1 / 41

ทางเลือกโครงการ ในการบูร ณา การแผนพัฒนาการเกษตร กับแผนพัฒนาท้องถิ่น

ทางเลือกโครงการ ในการบูร ณา การแผนพัฒนาการเกษตร กับแผนพัฒนาท้องถิ่น. ว่าที่ ร.ต. นรินทร์ แขมพิมาย ผู้อำนวยการส่วนพัฒนางานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี. วัตถุประสงค์ของการจัดทำทางเลือกโครงการ. Note : ต้องการให้กลุ่มอารักขาพืชของจังหวัดมีการจัดทำทางเลือกโครงการที่เหมาะสมของจังหวัด.

Download Presentation

ทางเลือกโครงการ ในการบูร ณา การแผนพัฒนาการเกษตร กับแผนพัฒนาท้องถิ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทางเลือกโครงการในการบูรณาการแผนพัฒนาการเกษตร กับแผนพัฒนาท้องถิ่น ว่าที่ ร.ต. นรินทร์ แขมพิมาย ผู้อำนวยการส่วนพัฒนางานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

  2. วัตถุประสงค์ของการจัดทำทางเลือกโครงการวัตถุประสงค์ของการจัดทำทางเลือกโครงการ Note : ต้องการให้กลุ่มอารักขาพืชของจังหวัดมีการจัดทำทางเลือกโครงการที่เหมาะสมของจังหวัด 1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในภูมิภาค ใช้เป็นข้อมูลในการ จัดทำโครงการ/ กิจกรรม ในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ระดับตำบล บูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่น 2. นักวิชาการเกษตรของส่วนกลาง ได้เสนอแนวคิดการจัดทำโครงการ/ และเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ/โครงการ แก่นักวิชาการในภูมิภาค 3. จังหวัดเสนอทางเลือกโครงการโดยมีส่วน Sharing (นำทางเลือก โครงการส่วนกลางไปปรับใช้เป็นทางเลือกของจังหวัดได้)

  3. กรมส่งเสริมการเกษตรได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำทางเลือกโครงการ และคณะทำงานกลั่นกรองทางเลือกโครงการ ตามคำสั่งกรมส่งเสริมการเกษตรที่ 1235/2554 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2554 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. คณะกรรมการจัดทำทางเลือกโครงการ - รธส.วก. เป็นประธาน - ผอ. สสจ. เป็นรองประธาน - ผอ.สพศ. ทีมงาน สพท./ สสจ. เป็นทีมเลขานุการฯ 2. คณะทำงานกลั่นกรองทางเลือกโครงการ - ผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและจัดการการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้น และ ยางพารา เป็นประธาน - ผอ.สพศ. ทีมงาน สพท./ สสจ. เป็นทีมเลขานุการฯ

  4. บทบาทของจังหวัดในการสนับสนุนการทำงานในระดับพื้นที่บทบาทของจังหวัดในการสนับสนุนการทำงานในระดับพื้นที่ Note : กรมฯ สั่งการให้เขต/จังหวัดจัดทำทางเลือกโครงการ ข้อมูล/ทางเลือกโครงการ 1. กรมฯ แจ้งเขต/จังหวัดจัดทำทางเลือกโครงการตามประเด็นที่กำหนด (8 ข้อ) อย่างน้อยจังหวัดละ 3 โครงการ ตามหนังสือ ที่ กษ 1009/ว 386 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2555 2. ได้รับโครงการแล้ว จาก 18 จังหวัด จำนวน 15 หมวด 56 โครงการ (ตัดยอด ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2555)

  5. ศบกต. ท้องถิ่น รัฐ บูรณาการ ข้อมูลการเกษตรและทางเลือกโครงการ แผนพัฒนาการเกษตร การส่งเสริมการเกษตรของ ศบกต. ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ และ อปท. แผนพัฒนาท้องถิ่น เวทีชุมชน/ประชาคมงบประมาณ -บูรณาการให้บริการ - สนับสนุน กรมส่งเสริมการเกษตร อปท. ให้บริการด้านการเกษตร ภารกิจถ่ายโอน 10 ภารกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้บริการด้านการเกษตร หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ศบกต. หน้าที่ตาม พรบ. บริหารจัดการทรัพยากรตามแผนพัฒนาการเกษตร ปฏิบัติตามแผน เกษตรกร /กลุ่มอาชีพ / วิสาหกิจชุมชน

