1 / 40

8. การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก

8. การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก. กฎเหนี่ยวนำของฟาราเดย์.

stephanie
Download Presentation

8. การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 8. การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก กฎเหนี่ยวนำของฟาราเดย์ การศึกษาว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า emf เกิดขึ้นได้โดยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กทำการทดสอบได้โดยการใช้ห่วงของเส้นลวดที่ติดกับกัลวานอมิเตอร์ ดังรูปเมื่อแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าหาห่วงเข็มของกัลวานอมิเตอร์จะเบนไปในทิศทางหนึ่งดังรูป (a) เมื่อแม่เหล็กเคลื่อนออกจากห่วงเข็มของกัลวานอมิเตอร์จะเบนไปในทิศทางตรงข้ามดังรูป (c)เมื่อถือแท่งแม่เหล็กนิ่งๆใกล้กับห่วงพบว่าไม่มีการเบนของเข็มดังรูป (b) ผลเหล่านี้แสดงให้เห็นความจริงที่ว่ามีกระแสเกิดขึ้นโดยไม่มีการต่อแบตเตอรี่เข้าไปในวงจรเราเรียกกระแสเหล่านี้ว่า กระแสเหนี่ยวนำ (induce current) ซึ่งเป็นผลจากการเหนี่ยวนำ emf รูป (a) เมื่อแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าหาห่วงซึ่งติดอยู่กับกัลวานอมิเตอร์เข็มของมันจะเบนไปดังรูปแสดงว่ามีการเหนี่ยวนำกระแสในห่วง (b) เมื่อถือแท่งแม่เหล็กนิ่งๆไม่มีการเหนี่ยวนำกระแสในห่วง(c) เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ห่างจากห่วงมีการเหนี่ยวนำกระแสในทิศทางตรงข้าม

  2. ต่อไปจะอธิบายการทดลองที่เสนอโดยฟาราเดย์ ดังรูปโดยให้ขดลวดปฐมภูมิต่อเข้ากับแบตเตอรี่และสวิทช์โดยขดลวดเหล่านี้พันรอบวงแหวนกระแสในขดลวดเกิดจากสนามแม่เหล็กเมื่อมีการปิดวงจรโดยมีขดลวดทุติยภูมิพันรอบวงแหวนด้วยเช่นกันโดยมันต่อเข้ากับกัลวานอมิเตอร์(ไม่มีแบตเตอรี่ต่อเข้ากับขดลวดทุติยภูมิ) และขดลวดทั้งสองไม่เชื่อมต่อกันถ้ามีการตรวจวัดกระแสที่ขดลวดทุติยภูมิได้หมายความว่ากระแสจะต้องเกิดจากการเหนี่ยวนำจากภายนอก รูปการทดลองของฟาราเดย์ เมื่อสวิทช์ในวงจรปฐมภูมิปิด กัลวานอมิเตอร์ในวงจรทุติยภูมิจะเบนไป emf เหนี่ยวนำในวงจรทุติยภูมิเกิดเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กผ่านขดลวดทุติยภูมิ

  3. เมื่อทำการปิดวงจรเข็มของกัลวานอมิเตอร์มีการเบนไปในทิศทางหนึ่งแล้วตีกลับมาที่ศูนย์และเมื่อมีการเปิดวงจรเข็มจะเบนไปในทิศตรงข้ามแล้วตีกลับมาที่ศูนย์เช่นกันโดยขณะที่กัลวานอมิเตอร์อ่านค่าได้ศูนย์หมายความว่าไม่มีกระแสในวงจรอธิบายได้ว่าเมื่อมีการปิดสวิทช์กระแสในวงจรปฐมภูมิทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในวงจรสนามแม่เหล็กนี้ทะลุผ่านวงจรทุติยภูมินอกจากนี้เมื่อปิดวงจรกระแสในวงจรปฐมภูมิเปลี่ยนจากศูนย์จนมีกระแสระดับหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งนั่นคือมีการเปลี่ยนแปลงสนามเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสในขดลวดทุติยภูมิเมื่อทำการปิดวงจรเข็มของกัลวานอมิเตอร์มีการเบนไปในทิศทางหนึ่งแล้วตีกลับมาที่ศูนย์และเมื่อมีการเปิดวงจรเข็มจะเบนไปในทิศตรงข้ามแล้วตีกลับมาที่ศูนย์เช่นกันโดยขณะที่กัลวานอมิเตอร์อ่านค่าได้ศูนย์หมายความว่าไม่มีกระแสในวงจรอธิบายได้ว่าเมื่อมีการปิดสวิทช์กระแสในวงจรปฐมภูมิทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในวงจรสนามแม่เหล็กนี้ทะลุผ่านวงจรทุติยภูมินอกจากนี้เมื่อปิดวงจรกระแสในวงจรปฐมภูมิเปลี่ยนจากศูนย์จนมีกระแสระดับหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งนั่นคือมีการเปลี่ยนแปลงสนามเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสในขดลวดทุติยภูมิ • จากผลที่ได้ฟาราเดย์สรุปว่า • กระแสไฟฟ้าสามารถเหนี่ยวนำได้ในวงจรโดยการเปลี่ยนสนามแม่เหล็ก • กระแสเหนี่ยวนำจะคงอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่สนามแม่เหล็กที่ผ่าน ขดลวดทุติยภูมิมีการเปลี่ยนแปลง • ทันทีที่สนามแม่เหล็กมีค่าคงที่กระแสในขดลวดทุติยภูมิจะหายไป

