. ๒๕๕๐และลงโทษก่อน ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ต่อมากรมสั่งไล่ออกตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูล โดยสั่งหลังได้รับการล้างมลทินแล้ว ก.พ.ค.จึงวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่ง 12

  22. 1.อุทธรณ์ที่ฟังขึ้นและให้ยกเลิกคำสั่ง1.อุทธรณ์ที่ฟังขึ้นและให้ยกเลิกคำสั่ง กรณีที่ ๒. ความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ไม่มีการสอบสวน และคดียังไม่ถึงที่สุด ไปออกคำสั่งไล่ออกไม่ได้ ปลัดอำเภอทำบัตรประชาชนปลอมและเรียกรับเงิน ศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ผิดอาญา ม. ๒๖๕, ๘๓ และ ๙๑ ให้จำคุก ๖ ปีแต่กรณีนี้ยังฎีกาอยู่ ไปสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวน หากทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกโดยมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ถือว่าเป็นความผิดชัดแจ้งตามกฎ ก.พ.ฉบับที่ ๑๓ (๒๕๓๙) จึงดำเนินการทางวินัยโดยไม่สอบสวนหรืองดการสอบสวนได้ จึงเป็นการลงโทษที่ไม่ชอบ 13

  23. กรณีที่ 3. อุทธรณ์ฟังขึ้นยกเลิกภาคทัณฑ์ แต่ยกคำร้องอื่น • ผอ.สำนักรายหนึ่ง อุทธรณ์ 4 ข้อ • คำสั่งภาคทัณฑ์ ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะฯ และฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ฯ ตาม ม. 84 วรรคหนึ่ง และ ม. 85 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ พลเรือน 2535 • ขอให้ประกาศคำวินิจฉัยในเว็บไซต์กรม 4 เดือน • ขอคืนเงินค่าถ่ายเอกสาร • ขอคืนตำแหน่งบริหารเนื่องจากถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งนักวิชาการหลังถูกสอบสวนอย่างร้ายแรง 14

  24. กรณีที่ 3.อุทธรณ์ฟังขึ้นยกเลิกภาคทัณฑ์ แต่ยกคำร้องอื่น (ต่อ) ประเด็นแรก การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่าอธิบดีได้มอบให้รองอธิบดีในขณะนั้นตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เมื่อมีมูลได้แต่งตั้งคณะก.สอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แต่ในระหว่างสอบสวนปรากฏว่ามีกรณีอื่นที่ควรกล่าวหาวินัยอย่างร้ายแรง จึงได้แต่งตั้งคณะก.สอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง กรณีจึงเป็นการดำเนินการตามลำดับขั้นตอน การแต่งตั้งคณะก.สอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง จึงชอบด้วยกฎหมาย 15

  25. กรณีที่ 3. อุทธรณ์ฟังขึ้นยกเลิกภาคทัณฑ์ แต่ยกคำร้องอื่น (ต่อ) ประเด็นที่สอง การดำเนินการของ อ.ก.พ. กรมที่พิจารณาเรื่องของผู้อุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ เห็นว่า อธิบดีมีอำนาจพิจารณาสั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องนำเสนอเรื่องเข้า อ.ก.พ. กรม การนำเสนอ อ.ก.พ. กรม เป็นเพียงกระบวนการขั้นตอนภายในของอธิบดี เพื่อให้เกิดความแน่ใจ เมื่อเป็นขั้นตอนภายในจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงการเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ของรองอธิบดีที่เป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแต่อย่างใด 16

