1 / 30

สภาวะแวดล้อมฐานข้อมูล

สภาวะแวดล้อมฐานข้อมูล. Database Environment. สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล 3 ระดับ ANSI/SPARC (The tree-level ANSI/SPARC architecture). แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ระดับภายนอก (External level) ระดับแนวคิด (Conceptual level) ระดับภายใน (Internal level).

Download Presentation

สภาวะแวดล้อมฐานข้อมูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สภาวะแวดล้อมฐานข้อมูลสภาวะแวดล้อมฐานข้อมูล Database Environment

  2. สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล 3 ระดับ ANSI/SPARC(The tree-level ANSI/SPARC architecture) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ • ระดับภายนอก(External level) • ระดับแนวคิด(Conceptual level) • ระดับภายใน(Internal level)

  3. สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล 3 ระดับ ANSI/SPARC(The tree-level ANSI/SPARC architecture) User 1 User 2 User 3 External level View 1 View 2 View 3 Conceptual level Conceptual Schema Internal level Internal Schema Database

  4. เหตุผลในการแยกออกเป็น 3 ระดับจากกัน • ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ แต่อาจจะมีมุมมองในการใช้งานต่างกันได้ • ผู้ใช้จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในระดับกายภาพได้โดยตรง • ผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถแก้ไขโครงสร้างในการจัดเก็บฐานข้อมูล โดยไม่ส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้ใช้ • โครงสร้างของระดับภายในของฐานข้อมูลจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนตำแหน่งในการจัดเก็บในระดับกายภาพ • ผู้บริการฐานข้อมูล(DBA) สามารถที่จะเปลี่ยนโครงสร้างระดับแนวคิดของฐานข้อมูลโดยไม่ส่งผลกระทบกับผู้ใช้ทุกคน

  5. ระดับภายนอก(External level) • เป็นระดับที่ติดต่อกับผู้ใช้ • ผู้ใช้แต่ละคนอาจจะมีมุมมองข้อมูลแตกต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ • รูปแบบข้อมูลที่เห็นในระดับภายนอก เรียกว่า เค้าร่างภายนอก(External schema)หรือ วิว(View)ซึ่งอาจนำเสนอได้หลายรูปแบบ • แต่ละฐานข้อมูลสามารถมี เค้าร่างภายนอก ได้หลายรูปแบบ

  6. ระดับภายนอก(External level) User C User A User B External schema Conceptual schema

  7. ระดับแนวคิด(Conceptual level) • เป็นโครงสร้างหลักของฐานข้อมูลโดยรวม • โครงสร้างข้อมูลในระดับนี้มุ่งเน้นความสัมพันธ์(Relationship) ระหว่างข้อมูลเป็นหลักสำคัญ หรือเรียกว่าแบบจำลองข้อมูล(Data Model) • เป็นระดับที่อธิบายถึงว่า ข้อมูลอะไร(What) ที่จะจัดเก็บลงในฐานข้อมูล และมีความสัมพันธ์ระหว่างอย่างไร • ระดับแนวคิดมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ • จำนวนเอนติตี้ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย แอตทริบิวต์ และความสัมพันธ์ระหว่างเอนติตี้ • กฏเกณฑ์ของข้อมูล • ความปลอดภัย และความคงสภาพของข้อมูล

  8. ระดับแนวคิด(Conceptual level) • ข้อมูลในระดับแนวคิดจะถูกแสดงตามแบบจำลองข้อมูล ที่ฐานข้อมูลนั้นใช้ เรียกว่า เค้าร่างแนวคิด (Conceptual schema) • ผู้ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการโครงสร้างในระดับนี้คือ ผู้บริหารฐานข้อมูล(DBA)

  9. ระดับแนวคิด(Conceptual level) Conceptualschema Internal schema

  10. ระดับภายใน(Internal level) • เป็นระดับที่จัดเก็บข้อมูลด้วยโครงสร้างที่เหมาะสม ซึ่งมีผลต่อความเร็วและประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ • โครงสร้างข้อมูลที่ใช้เก็บ เช่น Tree , B-Tree หรือ Index ขึ้นอยู่กับการกำหนดโดย DBA • รูปแบบข้อมูลที่เห็นในระดับภายในเรียกว่า เค้าร่างภายใน(Internal schema) • เป็นระดับที่มีการทำงานประสานกับระบบปฏิบัติการ(OS) • ข้อมูลในระดับภายในยังไม่ใช่รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลจริงๆที่เก็บในดิสก์ • การอ่านและเขียนข้อมูลเป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ(OS)

  11. ระดับภายใน(Internal level) Internalschema Physical Disk 4 11 X

  12. เค้าร่างฐานข้อมูล(schema) ประกอบด้วย • เค้าร่างภายนอก(External schema หรือ subschema) • เค้าร่างแนวคิด(Conceptual schema) • เค้าร่างภายใน(Internal schema)

  13. การแปลงความหมาย(Mapping) • จากสถาปัตยกรรม 3 ระดับ ข้อมูลแต่ละระดับมีความแตกต่างกัน จึงมีกลไกในการแปลงรูปแบบของข้อมูลจากระดับหนึ่งไปเป็นอีกระดับ ได้แก่ • การแปลงความหมายระดับแนวคิด/ระดับภายใน(conceptual/internal mapping) • การแปลงความหมายระดับภายนอก/ระดับแนวคิด(external/conceptual mapping)