  4. B1 B2 t กฎของฟาราเดย์ กล่าวว่า “ในวงจรปิดใดๆ ที่สร้างขึ้นด้วยตัวนำ จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านวงจรปิดนั้น ” ตามรูป ลวดตัวนำตัดเป็นวงจรปิดรูปวงกลม เริ่มต้นมีฟลักซ์แม่เหล็กพุ่งผ่านวงจรปิดอย่างตั้งฉากเท่ากับ B1 เมื่อเวลาผ่านไป t ฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านเปลี่ยนเป็น B2ในการนี้จะมีฟลักซ์แม่เหล็กเปลี่ยนแปลงเท่ากับ B โดยที่ B= B2 - B1ตามกฎของฟาราเดย์จะเขียนได้ว่า เมื่อ  = แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ N = จำนวนรอบของลวดตัวนำ

  5. ในบางกรณี emf จะถูกเหนี่ยวนำในวงจร เมื่อฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านวงจรเกิดการเปลี่ยนแปลงเทียบกับเวลา โดยทั่วไปการเหนี่ยวนำ emf ในวงจรเป็นสัดส่วนตรงกับอัตราการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านวงจรซึ่งเป็นไปตาม กฏของฟาราเดย์ ดังนี้ เมื่อ คือฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านวงจร ถ้าวงจรประกอบด้วยขดลวดจำนวน N รอบและถ้า คือฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านขดลวดหนึ่งกระแส emf จะถูกเหนี่ยวนำในทุกๆขดลวดดังนั้นemf เหนี่ยวนำรวมในขดลวดคือ เครื่องหมายลบในสมการเป็นผลมาจากกฏของเลนส์ (Lenz’s law)

  6. สมมติว่าห่วงปิดมีพื้นที่ A วางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอBดังรูปฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านห่วงมีค่าเป็น BAcos ดังนั้นemf เหนี่ยวนำมีค่าเป็น จากสมการที่ได้พบว่า emf สามารถเหนี่ยวนำในวงจรได้ในหลายทาง : รูป ลูปตัวนำซึ่งปิดล้อมพื้นที่ A มีสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอBผ่านมุมระหว่างBและเส้นที่ตั้งฉากกับลูปคือ • เมื่อขนาดของBเปลี่ยนเทียบกับเวลา • พื้นที่ปิดของห่วงเปลี่ยนแปลงเทียบกับเวลา • มุมระหว่างBกับเส้นตั้งฉากกับห่วงเปลี่ยนแปลงเทียบกับเวลา

  7. การประยุกต์กฏของฟาราเดย์การประยุกต์กฏของฟาราเดย์ รูปองค์ประกอบของ ground fault interrupter เครื่องตัดวงจรเมื่อสายดินผิดพลาด (the ground fault interrupter GFI) เป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ป้องกันไฟช๊อตผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าการทำงานของมันอาศัยกฎของฟาราเดย์GFI แสดงดังรูปมีลวดตัวนำ 1 ต่อจากผนังไปยังเครื่องใช้ลวด 2 ต่อจากเครื่องใช้ไปยังผนังห่วงเหล็กที่ล้อมรอบลวดทั้งสองและขดลวดตรวจวัด (a sensing coil) ซึ่งพันอยู่รอบแหวนเหล็กเพราะว่ากระแสในเส้นลวดทั้งสองมีทิศทางที่ต่างกันดังนั้น ฟลักซ์แม่เหล็กสุทธิเนื่องจากกระแสที่ผ่านขดลวดตรวจวัดเป็นศูนย์ถ้ากระแสไหลกลับในขดลวด 2 มีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กสุทธิที่ผ่านขดลวด 2 จะมีค่าไม่เป็นศูนย์ (ตัวอย่างเช่นในกรณีที่อุปกรณ์เปียกอาจทำให้กระแสไหลลงสู่พื้นดิน) นั่นคือกระแสไฟฟ้ามีการกลับทิศ ฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านขดลวดตรวจวัดเปลี่ยนแปลงเทียบกับเวลาเหนี่ยวนำ emf ขึ้นในขดลวด emf เหนี่ยวนำนี้ใช้เป็นตัว trigger สำหรับตัวตัดวงจร (a circuit breaker)

