1 / 60

การวิเคราะห์หมวดหมู่ ( Classification)

การวิเคราะห์หมวดหมู่ ( Classification). อ . วชิระ หล่อ ประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์. ทำไมต้องจัดหมวดหมู่. ทำไมต้องจัดหมวดหมู่. การจัดหมู่. การจัดหมู่ หมายถึง การพิจารณา แยกแยะ และ จัดทรัพยากร สารสนเทศในห้องสมุด

sonya-banks
Download Presentation

การวิเคราะห์หมวดหมู่ ( Classification)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์หมวดหมู่ (Classification) อ.วชิระ หล่อประดิษฐ์ ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์

  2. ทำไมต้องจัดหมวดหมู่

  3. ทำไมต้องจัดหมวดหมู่

  4. การจัดหมู่ • การจัดหมู่หมายถึง • การพิจารณาแยกแยะและจัดทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด • ซึ่งในปัจจุบันนิยมแยกและจัดทำตามเนื้อหาของหนังสือ โดยมีการกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท • สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุด • โดยใช้ระบบการจัดหมู่ (Classification System)ระบบใดระบบหนึ่งเป็นหลักเกณฑ์

  5. การจัดหมู่ในห้องสมุด • การจัดหมู่ในห้องสมุด มีวัตถุประสงค์ • เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุดและบรรณารักษ์ในการเข้าใช้ทรัพยากรห้องสมุดที่มีหลากหลาย • เพื่อความเป็นระบบของการจัดงานห้องสมุด

  6. ประโยชน์ของการจัดหมู่ • ผู้ใช้ห้องสมุดใช้เป็นจุดเข้าถึง (Access Point)ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดมีไว้บริการ • หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดมีสัญลักษณ์และมีตำแหน่งที่แน่นอน • ช่วยให้บรรณารักษ์จัดหาและควบคุมทรัพยากรให้ตรงตามนโยบายและทราบจำนวนทรัพยากรสารสนเทศแต่ละสาขาวิชา

  7. พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่ • ในสมัยโบราณ คัลลิมาคัส (Callimachus, 310-240 ก่อน คศ.) บรรณารักษ์ในห้องสมุดอเล็กซานเดรียแห่งอียิป ได้จำแนกหมวดหมู่ของทรัพยากรออกเป็น 5หมวดใหญ่ และภายใต้แต่ละหมวดจัดเรียงตามอักษรชื่อผู้แต่ง • ได้แก่ • กวีนิพนธ์ (Poetry) • ประวัติศาสตร์ (History) • ปรัชญา (Philosophy) • วาทศิลป์ (Oratory) • เบ็ดเตล็ด (Miscellaneous)

  8. พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่ • ในสมัยโบราณตลอดถึงสมัยกลางในทวีปยุโรป ได้จัดกลุ่มหนังสือตามสภาพเนื้อหาของหนังสือ โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มวิชา • ได้แก่ • เอกสารจดหมายเหตุ • ตำราจารึกเรื่องต่าง ๆ • กฎหมายรัฐธรรมนูญ • บันทึกการประชุมของสภา • คำสอนทางศาสนา • ข้อปฎิบัติทางศาสนา • ตำนานชาดก

  9. พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่ • ในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 17 เซอร์ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) นักปราชญ์ในสมัยนั้นได้จำแนกองค์ความรู้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ • ได้แก่ • ประวัติศาสตร์ (ธรรมชาติ พลเมือง การเขียน เรื่องเกี่ยวกับพระ) • ปรัชญา (ศาสนศาสตร์ เทววิทยา) • งานที่เกี่ยวกับจินตนาการ (กวีนิพนธ์ ตำนานฯลฯ)

