1 / 20

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก. เสนอ. อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด. จัดทำโดย. นางสาว วรรณ พร อุ่นชัย เลขที่ 13 นางสาว บังอร บุพศิริ เลขที่ 22 สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 2 ปี 3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก.

tallys
Download Presentation

การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก

  2. เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด

  3. จัดทำโดย นางสาว วรรณพร อุ่นชัย เลขที่ 13 นางสาว บังอร บุพศิริ เลขที่ 22 สาขาการศึกษาปฐมวัย ห้อง 2 ปี 3

  4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก ความหมายแบบฝึกคือการจัดประสบการณ์การฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้องหลากหลายและแปลกใหม่ ควรเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาในการฝึกไม่นานเกินไป

  5. ทฤษฎี/แนวคิด ลักษณะของแบบฝึก River (1968:97-105) กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึกไว้ดังนี้ 1.การฝึกนักเรียนให้มากพอสมควรในเรื่องหนึ่งก่อนที่จะมีการฝึกเรื่องอื่นๆ 2.แต่ละบทควรฝึกโดยใช้แบบประโยคเพียงหนึ่งแบบเท่านั้น 3.ฝึกโครงสร้างใหม่กับสิ่งที่เรียนรู้แล้ว 4.ประโยคแบบฝึกควรเป็นประโยคสั้นๆ 5.ประโยคและคำศัพท์ควรเป็นแบบที่ใช้พูดกันในชีวิตประจำวันนักเรียน 6.เป็นแบบฝึกที่นักเรียนใช้ความคิดด้วย 7.แบบฝึกควรมีหลาย ๆ แบบ 8.ควรฝึกให้นักเรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนไปแล้วไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  6. หลักการสร้างแบบฝึก สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์ (2522:52-62) กล่าวไว้ว่าการจัดทำแบบฝึกทักษะต้องยึดตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาดังนี้ 1.กฎการเรียนรู้ของ ธอร์นไดค์ เกี่ยวกับกฎแห่งการฝึกหัด คือ สิ่งใดที่ได้ทำบ่อยๆจะทำได้ดี 2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ ต้องไม่ยากและง่ายเกินไป

  7. โรจนา แสงรุ่งรวี (2531:20) กล่าวถึง การสร้างแบบฝึกให้มีประสิทธิภาพไว้ว่า 1.ครูควรจะจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับจิตวิทยาและพัฒนาการเด็ก 2.มีจุดมุ่งหมายว่าจะฝึกด้านใด ตามลำดับความยากง่าย 3.ความแตกต่างระหว่างบุคคลมีแตกต่างกัน 4.ใช้แบบฝึกง่ายๆ สั้นๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจง่ายๆ ไม่เบื่อหน่าย 5.แบบฝึกต้องมีความถูกต้อง 6.คำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมและความสนใจ

  8. แนวคิดทางการเรียนรู้ ขั้นตอนการสร้างแบบฝึก 1.ศึกษาปัญหาและความต้องการ 2.วิเคราะห์เนื้อหา 3.พิจารนาวัตถุประสงค์ รูปแบบ และขั้นตอนการใช้แบบฝึก 4.สร้างแบบทดสอบ 5.สร้างบัตรฝึกหัด 6.สร้างบัตรอ้างอิง 7.สร้างแบบบันทึกความก้าวหน้า 8.แนะนำฝึกไปทดลองใช้ 9.ปรับปรุงแกไขแบบฝึก เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

  9. การหาประสิทธิภาพแบบฝึกการหาประสิทธิภาพแบบฝึก ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ( 2523 : 495 ) ได้เสนอแนะขั้นตอนการหาประสิทธิภาพแบบฝึกไว้ดังนี้ 1.การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่องและพฤติกรรมสุดท้าย 2.การกำหนดเกณฑ์โดยการทดสอบทางสถิติทำได้โดยการนำแบบฝึกที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ 3.การกำหนดระดับประสิทธิภาพของแบบฝึก ประสิทธิภาพของแบบฝึกที่สร้างขึ้นกำหนดเกณฑ์ที่ยอมรับไว้ 3 ระดับคือ 3.1ระดับสูงของเกณฑ์สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้มีค่าร้อยละ 2.5 ขึ้นไป 3.2ระดับเท่าเกณฑ์เท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้แต่ไม่เกินร้อยละ 2.5 3.3ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้แต่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.5

