1 / 46

แนวทางการจัดเตรียมเอกสารและหลักฐาน

แนวทางการจัดเตรียมเอกสารและหลักฐาน เพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2556 องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน (ตัวบ่งชี้ที่ 2.1, 2.4, 2.6, 2.7) โดย ดร.จุฑามาศ หงษ์ ทอง รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สำนักงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา

sun
Download Presentation

แนวทางการจัดเตรียมเอกสารและหลักฐาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการจัดเตรียมเอกสารและหลักฐาน เพื่อรองรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2556 องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน (ตัวบ่งชี้ที่ 2.1, 2.4, 2.6, 2.7) โดย ดร.จุฑามาศ หงษ์ทอง รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สำนักงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ณ ห้องศรีเมืองใหม่ สำนักงานอธิการบดี วันที่ 28 เมษายน 2557

  2. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา • จัดทำ/พัฒนารายละเอียดรายวิชา (มคอ 3 และ 4) และส่งให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อตรวจสอบ และรับรองตามเวลาที่กำหนด • จัดการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดรายวิชา (มคอ 3 และ 4) โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการพัฒนาแบบวิธีการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน • ให้คำแนะนำ ปรึกษา การวางแผนการศึกษาแก่นักศึกษา • ออกข้อสอบ คุมสอบ และวัดประเมินผลการเรียน ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดรายวิชา และตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

  3. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา • กำกับให้นักศึกษาเข้าประเมินผลการสอนในรายวิชาที่สอนหรือรับผิดชอบ ในระบบประเมินรายวิชาตามระยะเวลาที่กำหนด • จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา (มคอ 5 และ 6) ตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด และนำผลการประเมินรายวิชาไปพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน • ทวนสอบผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับรายวิชา • เข้าประชุม เพื่อวางแผนการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดการความรู้ การอบรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน • ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

  4. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร • ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน การบริหารจัดการหลักสูตร การเรียนการสอน การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร การติดตามประเมินผล การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร การประกันคุณภาพหลักสูตรตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด • ดูแล กำกับ ติดตาม ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาส่งรายละเอียดรายวิชา(มคอ 3 4) ก่อนเปิดภาคเรียนตามเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด • ดูแล กำกับ ติดตาม ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาส่งรายงานผลการดำเนินงานของรายละเอียดรายวิชา (มคอ 5 6) ตามเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภายใน 30 วันหลังวันปิดภาคเรียน)

  5. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหลักสูตรหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร • รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของหลักสูตร การประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตร จัดทำรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร (มคอ 7) ตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด (ภายใน 60 วันหลังวันปิดภาคเรียน) และนำผลการประเมินหลักสูตรไปพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการหลักสูตร • ติดตามคุณภาพของบัณฑิตในหลักสูตรจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร • รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร สมอ.07 ภายใน 30 วัน หลังวันสิ้นภาคการศึกษา (กรณีมีนักศึกษาที่คงค้างอยู่ก่อนหน้าหลักสูตร TQF)

  6. หน้าที่อาจารย์ประจำหลักสูตร TQF • เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร

  7. การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (IQA)องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน • ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร • ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสนับสนุน • ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน • ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ระบบและกลไกพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต • ตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา

  8. การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก (สมศ.)ด้านคุณภาพบัณฑิต ๑. บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน ๑ ปี ๒. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ๓. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ๔. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

  9. การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก (สมศ.)ด้านการพัฒนาและการประกันคุณภาพ ๑๖. ผลการพัฒนาตามอัตลักษณ์ของสถาบัน ๑๖.๑ ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์ ๑๖.๒ ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์

  10. ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร 10 • มีระบบและกลไกการเปิดหลักสูตรใหม่และปรับปรุงหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด • มีระบบและกลไกการปิดหลักสูตรตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา และดำเนินการตามระบบที่กำหนด • ทุกหลักสูตรมีการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาชีพต้องได้รับการรับรองหลักสูตรจากสภาหรือองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องด้วย (หมายเหตุ: สำหรับเกณฑ์มาตรฐานที่ 3 หลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรปรับปรุงก่อนปีการศึกษา 2555 ให้ยึดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 แทนกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ)

  11. หลักสูตร TQF เอกสารประกอบการรายงานผลการดำเนินการตามตัวบ่งชี้ที่ระบุไว้ใน มคอ. 2 1) ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (Key Performance Indicators)  : มคอ. 2 หมวดที่ 7 ข้อ 7 2) ใบสรุปการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิฯ : มคอ. 7 หมวดที่ 6 ข้อ 3