  10. พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่ (ต่อ) • ในช่วงศตวรรษที่ 19 – 20 เป็นช่วงที่ระบบการจัดหมวดหมู่เริ่มมีแนวคิดในการจำแนกองค์ความรู้ให้มีความเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น • ปี 1876 ระบบ Dewey Decimal Classification : DDC พัฒนาโดย Melvil Dewey • ปี 1891 ระบบ Expansive Classification พัฒนาโดย Charles Ammi Cutter • ปี 1905 ระบบ Universal Decimal Classification : UDC พัฒนาโดย PualOtletและ Henry Lafontaine (พัฒนาจากระบบ DDC) • ปี 1933 ระบบ Colon Classification พัฒนาโดย S. R. Ranganathan • ส่วนระบบการจัดหมวดหมู่ที่เกิดขึ้นท้ายสุด (Colon Classification)คือ ระบบฟาเซ็ท (Facet system) เป็นระบบที่พยายามกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นแทนเนื้อเรื่องต่าง ๆ ให้มากที่สุด และกำหนดเครื่องหมายให้สามารถนำเอาสัญลักษณ์แทนเนื้อเรื่องหลายเนื้อเรื่องมาผสมกัน เพื่อให้ได้เลขหมู่

  11. พัฒนาการของระบบการจัดหมวดหมู่ (ต่อ) • Charles AmmiCutter Melvil Dewey • Henry Lafontaine • Paul Otlet • S. R. Ranganathan

  12. โครงสร้างการจัดหมวดหมู่ (Classification Schemes) • Universal Schemes ได้แก่ ระบบการจัดหมวดหมู่ที่ใช้โดยทั่วไป เช่น ระบบ DDC, LCC, UDC เป็นต้น • National general schemes ได้แก่ ระบบที่ออกแบบขึ้นมาใช้เฉพาะภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น NederlandseBasisclassificatie (BC), SverigesAllmamaBiblioteksforening (SAB) • Subject specific schemes ได้แก่ ระบบที่ใช้กับทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น Iconclassใช้กับงานด้านศิลปะ the National Library of Medicine (NLM) ใช้กับเรื่องทางการแพทย์ Engineering Information (Ei) ใช้กับทรัพยากรสารสนเทศด้านวิศวกรรม • Home-grown schemes ได้แก่ ระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้กับบริการลักษณะพิเศษ เช่น บริการสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต Yahoo! ได้พัฒนา Ontology เพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

  13. ลักษณะของระบบการจัดหมวดหมู่ที่ดีลักษณะของระบบการจัดหมวดหมู่ที่ดี • มีขอบเขตกว้างขวางและสมบูรณ์ (Inclusive and comprehensive) มีเนื้อหาครอบคลุมองค์ความรู้ทั้งหลายที่เกิดขึ้นบนโลก • มีความเป็นระบบ (Systematic) ความรู้ที่รวบรวมไว้จะต้องเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ โดยให้เรื่องเดียวกัน หรือมีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน • มีความเป็นลำดับของหมวดหมู่เนื้อหาวิชา (Order of class and division) ตารางเลขหมู่ควรจัดลำดับความรู้อย่างมีแบบแผน • มีความยืดหยุ่นและขยายได้ (Flexible and expansive)เมื่อมีสาขาวิชาใหม่เกิดขึ้นสามารถแทรกหรือเพิ่มเติมเข้าไปในระบบได้ทันที

  14. ลักษณะของระบบการจัดหมวดหมู่ที่ดี (ต่อ) • การบัญญัติคำศัพท์แทนเรื่อง (Terminology) มีความหมายเด่นชัด ถูกต้อง และใช้แทนสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงได้อย่างแม่นยำและมีเอกลักษณ์ • มีหมวดเบ็ดเตล็ด (General class) สำหรับจัดหมวดหมู่ให้กับทรัพยากรที่มีเนื้อเรื่องที่ไม่สามารถจัดเข้าไว้ในหมวดหมู่ใดได้ • สัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ (Class notation) มีความหมายชัดเจน อาจเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ • สัญลักษณ์บริสุทธิ์ (Pure notation) ใช้ตัวอักษร หรือตัวเลขเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น • สัญลักษณ์ผสม (Mixed notation) ใช้ตัวอักษรและตัวเลขผสมกัน อาจใช้เครื่องหมายอื่น ๆ ด้วย • มีดรรชนี (Index) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาเรื่อง และเลขหมู่ของเรื่องที่ต้องการจากตารางเลขหมู่