  6. ระบบการทำงานในพื้นที่ : แผนพัฒนาการเกษตร 1. จัดทำแนวทางการพัฒนาการเกษตร 2. จัดทำทางเลือกเป็นรายหมู่บ้าน 3. จัดทำครัวเรือนเกษตรกร (ข้อมูล Family Folder) 4. นำเสนอทางเลือกที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ และเกษตรกร 5. ช่วยเหลือและสนับสนุนแผนการผลิตของเกษตรกร

  7. กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร 1. สร้างจิตสำนึกการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมแก่ผู้แทนชุมชน/ ผู้นำ 2. รวบรวมข้อมูล / ทบทวนอดีต 3. วิเคราะห์ข้อมูล / ประเด็นปัญหา 4. จัดลำดับความสำคัญของปัญหา 5. กำหนดวิสัยทัศน์/แนวทางการพัฒนา(สังเคราะห์ข้อมูล) 6. ยกร่างแผนพัฒนาการเกษตร 7. จัดทำแผนพัฒนาการเกษตร / ประชาพิจารณ์

  8. 1.ข้อมูล จัดทำ/จัดเก็บข้อมูล ทุติยภูมิ ปฐมภูมิ กรมต่างๆ 4 ด้าน 3.การสังเคราะห์ ข้อมูล ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม สังคม เศรษฐกิจ แปลผล/ จัดชั้นข้อมูลแต่ละชนิด แปลงลงแผนที่ตำบล/ ขอบเขต หมู่บ้านทั้ง 4 ด้าน ชีวภาพ กายภาพ การซ้อนทับข้อมูล (Overlay) 2.การวิเคราะห์ ทั้งระบบ เทคนิคการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล • ความสัมพันธ์เชิงระบบ • องค์ประกอบของระบบเกษตรกรรม • จัดทำทางเลือกในการแก้ปัญหา/ • การพัฒนา • กำหนดวิสัยทัศน์(ภาพฝันในอนาคต) การวิเคราะห์ระบบนิเวศน์เกษตร (Agro-ecosystem Analysis) 4 ด้าน กายภาพ

  9. การสังเคราะห์ข้อมูล นำกลุ่มของข้อมูลและปัญหาที่ซ้อนทับ (Overlay) มาอภิปราย ความเป็นเหตุผล/ สาเหตุ ทราบและเข้าใจพื้นที่/ ชุมชน ศักยภาพ พิจารณา - ประวัติการประกอบอาชีพ - ลักษณะการผลิต อดีต-ปัจจุบัน - ปัจจัยและเงื่อนไขการผลิต - กลยุทธ์ทางเลือกปรับปรุงอาชีพเดิม เปลี่ยนอาชีพ/กิจกรรม ** กำหนดเป็นแผน 3 ปี **

  10. การวางแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล มีคำถามหลัก 6 ข้อ 1. ควรปรับปรุงอะไร (What) 2. แต่ละเรื่องควรทำที่ไหน (Where) 3. แต่ละอย่างควรทำกับใคร (Who) 4. ทำไมจึงควรปรับปรุงสิ่งนั้น กับคนกลุ่มนั้น (Why) 5. แต่ละอย่างจะทำอย่างไร (How) - แนวทางเลือก (เมนูทางเลือกโครงการ) - ขั้นตอนการทำ 6. แต่ละอย่างจะทำเมื่อไร (When)

  11. การทำตารางสังเคราะห์จะช่วยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการสร้างกลยุทธ์ทางเลือกไว้ด้วยกัน ทำให้การพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ครบถ้วนรอบด้านยิ่งขึ้น

  12. ตัวอย่าง ตารางวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจัดทำทางเลือก

  13. “คู่มือภาควิชาพืชศาสตร์ (Crop Module)” รายพืชเศรษฐกิจ รวบรวมองค์ความรู้ที่เหมาะสมแต่ละภูมิภาค โดย1.ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการเกษตรระดับ จังหวัดและเกษตรอำเภอ ซึ่งมีความรู้ในรายพืชแต่ละภาค 2. รวบรวมเป็นองค์ความรู้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ 3. เกษตรตำบลนำไปใช้เป็นคู่มือในการส่งเสริมสู่เกษตรกร เวทีระบบฝึกอบรม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางวิชาการ (Technical Workshop:TW)

  14. Crop Module : Appropriate Technology เป้าหมาย ส่วนประกอบที่สำคัญ ประเด็นการส่งเสริม วิชาการ/เทคโนโลยีที่ใช้ 1. พันธุ์ 2. การเขตกรรม 3. โรคและแมลง :อารักขาพืช 4. การเก็บเกี่ยว 5. การแปรรูปผลิตภัณฑ์  เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเกษตรกร 

  15. ประเด็นการจัดทำทางเลือกโครงการ(Project Idea) ประกอบด้วย... แนวคิด • ชื่อโครงการ/ กิจกรรม (what) • เหตุผล/ ปัญหา (why) ทำไมต้องทำโครงการนี้ • วิธีการดำเนินงาน/ ประเด็นส่งเสริม (how) ต้องทำอย่างไร • มีกิจรรมอะไรบ้าง โดยคิดเป็นโครงการย่อยระดับชุมชน • งบประมาณ (ตามรายละเอียดกิจกรรม/ ประเด็นส่งเสริม) unit cost เป็นเอกสารแนบ • เงื่อนไขการดำเนินงาน (ถ้ามี) อาจเป็นข้อจำกัดของพืช/ กิจกรรมที่จะดำเนินการ • ผู้รับผิดชอบ เช่น ชื่อ หรือ เบอร์โทรศัพท์/ e-mail

  16. ประเด็นการจัดทำทางเลือกโครงการ 1. ชื่อโครงการ 2. เหตุผลในการทำโครงการ 3. เงื่อนไขการดำเนินงาน 4. การดำเนินงาน/ประเด็นส่งเสริม 5. วิชาการ/เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 6. ผลตอบแทนที่เกิดกับเกษตรกร 7. งบประมาณ 8. แหล่งข้อมูล 8.1 จุดที่ประสบผลสำเร็จ/จุดเรียนรู้/กรณีตัวอย่าง 8.2 ผู้จัดทำโครงการ 8.3 ที่ปรึกษาโครงการ/ผู้เสนอแนะโครงการ

  17. ประเด็นการจัดทำทางเลือกโครงการ (รายละเอียด) 1. ชื่อโครงการ - มีความหมายชัดเจน - สอดคล้องกับเนื้อหาของโครงการ 2. เหตุผลในการทำโครงการ - รายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขในขอบเขตระดับตำบล อำเภอ จังหวัด - ประโยชน์ที่จะได้จากการดำเนินงานโครงการเพื่อตอบคำถามว่าทำไมต้องทำโครงการนี้

  18. ประเด็นการจัดทำทางเลือกโครงการ (รายละเอียด) (ต่อ) 3. เงื่อนไขการดำเนินงาน - ข้อจำกัดของพืช พื้นที่ หรือกิจกรรมที่จะดำเนินการ 4. การดำเนินงาน/ประเด็นส่งเสริม - กิจกรรม/วิธีการที่กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนตามลำดับก่อนหลังของกระบวนการส่งเสริมการเกษตร

  19. ประเด็นการจัดทำทางเลือกโครงการ (รายละเอียด) (ต่อ) 5. วิชาการ/เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง - ความรู้/วิทยาการด้านการเกษตรที่นำมาใช้ประโยชน์ในโครงการ เช่น พันธุ์ การเขตกรรม โรคและแมลง : อารักขาพืช การเก็บเกี่ยว 6. ผลตอบแทนที่เกิดกับเกษตรกร - สิ่งที่เกษตรกรจะได้รับจากการทำโครงการ ความรู้/การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รายได้

  20. ประเด็นการจัดทำทางเลือกโครงการ (รายละเอียด) (ต่อ) 7. งบประมาณ (เป็นแนวทางในการจัดทำโครงการ การนำไปปฏิบัติจริงให้ยึดตามระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือแหล่งงบประมาณ) - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ - แยกรายละเอียดในแต่ละกิจกรรม รวมถึงค่าวัสดุอุปกรณ์ให้ชัดเจน