  8. ตัวอย่าง การเหนี่ยวนำ emf ในขดลวด ขดลวดจำนวน 200 รอบมีความต้านทานรวม 2 โอห์ม ขดลวดแต่ละรอบมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 18 cm และมีสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอมีทิศตั้งฉากกับระนาบของขดลวดถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนจาก 0 เป็น 0.5 T ในช่วงเวลา 0.80 s ขนาดของ emf เหนี่ยวนำในขดลวดขณะที่สนามมีการเปลี่ยนแปลงมีค่าเป็นเท่าไร ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดหนึ่งๆเป็น วิธีทำ ดังนั้นขนาดของ emf เหนี่ยวนำสามารถคำนวณจากสมการ แบบฝึกหัด ขนาดของกระแสเหนี่ยวนำในขดลวดเป็นเท่าไรขณะที่สนามแม่เหล็กเปลี่ยน ตอบ2.0 A

  9. ตัวอย่าง การลดลงแบบ exponential ของสนามแม่เหล็ก B ห่วงลวดมีพื้นที่ A วางตัวอยู่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กซึ่งตั้งฉากกับพื้นที่ของห่วงสนามแม่เหล็ก Bเปลี่ยนแปลงเทียบกับเวลาดังสมการ เมื่อ a คือค่าคงที่ ที่ t = 0 จะได้ B= Bmaxเมื่อ t>0 สนามจะลดลงแบบ exponential ดังรูปจงหา emf เหนี่ยวนำในห่วงในรูปที่เป็นฟังก์ชันของเวลา วิธีทำ ขนาดของฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านห่วงเมื่อ t>0 คือ รูปการลดลงแบบ exponential ของขนาดของสนามแม่เหล็กเทียบกับเวลา emf เหนี่ยวนำและกระแสเหนี่ยวนำก็แปลในรูปแบบเดียวกัน สูตรที่ได้แสดงให้เห็นว่า emf เหนี่ยวนำลดลงแบบ exponential เทียบกับเวลานั่นคือค่า emf สูงสุด เกิดเมื่อ t = 0

  10. ตัวอย่าง What connected to what? หลอดไฟสองหลอดต่ออยู่บนห่วงลวดในด้านตรงข้ามกันดังรูปทำการลดสนามแม่เหล็ก (ในเส้นประวงกลม) เหนี่ยวนำให้เกิด emf เกิดขึ้นในห่วงลวดทำให้หลอดไฟสว่างขึ้นจะเกิดอะไรขึ้นกับความสว่างของหลอดไฟถ้าทำการปิดสวิทช์

  11. + + - - x x x x - x x x x L x x x x x x x x แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (emf ) ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ สองตัวอย่างที่ผ่านมาเป็นการพิจารณาในกรณีที่ emf เหนี่ยวนำในวงจรที่อยู่นิ่งซึ่งวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ต่อไปจะอธิบายสิ่งที่เรียกว่าmotional emfที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของตัวนำผ่านสนามแม่เหล็กคงที่ ตัวนำเส้นตรงมีความยาวL ดังรูปเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอที่มีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษโดยสมมติให้ตัวนำเคลื่อนที่ในทิศที่ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กด้วยความเร็วคงที่อิเล็กตรอนในตัวนำได้รับแรง โดยแรงมีทิศตามความยาว L และตั้งฉากกับและภายใต้อิธิพลของแรงนี้อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ไปที่ปลายด้านล่างของตัวนำและเกิดการสะสมที่นั่น ทำให้เกิดประจุบวกที่ปลายด้านบนของตัวนำ รูปตัวนำไฟฟ้าลักษณะเป็นเส้นตรงยาวLเคลื่อนที่ด้วยความเร็วผ่านสนามแม่เหล็ก ซึ่งมีทิศตั้งฉากกับ