  26. กรณีที่ 3. อุทธรณ์ฟังขึ้นยกเลิกภาคทัณฑ์ แต่ยกคำร้องอื่น(ต่อ) • ประเด็นที่สาม ผู้อุทธรณ์กระทำผิดตามที่ถูกลงโทษหรือไม่ • เห็นว่า ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่กำกับให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อพบว่าดำเนินการไม่ถูกต้อง กลับถูกสอบสวน โดยไม่ได้รับการแก้ไข อีกทั้งแบบฟอร์มมีมาก่อนที่ผู้อุทธรณ์ จะปฏิบัติหน้าที่ กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้อุทธรณ์ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ และไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามระเบียบ อุทธรณ์ฟังขึ้น • ที่ขอให้เยียวยา 3 เรื่องเห็นว่า ไม่อยู่ในอำนาจของ ก.พ.ค. จึงยกคำขอ • 1) เรื่องที่ถูกสั่งย้ายไปตำแน่งวิชาการ อธิบดีสั่งย้าย ซึ่งได้ร้องทุกข์ต่อปลัดกระทรวงซึ่งให้ยกคำร้องทุกข์ และผู้อุทธรณ์ได้ฟ้องศาลปกครองชั้นต้นแล้ว • 2) การขอให้อธิบดีลงคำวินิจฉัยใน Website ของกรม • 3) ขอคืนค่าถ่ายเอกสาร ๔๖๖ บาท ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้อุทธรณ์ 17

  27. กรณีที่ ๔ สั่งลงโทษโดยผู้ไม่มีอำนาจ (ต่อ) - นายช่างโยธาชำนาญงานกรมหนึ่ง ได้อุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค.กรณีถูกคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ฐานไม่รักษาชื่อเสียงของทางราชการและทำให้สังคมรังเกียจ ตามมาตรา 98 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 - เห็นว่า เรื่องนี้ดำเนินการทางวินัยก่อน พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ใช้บังคับ แต่เมื่อกฎหมายใช้บังคับแล้ว การดำเนินการทางวินัยจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ส่วนการลงโทษต้องเป็นไปตามกฎหมายทั้งสองฉบับ ประกอบกัน 18

  28. กรณีที่ ๔ สั่งลงโทษโดยผู้ไม่มีอำนาจ (ต่อ) ข้อเท็จจริง ก.สอบสวน ส่งคำแก้ข้อกล่าวหาของผู้อุทธรณ์ให้ผู้ร้องทราบและทำคำคัดค้านคำแก้ข้อกล่าวหาของผู้อุทธรณ์ โดยผู้อุทธรณ์ไม่ทราบและไม่ได้โต้แย้ง จึงเป็นการดำเนินการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ยังพบว่าคำสั่งลงโทษโดย ผอ.สำนัก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นผู้ไม่มีอำนาจสั่งลงโทษได้ เนื่องจากไม่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้งตาม ม. 57 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ.ค.จึงวินิจฉัยให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ และให้อธิบดีดำเนินการสอบสวนใหม่ โดยให้โอกาสได้โต้แย้งในกระบวนการสอบสวนให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปด้วย 19

  29. 2. ตัวอย่างอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้ลดโทษ 20 กรณีที่ ๕ จากลงโทษไล่ออกเป็นปลดออก ฐานละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน ๑๕ วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร แต่กลับมาปฏิบัติงาน กรณี ขาดงานเพราะหนีเจ้าหนี้ส่งคนตามทวง ขาดไปเกิน ๑๕ วัน แต่กลับมาปฏิบัติราชการ ในการลาพักผ่อนนั้น ผู้อุทธรณ์ยื่นใบลา ๒๘ มกราคม แล้วหยุดไปก่อนได้รับอนุญาต ส่วนผู้บังคับบัญชาสั่งไม่อนุญาต เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ซึ่งช้าไป ๓ เดือน ก.พ.ค. วินิจฉัยให้ลดโทษจากไล่ออกเป็นปลดออก