  21. ประเด็นการจัดทำทางเลือกโครงการ (รายละเอียด) (ต่อ) 8. แหล่งข้อมูล 8.1 จุดที่ประสบผลสำเร็จ/จุดเรียนรู้/กรณีตัวอย่าง - เป็นจุดที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practices) สามารถให้ผู้อื่นเข้าไปเรียนรู้ได้ - ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของเกษตรกร หรือผู้ที่ได้ดำเนินการตามโครงการแล้ว 8.2 ผู้จัดทำโครงการ - ชื่อ, ตำแหน่ง, เบอร์โทรศัพท์ และ E-mailของผู้เรียบเรียง/ผู้เขียนโครงการ 8.3 ที่ปรึกษาโครงการ/ผู้เสนอแนะโครงการ - ชื่อ, ตำแหน่ง, เบอร์โทรศัพท์ และ E-mail ของผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบ ดูแล ให้คำปรึกษาการเขียนทางเลือกโครงการ

  22. ตัวอย่าง (1) 1. ชื่อโครงการ : โครงการควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยชีววิธี 2. เหตุผลในที่ทำโครงการ 1.) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูอ้อย 2.) สารเคมีราคาแพงและเป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิตนอกเป้าหมายและสิ่งแวดล้อม 3.) ลักษณะการเจริญเติบโตของต้นอ้อยยากแก่การใช้วิธีการอื่นในการควบคุมแมลงศัตรูอ้อย 3. เงื่อนไขในการดำเนินงาน 1.) เกษตรกรมีความพร้อมและสมัครใจในการดำเนินงาน 2.) กลุ่มเกษตรกรต้องมีสถานที่ผลิตที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง 3.) เกษตรกรต้องรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อจะได้เรียนรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรอ้อย 4.) กลุ่มเกษตรกรต้องมีพื้นที่ปลูกอ้อยที่ติดต่อกัน 4. วิธีการดำเนินงาน / ประเด็นส่งเสริม 1.) ประสานงานศูนย์บริหารศัตรูพืช และสำนักงานเกษตรจังหวัดเพื่อรวมกลุ่มเกษตรกร 2.) จัดเตรียมโรงเรือนผลิตขยายแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่า และแมลงหางหนีบ ขนาดโรงเรือน 4x 6 ตารางเมตร เพื่อใช้อบรม และถ่ายทอดการผลิตขยายแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่า แมลงหางหนีบหรือศัตรูธรรมชาติชนิดอื่น (หรือใช้สถานที่ที่มีอยู่ในการดำเนินการได้) 3.) จัดอบรมการควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยชีววิธี การผลิตขยายแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ การนำไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูอ้อยการประเมินประสิทธิภาพการควบคุม 4.) วางแผนการผลิตแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่า แมลงหางหนีบ เพื่อให้ได้ปริมาณและคุณภาพโดยให้มีระยะเวลาที่สอดคล้องกับความต้องการนำไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูอ้อย ทาง เลือก โครง การ