  15. ระดับการจัดหมวดหมู่ หมวดใหญ่ หมวดใหญ่ หมวดย่อย หมวดย่อย หมวดย่อย หมวดย่อย การจัดหมวดหมู่แบบกว้าง หมู่ย่อย หมู่ย่อย การจัดหมวดหมู่แบบละเอียด

  16. ระดับการจัดหมวดหมู่ • โดยทั่วไปจะจำแนกการจัดหมวดหมู่ออกเป็น 2 ระดับ คือ • การจัดหมวดหมู่อย่างระดับกว้าง (Broad classification) เป็นการจำแนกหมวดหมู่เฉพาะในระดับหมวดใหญ่ (Main class) และหมวดย่อย (Divisions) เท่านั้น • การจัดหมวดหมู่อย่างละเอียด (Close classification) เป็นการจำแนกหมวดหมู่อย่างละเอียดโดยใช้ทุกระดับของระบบการจัดหมวดหมู่ คือ หมวดใหญ่ (Main class) หมวดย่อย (Divisions) และหมู่ย่อย (Subdivisions) รวมทั้งการแบ่งย่อยอื่น ๆ

  17. ตัวอย่างการจัดเรียงลำดับหมวดหมู่ในตารางเลขหมู่ DDC • Detailed hierarchy for 646.724 • 600 Technology (Applied sciences) • 640 Home economics & family living • 646 Sewing, clothing, management of personal and family living • 646.7 Management of personal and family living Grooming • 646.71-646.75 Grooming • 646.72 Care of hair, face, skin • 646.724 Care of hair Including, care of beards, dyeing, hair weaving, permanent waving, relaxing, shaving

  18. ตัวอย่างการจัดเรียงลำดับหมวดหมู่ในตารางเลขหมู่ LCC • A General Works • AG 1-600 Dictionaries and other general reference books • AG 1-90 Dictionaries. Minor encyclopedias • AG 103-190 General works, pocketbooks, receipts, etc. • AG 195-196 Questions and answers • AG 240-243 Wonders. Curiosities • AM 1-501 Museums (General). Collectors and collecting (General) • AM 10-101 Museography. Individual museums • AM 111-160 Museology. Museum methods, technique, etc. • AM 200-501 Collectors and collecting. Private collections

  19. แนวคิดในการจัดหมวดหมู่ของความรู้และการจัดหมวดหมู่ของทรัพยากรแนวคิดในการจัดหมวดหมู่ของความรู้และการจัดหมวดหมู่ของทรัพยากร • การจัดหมวดหมู่ของความรู้ ได้แก่ แนวคิดในการจำแนกหมวดหมู่ให้กับองค์ความรู้ตามสาขาวิชาต่างๆ ที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นมาแล้ว เช่น ระบบ DDC เป็นระบบที่จำแนกวิชาความรู้ที่เกิดขึ้นบนโลกออกเป็นหมวดหมู่ตามพัฒนาการเกิดขึ้นของสาขาวิชา • ส่วนการจัดหมวดหมู่ของทรัพยากร ได้แก่แนวคิดในการจำแนกหมวดหมู่ให้กับทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ตามที่ปรากฏอยู่จริง เช่น ระบบ LCC เป็นระบบที่เกิดจากการจำแนกหมวดหมู่ให้กับทรัพยากรที่มีอยู่ในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ในแต่ละหมวดหมู่จึงมีการแบ่งแยกย่อยไม่เหมือนกัน