  30. ๒. ตัวอย่างอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้ลดโทษกรณีที่ ๖ ลดโทษไล่ออกเป็นปลดออก ฐานละทิ้งหน้าที่เกิน ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร แต่กลับมาอีกกรณี นายช่างรังวัด ทำงานสนามไม่ลงชื่อ นายช่างรังวัดอ้างไม่ขาดงาน แต่ที่ไม่ลงชื่อ เพราะเป็นจนท.ภาคสนาม จึงไม่ต้องลงชื่อตามแนวปฏิบัติของกรม นอกจากนี้ผู้อุทธรณ์ถูกกลุ่มทุจริตภายในกรมร่วมจัดฉากให้ตนถูกไล่ออก ไม่เป็นก้างขวางคอ วินิจฉัยให้ลดโทษ ขาดไป 70 วันจริง แต่กลับมาอีก โดยได้ไปรายงานตัวที่กรมที่ดินเมื่อ 15 ต.ค. 2550 ข้อเท็จจริง ศูนย์อำนวยการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินจังหวัด ได้ขอให้จังหวัดพิจารณาส่งตัวผู้อุทธรณ์กลับกรมที่ดินตามหนังสือ ที่ ลงวันที่ 29 มิ.ย. 2550 แต่จังหวัดกลับปล่อยให้ล่วงเลยไปและส่งตัวผู้อุทธรณ์กลับเมื่อ 6 ก.ย. 2550 21

  31. ๒. ตัวอย่างอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้ลดโทษกรณีที่ ๗ จัดคอนเสิร์ตเข้าสวัสดิการ แต่ซิกแซกใบเสร็จรายงานเท็จ ลดจากไล่ออกเหลือปลดออก (ต่อ) ประเด็นที่ 1 การจัดคอนเสิร์ตหารายได้ เป็นการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการหรือไม่ และ ถือเป็นการปฏิบัติราชการที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาหรือไม่ การจัดดนตรีหารายได้ไม่เป็นการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการตามคำนิยามในข้อ 4 และไม่อยู่ในประเภทของกิจกรรมที่ส่วนราชการอาจจัดให้มีได้ ตามข้อ 10 ของระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติราชการตามข้อ 16 ของระเบียบสวัสดิการ หากจะมีการทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินงาน ก็มิอาจถือว่าเป็นความผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่กรณีนี้ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่รับผิดชอบการรับจ่ายเงิน จึงถือว่าเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาในการปฏิบัติราชการทั่วไป 22

  32. ๒. ตัวอย่างอุทธรณ์ที่วินิจฉัยให้ลดโทษกรณีที่ ๗ จัดคอนเสิร์ต แต่ซิกแซกใบเสร็จรายงานเท็จ จากไล่ออกเหลือปลดออก (ต่อ) ประเด็นที่ 2 ผู้อุทธรณ์ทุจริต นำเงินรายได้ไปใช้ประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ ใช้จ่ายไปจริง มิได้เบียดบังไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว แต่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ใบเสร็จลงนามเอง ประเด็นที่ 3 การลงโทษไล่ผู้อุทธรณ์ออกจากราชการ เหมาะสมกับความผิดหรือไม่ ผิดวินัยร้ายแรง ตาม ม. 90 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535คำอุทธรณ์ที่อ้างว่ามิได้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการจึงฟังขึ้น มีเหตุอันควรปราณี ก.พ.ค.จึงวินิจฉัยให้ลดโทษผู้อุทธรณ์จากไล่ออก เป็นปลดออกจากราชการ 23

  33. 3.อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ ๗ ไล่ออกเพราะละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกินกว่า ๑๕ วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และไม่กลับไปปฏิบัติราชการอีกเลย อุทธรณ์ว่า คำสั่งผวจ.จังหวัด ซึ่งสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้อุทธรณ์ไม่กลับไปทำงานเพราะไม่ได้รับเงินเดือน รวม ๗ เดือน จึงเข้าใจผิดว่าได้พ้นความเป็นข้าราชการแล้ว ก.พ.ค. วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น และให้ต้นสังกัดแก้ไขข้อความ เนื่องจากคำสั่งที่ไล่ออกเมื่อวันที่ ๘ พ.ค. ๒๕๕๑นั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ซึ่งจากหลักฐานพบว่าได้ละทิ้งไปตั้งแต่ ๑๐ มี.ค. ๒๕๕๑ แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามความในข้อ ๘๖ วรรคหนึ่ง ก(๑) และ(๕) ของ กฎ ก.พ.ค.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ 24