  12. ผลจากการกระจายประจุทำให้เกิดสนามไฟฟ้าภายในตัวนำ ประจุจะมีการสะสมที่ปลายทั้งสองจนกระทั่งแรงแม่เหล็ก qvB มีค่าสมดุลเนื่องจากการเพิ่มแรงไฟฟ้า qE ที่จุดนี้อิเล็กตรอนจะหยุดเคลื่อนที่ จะได้ว่า qE = qvBหรือ E = vB สนามไฟฟ้าที่เกิดในตัวนำสัมพันธ์กับความต่างศักย์ที่ตกคร่อมปลายทั้งสองของตัวนำสอดคล้องกับความสัมพันธ์ V = EL ดังนั้น V = EL = vBL เมื่อปลายด้านบนมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าปลายด้านล่าง ดังนั้นความต่างศักย์ระหว่างปลายตัวนำจะมีค่าคงอยู่ตลอดขณะที่แท่งตัวนำเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ ถ้าแท่งตัวนำเคลื่อนที่ในทิศทางตรงข้ามขั้วความต่างศักย์ก็จะกลับขั้วด้วย

  13. กรณีที่น่าสนใจคือเมื่อตัวนำเป็นส่วนหนึ่งของวงจรเป็นสถานะการที่แสดงให้เห็นประโยชน์ว่าการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กเป็นสาเหตุให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำในวงจรปิด พิจารณาวงจรที่ประกอบด้วยแท่งตัวนำความยาว L ไถลไปบนแท่งตัวนำสองแท่งที่วางขนานกันอยู่ดังรูป (a) รูป (a) แท่งตัวนำไถลด้วยความเร็ว v ไปบนแท่งตัวนำ 2 ตัวที่วางขนานกันภายใต้แรงกระทำ Fapp (b) วงจรเทียบเท่ารูป a

  14. ถ้าสมมติให้แท่งมีความต้านทานเป็นศูนย์และแท่งตัวนำที่อยู่กับที่มีความต้านทาน R ให้สนามแม่ เหล็กสม่ำเสมอ B ตั้งฉากกับระนาบของวงจรเมื่อแท่งถูกดึงไปทางด้านขวาด้วยความเร็ว v เนื่องจากแรงภายนอก Fapp ประจุอิสระภายใต้แรงแม่เหล็กจะมีทิศตามความยาวของแท่ง แรงเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสเหนี่ยวนำเพราะว่าประจุเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ภายในเส้นทางปิดของตัวนำ ในกรณีนี้อัตราการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็กผ่านวงปิดของวงจรและ emf เหนี่ยวนำเนื่องจากการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นบนแท่งตัวนำที่เคลื่อนที่เป็นสัดส่วนกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เส้นทางปิดขอวงจร ดังนั้นถ้าแท่งถูกดึงไปทางขวาด้วยความเร็วคงที่งานที่ทำเนื่องจากแรงภายนอกจะปรากฎในรูปของพลังงานภายในในตัวต้านทาน R (ความร้อนที่เกิดขึ้น) เนื่องจากพื้นที่ของวงจรในช่วงเวลาใดๆ เป็น xL เมื่อ x คือความกว้างของวงจร ณ เวลาหนึ่งๆ ฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านพื้นที่คือ

  15. โดยใช้กฏของฟาราเดย์ และให้ x เปลี่ยนตามเวลาในอัตรา dx/dt = v พบว่า emf เหนี่ยวนำเนื่องจากการเคลื่อนที่คือ เนื่องจากความต้านทางของวงจรคือ R ขนาดของกระแสเหนี่ยวนำคือ แผนภาพวงจรเทียบเท่าสำหรับตัวอย่างนี้แสดงดังรูป (b)

  16. เมื่อแท่งตัวนำเคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ B และอยู่ภายใต้แรงแม่เหล็ก FB ซึ่งมีขนาดเป็น ILB ทิศของแรงตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของแท่งตัวนำ (ไปทางซ้าย) ดังรูป (a) และเนื่องจากมันเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่แรงที่กระทำต่อมันจะมีขนาดสม่ำเสมอและมีทิศตรงข้ามกับแรงแม่เหล็กหรือมีทิศไปทางด้านขวา ดังรูป (a) (ถ้า FB กระทำในทิศการเคลื่อนที่จะทำให้แท่งตัวนำเกิดความเร่งซึ่งฝ่าฝืนหลักการอนุรักษ์พลังงาน) จากสมการที่แล้วคือ I = BLv/R และความจริงที่ว่า Fapp = ILB พบว่า กำลังที่ได้จากแรงที่ใส่เข้าไป คือ และเนื่องจากกำลังมีค่าเท่ากับอัตราของพลังงานที่ตัวต้านทานได้รับ I2R ซึ่งมีค่าเท่ากับกำลัง I ที่ได้จาก emf เคลื่อนที่ ตัวอย่างที่ได้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าและแปลงไปเป็นพลังงานภายในตัวเก็บประจุ

