1 / 15

พายุ ทอร์ นาโด

พายุ ทอร์ นาโด.

Download Presentation

พายุ ทอร์ นาโด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พายุทอร์นาโด

  2. ทอร์นาโด หรือ ทอร์เนโด หรือ พายุงวงช้าง เป็นพายุที่เกิดจากการหมุนของอากาศ สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยลักษณะที่พบได้บ่อยสุดคือลักษณะรูปทรงกรวย โดยส่วนปลายโคนชี้ลงที่พื้น ทอร์นาโดสามารถก่อพลังทำลายได้สูง โดยความเร็วลมสามารถสูงมากถึง 500 กม/ชม (300 ไมล์/ชม) ซึ่งก่อให้เกิดการพังทลายของสิ่งก่อสร้างได้ถึงแม้ว่าทอร์นาโดส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา ทอร์นาโดยังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกทวีปและในหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการเกิดประมาณปีละ 20 ครั้ง

  3. เหตุการณ์ พายุทอร์นาโด

  4. รูปแบบการเกิด ทอร์นาโดเกิดขึ้นจากลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุน และเมื่อลมหมุนในระดับที่ไม่คงที่ ทำให้ปลายข้างหนึ่งลงมาสัมผัสที่พื้นก่อให้เกิดทอร์นาโดได้ โดยทอร์นาโดสามารถส่วนใหญ่เกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่สามารถก่อให้เกิดลมร้อนและไอเย็นปะทะกันบริเวณทุ่งราบ ทอร์นาโดแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 - F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

  5. การจำแนกระดับของทอร์นาโด จะยึดตาม Fujita scale ซึ่งกำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงดังนี้ - พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  6. สาเหตุการเกิด เนื่องมาจากการเกิดกลุ่มของอากาศที่เย็นกว่าลอยผ่านเข้าไปใต้กลุ่มของอากาศที่ อบอุ่นกว่าจึงทำให้เกิด  การถ่ายเทอากาศหมุนเวียนกันขึ้นในเขตจำกัด และเป็นไปได้ โดยรวดเร็วใกล้ ๆ จุดศูนย์กลางจะมีกระแสลม หมุนเร็วที่สุดจนทำให้เกิดลำอากาศเป็น เกลียวตั้งสูงขึ้นไปในท้องฟ้า ถัดออกมาทางขอบนอกอัตราเร็วของการ หมุนค่อยๆ ช้า ลง แต่กระนั้นก็ตามที่ขอบนอกของมันก็มีความแรงพอที่จะพัดเอาบ้านทั้งหลังให้พังไป ได้อย่าง ง่ายดาย

  7. พายุหมุนเขตร้อน

  8. พายุไซโคลน เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว และพายุหมุนเขตร้อนคือพายุชนิดเดียวกันแต่มีชื่อเรียกต่างกันไปตามถิ่นที่เกิดเท่านั้น  ชื่อเรียกกลางคือ "พายุหมุนเขตร้อน" (Tropical cyclone) - เกิดในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกว่า เฮอร์ริ เคน (Hurricane)- เกิดในอ่าวเบงกอลและ มหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า ไซโคลน (cyclone) - เกิดแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี-วิลลี (Willy-willy)- เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)- เกิดในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)

  9. พายุหมุนเขตร้อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง  และเป็นบริเวณกว้างมีลักษณะเด่น คือ มีศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า ตาพายุ เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อยล้อมรอบด้วย พื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งปรากฏฝนตกหนักและพายุลมแรง ลมแรงพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะ ปรากฏลมแรง ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึงอากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรก

  10. ชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อนชนิดและการกำหนดชื่อพายุเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนเริ่มต้นการก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำทะเล ในบริเวณเขตร้อนและเป็นบริเวณที่กลุ่มเมฆจำนวนมากรวมตัวกันอยู่โดยไม่ปรากฏการหมุนเวียนของลม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงนี้  เมื่ออยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป จนปรากฏระบบหมุนเวียนของลมอย่างชัดเจน ดังนั้นสามารถแบ่งชนิดของพายุเขตร้อนได้ดังนี้

  11. 1. ดีเปรสชั่น (Depression) สัญลักษณ์D ความเร็วสูงสุด 33 นอต (17 เมตร/วินาที) (62 กิโลเมตร/ชั่วโมง)ไม่นับเป็นพายุหมุน2.พายุโซนร้อน (Tropical Storm) สัญลักษณ์Sความเร็วสูงสุด 34-63 นอต (17-32 เมตร/วินาที) (63-117 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ไม่นับเป็นพายุหมุน3. พายุหมุนเขตร้อน ความเร็วสูงสุด 64-129 นอต (17 เมตร/วินาที) (118-239 กิโลเมตร/ชั่วโมง) นับเป็นพายุหมุน

  12. ลักษณะเฉพาะ การเคลื่อนตัวของเมฆรอบศูนย์กลางพายุก่อตัวเป็นรูปขดวงก้นหอยที่เด่นชัด แถบหรือวงแขนที่อาจยื่นโค้งเป็นระยะที่ยาวออกไปได้มากในขณะที่เมฆถูกดึงเข้าสู่วงหมุน ทิศทางวงหมุนเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดว่าอยู่ ณ ส่วนใดของซีกโลกดังกล่าวแล้ว

  13. วงหมุนที่เกิดผนังตาพายุจะเกิดตามปกติเมื่อพายุมีความรุนแรงมาก เมื่อพายุแรงถึงขีดสุดก็มักจะเกิดการหดตัว ของรัศมีกำแพงตาพายุเล็กลงถึงประมาณ 8-24 กิโลเมตร (5-15 ไมล์)ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกิด ถึงจุดนี้เมฆฝนอาจก่อตัวเป็นแถบอยู่ด้านนอกแล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าวงในแย่งเอาความชื้นและแรงผลักดันหรือโมเมนตัมจากผนังตาพายุ ทำให้ความรุนแรงลดลงบ้าง (ความเร็วสูงสุดที่ผนังลดลงเล็กน้อยและความกดอากาศสูงขึ้น) ในที่สุดผนังตาพายุด้านนอกก็จะเข้ามาแทนผนังในจนหมด  ทำให้พายุกลับมามีความเร็วเท่าเดิม แต่ในบางกรณีอาจกลับเร็วขึ้นได้ 

  14. พายุหมุนที่สร้างความเสียหายมากพายุหมุนที่สร้างความเสียหายมาก พายุหมุนเขตร้อนแกลวิสตัน หรือ "เฮอร์ริเคนแกลวิสตัน" เป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือพายุเฮอร์ริเคนที่สร้างความเสียหายหนักมากพายุหนึ่งที่ได้ รับการบันทึกไว้ พายุหมุนเขตร้อนแกลวิสตันขึ้นฝั่งในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2443  ทำให้เมืองแกลวิสตันเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตมากถึง 8,000 คน และหากนับการเสียชีวิตที่อื่นด้วยประมาณว่าอาจรวมได้ถึง 12,000 คน

  15. เรื่อง พายุทอร์นาโดจัดทำโดยนางสาวธนวรรณ จุ้ยสถิตย์รหัส 55560096คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์โทรทัศน์และดิจจิตอลมีเดีย (ภาคพิเศษ)

More Related