1 / 30

Memory

Memory. Objective ศึกษาถึง ระบบ หน่วยความจำประเภทต่างๆ ที่ใช้ในระบบ Microcontroller และ เข้าใจถึงการจัดการ การใช้งานหน่วยความจำของระบบ MCS – 51 ได้. Random Access Memory. RAM หรือหน่วยความจำที่เราสามารถใช้งานแบบสุ่มได้ โดยจะถูกกำหนดโดย 2 n x m

soren
Download Presentation

Memory

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Memory Objective ศึกษาถึง ระบบ หน่วยความจำประเภทต่างๆ ที่ใช้ในระบบ Microcontroller และ เข้าใจถึงการจัดการ การใช้งานหน่วยความจำของระบบ MCS – 51 ได้

  2. Random Access Memory RAM หรือหน่วยความจำที่เราสามารถใช้งานแบบสุ่มได้ โดยจะถูกกำหนดโดย 2n x m เมื่อ 2nจำนวนของตำแหน่งของ Address และ m คือ จำนวนของ bit ที่เก็บในแต่ละตำแหน่งเช่น 32 k x 8 คือ32 kilobyte จะได้ 2 15เท่ากับ 32,768

  3. Read/Write memory Static RAM (SRAM) เป็นหน่วยความจำที่สามารถอ่านเขียนได้โดยมีพื้นฐานมาจากการใช้ flip – flop มาเป็นส่วนประกอบหลักในแนวในแถว และหลัก ( Row and Column ) ดังนั้นในการใช้งานเมื่อข้อมูลบรรจุอยู่ในตัว SRAM ข้อมูลจะไม่สูญหายตราบที่ยังมีไฟเลี้ยงอยู่

  4. ตัวอย่างเบอร์ IC ของ SRAM

  5. Dynamic RAM ( DRAM) DRAM จะใช้หน่วยเก็บข้อมูลเป็นตัวเก็บประจุ(capacitor) โดยลอจิก 1 หรือ 0 จะแทนโดยการที่มีประจุหรือไม่มีประจุ ข้อดีของ DRAM คือในการผลิตจะสามารถทำให้ความหนาแน่นต่อพื้นที่สูงทำให้ขนาดเล็ก แต่ในการใช้การจะต้องมีการ Refresh เพื่อให้ข้อมูลค้างอยู่

  6. Read Only Memory (ROM) ROM คือหน่วยความจำที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว สำหรับการเขียนจะต้องใช้เครื่องมือหรือวิธีเฉพาะ ในการเขียนข้อมูลลงไป โดยปกติแล้ว ROM จะใช้เป็น Program memory ROM จะแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น Mask ROM , PROM , EPROM , EEPROM , Flash ROM ในปัจจุบันที่ที่เป็นที่นิยมใช้งานจะเป็นประเภท EEPROM และ FLASH

  7. EPROM EPROM หรือ Erasable Programmable ROM เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบเพื่อทำการ โปรแกรมใหม่ได้ ในการลบจะใช้แสง UV ส่องผ่านทางช่องที่อยู่ด้านบนไอซี แล้วจึงโปรแกรมด้วยเครื่องโปรแกรมโดยต้องทำการปิดช่องด้านบนไอซีด้วย

  8. รูปแสดงการอ่านข้อมูลจาก EPROM รูปแสดงการลบโปรแกรมของ EPROM

  9. EEPROM EEPROM หรือ Electrical Erasable Programmable Read Only Memory และ FLASH เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลได้โดยใช้ไฟฟ้า โดยสิ่งที่ต่างกันระหว่าง EEPROM กับ FLASH คือ ในการโปรแกรม EEPROM จะลบข้อมูลที่ละไบต์ แต่ FLASH จะลบข้อมูลที่ละ Block

  10. JEDEC Memory Pin-Outs เป็นมาตรฐานการจัดเรียงขาไอซีของหน่วยความจำประเภทต่างๆ โดย JEDEC คือ Joint Electronic Device Engineering Committee

