1 / 50

เมื่อต้องเป็นนักบัญชี 2000

เมื่อต้องเป็นนักบัญชี 2000. โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์. พฤษภาคม 2546. ข้อมูลนี้ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง – ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีของกลุ่มบริษัทต่อไปนี้ เมื่อต้นปี 2546 “ บัณฑิตบัญชีในอุดมคติที่ต้องการรับเข้าทำงาน ควรมีความรู้ด้านใดบ้าง ” - ธนาคารพาณิชย์ - กลุ่มบันเทิง

shanna
Download Presentation

เมื่อต้องเป็นนักบัญชี 2000

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เมื่อต้องเป็นนักบัญชี 2000 โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ พฤษภาคม 2546

  2. ข้อมูลนี้ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง – ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีของกลุ่มบริษัทต่อไปนี้ เมื่อต้นปี 2546 “บัณฑิตบัญชีในอุดมคติที่ต้องการรับเข้าทำงาน ควรมีความรู้ด้านใดบ้าง” - ธนาคารพาณิชย์ - กลุ่มบันเทิง - กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต - กลุ่มสื่อสาร - กลุ่มพลังงาน

  3. นักบัญชีไม่เพียงแต่เป็นนักบัญชี แต่ต้องก้าวทันกับศาสตร์ด้านอื่น ๆ ……….. • FINANCE • ECONOMICS • TAX • STRATEGIC PLANNING & KPI • CUSTOMER RELATIONSHIP • PRESENTATION TECHNIQUES

  4. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • ติดตามมาตรฐานการบัญชีใหม่ ๆ และจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป • บันทึกข้อมูลทางบัญชีอย่างถูกต้องและทันต่อเวลา • จัดทำบัญชี ให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้บริหารองค์กร • รายละเอียดการบันทึกข้อมูลทางบัญชี ต้องมีหลักฐานและรายละเอียดของทุกรายการสามารถตรวจสอบได้

  5. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • มีความรอบรู้ทางด้านการบริหารการเงินและสามารถให้ข้อมูลด้านกระแสเงินสด (Cash Flow) 1. รักษาสภาพคล่องด้านกระแสเงินสด 2. บริหารต้นทุนของแหล่งเงิน (Cost of Fund) 3. บริหารสัดส่วนของสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน 4. ควบคุมระยะเวลาของการเรียกเก็บหนี้ และจ่ายชำระหนี้ 5. ควบคุมดูแลโครงการการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

  6. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • ให้ข้อมูลในการตัดสินใจในการลงทุนและหาแหล่งเงินทุน • ระยะเวลาการลงทุน • ขนาดของเงินทุน และโครงสร้างการลงทุน • ความเสี่ยงของโครงการ • ความเสี่ยงของแหล่งเงินทุน อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน • ผลตอบแทนจากการลงทุน กำไร • ความสามารถในการชำระหนี้คืนตามกำหนด

  7. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • ควบคุมดูแลค่าใช้จ่ายตามงบประมาณ 1. จัดทำคู่มือระเบียบปฏิบัติการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 2. วางระบบควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 3. วางแผนการปรับปรุงงบประมาณให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนแผนงานขององค์กร

  8. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • เป็นศูนย์กลางประสานการจัดทำงบประมาณและKPI ประจำปี 1. รวบรวมข้อมูลประมาณการรายได้และรายจ่าย ตลอดจน KPI ของฝ่ายงานต่าง ๆ 2. ปรับปรุงงบประมาณ ให้สอดคล้องกับ KPI และเหมาะสมกับแผนงานขององค์กร 3. สื่อสารทำความเข้าใจกับฝ่ายงานต่าง ๆ ให้เข้าใจถึงการปรับปรุงงบประมาณ 4. สรุปและจัดทำงบประมาณประจำปี

  9. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • บทบาทด้านการวางแผนภาษีอากร • ติดตามกฎเกณฑ์ทางด้านภาษีอากรใหม่ ๆ • กำหนดนโยบายการบัญชเพื่อให้ประหยัดภาษี • ดูแลการชำระภาษีต่าง ๆ ให้ถูกต้องและตามกำหนด • ติดตามการรับคืนภาษี (ถ้ามี) • จัดเก็บเอกสารหลักฐานเพื่อสามารถตรวจสอบด้านภาษีได้

  10. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • บทบาทด้านการบริหารทั่วไป • เป็นแหล่งข้อมูลและที่ปรึกษาทางการเงินให้กับทุกฝ่ายงาน • ทำหน้าที่ส่งสัญญาณทั้งด้านบวกและลบ • เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนในโครงการต่าง ๆ