  14. การแปลความหมายระดับภายนอกและระดับแนวคิด(External / Conceptual Mapping) • เป็นการถ่ายทอดมุมมอง(View) ที่มีต่อข้อมูลจากผู้ใช้ระดับภายนอกไปยังระดับแนวคิด • เพื่อทำการออกแบบโครงสร้าง ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในระดับภายนอก

  15. การแปลความหมายระดับแนวคิดและระดับภายใน(Conceptual / External Mapping) • เป็นการถ่ายทอดมุมมอง(View) ที่มีต่อข้อมูลจากผู้ใช้ระดับแนวคิดไปยังระดับภายใน • เพื่อเอาโครงสร้างที่ได้ออกแบบไว้ใปกำหนดหรือออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง

  16. ความเป็นอิสระของข้อมูล(Data Independence) • จุดประสงค์ของ ความเป็นอิสระของข้อมูล คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโปรแกรมทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือข้อมูลในระดับแนวคิดและระดับภายใน • โดยปล่อยให้ DBMS เป็นตัวจัดการเชื่อมข้อมูลระดับภายนอกกับระดับแนวคิด และระดับแนวคิดกับระดับภายในเอง • กล่าวคือ ข้อมูลระดับที่สูงกว่าจะไม่เกิดผลกระทบใด ๆ จากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับที่ต่ำกว่า

  17. ความเป็นอิสระของข้อมูล(Data Independence) • ความเป็นอิสระของข้อมูลทางตรรกะ(Logical data independence) • ความเป็นอิสระของข้อมูลทางกายภาพ(Physical data independence)

  18. ความเป็นอิสระของข้อมูลทางตรรกะ(Logical data independence) • หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในเค้าร่างแนวคิด(Conceptual schemas) เช่น การเพิ่ม การเปลี่ยนแปลงแอตทริบิวต์ หรือความสัมพันธ์ใด ๆ ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อเค้าร่างภายนอก(External schemas)ที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่ • กล่าวคือ ผู้ใช้ยังคงวิวข้อมูลได้เช่นเดิม โดยไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมประยุกต์ใด ๆ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงในเค้าร่างแนวคิด

  19. ความเป็นอิสระของข้อมูลทางกายภาพ(Physical data independence) • หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเค้าร่างภายใน(Internal schemas) เช่น การปรับปรุงโครงสร้างไฟล์ใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูลด้วยการใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างไปจากเดิม การปรับปรุงการเรียงลำดับดัชนี การปรับปรุงอัลกอริทึมการแฮชชิง ก็ไม่กระทบต่อการเรียกดูข้อมูลจากผู้ใช้งานใด ๆ

  20. ความเป็นอิสระของข้อมูล(Data Independence) External schema External schema External schema Logical data independence External/Conceptual Mapping Conceptual Schema Physical data independence Conceptual/Internal Mapping Internal Schema

  21. User A1 User A2 User B1 User B2 User B3 Host language + DSL Host language + DSL Host language + DSL Host language + DSL Host language + DSL External schemaA External Schema B Logical Data Independence External/Conceptual Mapping DBMS Conceptual Schema DBA Conceptual/Internal Mapping Physical Data Independence Database

  22. แบบจำลองข้อมูล(Data Model) • แบบจำลองข้อมูล(Data Model) หมายถึง แบบจำลองที่ใช้อธิบายและจัดการข้อมูล , ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล และข้อบังคับของข้อมูลในระบบ

  23. แบบจำลองเชิงวัตถุ(Object data model) • แบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุใช้หลักการเกี่ยวกับ เอนติตี้(Entity) , แอททริบิวท์(Attribute) และความสัมพันธ์(Relationship) • ตัวอย่างของแบบจำลองนี้ได้แก่ Entity-Relationship , Semantic , Functional , Object-Oriented

  24. แบบจำลองเชิงเรคคอร์ด(Record-Based data model) • แบบจำลองที่ประกอบด้วยรายการข้อมูลที่แตกต่างกัน • ตัวอย่างแบบจำลองแบบนี้ได้แก่ • Hierarchical data model • Network data model • Relational data model

  25. A B C D E F G H I J K แบบจำลองลำดับชั้น(Hierarchical data model) Root segment Parent segment Child segment

  26. แบบจำลองลำดับชั้น(Hierarchical data model)

  27. แบบจำลองเครือข่าย(Network data model) พนักงานขาย ลูกค้า ใบส่งของ สินค้า การชำระเงิน รายการในใบส่งของ

  28. แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relational data model)

  29. หน้าที่ของ DBMS • จัดการพจนานุกรมของข้อมูล(Data dictionary management) • จัดการการจัดเก็บข้อมูล(Data storage management) • การแปลงข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล(Data transformation and presentation) • การจัดการด้านความปลอดภัย(Security management) • ควบคุมการเข้าใช้งานของผู้ใช้พร้อมกัน(Multiuser accesss control)

  30. หน้าที่ของ DBMS • การจัดการเรื่องการสำรองและกู้คืนข้อมูล(Backup and recovery management) • การจัดการความคงสภาพของข้อมูล(Data integrity management) • ภาษาในการเข้าถึงข้อมูลและส่วนประสานผู้ใช้ในโปรแกรมประยุกต์(Database access languages and application programming interfaces)

More Related