  12. หลักสูตร TQF 1. อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร เอกสารที่ต้องเตรียม : 1) สรุปรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร : รายชื่อในเล่มหลักสูตร / คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบหลักสูตร 2) สรุปจำนวนครั้งเข้าร่วมประชุม 3) รายงานการประชุมที่เกี่ยวกับการวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตรการประชุมควรมีอย่างน้อย 3 ครั้ง - ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 เพื่อวางแผนการเปิดรายวิชาในภาคเรียนที่ 1 - ระหว่าง ภาคเรียนที่ 1 และ ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 2 ติดตามผลการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 1 และการเปิดรายวิชาในภาคเรียนที่ 2 - สิ้นภาคเรียนที่ 2 เพื่อจัดทำรายงาน มคอ 7

  13. หลักสูตร TQF • 2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี) เอกสารที่ต้องเตรียม : 1) เล่มหลักสูตรที่ สกอ.รับทราบแล้ว 2) รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยที่อนุมัติหลักสูตร

  14. หลักสูตร TQF • 3. มีรายละเอียดของรายวิชาและรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา เอกสารที่ต้องเตรียม : 1) สรุปรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาค แยกรายภาค 2) ข้อมูลจาก มคอ.3 และ มคอ.4 จากทั้งในระบบ TQF MAPPER หรือ เอกสาร มคอ.3 และ มคอ.4

  15. หลักสูตร TQF • 4. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา เอกสารที่ต้องเตรียม : 1) สรุปรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละภาค แยกรายภาค 2) ข้อมูลจาก มคอ.5 และ มคอ.6 จากทั้งในระบบ TQF MAPPER หรือ เอกสาร มคอ.5 และ มคอ.6 ระบุวันที่รายงานและอนุมัติโดยประธานหลักสูตร - TQF MAPPER โดยอาจารย์ประจำวิชาต้องบันทึก มคอ.5 และ 6 ภายในวันที่ 4 เมษายน 2557 ประธานหลักสูตรตรวจสอบและยืนยันข้อมูลภายในวันที่ 17 เมษายน 2557 - สำนักงานพัฒนาคุณภาพ สรุปและประมวลผล/รายงานต่อผู้เกี่ยวข้องภายในวันที่ 30 เมษายน 2557)

  16. หลักสูตร TQF • การอนุมัติรายวิชาใน UBU TQF MAPPER • รายวิชาศึกษาทั่วไป : รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ ของคณะที่รับผิดชอบรายวิชา • รายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ : • รายวิชาในหลักสูตรของคณะที่รับผิดชอบรายวิชา : • รายวิชาในภาควิชา / สาขาวิชา : ประธานหลักสูตร • รายวิชาสังกัดภาควิชา/สาขาวิชาอื่น : หัวหน้าภาค / หัวหน้าสาขา • รายวิชาในหลักสูตรของคณะอื่น : หัวหน้าภาค / หัวหน้าสาขา ที่รับผิดชอบรายวิชา • รายวิชาชีพบังคับ/วิชาชีพเลือก • ประธานหลักสูตร • รายวิชาเลือกเสรี ที่ไม่ได้สังกัดหลักสูตรใดๆ • รองคณบดีฝ่ายวิชาการ/ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ ของคณะที่รับผิดชอบรายวิชา

  17. หลักสูตร TQF • 5. จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตรตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา ตรวจสอบข้อมูลจากระบบ UBU TQF MAPPER โดยประธานหลักสูตร ต้องรายงานและส่งในระบบภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2557

  18. หลักสูตร TQF • 6. มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มอค.3 และ มคอ. 4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา เอกสารที่ใช้ประกอบ 1) สรุปจำนวนและรายชื่อรายวิชาที่มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ฯ 2) รายงานการทวนสอบ : คณะกรรมการที่ดำเนินการทวนสอบ หลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนการดำเนินการ

  19. หลักสูตร TQF • 7. มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7 ปีที่แล้ว เอกสารประกอบ 1) มคอ.7 ปีการศึกษา 2555 หมวดที่ 9 แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร 2) รายงานผลการดำเนินงานพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร ในปีการศึกษา 2556

  20. หลักสูตร TQF • 8. อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคนได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน เอกสารประกอบ 1) มคอ.7 หมวดที่ 7 สรุปการประเมินหลักสูตรข้อ 3 การปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ 2) สรุปรายชื่ออาจารย์ใหม่ ในปีการศึกษา 2556 3) รายงานกิจกรรมที่ดำเนินการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำเรื่องการจัดการเรียนการสอน หมายเหตุ : รายชื่อและจำนวนอาจารย์ใหม่กับกองการเจ้าหน้าที่สรุปกับคณะให้ตรงกัน)