  11. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • บทบาทด้านการบริหารระบบข้อมูล • ประสานงานกับฝ่ายสารสนเทศ ในการออกแบบ Software ด้านบัญชี ฐานข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ • ออกแบบและจัดทำรายงานข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร สำหรับแต่ละระดับให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และตามกำหนดเวลา

  12. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • ให้ข้อมูลด้านบัญชีเพื่อการจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารองค์กร • ข้อมูลทางบัญชี แสดงฐานะทางการเงินและผลประกอบการขององค์กร • งบดุล • งบกำไรขาดทุน • งบกระแสเงินสด

  13. ในสายตาของผู้บริหารองค์กร นักบัญชีมีหน้าที่………... • ข้อมูลวิเคราะห์และเปรียบเทียบ • อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) • การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend) • การวิเคราะห์โครงสร้างทางการเงิน (Financial Structure) • การเปรียบเทียบงบการเงินของแต่ละปี • รายงานงบการเงินเปรียบเทียบกับงบประมาณ

  14. อัตราส่วนทางการเงิน • วิเคราะห์อัตราผลตอบแทน (ROA) • วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยงที่แฝงอยู่ในต้นทุนเงินทุน • วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) • แตก ROA เป็นองค์ประกอบย่อยในลักษณะ Top Down Analysis

  15. อัตราส่วนทางการเงิน • เชื่อมโยงองค์ประกอบย่อยของ ROA เข้ากับการวิเคราะห์สภาพคล่อง • สรุปผลการวิเคราะห์

  16. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ROA = NOPAT สินทรัพย์สุทธิรวม (เฉลี่ย) • NOPAT เป็นตัวเดียวกับ Operating Income หรือไม่ • ถ้าไม่ใช่ตัวเดียวกัน NOPAT คำนวณอย่างไร • ยอดสินทรัพย์สุทธิคำนวณยังไง • ยอดสินทรัพย์สุทธิควรรวมงานระหว่างการก่อสร้างด้วยหรือไม่

  17. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) • Benchmark ของ ROA คืออะไร • มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added) จะเกิดขึ้นเมื่อไร

  18. WACC กับโครงสร้างเงินทุน • โครงสร้างเงินทุนกับต้นทุนเงินทุน (WACC) • โครงสร้างเงินทุนกับความเสี่ยงต่อการชำระหนี้ • Debt to Equity (D/E Ratio) = หนี้สินรวม/ส่วนของเจ้าของ • เงินกู้กรรมการเป็นหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ • Non-Interest Bearing Debts ต้องนำมาพิจารณาด้วยหรือไม่

  19. การแตกอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) เป็นองค์ประกอบย่อย ROA = NOPAT สินทรัพย์รวม = NOPAT* ค่าขาย ค่าขาย สินทรัพย์รวม = ROS * Asset Turnover

  20. อัตราผลตอบแทนต่อค่าขาย (ROS) • ROS = NOPAT ค่าขาย • ควรจัดทำ Common-sized P/L เปรียบเทียบโดยแปลงรายการทุกรายการที่รวมอยู่ในการคำนวณ NOPAT ให้เป็นร้อยละของรายได้ เพื่อระบุสาเหตุที่ทำให้ ROS เปลี่ยนแปลงไป

  21. อัตราผลตอบแทนต่อค่าขาย (ROS) • แปลงทุกรายการเป็นร้อยละของรายได้ หมายถึง แปลงทุกรายการเป็นร้อยละของรายได้จากการขายหรือรายได้รวม • หากกิจการมีทั้งรายได้จากการขายสินค้าและรายได้จากการให้บริการควรให้ยอดใดเป็น 100% หรือทั้งสองยอดรวมกัน • ปัญหาของ Common Sized P/L คืออะไร

  22. อัตราผลตอบแทนต่อค่าขาย (ROS) 254325442545 ค่าขาย 100% 100% 100% รายได้อื่น 2% 3% 6% ต้นทุนขาย 40% 41% 38% ค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร 38% 35% 37% ภาษีเงินได้ 5% 7% 8% Tax shield 1% 3% 4%

  23. ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย • Interest Coverage = NOPAT/ดอกเบี้ยจ่าย (สุทธิจากภาษี)

  24. การแตกอัตราส่วน Asset Turnover Asset Turnover = ค่าขาย สินทรัพย์รวม Asset Turnoverอาจแตกออกได้เป็น: ค่าขาย/สินค้าคงเหลือ = Inventory Turnover ค่าขาย/ลูกหนี้การค้า = Accounts Receivable Turnover ค่าขาย/สินทรัพย์ถาวร = Fixed Asset Turnover

  25. อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover) Inventory (Finished Goods) Turnover = ค่าขาย/สินค้าคงเหลือ (สมเหตุผลหรือไม่?) = ต้นทุนขาย/สินค้าคงเหลือ (ดีกว่าไหม ?) • สินค้าคงเหลือควรใช้ยอดก่อนหรือหลังหักค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพหรือล้าสมัยหรือไม่ • นโยบายการตีราคาสินค้าคงเหลือ (FIFO, LIFO, Average) มีผลต่ออัตราการหมุนเวียนของสินค้า