  17. ตัวอย่าง emf เคลื่อนที่ที่เหนี่ยวนำในแท่งที่หมุน แท่งตัวนำความยาว L หมุนรอบเดือยที่ปลายด้านหนึ่ง ด้วยความเร็วเชิงมุมคงที่  สนามไฟฟ้าสม่ำเสมอ B มีทิศตั้งฉากกับระนาบการหมุนดังรูป จงหา emf เคลื่อนที่ที่เหนี่ยวนำระหว่างปลายของแท่งตัวนำ วิธีทำ พิจารณาส่วนของแท่งตัวนำความยาว dr มีความเร็ว v ขนาดของ emf เหนี่ยวนำในส่วนเล็กๆ นี้คือ เนื่องจากส่วนเล็กๆ เหล่านี้ทุกส่วนเคลื่อนที่ตั้งฉากกับ B และมี emf โดย v = r และถ้า B และ  มีค่าคงที่จะได้ว่า รูปแท่งตัวนำหมุนรอบแกนที่ปลายด้านหนึ่งในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ

  18. ตัวอย่าง Magnetic force acting on a sliding bar แท่งตัวนำมวล m ความยาว L เคลื่อนที่บนรางขนานซึ่งวางตัวอยู่ในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอที่มีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษ แท่งมีความเร็วเริ่มต้น vI แท่งเริ่มเคลื่อนที่ไปทางด้านขวา ณ เวลาเริ่มต้น t = 0 จงหาความเร็วของแท่งตัวนำในรูปฟังก์ชันของเวลา วิธีทำ กระแสเหนี่ยวนำมีทิศทวนเข็มนาฬิกาและแรงแม่เหล็กคือ FB = -ILB เครื่องหมายลบแสดงว่าแรงมีทิศไปทางซ้ายและต้านการเคลื่อนที่ และใช้กฎข้อที่สองของ Newton สำหรับการเคลื่อนที่ในแนวระนาบ รูปแท่งตัวนำความยาว L เคลื่อนที่บนรางที่ขนานกันโดยแท่งมีความเร็วต้น vi

  19. จากสมการที่ผ่านมา พบว่า I = BLv / R ดังนั้น ทำการอินทิเกรตสมการโดยใช้สภาวะเริ่มต้น v = vi เมื่อ t = 0 พบว่า เมื่อ  = mR/B2L2 จากผลที่ได้พบว่า สามารถเขียนความเร็วให้อยู่ในรูป exponential ได้ จากสูตรที่ได้นี้พบว่าความเร็วของแท่งเพิ่มขึ้นแบบ exponential เทียบกับเวลาภายใต้การกระทำของแรงต้านของแม่เหล็ก

  20. แบบฝึกหัด จงหาสูตรของกระแสเหนี่ยวนำและขนาด emf เหนี่ยวนำ ซึ่งเป็นฟังก์ชันของเวลาจากสภาวะของแท่งตัวนำในตัวอย่างที่แล้ว ตอบ

  21. กฏของเลนส์ (Lenz’s Law) กฎของฟาราเดย์  = - dB/dt แสดงให้เห็นว่า emf เหนี่ยวนำและการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์มีเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ตรงข้ามกัน ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นความจริงทางฟิสิกส์ที่รู้จักกันรูปของ กฏของเลนส์ ซึ่งกล่าวว่า “ ขั้วของ emf เหนี่ยวนำซึ่งทำให้เกิดกระแสจะผลิตฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งมีทิศตรงข้ามกับการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็กผ่านพื้นที่ปิดเนื่องจากวงกระแส (a current loop) ” นั่นคือ กระแสเหนี่ยวนำมีแนวโน้มที่จะรักษาฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านวงจรไม่ให้เปลี่ยนแปลง (เป็นไปตามกฎการอนุรักษ์พลังงาน)

  22. B2 B1 B1 4 เส้น B2 > B1 2 เส้น 4 เส้นเหมือนเดิม กฎของเลนส์ เป็นกฎสำหรับใช้ดูทิศของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ หรือกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในวงจรปิด กล่าวได้ว่า “ทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในวงจรปิดหนึ่งเมื่อฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านวงจรนั้นเปลี่ยนแปลง จะมีทิศที่จะทำให้มันสร้างสนามแม่เหล็กหรือฟลักซ์แม่เหล็กให้คงเดิมเสมอ” เช่น