  20. ข้อควรพิจารณาในการกำหนดระดับความกว้างหรือความลึกในการจำแนกหมวดหมู่ข้อควรพิจารณาในการกำหนดระดับความกว้างหรือความลึกในการจำแนกหมวดหมู่ • ขนาดของทรัพยากรที่มีอยู่ หากคอลเล็คชั่นมีขนาดใหญ่มาก การเลือกใช้การจัดหมวดหมู่อย่างกว้าง คือ แบ่งเฉพาะ หมวดใหญ่ อาจทำให้ทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมากมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาตัวเดียวกัน หากคอลเล็คชั่นมีขนาดเล็กมากแต่ใช้ระบบการจำแนกหมวดหมู่ในระดับลึก จะทำให้การกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นแทนเนื้อหาของเอกสารมีมากเกินไป • ประเภท / เนื้อหาของทรัพยากรที่มี หากทรัพยากรที่จัดเก็บเป็นทรัพยากรในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้นการจัดหมวดหมู่อย่างกว้างอาจทำให้การจำแนกหมวดหมู่ไม่มีความเฉพาะเจาะเจาะตามเนื้อหาของเอกสาร กรณีนี้แม้ว่าคอลเล็กชั่นจะมีขนาดเล็กแต่ควรจำแนกหมวดหมู่ในระดับลึก • ความเป็นสากลในการค้นเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันเนื่องจากการที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่ายที่ทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลของสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นได้ ดังนั้น การจำแนกหมวดหมู่จึงควรได้รับการพิจารณาร่วมกันว่าจะกำหนดในระดับกว้าง หรือแคบ เนื่องจากหากกำหนดกว้างเกินไปผู้ค้นจากระบบที่กำหนดแบบแคบจะไม่ได้เอกสารที่ต้องการ

  21. หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการกำหนดหมวดหมู่หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการกำหนดหมวดหมู่ • จัดไว้ในหมวดที่ตรงกับเนื้อหามากที่สุด เป็นอันดับแรก • จัดไว้ในหมวดหมู่ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้มากที่สุด โดยพิจารณาถึงธรรมชาติของคอลเล็คชั่น และความต้องการของผู้ใช้ • กำหนดเลขหมู่ให้ตรงกับเนื้อหามากที่สุด ไม่ควรจัดไว้ในหมวดหมู่ที่ใหญ่เกินไป • กรณีมีเนื้อเรื่อง 2-3 เรื่องอยู่ในเล่มเดียวกัน • ให้จัดไว้ในหมวดที่มีเนื้อหาปรากฏในเอกสารมากที่สุด • หากทุกเรื่องมีเนื้อหาเท่าเทียมกัน ให้จัดหมวดหมู่ตามเรื่องแรกที่ปรากฏ • กรณีที่มีเนื้อเรื่องมากกว่า 3 เรื่องในเล่มเดียวกัน ให้จัดไว้ในหมวดใหญ่ที่ครอบคลุมเรื่องทั้งหมด • งานในหมวดวรรณคดี ให้จัดตามลักษณะคำประพันธ์ของเอกสาร โดยไม่คำนึงถึงเนื้อเรื่องของเอกสาร • หนังสือชุด หากมีเนื้อหาเหมือนกันทั้งหมดให้จัดไว้ในหมวดเดียวกัน แต่หากมีเนื้อเรื่องต่างกันให้จัดหมู่ตามเนื้อหาของเอกสารแต่ละเล่ม

  22. ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) • คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน เมลวิล ดิวอี้ ในขณะที่เขา กำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่ วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College) • เป็นระบบที่คิดขึ้นโดยการจัด แบ่งความรู้พื้นฐานทั้งหลายตามหลัก ทฤษฎีการเกิดของของวิชาความรู้บนโลก จึงเรียกว่า ระบบทฤษฎี (Theoretical systems) • สัญลักษณ์ที่ใช้แทนหมวดหมู่เป็นตัวเลขเพียงอย่างเดียว (Pure Notation) 3 หลัก และตัวเลขตามหลังทศนิยมแบ่งได้ไม่มีที่สิ้นสุด