  23. ตัวอย่าง (1) 5. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เทคนิคการผลิตขยายแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่า การผลิตขยายแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่ามี 2 ขั้นตอน คือ 1.) การผลิตขยายผีเสื้อข้าวสาร 2.) การผลิตขยายแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่า การผลิตขยายผีเสื้อข้าวสาร 1.) ผสมรำข้าวกับปลายข้าว อัตรา 1 : 2 ส่วน 2.) นำไข่ผีเสื้อข้าวสารใส่กล่องที่มีอาหารที่มีส่วนผสมของรำข้าวกับปลายข้าว ประมาณ 45 วันไข่จะเจริญถึงระยะตัวเต็มวัย 3.) แยกตัวเต็มวัยผีเสื้อข้าวสารไปใส่อีกกล่องหนึ่งพักไว้ 1 คืน เพื่อให้ผสมพันธุ์ วางไข่ 4.) ร่อนไข่เพื่อทำความสะอาดสิ่งเจือปนออกจากไข่ผีเสื้อข้าวสาร 5.) ไข่ที่ได้จะนำไปผลิตแตนเบียนฯ การผลิตขยายแตนเบียนไข่ทริคโคแกรมม่า 1.) นำไข่ผีเสื้อข้าวสารที่ทำความสะอาดแล้วติดบนแผ่นกระดาษซับหมึก 2.) นำแผ่นกระดาษซับหมึกที่มีไข่ผีเสื้อข้าวสารติดอยู่เข้าตู้อบ UV ประมาณ 15 – 20 นาที เพื่อฆ่าคัพพะของไข่ 3.) นำแผ่นไข่ผีเสื้อข้าวสารที่อบแล้วบรรจุใส่หลอดแก้วพร้อมกับใส่แผ่นไข่ผีเสื้อข้าวสารซึ่งภายในไข่มีแตนเบียนเจริญอยู่ โดยใช้แผ่นที่มีแตนเบียนระยะพร้อมจะฟักออกจากไข่ และสำลีก้านชุบน้ำผึ้งเพื่อเป็นอาหารของแตนเบียนไข่ฯ จากนั้นปิดปากหลอดแก้วด้วยสำลี 4.) ประมาณ 3 – 5 วัน ไข่ผีเสื้อข้าวสารที่ถูกแตนเบียนไข่เบียนสังเกตได้โดยสีเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำ (ดักแด้) พร้อมนำไปปล่อยในแปลงได้ ทาง เลือก โครง การ

  24. ทาง เลือก โครง การ 6. ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร - แปลงเกษตรกรใช้สารเคมี ต้นทุน 4,190/ ไร่ กำไรสุทธิ 3,810 บาท - แปลงชีววิธีใช้แตนเบียน ต้นทุน 3,605 บาท / ไร่ กำไรสุทธิ 6,795 บาท สรุป แปลงชีววิธีได้กำไรสุทธิ มากกว่าแปลงเกษตรกร 2,985 บาท/ ไร่ 7. งบประมาณโครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 150,000 บาท ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่าย ดังนี้ - โรงเรือน - ค่าวัสดุอุปกรณ์ - ค่าวัสดุการฝึกอบรม - ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน

  25. ทาง เลือก โครง การ 8. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม - กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกไร่อ้อย ต. หนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ - โรงงานน้ำตาลเกษตรไทย อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ - ติต่อผู้จัดทำ นางปฏิมา คำอินทา เจ้าพนักงานการเกษตร ชำนาญการ ส่วนบริหารศัตรูพืชชุมชน สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร โทร 02-9428542 , 02-5790280 FAX02-5790280 - ที่ปรึกษา นางลาวัลย์ จีรำงศ์ ผูอำนวยการส่วนบริหารศัตรูพืช ส่วนบริหารศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร โทร 02-9428542, 02-5790280, FAX02-5790280

  26. ตัวอย่างที่ (2) 1. ชื่อโครงการ: โครงการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรงรายย่อย 2. เหตุผลในการทำโครงการ 1) ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอยู่ในธรรมชาติสามารถเลี้ยงได้ทั่วทุกภาค 2) เกษตรกรมีรายได้จากการขายน้ำผึ้งและไขผึ้ง 3) ผึ้งโพรงมีประโยชน์ในการช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร 3. เงื่อนไขในการดำเนินงาน ต้องเป็นแหล่งที่มีผึ้งโพรงอยู่ในธรรมชาติในท้องถิ่นและมีพืชอาหารของผึ้งโพรง 4. วิธีการดำเนินงาน/ ประเด็นส่งเสริม 1) การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกร 2) จัดทำจุดสาธิตการเลี้ยงผึ้งโพรง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาอาชีพการเลี้ยงผึ้งโพรง 3) ติดตามและนิเทศงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม แก้ไขปัญหาและประสานงานกลุ่มเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ 4) สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ ทาง เลือก โครง การ 26