  23. รูป (a) แท่งตัวนำเคลื่อนที่ไปทางด้านขวาของรางตัวนำที่ขนานกัน โดยมีสนามแม่เหล็กจากภายนอกขนาดสม่ำเสมอพุ่งผ่าน ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านพื้นที่ปิดของลูปจะเพิ่มขึ้นตามเวลาจากกฏของเลนส์พบว่ากระแสเหนี่ยวนำต้องมีทิศทวนเข็มนาฬิกา (b) เมื่อแท่งเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายกระแสเหนี่ยวนำจะมีทิศตามเข็มนาฬิกา

  24. เพื่อให้เข้าใจกฎของเลนส์ให้พิจารณาตัวอย่างที่แท่งตัวนำเคลื่อนที่ไปทางด้านขวาของรางขนานโดยมีสนามแม่เหล็กจากภายนอกขนาดสม่ำเสมอพุ่งผ่าน - เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปทางด้านขวา ดังรูป (a) ฟลักซ์แม่เหล็กที่พุ่งผ่านพื้นที่ล้อมรอบด้วยวงจรจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา กฏของเลนส์แสดงให้เห็นว่ากระแสเหนี่ยวนำมีทิศซึ่งทำให้ฟลักซ์แม่เหล็กที่มันผลิตออกมาต่อต้านเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กภายนอก เนื่องจากฟลักซ์แม่เหล็กภายนอกมีทิศเพิ่มขึ้นในทิศที่พุ่งเข้าไปในกระดาษ ถ้ากระแสเหนี่ยวนำต้องการต้านการเปลี่ยนแปลงนี้ มันจะต้องผลิตฟลักซ์แม่เหล็กที่มีทิศพุ่งออกจากกระดาษ ดังนั้น กระแสเหนี่ยวนำจะต้องมีทิศทวนเข็มนาฬิกา (สามารถใช้กฎมือขวาในการหาทิศได้) - เมื่อแท่งตัวนำเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ดังรูป (b) ฟลักซ์แม่เหล็กภายนอกที่ผ่านพื้นที่ปิดของลูปจะลดลงตามเวลา เนื่องจากฟลักซ์แม่เหล็กมีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษ กระแสเหนี่ยวนำต้องมีทิศตามเข็มนาฬิกาถ้ากระแสเหนี่ยวนำต้องการที่จะผลิตฟลักซ์แม่เหล็กที่มีทิศพุ่งเข้าไปในกระดาษเช่นกัน

  25. ต่อไปพิจารณากรณีที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าหาห่วงโลหะ เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปทางขวาเข้าหาห่วง ดังรูป (a) ฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งพุ่งผ่านลูปมีค่าเพิ่มขึ้นเทียบกับเวลา ในการหักล้างการเพิ่มขึ้นของฟลักซ์แม่เหล็กทางด้านขวากระแสเหนี่ยวนำจะต้องสร้างฟลักซ์ที่พุ่งไปทางด้านซ้ายดังรูป (b) ดังนั้นกระแสเหนี่ยวนำจะมีทิศทางดังแสดงในรูป นั่นคือเส้นสนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแสเหนี่ยวนำต่อต้านการเคลื่อนที่ของแท่งแม่เหล็ก คล้ายกับว่าขั้วแม่เหล็กผลักกัน สรุปได้ว่าพื้นผิวทางด้านซ้ายของลูปกระแสเป็นขั้วเหนือและผิวด้านขวาเป็นขั้วใต้ ถ้าแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปทางซ้ายออกห่างห่วงดังรูป (c) ฟลักซ์แม่เหล็กที่เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่ปิดมีทิศไปทางขวามือลดลงเมื่อเทียบกับเวลา ขณะนั้นกระแสเหนี่ยวนำในลูปมีทิศดังรูป (d) เนื่องจากทิศของกระแสแบบนี้ทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กในทิศทางเดียวกับ ฟลักซ์แม่เหล็กจากภายนอก ในกรณีนี้ ผิวด้านซ้ายของลูปเป็นขั้วใต้และผิวด้านขวามือของลูปเป็นขั้วเหนือ รูป (a) เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เข้าหาห่วงตัวนำที่หยุดนิ่งกระแสเหนี่ยวนำมีทิศดังรูป (b) กระแสเหนี่ยวนำที่เกิดทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งมีทิศไปทางซ้ายต้านการเพิ่มขึ้นของฟลักซ์แม่เหล็กจากภายนอกทางด้านขวามือที่เพิ่มขึ้น (c) เมื่อแท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่ออกจากห่วงตัวนำที่หยุดนิ่งกระแสเหนี่ยวนำมีทิศดังรูป (d) กระแสเหนี่ยวนำที่เกิดทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งมีทิศไปทางขวาต้านการเพิ่มขึ้นของฟลักซ์แม่เหล็กจากภายนอกทางด้านขวามือที่ลดลง