  34. 3.อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ ๘ ถูกลงโทษไล่ออกฐานทุจริตและปลดออกฐานละทิ้งหน้าที่เกินกว่า ๑๕ วัน ให้ลงโทษฐานความผิดที่สูงกว่า ปลัดอำเภอนายหนึ่ง ถูกลงโทษไล่ออก 2 กรณี 1) ฐานทุจริต จงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ โดยได้ปลอมเอกสารใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน และใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน 2) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ 25

  35. กรณีที่ ๘ ถูกลงโทษไล่ออกฐานทุจริตและปลดออกฐานละทิ้งหน้าที่เกินกว่า๑๕วัน ให้ลงโทษฐานความผิดที่สูงกว่า (ต่อ) พิเคราะห์ว่าผู้อุทธรณ์กระทำผิดจริงทั้งสองกรณี แม้กรณีขาดราชการเกินกว่า ๑๕ วัน ลดโทษเหลือปลดออกก็ตาม แต่กรณีไล่ออกทุจริตต่อหน้าที่ราชการระดับโทษซึ่งมีระดับโทษที่สูงกว่า จึงวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และให้ไล่ออก แต่คำสั่งลงโทษยังมีข้อบกพร่อง เช่น การปรับบทความผิดไม่ถูกต้อง ออกคำสั่งโดยขาดสาระสำคัญที่ควรระบุไว้ในคำสั่ง การอ้างกฎหมายไม่ถูกต้องสมบูรณ์ หรือการอ้างกฎหมายผิดมาตรา เป็นต้น จึงให้จังหวัดต้นสังกัดแก้ไขคำสั่งให้ถูกต้องต่อไป 26

  36. 3.อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ 27 กรณีที่ ๙. การลงโทษทางวินัยที่มีการสอบสวนควบคู่กันไปกับคดีอาญา ไม่ต้องรอผลคดีอาญา อุทธรณ์ว่าการพิจารณาโทษทางวินัย กรมใช้คำวินิจฉัยของศาลเป็นหลักในการสอบสวน เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด การลงโทษวินัย ก็ควรรอผลคดีอาญาให้ถึงที่สุดก่อน หนังสือ ก.พ. ว.๔ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๐๙ “การสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยไม่จำเป็นที่จะต้องรอฟังผลทางคดีอาญา” เพื่อเร่งรัดการสอบสวนโดยเร็ว วินิจฉัยว่า อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น เห็นควรยกอุทธรณ์

  37. 3.อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ 28 กรณีที่ ๑๐ การนำเงินที่ทุจริตไปแล้วมาคืน ไม่สามารถขอลดหย่อนโทษจากไล่ออก เป็น ปลดออก ก.ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบ ไม่นำส่งเงินค่า ธรรมเนียมใบอนุญาตฯอาวุธปืน และนำเงินไปจ่ายค่ารักษาบุตร ผิด ม.๘๕ วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๕๓๕ ต่อมา ก.สอบสวนวินัยพบว่าเป็นทุจริตตาม ม.๘๒ วรรคสาม จึงลงโทษไล่ออก อุทธรณ์ว่าลงโทษหนักไป มติ ครม. ๒๕๓๖ การนำเงินที่ทุจริตไปแล้วมาคืน ไม่เป็นเหตุลดหย่อนโทษลง วินิจฉัย ผิดจริง ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์

  38. 3.อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ ๑๑ ถูกให้ออกจากราชการ เพราะไปค้ำเงินกู้ ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย ถูกสั่งให้ออก ด้วยมีลักษณะต้องห้ามตาม ม.๓๖ ข (๖) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ พลเรือน ๒๕๕๑ เนื่องจากศาลล้มละลายกลางพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เพราะไปค้ำประกันเงินกู้ให้พี่เขย คำอุทธรณ์ขาดสาระสำคัญ ไม่ได้คัดค้านคำสั่งลงโทษ,ไม่สามารถไปแก้คำพิพากษา เพราะล้มละลายจริง วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ 29