  26. อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง(Inventory Turnover) ในกรณีธุรกิจผลิต Raw Material Turnover = ต้นทุนวัตถุดิบใช้ไป/วัตถุดิบคงเหลือ Work in Process Turnover = ต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จ/งานระหว่างทำ Finished Goods Turnover = ค่าขาย/สินค้าสำเร็จรูป

  27. อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable Turnover) Accounts Receivable Turnover = ค่าขาย/ลูกหนี้การค้า • ค่าขายควรใช้ยอดขายเชื่อหรือขายรวม • ลูกหนี้การค้าควรใช้ยอดก่อนหรือหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

  28. อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (FixedAsset Turnover) • Fixed Asset Turnover = ค่าขาย/สินทรัพย์ถาวร • ต้องวิเคราะห์อัตราส่วนนี้เสมอไปหรือไม่ • สินทรัพย์ถาวรรวมถึงสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิการเช่า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ด้วยหรือไม่

  29. อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (FixedAsset Turnover) • นโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตัดค่าเสื่อมราคาหรือการตัดจำหน่ายสินทรัพย์มีผลกระทบต่ออัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร • หากมีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ควรปรับยอดสินทรัพย์ถาวรให้เป็นยอดก่อนหักค่าเผื่อการด้อยค่าหรือไม่

  30. สภาพคล่องทางการเงิน อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = สินทรัพย์สภาพคล่องสูง หนี้สินหมุนเวียน

  31. สภาพคล่องทางการเงิน • ข้อจำกัดของอัตราส่วนทั้งสองคือความเป็น Static figures • ได้แต่บอกสภาพคล่องโดยรวมแต่ไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง/ต่ำ • จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องคำนวณทั้ง Current และ Quick Ratios

  32. สภาพคล่องทางการเงิน อัตราส่วนสภาพคล่องควรวิเคราะห์ร่วมกันไปกับ (1) ROS (2) ระยะเวลาการถือครองสินค้าคงเหลือ (3) ระยะเวลาการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ (4) ระยะเวลาที่ได้รับสินเชื่อจาก Supplier

  33. ระยะเวลาการถือครองวัตถุดิบระยะเวลาการถือครองวัตถุดิบ ระยะเวลาการถือครองวัตถุดิบ = 30 หรือ 90 หรือ 180 หรือ 360 วัน Raw Material Turnover

  34. ระยะเวลาการแปรสภาพ ระยะเวลาการแปรสภาพ = 30 หรือ 90 หรือ 180 หรือ 360 วัน W/P Turnover

  35. ระยะเวลาการถือครองสินค้าสำเร็จรูประยะเวลาการถือครองสินค้าสำเร็จรูป ระยะเวลาการถือครองสินค้าสำเร็จรูป = 30 หรือ 90 หรือ 180 หรือ 360 วัน F/G Turnover

  36. ระยะเวลาการให้สินเชื่อระยะเวลาการให้สินเชื่อ ระยะเวลาการให้สินเชื่อ = 30 หรือ 90 หรือ 180 หรือ 360 วัน A/R Turnover

  37. อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า(Accounts Payable Turnover) อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า = ซื้อ (เชื่อ) /เจ้าหนี้การค้า ระยะเวลาที่ได้รับสินเชื่อ = 30 หรือ 90 หรือ 180 หรือ 360 วัน A/P Turnover

  38. วงจรเงินสด (Cash Cycle) หมายถึง ระยะเวลาในการหมุนเวียนของเงินสดของกิจการจากระยะเวลาที่จ่ายเงินสดไปจนกว่าจะได้รับเงินสด เป็นการบอกถึงจำนวนวันที่กิจการต้องรอเพื่อจะได้รับเงินสดที่จ่ายลงทุนไปหมุนเวียนกลับมา ซึ่งก็คือ จำนวนเงินสดที่กิจการต้องลงทุนในลูกหนี้และสินค้าคงคลัง

  39. การใช้ข้อมูลด้านบัญชีเพื่อการจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารองค์กรการใช้ข้อมูลด้านบัญชีเพื่อการจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารองค์กร • ข้อมูลภายนอกที่เกี่ยวข้อง • อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม • อัตราส่วนลดเงินสดรับ / จ่าย • อัตราเงินเฟ้อ • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีอากร • เครื่องมือธุรกรรมทางการเงินใหม่ ๆ • ฯลฯ