  26. emf เหนี่ยวนำและสนามไฟฟ้า ที่ผ่านมาเราพบว่าการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิด emf และกระแสในลูปตัวนำ สรุปได้ว่า สนามไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นในตัวนำเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็ก โดยสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้มีคุณสมบัติอยู่สองประการที่ทำให้มันแตกต่างจากสนามไฟฟ้าสถิตที่เกิดจากประจุที่หยุดนิ่ง (stationary charges) โดยสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้ไม่อนุรักษ์และเปลี่ยนแปลงค่าตามเวลา

  27. โดยการพิจารณาลูปตัวนำรัศมี r วางตัวในสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ B ซึ่งตั้งฉากกับระนาบของลูปดังรูป ถ้าสนามแม่เหล็กเปลี่ยนเทียบกับเวลา จากกฏของฟาราเดย์พบว่า emf  = - dB/dt จะถูกเหนี่ยวนำขึ้นในลูป การเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสในลูป แสดงให้เห็นว่ามีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ E เกิดขึ้นในแนวเส้นสัมผัสกับลูป งานที่กระทำในการเคลื่อนที่ประจุทดสอบ q ตัวหนึ่งไปรอบลูปเท่ากับ q เนื่องจากว่าแรงทางไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุคือ qE งานที่กระทำโดยแรงเหล่านี้ในการเคลื่อนที่ประจุตัวหนึ่งครบรอบคือ qE(2r) เราพบว่างานที่ได้จากสูตรทั้งสองมีค่าเท่ากัน ดังนั้น รูปลูปตัวนำรัศมี r อยู่ในสนาม แม่เหล็กสม่ำเสมอซึ่งตั้งฉากกับระนาบของลูป ถ้า B เปลี่ยนแปลงตามเวลาสนามไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำให้เกิดในทิศเส้นสัมผัสกับเส้นรอบวงของลูปตัวนำ

  28. ใช้ผลที่ได้ประกอบกับกฏของฟาราเดย์  = - dB/dt และความจริงที่ว่า B= BA = r2B สำหรับลูปกระแส เราจะพบว่า สนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ มีค่าดังนี้ ถ้าการเปลี่ยนแปลงเวลาของสนามแม่เหล็กมีค่าที่แน่นอนเราสามารถคำนวณสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำได้ง่ายๆ จากสมการนี้เครื่องหมายลบหมายความว่าสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก

  29. emf ของเส้นทางปิดใดๆ สามารถเขียนในรูปแบบอินทิเกรตเชิงเส้นของ ได้ตลอดเส้นทาง ในกรณีทั่วไป: E ไม่จำเป็นต้องมีค่าคงที่ และเส้นทาง ไม่จำเป็นต้องเป็นวงกลม จากกฏของฟาราเดย์ของการเหนี่ยวนำ  = -dB/dt สามารถเขียนให้อยู่ในรูปทั่วไปได้เป็น

  30. ตัวอย่าง สนามไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำโดยการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กในโซลินอยด์ ขดลวดโซลีนอยด์ยาวมีรัศมี R จำนวน n รอบต่อหนึ่งหน่วยความยาวมีกระแสที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ซึ่งเปลี่ยนแปลงแบบ sinusoidal คือ I = Imax cos t เมื่อ Imax คือกระแสสูงสุด และ คือความถี่เชิงมุมของแหล่งกำเนิดกระแสสลับดังรูป (a) จงหาขนาดของสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำภายนอกโซลีนอยด์ที่ระยะ r > R จากแกนกลางตามความยาวของมัน (b) ขนาดของสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำภายในโซลินอยด์ที่ระยะห่างจากแกนเป็นระยะ r รูปโซลินอยด์ยาวและมีการเปลี่ยนแปลงกระแสตามเวลาโดย I = I0 cos t