  39. 3. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น กรณีที่ ๑๒ ยกอุทธรณ์ โทษไล่ออกตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูล เหมาะสมแล้ว - ปลัดและนายอำเภอ อุทธรณ์ กรณี ป.ป.ช. ชี้มูลวินัยร้ายแรง ว่าทุจริตต่อหน้าที่ ในการเพิ่มชื่อบุคคลสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านซึ่งพบภายหลังว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด รวมทั้งจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตาม ม. ๘๒ วรรคสาม, ม.๘๕ วรรคสอง, และ ม. ๙๘ วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ๒๕๓๕ โดยถูกไล่ออกจากราชการ ก.พ.ค.พิเคราะห์แล้ว ๑. การดำเนินการไต่สวนของ ป.ป.ช. เป็นไปโดยชอบ ๒. กระทำผิดตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูลจริง ๓. กรมต้นสังกัดสั่งลงโทษตามที่ ป.ป.ช. ชี้มูลเหมาะสมแก่กรณีความผิดแล้ว คำอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น - ก.พ.ค. จึงวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ 30

  40. 3. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้นกรณีที่ ๑๓ ปลดออกผู้อุทธรณ์สองรายร่วมกันประพฤติชั่วร้ายแรง ผู้อุทธรณ์ที่ 1 ในฐานะผอ.ส่วน และผู้อุทธรณ์ที่ 2 นักจัดการงานทั่วไปชำนาญ ถูกปลดออกจากราชการ เรียกรับเงิน 5 ล้านบาท เป็นผลประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบ แม้ว่า ผอ.มิได้ไปรับเงินแต่ให้สามีรับแทน อาศัยที่อยู่ในหน่วยงานกำกับสถาบันการเงิน ซึ่งทำให้ประชาชนหลงเชื่อ เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์การเป็นข้าราชการและทำให้ส่วนราชการเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง ผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานประพฤติชั่วร้ายแรงตาม ม. 98 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ พลเรือน 2535 31

  41. 3. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้นกรณีที่ ๑๓ ปลดออกผู้อุทธรณ์สองรายร่วมกันประพฤติชั่วร้ายแรง (ต่อ) ประเด็นแรก การกระทำของผู้อุทธรณ์ทั้งสอง เป็นความผิดจริงตามที่ถูกลงโทษหรือไม่ พิเคราะห์ มีการจ่าย5ล้านบาทแล้ว โดยสามีผู้อุทธรณ์ที่1 และผู้อุทธรณ์ที่ 2 เป็นผู้รับเงิน แต่ศาลอาญายกฟ้องเพราะขาดหลักฐานว่าฉ้อโกงหรือไม่ วินัยกับคดีอาญาเป็นการดำเนินการคนละส่วนกัน แยกพิจารณาได้ ผู้อุทธรณ์ทั้งสอง มีหน้าที่กำกับสถาบันการเงิน อ้างว่าขออนุมัติสินเชื่อให้ได้ และมีการเรียกรับเงินเป็นค่าตอบแทน จึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง 32

  42. 3. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้นกรณีที่ ๑๓ ปลดออกผู้อุทธรณ์สองรายร่วมกันประพฤติชั่วร้ายแรง (ต่อ) ประเด็นที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งลงโทษในเรื่องนี้รับฟังได้หรือไม่อย่างไร การกระทำของผู้อุทธรณ์ทั้งสอง ไม่รักษาชื่อเสียงของทางราชการและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อทางราชการ ผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น ยกอุทธรณ์ โดยมิต้องพิจารณาว่าผู้อุทธรณ์ทั้งสองมีความผิดฐานฉ้อโกงตามที่ศาลอาญาพิจารณาหรือไม่ 33