  23. แบบแผนการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้แบบแผนการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ • แบ่งโครงสร้างเป็น 10 หมวดใหญ่ (10), 10 หมวดย่อย (100), 10 หมู่ย่อย (1000) • แบ่งย่อยเนื้อหาตามหลังทศนิยมได้ไม่มีที่สิ้นสุด ขึ้นอยู่กับเรื่องย่อยและลักษณะเฉพาะของเนื้อเรื่องเอกสาร • จำแนกหัวข้อความรู้ไว้ภายใต้วิชาหลักพื้นฐาน ตามพัฒนาการการเกิดของสาขาวิชา • มีตารางช่วย (Auxiliary table) ระบุลักษณะเฉพาะของงาน ช่วยให้สามารถกระจายเลขหมู่ได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น • มีดรรชนีสัมพันธ์ (Relative Index) แสดงหัวข้อย่อยจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเรียงรวมกันตามลำดับอักษรอยู่ภายใต้หัวข้อใหญ่หัวข้อเดียว • มีเลขช่วยความจำ (Mnemonic aids) ในหมวด ภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ เลขช่วยความจำได้แก่ เลขหลักใดหลักหนึ่งในเลขหมู่ซึ่งใช้ต่างๆ กันแต่มีความหมายเหมือนกัน

  24. ลักษณะการแบ่งเลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ลักษณะการแบ่งเลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ระบบทศนิยมดิวอี้

  25. ตัวอย่างการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ตัวอย่างการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ • การแบ่งชั้นที่ 1 ระดับหมวดใหญ่ 000 ความรู้ทั่วไป 100 ปรัชญาและสาขาที่เกี่ยวข้อง 200 ศาสนา 300 สังคมศาสตร์ 400 ภาษา 500 วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 700 ศิลปะ 800 วรรณคดี 900 ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ทั่วไป และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

  26. ตัวอย่างการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ (ต่อ) • การแบ่งชั้นที่ 2 ระดับหมวดย่อย 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 610 แพทย์ศาสตร์ 620 วิศวกรรมศาสตร์ 630 เกษตรศาสตร์ 640 คหกรรมศาสตร์ 650 การจัดการ 660 อุตสาหกรรมเคมี 670 โรงงานอุตสาหกรรม 680 โรงงานผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้เฉพาะอย่าง 690 การก่อสร้าง

  27. ตัวอย่างการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ (ต่อ) • การแบ่งชั้นที่ 3 ระดับหมู่ย่อย 631 เกษตรศาสตร์ 632 การเพาะปลูกและผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก 633 ความเสียหายของพืชอันเกิดจากเชื้อโรคและสัตว์ 634 การเพาะปลูกพืชไร่ 635 การทำสวนผลไม้ ผลไม้ และป่าไม้ 636 การทำสวนครัว 637สัตวบาล 638 อุตสาหกรรมนมเนย 639 การเพาะเลี้ยงแมลง

  28. ตัวอย่างการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ (ต่อ) • การแบ่งย่อยหลังทศนิยม 637สัตวบาล (Animal husbandary) .1 ม้า (horses) .2 วัว ควาย (Cattle) .3 แกะ (Sheep) .4 สุกร (Swine) .5 เป็ด ไก่ (Poultry) .6 นก (Birds) .7 สุนัข (Dog) .8 แมว (Cats) .9 สัตว์เลือดอุ่นอื่น ๆ (Other warm-blooded animals)

  29. ตัวอย่างการแบ่งหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ (ต่อ) • การแบ่งย่อยทศนิยมตำแหน่งที่ 2 .1 ม้า .11 ม้าในประเทศทางตะวันออก .12 ม้าแข่ง .13 ม้าสำหรับขี่เล่นเป็นงานอดิเรก .14 ม้าเทียมรถ .15 ม้าลากจูง .16 ม้าขนาดเล็ก .17 ม้าสำหรับบรรทุกของน้ำหนักเบา .18 ม้าประเภทอื่น ๆ ดังนั้น เมื่อเราต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับ “ม้าขนาดเล็ก”ต้องไปดูที่เลข 637.16

  30. ตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ ด้วย DDC

  31. ตัวอย่างตารางช่วย : ตัวอย่างตารางภูมิศาสตร์ - 1 เขตภูมิศาสตร์ทั่วไป เช่น เขตมหาสมุทร ทะเล - 2 งานที่เขียนเกี่ยวกับบุคคล/กลุ่มบุคคล ในเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง - 3 ดินแดนสมัยโบราณ เช่น เมโสโปเตเมีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ - 4 ทวีปยุโรป - 5 ทวีปเอเชีย - 6 ทวีปแอฟริกา - 7 ทวีปอเมริกาเหนือ - 8 ทวีปอเมริกาใต้ - 9 พื้นที่ส่วนอื่น ๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ดินแดนที่อยู่นอกโลก เช่น อวกาศ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร

