1 / 21

การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์

การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์. รหัสแทนข้อมูล. การแปลงฐานเลข. ประเภทของข้อมูล . ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น จากการสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก เป็นต้น ซึ่งผู้ต้องการใช้ข้อมูลทำการเก็บรวบรวมเอง

tate
Download Presentation

การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์การจัดการข้อมูลในคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูล การแปลงฐานเลข

  2. ประเภทของข้อมูล ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น จากการสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก เป็นต้น ซึ่งผู้ต้องการใช้ข้อมูลทำการเก็บรวบรวมเอง ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากข้อมูล หรือสารสนเทศที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้องออกจดบันทึกหรือรวบรวมข้อมูลเอง เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล สถิติจำนวนผู้ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง และสถิติอื่นๆ ที่รวบรวมข้อมูลโดยหน่วยงานของรัฐบาลและมีการพิมพ์เผยแพร่

  3. การจัดการข้อมูลในเครื่องการจัดการข้อมูลในเครื่อง • ข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ จะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ กล่าวคือ ข้อมูลที่จัดเก็บจะมีลักษณะเป็นสัญญาณดิจิตอล (สัญญาณไฟฟ้า) ซึ่งลักษณะการแทนข้อมูลต่างๆของคอมพิวเตอร์จะใช้รหัสของเลขฐานสอง (Binary Number) ประกอบด้วยเลข 2 ตัวคือ 0 และ 1 (0 แทนสัญญาณปิด และ1 แทนสัญญาณเปิด) โดยจะนำตัวเลข 0 และ 1 มาประกอบกันเป็นชุดเพื่อใช้แทนตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่างๆ

  4. รหัสแทนข้อมูล • ระบบคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่ใช้สัญญาณทางไฟฟ้าในการทำงาน ทำให้มีสองสถานะ คือ เปิด (ON)และ ปิด(OFF)จึงต้องหาวิธีในการแทนที่สถานะสองสถานะนี้ นั่นคือการใช้ เลขฐานสอง (BinaryNumber System)ซึ่งประกอบขึ้นจากเลข 0 และเลข 1 มาแทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ หากพิจารณาเลขฐานสองเพียงหนึ่งหลัก จะเห็นว่าสามารถแทนข้อมูลได้ 2 ชนิดเท่านั้น นั่นคือ0 และ1ในขณะที่เลขฐานสองสองหลักจะสามารถแทนข้อมูลได้ 4 ชนิดคือ 00,01,10 และ 11 ดังนั้น หากต้องการใช้เลขฐานสองในการแทนข้อมูลจำนวนมาก เช่น นำมาแทนตัวอักษรต่างๆทั้งในภาษไทยและภาอังกฤษ ก็จะต้องใช้เลขฐานสองจำนวนหลายหลัก

  5. รหัสแทนข้อมูล รูปที่ 1 รูปแบบการแสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์

  6. ตัวเลข 0 และ 1 ของระบบเลขฐานสองแต่ละตัวจะมีหน่วยเรียกว่าบิต (bit) ซึ่งมาจากคำว่า Blnary digit การนำตัวเลข 0 และ 1 เขียนเป็นชุดเพื่อ แทนอักขระต่างๆ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยเลข 0 หรือ 1 จำนวน 8 บิตเรียงกัน เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่า ไบต์ (byte) แต่ละไบต์จะสามารถแทนอักษร ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ได้ 1 ตัว รูปที่ 2 รูปแบบสัญญาณของตัวอักษร A ปิด เปิด ปิด ปิด ปิด ปิด ปิด เปิด 0 1 0 0 0 0 0 1

  7. บิต ไบต์ เวิร์ด  เลข 0 และ 1 ในระบบเลขฐานสองแต่ละตัว เรียกว่า บิต (bit) ย่อมาจากคำว่า Binary Digit บิตเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แต่เนื่องจากบิตเพียงบิตเดียวไม่สามารถเก็บข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ ได้ครบ ดังนั้นจึงต้องรวมบิตหลายบิตเป็นกลุ่มเรียกว่า ไบต์ (byte) แต่ละไบต์จะใช้แทนอักขระหนึ่งตัว โดยปกติแล้วจะใช้แปดบิตรวมกันเป็นหนึ่งไบต์

  8. ชนิดของรหัสแทนข้อมูล • ชนิดของรหัสแทนข้อมูลรหัส EBCDIC(Extended Binary Code Decimal Interchange Code) • รหัสเอบซีดิค พัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) ใช้แทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 2 ยกกำลัง 8 หรือ 256 ชนิด การเก็บข้อมูลโดยใช้รหัสเอบซีดิคจะแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วนคือ โซนบิต (Zone bits) ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมีจำนวน 4 บิต และนิวเมอริกบิต (Numeric bits) ในอีก 4 บิตที่เหลือ

  9. รหัส ASCII (American Standard Code for Information Interchange) • รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมากจนสามารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ในการ สื่อสารข้อมูล (Data Communications) ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีจะใช้เลขฐานสอง 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัวเช่นเดียวกับรหัสเอบซีดิค นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วนคือ โซนบิตและนิวเมอริก โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมได้มีการเปลี่ยนแลงการแทนข้อมูลด้วยรหัส ASCII ให้ต่างไปจากมาตรฐาน โดยรหัสข้อมูลบางตัวจะถูกเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น นำไปแทนการจัดรูปแบบตัวอักษร (formatting) ให้เป็นตัวหนาหรือตัวเอียง เป็นต้น เพราะมีการกำหนดรหัสแทนข้อมูลไม่ตรงกัน