  43. ๓. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ ๑๔. คดีถึงที่สุด ศาลฎีกาสั่งจำคุก สั่งไล่ออกโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ อดีตข้าราชการกรมราชทัณฑ์รายหนึ่ง ตำแหน่ง นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ ถูกศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำคุก๖ เดือน ในความผิดฐานร่วมกับภรรยาทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับ อันตรายสาหัส ได้ส่งหนังสืออุทธรณ์ผ่านอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ถึง ก.พ.ค. เพื่อขอ อุทธรณ์คำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ เพราะตนเองรับโทษจำคุกอยู่ ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ มหานคร แดน ๑ 34

  44. ๓. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ ๑๔. คดีถึงที่สุด ศาลฎีกาสั่งจำคุก สั่งไล่ออกโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้(ต่อ) ประเด็นแรก ที่ต้องวินิจฉัย คือ กระบวนการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ - ชอบ เพราะความผิดชัดแจ้งตามกฎ ก.พ.ฉบับที่ ๑๓(พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.๒๕๓๕ จะดำเนินการทางวินัยโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ ประเด็น ๒ การลงโทษถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ - ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลยพินิจในการลงโทษไล่ออกได้ จึงเป็นไปโดยถูกต้องเหมาะสมแก่กรณีความผิดแล้ว ก.พ.ค.จึงวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ 35

  45. ๓. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์กรณีที่๑๕ ปลดออกเพราะเป็นชู้กับภรรยาของผู้อื่น อุทธรณ์คำสั่งปลดออกจากราชการ ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับภรรยาของข้าราชการต่างสังกัด ก.พ.ค.เห็นว่า แม้ไม่มีพยานชี้ชัด แต่พยานแวดล้อมที่มีการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อตกลงเรียกค่าเสียหายระหว่างฝ่ายผู้อุทธรณ์กับฝ่ายสามีของหญิงอื่น ทำให้เชื่อว่าเป็นชู้จริง อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น และสร้างความเสื่อมเสียเกียรติประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โทษปลดออกเหมาะสมแล้ว แต่อธิบดีสั่งลงโทษผิดตาม ม.๘๕(๔) แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ นั้นคลาดเคลื่อน จึงสั่งให้แก้ไขเป็น ม.๙๘ วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะผู้อุทธรณ์กระทำผิด 36

  46. ๓. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ ๑๖ เฆี่ยนตีเด็กในสถานพินิจโดนตัดเงินเดือน5%สองเดือน - ข้าราชการรายหนึ่งของสถานแรกรับเด็กฯ สถานพินิจฯจังหวัด ถูกอธิบดีสั่งลงโทษตัดเงินเดือน 5% สองเดือน ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายฯ ไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการตาม ม. 82 (2) และ (3) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 กรณีได้ลงโทษตีเยาวชนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทในหอนอนโดยพลการ ไม่ได้รายงาน ผอ.สถานพินิจฯผู้บังคับบัญชาพิจารณาเสียก่อน ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงยุติธรรม -วินิจฉัยว่าการที่กรมสั่งลงโทษตัดเงินเดือนผู้อุทธรณ์ 5 % เป็นเวลาสองเดือน เป็นการถูกต้องเหมาะสมกับกรณีความผิดแล้ว 37

  47. ๓. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ กรณีที่ ๑๗ ไม่ลดโทษตัดเงินเดือน 5% 1 เดือน ทุบตีภรรยาที่ไม่จดทะเบียนให้อับอาย - หัวหน้าสถานีอนามัยอำเภอนายหนึ่งได้อุทธรณ์คำสั่งของ ผวจ. ที่ลงโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน ฐานไม่รักษาชื่อเสียงฯ ตาม ม. 82 (10) ประกอบ ม. 84 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2551 สาเหตุได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับหญิงรายหนึ่งโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีเหตุทะเลาะเบาะแว้ง ใช้กำลังทุบตี และได้ขับไล่ภรรยาออกจากบ้านทุกครั้งที่ทะเลาะกัน ทำให้หญิงรายนี้อับอายขายหน้า พฤติกรรมดังกล่าวทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของข้าราชการ - แม้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่การกระทำนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บริการประชาชน จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผิดวินัยเล็กน้อย ที่จะลงโทษภาคทัณฑ์ได้ ก.พ.ค. จึงมีคำวินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ 38