  31. วิธีทำ (a) หาขนาดของสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่ระยะ r > R เริ่มแรกพิจารณาจุดภายนอกและทำการอินทิเกรทเชิงเส้นเป็นเส้นทางวงกลมจุดที่มีศูนย์กลางที่ศูนย์กลางโซลินอยด์ และมีรัศมี r ดังรูป จากความสมมาตรพบว่าขนาดของ E มีค่าคงที่บนเส้นทางปิดนี้และ E อยู่ในแนวเส้นสัมผัส ฟลักซ์แม่เหล็กซึ่งผ่านพื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้นทางนี้คือ BA = BR2 และ B = 0nI จะได้ว่า และ E  1/r ดังนั้น ขนาดสนามไฟฟ้าภายนอกขดลวดโซลีนอยด์ที่เปลี่ยนแปลงแบบ sinusoidal เทียบกับเวลา จะลดลงตาม 1/r

  32. (b) หาขนาดของสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำภายใน โซลินอยด์ที่ระยะห่างจากแกนเป็นระยะ r สำหรับจุดภายใน r < R ฟลักซ์แม่เหล็กมีค่าเท่ากับ Br2 โดยใช้ขบวนการเดียวกับข้อ (a) จะได้ว่า E  r ดังนั้น ขนาดของสนามไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำภายในโซลีนอยด์ โดยการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็ก จะมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างเชิงเส้นเทียบกับ r และมีการเปลี่ยนแปลงแบบ sinusoidal เทียบกับเวลา

  33. 8. การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก สรุป • จากกฎของฟาราเดย์ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ  ในวงจรจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอัตราการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็ก ต่อเวลา ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ … (1) เมื่อ คือ ฟลักซ์แม่เหล็ก … (2) • ถ้าวงจรประกอบด้วยขดลวดจำนวน N รอบ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะเท่ากับ … (3)

  34. เมื่อตัวนำยาว L เคลื่อนที่ผ่านสนามแม่เหล็ก B ด้วยความเร็ว v โดยที่สนามแม่เหล็กตั้งฉากกับตัวนำ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้จะเท่ากับ … (4) • จากกฏของเลนส์ กระแสเหนี่ยวนำจะอยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็ก • สมการทั่วไปของการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์เขียนได้เป็น … (5) โดยที่ E คือ สนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ

  35. แบบฝึกหัด http://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/oldnews/48/magnetic/OnlineTest_V4/index.asp

  36. แบบฝึกหัดเลื่อนแท่งแม่เหล็ก NS เข้าหาขดลวดโซลินอยด์ดังรูปจะเกิดอะไรขึ้น วิธีคิด นั่นคือ จะเกิดกระแสเหนี่ยวนำ I ไหลจาก b ออกมาทาง a ตามกฏของฟาราเดย์

  37. x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x x I แบบฝึกหัดลวดตัวนำวงแหวนถูกดึงให้เคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ ดังรูป จงเขียนทิศทางของกระแสเหนี่ยวนำที่เกิดในขดลวดตามกฎของฟาราเดย์ เมื่อขดลวดเข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็ก B วิธีคิดตอนแรก ฟลักซ์แม่เหล็กไม่พุ่งผ่านลวดวงแหวนเลย เมื่อลวดวงแหวนเข้าไปในสนามแม่เหล็ก B แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็ก B ดังนั้น จะเกิดกระแสเหนี่ยวนำ I ดังรูป

  38. แบบฝึกหัด จำนวนขดลวดปฐมภูมิของหม้อแปลงมี 550 รอบ ทุติยภูมิ 30 รอบ หม้อแปลงนี้ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ 220V ดังรูป ถามว่าจะมีกระแสผ่านความต้านทาน 3 เท่าไร

  39. เอกสารประกอบการค้นคว้าเอกสารประกอบการค้นคว้า ภาควิชาฟิสิกส์. เอกสารประกอบการสอนฟิสิกส์เบื้องต้น, คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาควิชาฟิสิกส์. ฟิสิกส์2, คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย D.C. Giancoli. Physics Principles with Applications, 3rded., Prentic-Hall, ISBN: 0-13-666769-4, 1991. D. Halliday, R.Resnick and K.S. Krane. Volume Two extended Version Physics, 4th ed., John Wiley & Sons, 1992. R.A.Serway, Physics for Scientists & Engineers with Modern Physics, 4th ed., 1996. http://www.physics.sci.rit.ac.th/charud/howstuffwork/electro-mag/electro-magthai1.htm http://www.skn.ac.th/skl/skn422/file/field.htm http://www.physics.uoguelph.ca/tutorials/tutorials.html http://www.thinkquest.org/library/site_sum.html?tname=10796&url=10796/index.html http://www.launc.tased.edu.au/online/sciences/physics/tutes1.html http://www.colorado.edu/physics/2000/index.pl http://www.dctech.com/physics/tutorials.php http://www.physics.sci.rit.ac.th

More Related