1 / 20

ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. นายโอภาส ทอง ยงค์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ความเป็นมา.

suki-reid
Download Presentation

ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายโอภาส ทองยงค์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  2. ความเป็นมา • มติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 ขอให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร ในระดับจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการบูรณาการจากทุกหน่วยงาน ที่มีบุคลากรปฏิบัติงานในพื้นที่อยู่แล้ว โดยให้มีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ • เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร • ให้บริการช่วยเหลือเกษตรกรครอบคลุมพืชผลทางการเกษตรทุกประเภท • เฝ้าระวังภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นเพื่อแจ้งเตือนไปยังเกษตรกรและให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

  3. ศูนย์ช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตรศูนย์ช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศกษ.) • คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 600/4547 ลงวันที่ 6 ก.ค. 2557 จัดตั้ง “ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ขึ้นภายในสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี • ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายโอภาส ทองยงค์) เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ • ผู้อำนวยการสำนัก/ กอง ในสังกัด สป.กษ. ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการศูนย์ฯ • ผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน เป็น กรรมการและเลขานุการศูนย์ฯ

  4. การดำเนินงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการตามนโยบาย ดังนี้ 1. มีหนังสือเรียนผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งเรื่องการจัดตั้งศูนย์ฯ ระดับจังหวัด โดยเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการ โดยให้รวบรวมผลการดำเนินงานจากศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตรในส่วนภูมิภาค เพื่อรายงานให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบทุกสัปดาห์ 2. มีหนังสือแจ้งจังหวัด ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจในสังกัด กษ. สั่งการไปยังหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการประชาชนตามภารกิจ และอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน

  5. ช่องทางการติดต่อประสานกับ ศกษ. 1. โทรศัพท์หมายเลข 0 2629 9091, 0 2280 5691 หรือสายด่วน 1170 2. โทรสารหมายเลข 0 2629 8985 3. ตู้ ปณ. 20 ปณฝ.บางลำพูบน กทม. 10203 4. E-Mail : helpcenter@moac.go.th 5. Facebook : ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6. Twitter : @MoacHelpCenter 7. Webboard ในเว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (www.moac.go.th)

  6. ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร ระดับจังหวัด และศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร ส่วนภูมิภาค 1. ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร ระดับจังหวัด 1.1 ให้จัดตั้งศูนย์ฯ ระดับจังหวัด โดยมอบหมายให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการฯ 1.2 ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดรวบรวมข้อมูล และประสานงานการแก้ไขปัญหา ตลอดจนติดตามรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานทุกวัน เพื่อรายงานให้ศูนย์ฯ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทราบทุกสัปดาห์ 2. ศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร ส่วนภูมิภาค 2.1 ให้จังหวัดมอบหมายทุกส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค จัดตั้งศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร 2.2 ให้ศูนย์บริการประชาชนฯ รายงานผลการดำเนินงานให้ ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร ทราบเป็นประจำทุกวัน

  7. ผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศกษ.) หน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส่วนกลาง) จังหวัด ศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตรระดับจังหวัด - ผู้ว่าราชการจังหวัด - ประธาน - ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - กรรมการ - เกษตรและสหกรณ์จังหวัด – เลขานุการ หน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส่วนภูมิภาค) ร่วมเป็นกรรมการ ประชาชนผู้รับบริการ ศูนย์บริการประชาชนด้านการเกษตร (พืช สัตว์ ประมง อื่นๆ) รายงานประจำทุกวัน

  8. การทำงานร่วมกับศูนย์ดำรงธรรมการทำงานร่วมกับศูนย์ดำรงธรรม • คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ มีประกาศฉบับที่ 96/2557 จัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานระดับจังหวัดและให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการในจังหวัดสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเสมอภาค มีคุณภาพ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและประชาชนได้รับความพึงพอใจ • โดยให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นในจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ในการรับ เรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษา รับเรื่องปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน • ให้ทุกกระทรวง กรม ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรม • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดส่งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการให้บริการและรายละเอียดการติดต่อศูนย์การช่วยเหลือผลิตผลทางการเกษตร ในระดับจังหวัดทั้งหมด ให้กระทรวงมหาดไทยแล้ว

  9. โครงการบูรณาการงานบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ • คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้มีมติเกี่ยวกับโครงการบูรณาการงานบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2557 • เห็นชอบในหลักการดำเนินโครงการบูรณาการงานบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้รัฐสามารถให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจเอกชนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว มีช่องทางการบริการที่สะดวก ทันสมัย เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความโปร่งใส รวมทั้งป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นของภาครัฐ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของ คสช. • มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เร่งรัดและกำกับการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ในการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินโครงการ รวมทั้งการเสนอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการบูรณาการข้อมูลและงานบริการภาครัฐด้วย