  32. ตัวอย่างดรรชนีสัมพันธ์ตัวอย่างดรรชนีสัมพันธ์ Copper Age Archaeology 930.15 Arts Decorative 739.511 Chemistry Inorganic Organic 546.652 Construction Architecture 721.04473 Building 693.73

  33. ตัวอย่างเลขช่วยความจำ • เลขช่วยความจำ (Mnemonic aids) ปรากฏในหมวดภาษา (400) วรรณคดี (800) ประวัติศาสตร์ (900) 420/820 ภาษา/วรรณคดี อังกฤษ 942 ประวัติศาสตร์ประเทศอังกฤษ 430/830ภาษา/วรรณคดี เยอรมัน 943 ประวัติศาสตร์ประเทศเยอรมัน 440/840ภาษา/วรรณคดี ฝรั่งเศส 944 ประวัติศาสตร์ประเทศฝรั่งเศส 450/850 ภาษา/วรรณคดี อิตาเลียน 945 ประวัติศาสตร์ประเทศอิตาเลียน

  34. ข้อดีของระบบทศนิยมดิวอี้ข้อดีของระบบทศนิยมดิวอี้ • สามารถศึกษาวิธีใช้เลขหมู่ได้ด้วยตนเองโดยมีคำอธิบายวิธีใช้ระบบการจัดหมู่โดยละเอียด • สัญลักษณ์ที่ใช้ได้มีการปรับปรุงให้เหมาะสมตามขนาดของห้องสมุด • มีดรรชนีสัมพันธ์ช่วยในการค้นหาเลขหมู่ได้สะดวกและรวดเร็ว

  35. ข้อเสียของระบบทศนิยมดิวอี้ข้อเสียของระบบทศนิยมดิวอี้ • เลขหมู่ต่างๆจะเน้นเรื่องเกี่ยวกับประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา • การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเลขหมู่จะดำเนินการทุก 7 ปีทำให้เนื้อหาของเลขหมู่ไม่มีความทันสมัย • หนังสือในหมวดวรรณคดีที่มีผู้แต่งคนเดียวกันจะแยกกันอยู่ถ้ามีลักษณะการประพันธ์ที่แตกต่างกัน • การขยายเลขหมู่เป็นไปได้ยากมาก • ไม่มีหมวดหมู่ใหม่สำรองให้กับสาขาวิชาที่เกิดขึ้นใหม่ในอนาคต • เลขหมู่ในบางเรื่องมีความยาวถึง8-9 ตำแหน่งทำให้จำได้ยาก

  36. ระบบห้องสมุดรัฐบาลอเมริกัน (Library of Congress Classification System : LCC) • แบบแผนการการจัดหมวดหมู่ • แบ่งเป็น 20 หมู่ใหญ่ A-Z ยกเว้น (IOWXY) • หมวดย่อย จำแนกตามเนื้อหาของแต่ละสาขาวิชา แต่ละหมวดมีไม่เท่ากัน • หมู่ย่อย & เรื่องเฉพาะอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาวิชา • สัญลักษณ์แทนเนื้อหา • Mixed Notation (ตัวอักษรผสมตัวเลข) • อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 1 ตัว แทนหมวดใหญ่ • อักษร 1-2 แทนหมวดย่อย (ยกเว้นหมวด E-F, Z ไม่มี) • แบ่งหมู่ย่อยโดยใช้เลข 1- 9999 • ขยายต่อได้อีกโดยใช้ .