  27. ตัวอย่างที่ (2) 5. วิชาการ/เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 1) เทคโนโลยีการเลี้ยงผึ้ง 2)ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม 3) การจัดการภายในโรงเรือน 4) การจัดการเลี้ยงผึ้งช่วงฤดูดอกไม้บาน 5) การจัดการเลี้ยงผึ้งช่วงฤดูดอกไม้บาน 6) การจัดการผลผลิต 7) การจัดการเลี้ยงผึ้งช่วงหลังฤดูดอกไม้บาน 8) การจัดการสุขภาพผึ้ง 9) การใช้ยาและสารเคมีกับผึ้งในฟาร์ม 10) การบันทึกข้อมูล 11) การจัดการสิ่งแวดล้อม ทาง เลือก โครง การ 27

  28. ตัวอย่าง (3) ๑. ชื่อโครงการ ส่งเสริมการจัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ๒. เหตุผล/ปัญหา เนื่องจากกระแสความตื่นตัวด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค ในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารที่ปลอดภัย ทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าปลอดภัยที่สุดเปิดตัวขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมูลค่าสูงขึ้น ประเทศไทยมีสินค้าเกษตรอินทรีย์หลักที่ส่งออกได้แก่ข้าวอินทรีย์ ซึ่งมีปริมาณการส่งออกคิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวหอมมะลิอินทรีย์เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยที่มีโอกาสในการแข่งขันสูงในตลาดโลก ดังนั้นควรมีการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้มากขึ้น ๓. เงื่อนไขในการดำเนินงาน ๑. เป็นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยพิจารณาจากสภาพดิน แหล่งน้ำ อากาศ และสภาพแวดล้อม รวมทั้งประวัติการใช้สารเคมีทางการเกษตร ๒. เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ภาคเอกชนมีการส่งเสริมด้านการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว ๓. เป็นเกษตรกรที่สนใจจะทำเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ๔. เกษตรกรยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ และให้คำแนะนำในการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ ทาง เลือก โครง การ

  29. ตัวอย่าง (3) ๔. วิธีการดำเนินงาน/ประเด็นส่งเสริม ๑. คัดเลือกเกษตรกรที่มีความสมัครใจ และมีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ในพื้นที่ ๕ ไร่ และจัดทำแปลงเปรียบเทียบการผลิตข้าวหอมมะลิโดยวิธีการปฏิบัติของเกษตรกรทั่วไป ในพื้นที่ ๕ ไร่ ๒. ชี้แจงเงื่อนไขการดำเนินงาน และถ่ายทอดความรู้การผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรผู้รับผิดชอบแปลง ๓. มีแหล่งทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนให้เกษตรกรเจ้าของแปลง เพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้ ๔. นำเกษตรกรผู้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์รายอื่นมาเยี่ยมชม/ดูงานแปลงเรียนรู้ โดยให้เกษตรกรเจ้าของแปลงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ๔.๑ ประเด็นการถ่ายทอดความรู้ - เงื่อนไขการดำเนินการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ - หลักการผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ๕. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ๑. จัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีที่ได้จากการปลูกโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ และไม่คลุกเมล็ดด้วยสารเคมี ๒. การเตรียมดิน ต้องไม่เผาตอซัง ฟางข้าวและเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลง เพิ่มอินทรียวัตถุในแปลงโดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว ไถดะ ปล่อยทิ้งไว้ ๑ สัปดาห์ ไถแปร และทิ้งดินไว้ ระยะหนึ่ง ทาง เลือก โครง การ

  30. ระบบการบริหารจัดการทางเลือกโครงการระบบการบริหารจัดการทางเลือกโครงการ ข้อมูลโครงการ จากพื้นที่ โครงการจาก นวก.ส่วนกลาง ปราชญ์ชาวบ้าน input output E-mail: agritech81@doae.go.th กล่องรับข้อมูล webboard นวก.ผู้ผลิตโครงการ ตรวจสอบ กลั่นกรอง ถาม/ตอบ โครงการที่กลั่นกรองแล้ว โครงการที่ปรับแก้แล้ว แจ้งความต้องการ ศสท. พัฒนาระบบการนำข้อมูลขึ้น web ผู้เปิด - ตอบ / ส่ง E-mail : agritech83@doae.go.th กพป. นำขึ้น web ผู้ใช้ลงทะเบียนlogin website Download โครงการ http://www.cproj.doae.go.th