  10. ไชยยศ เรืองสุวรรณ ( 2533 : 129-130 ) กล่าวถึงการหาประสิทธิภาพของสื่อทำได้ 2 วิธี คือ 1.ประเมินโดยอาศัยเกณฑ์ เป็นการตรวจสอบหรือประเมินประสิทธิภาพของแบบฝึกที่นิยมประเมิน 2. ประเมินโดยไม่ต้องตั้งเกณฑ์ไว้ล่วงหน้า เป็นการประเมินประสิทธิภาพของสื่อด้วยการเปรียบเทียบผลการสอบของผู้เรียนภายหลังจากที่เรียนจากสื่อนั้นแล้ว

  11. ข้อค้นพบจากการวิจัย 1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Schvendinger (1977: 51) ได้ศึกษาผลการเรียนสะกดคำของนักเรียนเกรด 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกหัดที่มีรูปภาพเหมือนจริง มีผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสะกดคำสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยไม่ใช้รูปภาพเหมือนจริง 2. ความคิดสร้างสรรค์ อภิญญา แก้วชื่น (2528:40) ได้ศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงออกมาโดยใช้ภาษาและรูปภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบฝึกและเสริมทักษะการคิดที่เป็นการ์ตูนโครงสร้างสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  12. 3.ความสามารถในการเรียน วลี สุมิพันธ์ (2530:68) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ปฐมพร บุญลี (2545) วิจัยการสร้างแบบเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ พบว่า หลังที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกสูงกว่าก่อนได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  13. ตัวอย่างของแบบฝึก คำสั่ง ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่ภาพที่เหมือนกัน

  14. คำสั่ง ให้นักเรียนกากบาททับภาพที่ใหญ่ที่สุด

  15. คำถาม • ข้อใดที่ ไม่ใช่ ความหมายของแบบฝึก ก. ต้องมีความหลายหลากความแปลงใหม่ ข. ควรเป็นแบบฝึกที่ยากทำให้เด็กต้องใช่ความคิดมาก ค. ควรเป็นแบบฝึกที่สั้นๆใช้เวลาไม่นาน ง.ข้อ ข และข้อ ค ผิด

  16. 2. ลักษณะแบบฝึกที่ดีควรเป็นอย่างไร ก. ประโยคที่ฝึกควรเป็นประโยคสั้นๆ ข. แบบฝึกควรมีหลายๆแบบ ค. ฝึกโครงสร้างใหม่กับสิ่งที่เรียนรู้แล้ว ง. ถูกทุกข้อ

  17. 3. โรจนา แสงรุ่งรวี กล่าวถึง การสร้างแบบฝึกให้มีประสิทธิภาพไว้ว่าอย่างไร ก. ควรจะจัดสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้อง ข. แบบฝึกต้องมีความถูกต้อง ค. มีจุดมุ่งหมายว่าจะฝึกด้านใด ง. ถูกทุกข้อ

  18. 4. ข้อใด ไม่ใช่ขั้นตอนแบบฝึกที่ถูกต้อง ก. พิจารนาวัตถุประสงค์ รูปแบบ ข. ไม่ต้องศึกษาปัญหาและความต้องการ ค. วิเคราะห์เนื้อหาหรือทักษะที่เป็นปัญหา ง. ข้อ ก และข้อ ข ผิด

  19. 5.ใครเป็นคนศึกษาการเปรียบเทียบพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์5.ใครเป็นคนศึกษาการเปรียบเทียบพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ ก. วลี สุมิพันธ์ ข. ปฐมพร บุญลี ค. อภิญญา แก้วชื่น ง. ไม่ถูกทุกข้อ

More Related