  40. การใช้ข้อมูลด้านบัญชีเพื่อการจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารองค์กรการใช้ข้อมูลด้านบัญชีเพื่อการจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารองค์กร • ข้อมูลรายงานความผิดปกติ • รายงานหนี้มีปัญหา และหนี้สูญ • รายงานลูกค้าใหม่ และลูกค้าที่สูญเสียไป • รายงานความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน • รายงานค่าใช้จ่ายที่สูงผิดปกติ • รายงานต้นทุนของวัตถุดิบ หรือสินค้าที่สูงผิดปกติ • รายงานสินค้าที่ค้างสต็อกนานผิดปกติ • รายงานระยะเวลาการเรียกเก็บหนี้ที่ค้างนานกว่าที่เคยเป็น

  41. การใช้ข้อมูลด้านบัญชีเพื่อการจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารองค์กรการใช้ข้อมูลด้านบัญชีเพื่อการจัดการและตัดสินใจของผู้บริหารองค์กร • ข้อมูลวัดประสิทธิภาพภายในองค์กร • รายงานยอดขายต่อพนักงานขาย • รายงานผลกำไรต่อจำนวนพนักงาน • รายงานผลงานของฝ่ายงาน เปรียบเทียบกับเป้าหมาย • รายงานเปรียบเทียบกำไร และต้นทุนต่อหน่วย

  42. นักบริหารด้านบัญชีจะช่วยฝ่ายบริหารได้อย่างไรนักบริหารด้านบัญชีจะช่วยฝ่ายบริหารได้อย่างไร • นำเสนอข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านบัญชีการเงินขององค์กร แก่ฝ่ายบริหาร • ให้คำปรึกษา การจัดหาทุน การการลงทุน การประมาณการ และจัดทำงบประมาณ • ออกแบบจัดทำรายงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม • แจ้งสัญญาณเตือนภัยถึงสิ่งผิดปกติแก่ฝ่ายบริหาร

  43. วิธีการจัดระบบและปรับปรุงข้อมูลทางบัญชี เพื่อประโยชน์ต่อฝ่ายบริหารใช้วางแผนและตัดสินใจ • ศึกษาความต้องการด้านข้อมูลของฝ่ายบริหาร • ความรู้พื้นฐานด้านบัญชีการเงินของฝ่ายบริหาร • รายงานแบบตัวเลข วิเคราะห์ รูปภาพ หรือแบบบรรยาย • รายงานแบบละเอียด หรือแบบสรุป • ระยะเวลาของการนำเสนอ ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน • รายงานผ่านระบบ Online, Presentation หรือแบบ Paper • รายงานแบบ Private หรือ Committee • เน้นความสนใจเฉพาะด้าน เช่น ยอดขาย กำไร การเรียกเก็บหนี้

  44. วิธีการจัดระบบและปรับปรุงข้อมูลทางบัญชี เพื่อประโยชน์ต่อฝ่ายบริหารใช้วางแผนและตัดสินใจ • จัดระบบสาระสนเทศ (MIS) • วางระบบฐานข้อมูลให้สัมพันธ์กับระบบบัญชี • ออกแบบระบบคลังข้อมูล ให้เพียงพอที่จะสนับสนุนความต้องการในปัจจุบันและอนาคต • วางแผนการใช้ระบบ Computer Online ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งด้าน Hardware, Software และ Peopleware • จัดทำคู่มือการใช้งานระบบ MIS พร้อมแนะนำอบรมวิธีการใช้งานแก่ฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง

  45. วิธีการจัดระบบและปรับปรุงข้อมูลทางบัญชี เพื่อประโยชน์ต่อฝ่ายบริหารใช้วางแผนและตัดสินใจ • ออกแบบจัดทำระบบรายงาน • สั้น ๆ กระชับ และทำความเข้าใจได้ง่าย • เน้นเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของฝ่ายบริหาร • ข้อสังเกตเกี่ยวกับความผิดปกติ • รูปแบบรายงาน กราฟ สัดส่วน อัตราส่วน เปรียบเทียบ • รายงานทั่วไป รายงานเฉพาะเรื่อง • รายงานผ่านระบบ Online, Paper หรือ Presentation

  46. การรายงานแบบคอลัมน์

  47. การรายงานแบบแท่ง

  48. การรายงานแบบเส้น

  49. การรายงานแบบวงกลม

  50. และที่นักบัญชีขาดไม่ได้คือ………ชักนำให้ผู้บริหารทำในสิ่งที่ถูกต้อง“ธรรมาภิบาลและการสร้างมูลค่าเพิ่มกลับไปยังผู้ถือหุ้น”และที่นักบัญชีขาดไม่ได้คือ………ชักนำให้ผู้บริหารทำในสิ่งที่ถูกต้อง“ธรรมาภิบาลและการสร้างมูลค่าเพิ่มกลับไปยังผู้ถือหุ้น”

More Related