  37. ระบบห้องสมุดรัฐบาลอเมริกัน (Library of Congress Classification System : LCC) • จัดพิมพ์หมวดละเล่ม • ดรรชนีจะแยกเฉพาะหมวด (อยู่ท้ายเล่ม) • เลขช่วยความจำมีบางหมวดหมู่ ดังนี้ • G Geography • M Music • T Technology

  38. ตัวอย่างการจำแนกหมวดหมู่ของระบบ LCC • Aความรู้ทั่วไป • Bปรัชญา ศาสนา • Cศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ • Dประวัติศาสตร์ & เรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ทั่วไป (ยกเว้นทวีปอเมริกา) • E - F ประวัติศาสตร์ของทวีปอเมริกา และประเทศสหรัฐอเมริกา • Gภูมิศาสตร์ แผนที่ มานุษยวิทยา นันทนาการ • Hสังคมศาสตร์ • Jรัฐศาสตร์ • Kกฎหมาย

  39. ตัวอย่างการจำแนกหมวดหมู่ของระบบ LCC (ต่อ) • การแบ่งหมวดย่อย Qวิทยาศาสตร์ QAคณิตศาสตร์ QBดาราศาสตร์ QCฟิสิกส์ QDเคมี Kกฎหมาย KE กฎหมายของประเทศแคนนาดา KFกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา KKกฎหมายของประเทศเยอรมัน KKAกฎหมายของประเทศเยอรมันตะวันออก KKB-KKCเยอรมัน, รัฐ, จังหวัด, เมือง

  40. ตัวอย่างการจำแนกหมวดหมู่ของระบบ LCC (ต่อ) • การแบ่งหมู่ย่อย QDเคมี 23.3 – 26 วิชาเล่นแร่แปรธาตุ 71-142 เคมีวิเคราะห์ 146-197 อนินทรีย์เคมี 146 วารสาร สมาคม 148 พจนานุกรม สารานุกรม ประวัติ 149.5 ประวัติทั่วไป 149.7 ประวัติแบ่งตามภูมิศาสตร์หรือประเทศ จาก A-Z 150 ประวัติจากยุคแรกถึง ค.ศ. 1800

  41. ข้อดีของระบบห้องสมุดรัฐบาลอเมริกัน • เลขหมู่ของทุกสาขาวิชาแบ่งอย่างละเอียดและการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอออกทุก 3 เดือนและรวมเล่ม 1 ปี • สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเลขหมู่เข้าใจง่ายและยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสมของเนื้อหาวิชา • หนังสือคู่มือจะแยกเลขหมู่ในแต่ละหมวดทำให้เข้าใจง่าย • มีการแบ่งย่อยตามภูมิศาสตร์ • มีการแบ่งย่อยภายในได้หลายวิธีเช่นแบ่งตามภูมิศาสตร์แบ่งเฉพาะเรื่องแบ่งโดยใช้คัตเตอร์เลขหมู่ • มีหมวดหมู่ใหญ่ที่สำรองไว้ให้กับสาขาวิชาที่จะมีขึ้นในอนาคตถึง 5 หมวดคือ I O W X Y • ให้หมวดหมู่ของหนังสือที่มีเนื้อหาทั่วไปคือหมวด A ซึ่งจะจัดให้กับหนังสือที่ไม่สามารถจัดเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะได้

  42. ข้อเสียของระบบห้องสมุดรัฐบาลอเมริกัน • ขาดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการวางโครงสร้างของเลขหมู่ย่อยในระบบ • การแบ่งย่อยภายในหมวดไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา • เรื่องเกี่ยวกับประเทศต่างๆในทวีปเอเชียมีน้อยมาก ระบบห้องสมุดรัฐบาลสหรัฐ

  43. ระบบโคลอน (Colon Classification System) • แบบแผนการแบ่งหมวดหมู่ • จำแนกความรู้ออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ให้มากที่สุด แล้วกำหนดสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ • นำสัญลักษณ์มาผสมกัน (โดยอาศัยเครื่องหมายที่กำหนดให้ใช้) เพื่อกำหนดเป็นเลขหมู่ • สัญลักษณ์แทนเนื้อหา • Mixed Notation (ตัวอักษรผสมตัวเลข/สัญลักษณ์อื่น ๆ) • สัญลักษณ์แทนหมวดใหญ่มีทั้ง เลขอารบิค ตัวอักษรโรมัน ตัวอักษรกรีก • แบ่งหมวดย่อยใช้เลขอารบิค • L แพทย์ศาสตร์ • 2 ระบบย่อยอาหาร • 27 ลำไส้ใหญ่ • 27219 ไส้ตัน