  21. หลักสูตร TQF • 9. อาจารย์ประจำทุกคนได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เอกสารประกอบ 1) สรุปรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร/อ.ผู้สอน/อ.ร่วมสอน ตามที่ระบุใน มคอ. 2 (ข้อ 3.2.2) 2) สรุปการเข้ารับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ ของอาจารย์ในข้อ 1

  22. หลักสูตร TQF • 10. จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาชีพ และ/หรือวิชาชีพไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ต่อปี เอกสารประกอบ 1) สรุปรายชื่อและจำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน 2) สรุปการเข้ารับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพ ของบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอนในข้อ 1

  23. หลักสูตร TQF • 11. ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00 เอกสารประกอบ 1) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาปีที่ 4 หรือบัณฑิตใหม่ ในปีการศึกษา 2556 ให้ใช้ข้อมูลของคณะวิชา ในปีการศึกษา 2557 สำนักงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาดำเนินการออกแบบแบบสอบถามและกองแผนดำเนินการเก็บข้อมูล) 2) สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาปีที่ 4 หรือบัณฑิตใหม่

  24. หลักสูตร TQF • 12. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5.00 เอกสารประกอบ 1) ระดับปริญญาตรีข้อมูลจากกองแผน และระดับปริญญาโท-เอก จากสำนักงานบริหารบัญฑิตศึกษา

  25. หลักสูตรตามมาตรฐานฯ ปี 48 1) รายงาน สมอ.07 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 1 และ 2 2) คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร 3) การปรับปรุงหลักสูตรเมื่อครบรอบ 5 ปี หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักสูตร 4). หลักสูตรได้มาตรฐาน 100% หากมีหลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน (ไม่มีการประเมินเมื่อครบ 5 ปี) จะไม่ผ่านเกณฑ์ข้อนี้ (สำนักงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำแบบสรุปรายงาน ส่งงานประกันฯ)

  26. ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาและบริหารหลักสูตร (ต่อ) 26 • มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้ง ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างน้อยตามกรอบเวลาที่กำหนดในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรฯ กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน 5 ข้อแรกและอย่างน้อยร้อยละ 80 ของตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแต่ละปี ทุกหลักสูตร • มีคณะกรรมการรับผิดชอบควบคุมกำกับให้มีการดำเนินการได้ครบถ้วนทั้ง ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ข้างต้นตลอดเวลาที่จัดการศึกษา และมีการพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรตามผลการประเมินในข้อ 4 กรณีหลักสูตรที่ดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จะต้องควบคุมกำกับให้การดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในข้อ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินครบ ทุกตัวบ่งชี้และทุกหลักสูตร

  27. ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสนับสนุน 27 • มีแผนการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์ทั้งด้านวิชาการ เทคนิคการสอนและการวัดผล และมีแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ • มีการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสนับสนุนให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด • มีสวัสดิการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกำลังใจให้คณาจารย์และบุคลากรสนับสนุนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ • มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสนับสนุนนำความรู้และทักษะจากการพัฒนามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

  28. ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสนับสนุน (ต่อ) 28 • มีการให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน และดูแลควบคุมให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนถือปฏิบัติ • มีการประเมินผลความสำเร็จของแผนการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสนับสนุน • มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน

  29. ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 29 • มีการจัดการหรือจัดบริการเพื่อให้นักศึกษามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในอัตราไม่สูงกว่า 8FTES ต่อเครื่อง • มีบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และมีการฝึกอบรมการใช้งานแก่นักศึกษาทุกปีการศึกษา • มีบริการด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษา อย่างน้อยในด้านห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การศึกษา และจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในระบบไร้สาย • มีบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ อย่างน้อยในด้านงานทะเบียนนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การบริการอนามัยและการรักษาพยาบาล การจัดการหรือจัดบริการด้านอาหาร และสนามกีฬา

  30. ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 ห้องสมุด อุปกรณ์การศึกษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (ต่อ) 30 • มีระบบสาธารณูปโภคและรักษาความปลอดภัยของอาคารตลอดจนบริเวณโดยรอบ อย่างน้อยในเรื่องประปา ไฟฟ้า ระบบกำจัดของเสีย การจัดการขยะ รวมทั้งมีระบบและอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในบริเวณอาคารต่างๆ โดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • มีผลการประเมินคุณภาพของบริการในข้อ 2 – 5 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5 • มีการนำผลการประเมินคุณภาพในข้อ 6 มาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดบริการด้านกายภาพที่สนองความต้องการของผู้รับบริการ