  48. ๓. อุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์กรณีที่ ๑๘ ถูกไล่ออกเพราะอ้างมีเส้นรองนายกรัฐมนตรีเรียกรับเงินฝากเข้าทำงาน ข้าราชการหญิง ของสลน. ถูกไล่ออกกรณี มีส่วนร่วมกับสามีและพวก หลอกลวงนาย จ. และนาง น.ว่าสามารถฝากคนสอบเข้าเป็น จ.อบต.โดยเรียกคนละ 50,000 บาท เห็นว่า ผู้อุทธรณ์ให้สามี อ้างชื่อ และตำแหน่ง ไปใช้หลอกลวงเรียกเอาทรัพย์จากราษฎรที่ฝากคนเข้าทำงาน ทั้งบอกเลขที่บัญชี 3 ธนาคาร โดยแจ้งให้โอนเงินเข้า วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ เป็นไปตามหนังสือเวียน นร.0709.3/ว.2 วันที่ 28 ก.พ.2538 กำหนดให้การกระทำผิด ฐานเรียกร้องเงินจากราษฎรเพื่อฝากเข้าทำงานเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ควรลงโทษในระดับเดียวกับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ตามหนังสือ สลค. ที่ นร ๐๒๐๕/ว ๒๓๔ ลงวันที่ ๒๔ ธ.ค ๒๕๓๖ คือไล่ออก ไม่ลดหย่อนโทษ 39

  49. 4.อุทธรณ์ที่สั่งให้ยกเลิกคำสั่งทั้งหมด โดยยังไม่วินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ กรณีที่ ๑๙ แม้โทษแค่ภาคทัณฑ์ ก็ต้องประกันความเป็นธรรมในการสอบสวน - การแจ้งข้อกล่าวหา ฐานความผิดตาม ม.93 นั้นไม่ถูกต้อง, มิได้แจ้งข้อเท็จจริงที่พยานบุคคลให้การสนับสนุนข้อกล่าวหา, ส่งเอกสารจำนวนมากโดยมิได้ระบุข้อกล่าวหาให้ชัดเจน, ซึ่งยากแก่การหักล้างแก้ข้อกล่าวหา ไม่ได้ให้หลักประกันความเป็นธรรมตาม กฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 พ.ศ.2540 ข้อ 14 และข้อ 15 - ลงโทษภาคทัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนและวิธีการอันเป็นสาระสำคัญ จึงต้องยกเลิกคำสั่ง ให้ไปดำเนินการให้ถูกต้อง 40

  50. 5. ตัวอย่างอุทธรณ์ที่สั่งให้แก้ไขคำสั่งบางส่วนกรณีที่ ๒๐ ถูกกล่าวหาสองฐานความผิด แต่ฐานความผิดที่สองได้สอบสวนไม่ถูกขั้นตอน 41 ถูกไล่ออกเพราะได้เพิ่มชื่อบุคคลเข้าทะเบียนบ้านโดยมิชอบ จงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายฯ ตาม ม. 85 วรรคสอง และทุจริตต่อหน้าที่ ตาม ม. 82วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ได้แจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานตาม สว.3 เฉพาะฐานความผิดตาม ม. 85 วรรคสอง เท่านั้น จึงไม่ถูกต้องตามวิธีการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงตาม ข้อ 14 และข้อ 15ของกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) และขัดกับมาตรา 30 วรรคหนึ่งแห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

More Related