  31. สรุปผลการนำเสนอทางเลือกโครงการทาง Website ทางเลือกโครงการ (http://www.cproj.doae.go.th) จำนวน 18 หมวด 90 โครงการ

  32. ทางเลือกโครงการหมวด : แมลงเศรษฐกิจ  โครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงครั่ง  โครงการส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีดแบบเศรษฐกิจพอเพียง  โครงการการเลี้ยงชันโรงช่วยผสมเกสรพืชทางการเกษตร  โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งเสริมรายได้ โครงการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรงรายย่อย  โครงการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งพันธุ์เพิ่มรายได้

  33. ทางเลือกโครงการหมวด : ศัตรูพืช  โครงการส่งเสริมการผลิตสมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในชุมชน  โครงการส่งเสริมการป้องกันและกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า โดยชีววิธีไม้ผลอื่นที่เกิดจากเชื้อรา  โครงการควบคุมแมลงวันผลไม้แบบคลอบคลุมพื้นที่เพื่อลดความเสียหายของผลผลิต  โครงการส่งเสริมการควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว และแมลงศัตรูพืชมะพร้าวที่สำคัญโดยการใช้ชีววิธี และวิธีผสมผสาน  โครงการส่งเสริมและป้องกันการกำจัดโรคเหี่ยวสับปะรด โครงการควบคุมแมลงศัตรูอ้อยโดยชีววิธี  โครงการกำจัดศัตรูอ้อย

  34. ทางเลือกโครงการหมวด : ศัตรูพืช (ต่อ)  โครงการกำจัดศัตรูพืชผัก  โครงการส่งเสริมการควบคุมศัตรูหอมโดยชีวภาพ  โครงการส่งเสริมการควบคุมศัตรูหน่อไม้ฝรั่งโดยชีวภาพ  โครงการส่งเสริมการควบคุมศัตรูพืชตระกูลกระหล่ำโดยชีวภาพ  โครงการส่งเสริมการควบคุมศัตรูพริกโดยชีวภาพ  โครงการส่งเสริมการควบคุมศัตรูถั่วฝักยาวโดยชีวภาพ  โครงการป้องกันและกำจัดโรคขิง

  35. ทางเลือกกิจกรรมสำหรับเกษตรกร ประธานคณะกรรมการจัดทำทางเลือกโครงการ (รธส.วก.) ให้ประสานกอง/สำนักที่เกี่ยวข้องด้านวิชาการในการดำเนินการจัดทำทางเลือกกิจกรรมสำหรับเกษตรกร 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์โครงการส่งเสริมการผลิตเพื่อบริโภคและเสริมรายได้ในครัวเรือน

  36. ทางเลือกกิจกรรมสำหรับเกษตรกร (ต่อ) 2. ประเด็นของกิจกรรม ประกอบด้วย 2.1 ชื่อกิจกรรม (ทำอะไร) 2.2 เหตุผลความเหมาะสม (ทำแล้วได้อะไร) 2.3 วิธีการปฏิบัติ (ทำอย่างไร) 2.4 ต้นทุน ผลตอบแทน (ค่าใช้จ่าย ผลผลิต ราคาและรายได้สุทธิต่อหน่วย) 2.5 เงื่อนไขความสำเร็จ 2.6 แหล่งผลิตที่ประสบความสำเร็จ/เกษตรกรตัวอย่าง 2.7 ข้อมูลวิชาการ