  11. ขาที่ทำหน้าที่ต่างๆ ของ Memory • Vcc เป็นขาไฟเลี้ยง 5V • GND เป็นขา GND • CS ( Chip Select) หรือ CE ( Chip Enable) ใช้สำหรับเลือกให้ Chip นั้นทำงาน • OE ( Output Enable) เป็นขาที่บอกให้ตัว memory ส่งข้อมูลมา ปกติแล้วจะต่ออยู่กับขา RD ของ Microprocessor • WE ( Write Enable ) เป็นขาที่บอกตัว memory ว่าจะมีการเขียนข้อมูลลงในตัว memory • Vpp เป็นขาสำหรับป้อนไฟเลี้ยงในการเขียนข้อมูลลงใน EPROM

  12. Parametric Considerations โดยปกติแล้วในการเชื่อมต่อระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับหน่วยความจำ สำหรับการอ่านข้อมูลมีข้อพิจารณาคือเรื่องของ TAA (Address Access Time) TOE (Output Enable Time) TCE (Chip Enable Time)

  13. โดยปกติแล้วในการเชื่อมต่อระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับหน่วยความจำ สำหรับการเขียนข้อมูลมีข้อพิจารณาคือเรื่องของ TWP (Write Pulse Width) TAS (Address Setup Time) TAH (Address Hold Time) TDS (Data Setup Time) TDH (Data Hold Time)

  14. MCS-51 Memory Organizations จากที่กล่าวมาในบทที่ 1 MCS – 51 จะใช้สถาปัตยกรรมภายในแบบ Harvard ที่จะแยก program memory กับ data memory ออกจากกัน

  15. Program Memory of AT89C52

  16. Data Memory of P89V51RD2

  17. Data Memory

  18. Data Memory

  19. การเชื่อมต่อ 8051 กับ Program Memory

  20. การเชื่อมต่อ 8051 กับ Data Memory

  21. Memory Mapand Decode ในกรณีที่เรา แบ่งการใช้งานหน่วยความจำเป็นหลายประเภท เราต้องมีการจัดการหน่วยความจำเช่น พื้นที่ 0x0000 – 0x1FFF ของ หน่วยความจำโปรแกรม ใช้เป็นที่เก็บโปรแกรม Monitor หรือ 0x8000 – 0xFFFF ของ หน่วยความจำข้อมูลภายนอก ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล หรือ 0x0000 – 0x0003 ใช้สำหรับการติดต่อ I/O เบอร์ 8255 ที่ต่อแบบ หน่วยความจำข้อมูลภายนอก จากที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการจัดการหน่วยความจำภายนอก ซึ่งเรียกว่า Memory Map

  22. Memory Map จะใช้การแบ่งหน่วยความจำออกเป็นส่วน โดยเมื่อมีการต้องการใช้งานหน่วยความจำส่วนไหนก็ ทำการ Enable เฉพราะส่วนนั้น IC ที่นิยมใช้ในการ Encode memory เช่น 74LS1383 to 8 encoder โดยถ้าเรานำเอาขา A15 , A14 , A13 มาต่อเข้ากับขา A , B ,C ของ 74LS138 จะได้ตาราง MemoryMap ดังรูป

  23. ตัวอย่างเช่น ถ้าเราออกแบบให้เชื่อมต่อ EPROM เบอร์ 27C256 และ SRAM เบอร์ HM62256โดยมี Address ที่ 0x0000 – 0x7FFF ของProgram Memory และ 0x8000 – 0xFFFF ของ Data Memory ตามลำดับ จะได้วงจรดังรูป

  24. Work จงออกแบบวงจรที่เชื่อมต่อ 8051 กับ Data Memory เบอร์ HM6116 โดยตำแหน่งเริ่มต้นของ Data Memory อยู่ที่ 2000H จงออกแบบวงจรที่เชื่อมต่อ 8051 กับ Program Memory เบอร์ 28C64 จำนวน 2 ตัวโดยให้ตำแหน่งเริ่มต้นของ Program Memory อยู่ที่ 0000H และ C000H และมี Data Memory เบอร์ HM6116 ต่ออยู่ที่ตำแหน่งเริ่มต้น 8000H

More Related