  44. ระบบโคลอน (Colon Classification System) (ต่อ) • แบ่งย่อยวิธีเขียน เขตภูมิศาสตร์ ลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ใช้อักษรโรมัน ตัวพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ ตัวเลขอารบิค • a บรรณานุกรม • 4 ทวีปเอเชีย • 53 ประเทศฝรั่งเศส • N ค.ศ. 1900-1999 • เครื่องหมายประกอบการสร้างเลขหมู่ • , เชื่อมสัญลักษณ์เกี่ยวกับบุคคล องค์กร • ; เชื่อมสัญลักษณ์เกี่ยวกับสสาร • : เชื่อมสัญลักษณ์เกี่ยวกับพลังงาน • . เชื่อมสัญลักษณ์เกี่ยวกับระยะทาง พื้นที่ • ' เชื่อมสัญลักษณ์เกี่ยวกับเวลา ยุคสมัย

  45. ระบบโคลอน (Colon Classification System) (ต่อ) • โครงสร้างของเลขฟาเซ็ท จำแนกเป็น 5 ส่วน ดังนี้ PMEST • Personality : เรื่องเฉพาะ บุคคล องค์กร • Material : สสาร วัสดุ • Energy : พลังงาน กิจกรรม กระบวนการ • Space : สถานที่ ระยะทาง • Time : เวลา ยุคสมัย

  46. ตัวอย่างการกำหนดเลขหมู่แบบโคลอนตัวอย่างการกำหนดเลขหมู่แบบโคลอน " The design of wooden furniture in 19th century in United States " P28 = furniture M16 = Wood d5 = design U13 = United States N18 = 19th century สัญลักษณ์ที่ได้ P28; M16: d5. U13' N18

  47. ตัวอย่างการกำหนดเลขหมู่แบบโคลอนตัวอย่างการกำหนดเลขหมู่แบบโคลอน " การพิมพ์ผ้าในเมืองแลนคาสเชอร์ ในปี ค.ศ. 1966 " M7 = การทอผ้า 8 = การทอผ้าด้วยวิธีการพิมพ์ 56163 = เมืองแลนคาสเชอร์ N66 = ค.ศ. 1966 จะได้เลขหมู่ M7: 8. 56163' N66 Colon Classification

  48. เลขเรียกหนังสือ (Call number) • เลขเรียกหนังสือคือรหัสหรือสัญลักษณ์ที่บรรณารักษ์กำหนดขึ้นสำหรับระบุถึงหนังสือแต่ละชื่อเรื่องหรือทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท • ให้ผู้ใช้ห้องสมุดใช้เป็นจุดเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและใช้สื่อสารกับบรรณารักษ์ในงานบริการยืม-คืนและบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า • ช่วยบรรณารักษ์ในการจัดหาการให้บริการการจัดเก็บและการสำรวจทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด

  49. ส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือ • เลขหมู่หนังสือเป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นแทนเนื้อหาสาระของหนังสือซึ่งการกำหนดสัญลักษณ์ดังกล่าวอาจจะแตกต่างกันไปตามระบบการจัดหมู่หนังสือ • เลขผู้แต่งเป็นสัญลักษณ์ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขตัวอักษรตัวแรกได้มาจากชื่อผู้แต่งหรือชื่อที่ใช้เป็นรายการหลัก • อักษรชื่อเรื่องเป็นสัญลักษณ์ที่ได้มาจากพยัญชนะตัวแรกของชื่อหนังสือ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง อักษรชื่อเรื่อง

  50. เลขเรียกหนังสือ (Call Number) ตัวอย่าง 020 คือเลขหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้แสดงให้ทราบว่าเป็น หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ร214 คือเลขผู้แต่งของรัถพรซังธาดา สคือพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่องสารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า 020 ร214ส

More Related