  37. ตัวอย่าง ทาง เลือก โครง การ ชื่อโครงการ ส่งเสริมการผลิตเชื้อเห็ดฟางชุมชน เหตุผลในการทำโครงการ 1. เห็ดฟางเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ผลิตได้เร็ว ต้นทุนต่ำ และผลิตได้ในทุกพื้นที่ 2. ปัญหาการผลิตเห็ดฟางที่พบส่วนใหญ่ คือ เชื้อเห็ดเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ ดอกเห็ดมีคุณภาพต่ำ ซึ่งแก้ไขได้โดยใช้เชื้อเห็ดฟางที่มี คุณภาพ คือไม่แก่หรืออ่อนเกินไป 3. เกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟางที่อยู่ไกลจากแหล่งผลิตเชื้อเห็ด มักจะได้เชื้อเห็ดที่ไม่มีคุณภาพ 4. การผลิตเชื้อเห็ดฟางใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน เกษตรกรสามารถทำได้ชุมชนของตนเอง วิธีการดำเนินงาน 1. รวมกลุ่มเกษตรกร 2. จัดอบรมให้ความรู้และนำเกษตรกรดูงานฟาร์มตัวอย่าง (โดยใช้หลักสูตรและเลือกแหล่งดูงานตามที่แนบ) 3. จัดทำโรงเรือนสาธิตการผลิตเชื้อเห็ดฟาง ขนาด 8 x 10 ตารางเมตร ซึ่งสามารถผลิตเชื้อเห็ดได้ 8,000 – 9,000 ถุง (ถุงละ 200 กรัม) ใช้ระยะเวลาผลิต 10 วัน และสามารถนำไปผลิตเห็ดได้ 2,000 – 2,400 กิโลกรัม โดยใช้งบประมาณค่าโรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์รวม 100,000 บาท (รายละเอียดตามที่แนบ) เงื่อนไขในการดำเนินงาน 1. ส่งเสริมในพื้นที่ที่เกษตรกรมีการผลิตเห็ดฟางอยู่แล้ว 2. หากไม่มีการผลิตเห็ดฟางมาก่อน ต้องดำเนินงานควบคู่กับโครงการส่งเสริมการผลิตเห็ดฟาง 3. ต้องมีการวางแผนการผลิต เพื่อให้ได้เชื้อเห็ดฟางในปริมาณและระยะเวลาที่สอดคล้องกับความต้องการใช้ เนื่องจากเชื้อเห็ดมีอายุสั้น 4. ควรดำเนินการเพียง 1 กลุ่ม ต่อชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม นายสมภูมิ พรรณอภัยพงศ์ ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ระดับปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมการผลิตผัก สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร โทร 0-2940-6160, 0-2940-6080 ต่อ 429 e-mail : iamphum@hotmail.com ๗

  38. การเสนอทางเลือกโครงการต่อ อปท. ส่วนกลาง เขต กรมส่งเสริมการเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมนูทางเลือก เมนูทางเลือก สำนักงานเกษตรจังหวัด (เมนูทางเลือก) ประสาน/ ส่งข้อมูล เสนองบ อปท. ศูนย์ปฏิบัติการ (ทางเลือก/โครงการ) อบจ. (แผนพัฒนาท้องถิ่น) เสนออปท. 2 2 1 1 เสนอโครงการโดยตรง เสนอ 2 แจ้งข้อมูล ทางเลือก หรือโครงการ (ของบ อปท. ที่ศบกต. ตั้งอยู่) เสนอของบเทศบาลตำบล/ อบต. คณะกรรมการประสานแผนระดับอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ 1 1 2 เกินศักยภาพ อปท. เสนอของบวิสาหกิจ เทศบาล/ เทศบาลตำบล/ อบต. (แผนพัฒนาท้องถิ่น) 3 ศบกต. (แผนพัฒนาการเกษตร) ศจพ. อกษ. เวทีชุมชน -บูรณาการแผนงานโครงการ - ทางเลือก การเสนอความต้องการ หมู่บ้าน/ ชุมชน

  39. การเชื่อมโยงการทำงานของศูนย์ส่งเสริมฯ กับ อปท. ในการเสนอโครงการ อบจ. (ต่างจังหวัด) 2 อบจ. สนง.เกษตรจังหวัด เสนอโครงการ ศูนย์ส่งเสริมฯ 1 2 โครงการทางเลือก 2 บรรจุแผนพัฒนาท้องถิ่น เป้าหมาย เกินศักยภาพของอบต./เทศบาลตำบล สนง.เกษตรอำเภอ 1 ประสาน เสนอโครงการ เสนอโครงการ 3 2 + 2 3 ศบกต. เทศบาลตำบล/อบต. เสนอโครงการบรรจุแผนพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุน สนับสนุน ชุมชน/กลุ่มอาชีพ สนับสนุน

  40. สวัสดี

More Related