  31. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน 31 • มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกหลักสูตร • ทุกรายวิชาของทุกหลักสูตร มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ เอกสารประกอบ

  32. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน 32 ระดับหลักสูตร : เฉพาะรายวิชาที่คณะรับผิดชอบ ไม่รวมรายวิชาศึกษาทั่วไป และรายวิชาพื้นฐานที่คณะอื่นรับผิดชอบ รายวิชาในหลักสูตร : ………………………………………….. หลักสูตรใหม่ / ปรับปรุง พ.ศ. หลักสูตรปรับปรุงตามกรอบมาตรฐาน TQF

  33. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน 33 รายวิชาในหลักสูตร : ………………………………………….. หลักสูตรใหม่ / ปรับปรุง พ.ศ. หลักสูตรปรับปรุงก่อน TQF

  34. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน 34 ระดับคณะ : รายวิชาศึกษาทั่วไป และรายวิชาพื้นฐานที่สอนให้คณะอื่น รายวิชาในหลักสูตร : ………………………………………….. หลักสูตรใหม่ / ปรับปรุง พ.ศ. หลักสูตรปรับปรุงตามกรอบมาตรฐาน TQF

  35. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน 35 • ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ................................................ ในส่วนของรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย

  36. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน 36 • มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือในวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกหลักสูตร รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ................................................ ในส่วนการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือในวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน

  37. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (ต่อ) 37 • มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ................................................ ในส่วนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

  38. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (ต่อ) 38 • มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความพึงพอใจ แต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5

  39. ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (ต่อ) 39 • มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ทุกรายวิชาตามผลการประเมินรายวิชา รายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ................................................ ในส่วนการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้

  40. ตัวบ่งชี้ที่ 2.7 ระบบและกลไกพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต 40 • มีการสำรวจคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต อย่างน้อยสำหรับทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี ทุกรอบระยะเวลาตามแผนกำหนดการศึกษาของหลักสูตร • มีการนำผลจากข้อ 1 มาใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียนที่ส่งเสริมทักษะอาชีพและคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต • มีการส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต • มีระบบและกลไกการส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระหว่างสถาบัน หรือที่ประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ • มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่จัดโดยสถาบัน

  41. ตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา 41 • มีการกำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาที่ต้องการส่งเสริมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร • มีการถ่ายทอดหรือเผยแพร่พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาที่ต้องการส่งเสริมตามข้อ 1 ไปยังผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึงทั้งสถาบัน • มีโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่ กำหนดในข้อ 1 โดยระบุตัวบ่งชี้และเป้าหมายวัดความสำเร็จที่ชัดเจน • มีการประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายที่กำหนดในข้อ 3 โดยมีผลการประเมินบรรลุเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 90 ของตัวบ่งชี้ • มีนักศึกษาหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักศึกษาได้รับการยกย่องชมเชย ประกาศเกียรติคุณด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยหน่วยงานหรือองค์การระดับชาติ

  42. ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 42 มีระบบและกลไกบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนด้านการวิจัยของสถาบัน และดำเนินการตามระบบที่กำหนด มีการบูรณาการกระบวนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์กับการจัดการเรียนการสอน มีการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์และให้ความรู้ด้านจรรยาบรรณการวิจัยแก่อาจารย์ประจำและนักวิจัย มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์ของสถาบัน มีการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนในข้อ 4 และข้อ 5 อย่างครบถ้วนทุกประเด็น มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของสถาบัน มีระบบและกลไกเพื่อสร้างงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือจากสภาพปัญหาของสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด (เฉพาะกลุ่ม ข และ ค 2)

  43. ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม 43 มีระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัย มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย

  44. ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 44 มีระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และดำเนินการตามระบบที่กำหนด มีการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา มีการเผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมต่อสาธารณชน มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กับการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษา มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานคุณภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรม และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

  45. ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้ 45 มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสถาบันอย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

  46. ตัวบ่งชี้ที่ 7.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ 46 มีแผนระบบสารสนเทศ (Information System Plan) มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจตามพันธกิจของสถาบัน โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารจัดการ และการเงิน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพ มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศมาปรับปรุงระบบสารสนเทศ มีการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายของหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด

More Related