  10. แผนผังการบริหารศูนย์ฯแผนผังการบริหารศูนย์ฯ ดำเนินการผ่านระบบ IT ศูนย์ฯ กษ.จ. ศูนย์ฯ ดำรงธรรม กรมฯ สื่อมวลชน เกษตรกร ประชาชน

  11. แนวทางการปฏิบัติกรณีเรื่องร้องเรียนแนวทางการปฏิบัติกรณีเรื่องร้องเรียน 1. บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ร้องเรียน และเรื่องที่ร้องเรียน ให้มากที่สุด เพื่อเป็นการกรองข้อมูลและบันทึกรายละเอียดในเบื้องต้น ผู้รับเรื่องร้องเรียนต้องแจ้งชื่อให้ผู้ร้องเรียนได้ทราบทุกครั้ง เพื่อความสะดวกในการติดต่อกลับภายหลัง 2. การพิจารณาดำเนินการข้อร้องเรียน 2.1 ดำเนินการแล้วเสร็จโดยเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน หากมีข้อมูลเพียงพอและน่าเชื่อถือ ก็ให้ตอบคำถามผู้ร้องเรียนจนเป็นที่กระจ่างแจ้งระดับหนึ่ง หรือกรณีให้หมายเลขสำหรับติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง มีอำนาจในการจัดการเรื่องที่ร้องเรียนได้ หากผู้ร้องเรียนติดต่อไปแล้ว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ได้ ให้แจ้งผู้ร้องเรียนติดต่อกับมาอีกครั้ง

  12. แนวทางการปฏิบัติกรณีเรื่องร้องเรียน (ต่อ) 2.2 กรณีส่งข้อร้องเรียนต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการ ดังนี้ - แยกเรื่องร้องเรียนตามหน่วยงาน และจัดส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านทาง Email ทุกวันศุกร์เย็นของสัปดาห์นั้น กำหนดให้ตอบกลับภายใน 2 สัปดาห์ - ทำบันทึกให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลงนามจัดส่งเรื่องร้องเรียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย - รายงานสถานการณ์ดำเนินการเรื่องร้องเรียน ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดทราบ (ดำเนินการแล้วเสร็จ/ อยู่ระหว่างดำเนินการ/ ยังไม่ได้รับการตอบกลับภายในเวลาที่กำหนด/ ทวงถามครั้งที่...) กรณีที่เรื่องอาจบานปลาย กลายเป็นปัญหาใหญ่ ให้ทำหนังสือรายงานให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบด้วย - แจ้งช่องทางและระยะเวลาสำหรับผู้ร้องเรียนติดตามความคืบหน้า

  13. กรอบแนวคิดการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับความต้องการของเกษตรกร (Need) ที่แตกต่างกันในแต่ละคน Supply Side Demand Side องค์ความรู้ทางวิชาการผลิต pre/post harvest องค์ความรู้ด้านการตลาด (market structure consumer behavior) ข้อมูลดิน น้ำ อากาศ แนวโน้มสถานการณ์ภัยพิบัติ ข้อมูลภาวะราคาและแนวโน้มราคา (pricing & setting the price) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนากระบวนการและตัวสินค้า ข้อมูลปริมาณและความต้องการบริโภคภายในและต่างประเทศ เงินทุน แหล่งสินเชื่อ มาตรฐานสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการหรือกำหนด มาตรฐานและคุณภาพของปัจจัยการผลิต Smart Officer จะต้องจำแนกระดับความต้องการของเกษตรกรแต่ละรายที่มีความแตกต่าง และนำเสนอความต้องการของ Smart Farmer ให้เหมาะสม การบริหารจัดการการผลิต (farm/cost/pollution management)

  14. นโยบายของ คสช. เกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรม รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” วันศุกร์ที่ 8 ส.ค. 57 1. การให้ข้อมูล ข้อแนะนำ ในการติดต่อราชการเรื่องต่างๆ มีแบบฟอร์ม มีคำแนะนำ เรื่องนี้จะต้องไปไหน ไปยังไง บางทีคนไปศาลากลางจังหวัดแล้วไม่รู้จะไปไหน เพราะมันเยอะเหลือเกิน หลายห้อง หลายส่วน หลายฝ่าย ทุกกระทรวง ทบวง กรม มันแยกไปหมด ตรงนี้จะเป็นศูนย์รวม จะต้องมีหน่วยงานหลักๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมานั่งอยู่ตรงนี้ ถ้าเขามาเรื่องนี้ คนนี้อธิบาย ไปไหนต่อไป ไม่ใช่ให้ประชาชนกลับไปใหม่ ระหว่างที่ยังไม่มา ก็ประชาสัมพันธ์สิครับ ถ้าทำเรื่องนี้เอาอะไรมาด้วย พูดซะทีเดียวไป ไม่งั้นก็ประชาสัมพันธ์ไป เวลาทำก็อีกพวกหนึ่ง มันก็ไม่ต่อเนื่องกัน เพราะฉะนั้นเรื่องแรก จะต้องอำนวยความสะดวกประชาชนให้ได้ในทุกเรื่อง ให้เร็ว และเที่ยวเดียว วันสต๊อปเซอร์วิสเหมือนกัน ว่าจะไปทำอะไรต่อ แล้วก็จบภายในวันเดียว ต้องเป็นอย่างนั้นนะ

  15. นโยบายของ คสช. เกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรม (ต่อ) รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” วันศุกร์ที่ 8 ส.ค. 57 เรื่องที่ 2 คือให้ข้อมูลเรื่องอื่นๆ เขาได้ด้วย ผมก็ให้หาทางจะเชื่อมระบบอะไรก็แล้ว กับกระทรวง ทบวง กรมไป ทุกคนสามารถจะรู้ได้ สงสัยเรื่องนี้ ใครตอบไม่ได้ ถามที่ศูนย์นี้ซิ ตอบได้มั้ย ราคาพืชผลการเกษตร ข้อมูลน้ำมันเป็นยังไง มันจะมาก จะน้อย ตรงนี้ปลูกได้ หรือไม่ได้ ตรงนี้เป็นเขตโซนนิ่งหรือเปล่า นี่เขตป่าไม้หรือไม่ เขตอุทยานหรือเปล่า มันจะได้ไม่ผิดไม่ถูกกันอีกต่อไป เป็นการตรวจสอบได้ด้วย มันต้องลิงก์ข้อมูลกันให้ได้

  16. นโยบายของ คสช. เกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรม (ต่อ) รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” วันศุกร์ที่ 8 ส.ค. 57 เรื่องที่ 3 คือการให้บริการข้อมูลเรื่องกฎหมาย ถ้าประชาชนสงสัยว่ากฎหมายเรื่องนี้เป็นยังไง เรื่องนั้นว่ายังไง ผังเมืองว่าไง อันนี้ถูกมั้ย ของผมจะทำยังไงต่อไป ต้องตอบได้นะ กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เราต้องการให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมให้เท่าเทียมกัน เรื่องที่ 4 การรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน วันนี้จะเห็นได้ว่าแต่ก่อนนี้คนก็มา ไม่รู้จากไหน ก็เดินขบวน แล้วก็แช่อยู่นั่น เดือดร้อน กางมุ้งกางเต็นท์กันอยู่ เสียเวลา กลับไปอยู่บ้านดีกว่า ถ้ามาก็มาส่งหนังสือ อธิบาย จัดคนมาเจอกัน วันนี้ที่ทำเนียบรัฐบาลก็ทำแบบนี้ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนประชาชน ก็คุยกันซะ ชั่วโมง สองชั่วโมง ครึ่งวัน รับเรื่อง กลับไป อย่างน้อยอธิบายให้เขาได้ ต่อไปถ้ามาแล้วไม่ผ่านศูนย์ดำรงธรรมมาก่อนล่ะก็ มีเรื่อง ศูนย์ดำรงธรรมต้องรับผิดชอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด

  17. นโยบายของ คสช. เกี่ยวกับศูนย์ดำรงธรรม (ต่อ) รายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” วันศุกร์ที่ 8 ส.ค. 57 นอกจากการรับเรื่องร้องเรียน แก้ปัญหาในชั้นต้น ประชาสัมพันธ์แล้ว การประชาสัมพันธ์นี่สำคัญนะครับ ไม่ใช่ประชาชนอยากจะพูดอะไรก็พูดไป พูดในสิ่งที่เขาอยากฟัง ไม่ใช่พูดในสิ่งที่ตัวเองอยากพูด เพราะฉะนั้นจะต้องสร้างเครือข่ายให้ทุกอำเภอมีความเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน บางทีมาศูนย์ดำรงธรรมไม่ไหว มันไกลไป ก็ไปแวะที่อำเภอ นายอำเภอก็ไปดูแลสิ แล้วติดต่อกับศูนย์ดำรงธรรม เรื่องนี้อย่างนั้นอย่างนี้ จะต้องไปโน่นต่อใช่มั้ย เตรียมอะไรไปบ้าง จะได้ไปเสียทีเดียว ไม่ใช่ชาวบ้านไปสะเปะสะปะไปเรื่อย จะติดต่อสัญญา ทำอะไรซักที เดินทาง 3-4 เที่ยว ค่ารถก็หมดแล้ว คนจนก็ลำบาก นั่นคือเรื่องศูนย์ดำรงธรรมนะ

  18. การทำงาน ด้วย “หน้าที่”? การทำงาน ด้วย “ใจ”?

  19. เพื่อเกษตรกร พูดไป เขาไม่รู้ กลับขู่เขา ว่าโง่เง่า งมเงอะ เซอะหนักหนา ตัวของเรา ทำไม ไม่โกรธา ว่าพูดจา ให้เขา ไม่เข้าใจ พระศาสนโสภณ

  20. The Future we want อนาคตที่เราต้องการ ขอบคุณครับ

More Related