  10. รหัส Unicode • รหัส Unicode • เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่างๆในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว Unicode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับอักษรและสัญลักษณ์กราฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ในปัจจุบันระบบ Unicode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ Unicode ในภาษา JAVA ด้วย

  11. การแทนข้อมูลในหน่วยความจำการแทนข้อมูลในหน่วยความจำ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในขณะประมวลผล การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลขฐานสองข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลทั้งตัวเลขหรือตัวอักษรจะได้รับการแทนเป็นตัวเลขฐานสอง แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำ เช่น ข้อความว่า BANGKOK เก็บในคอมพิวเตอร์จะแทนเป็นรหัสเรียงกันไป ดังนี้

  12. Bangkok รูปที่ 2.7 แสดงตัวอย่างการแทนข้อความในหน่วยความจำ

  13. หน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ มีขนาด ความกว้าง 8 บิต และเก็บข้อมูลเรียงกันไป โดยมีการกำหนดตำแหน่งซึ่งเรียกว่า เลขที่อยู่ (addressเพื่อให้ข้อมูลที่เก็บมีความถูกต้อง การเขียนหรืออ่านทุกครั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิธีที่ง่ายและนิยมใช้กัน คือการเพิ่มอีก 1 บิต เรียกว่า บิตพาริตี (parity bit) บิตพาริตีที่เพิ่มเติมเข้าไปจะทำให้ข้อมูลทั้งหมดในส่วนนั้นมีเลข 1 เป็นจำนวนคู่ หรือจำนวนคี่ เช่น ในไมโครคอมพิวเตอร์เพิ่มอีก 1 บิต เพื่อทำให้เลขหนึ่งเป็นจำนวนคู่ เรียกว่าพาริตีคู่ (even parity) บิตพาริตีที่เติมสำหรับข้อมูลตัวอักษร A และ E เป็นดังนี้ A 01000001 0 <-- บิตพาริตี E 01000101 1 <-- บิตพาริตี

  14. ข้อมูล A มีเลข 1 สองตัว ซึ่งเป็นจำนวนคู่อยู่แล้ว ดังนั้นจึงใส่บิตพาริตีเป็นเลข 0ข้อมูล E มีเลข 1 เป็นจำนวนคี่ จึงใส่บิตพาริตีเป็น 1 เพื่อให้มีเลข 1 เป็นจำนวนคู่ ข้อความ BANGKOK เมื่อเก็บในหน่วยความจำหลักของไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีบิตพาริตีด้วยจะเป็นดังรูปที่ 2.7 รูปที่ 2.8 แสดงตัวอย่างการแทนข้อความในหน่วยความจำแบบมีบิตพาริตี

  15. การแทนคำสั่งในหน่วยความจำการแทนคำสั่งในหน่วยความจำ หน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในซีพียู ทำการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ มาแปลความหมายและกระทำตาม คำสั่งคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่สุดเรียกว่า ภาษาเครื่อง (machine language)ภาษาเครื่องมีลักษณะเป็นรหัส ที่ใช้ตัวเลขฐานสอง ตัวเลขฐานสองเหล่านี้แทนชุดรหัสคำสั่ง คอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งมีคำสั่งที่ใช้ได้หลายร้อยคำสั่ง แต่ละคำสั่งจะมีความหมายเฉพาะ เช่น คำสั่งนำข้อมูลที่มีค่าเป็น 3 จากหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8000 มาบวกกับข้อมูลที่มีค่าเป็น 5 ในตำแหน่งที่ 8001 ผลลัพธ์ที่ได้ให้เก็บ ไว้ในหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8002 เมื่อเขียนคำสั่งเป็นภาษาเครื่องจะ มีลักษณะเป็นตัวเลขฐานสองเรียงต่อกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเข้าใจได้ยาก จึงมักใช้ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเครื่องเหล่านี้ ดังตัวอย่าง

  16. รูปที่ 2.9 แสดงตัวอย่างการแทนคำสั่งภาษาเครื่อง

  17. รหัสภาษาเครื่องเมื่อเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเรียงต่อกันไป สมมติให้ส่วนของโปรแกรมเก็บใน หน่วยความจำตำแหน่งเริ่มจาก 1000 และข้อมูลเก็บ ไว้ที่ตำแหน่งเริ่มจาก 8000 ดังรูปที่ 2.10

  18. รูปที่ 2.10 การเก็บข้อมูลและคำสั่งลงในหน่วยความจำด้วยรหัสเลขฐานสอง

  19. ภาษาสั่งการพื้นฐานที่ใช้รหัสตัวเลขฐานสองนี้เรียกว่า ภาษาเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูต่างตระกูลกันจะมีภาษาเครื่องที่ต่างกัน เช่น เครื่องที่ใช้ซีพียูเพนเทียมกับซีพียูที่ใช้ในเครื่องแมคอินทอช มีรหัสคำสั่งต่างกัน javascript:if(confirm('http://www.rajsima.ac.th/teacher/c0249/l02/l02.htm \n\nThis file was not retrieved by Teleport Pro, because it is addressed on a domain or path outside the boundaries set for its Starting Address. \n\nDo you want to open it from the server?'))window. location='http://www.rajsima.ac.th/teacher/c0249/l02/l02.htm - top'

  20. 2.6 การแปลงฐานเลข2.6.1 การแปลงเลขฐานสิบเป็นฐาน 2 และฐาน 8จงเปลี่ยน 47 ฐาน 10 ให้เป็นเลขฐาน 2วิธีทำ 2 )472 )23 เศษ 12 )11 เศษ 12 )5 เศษ 12 )2 เศษ 12 )1 เศษ 00 เศษ 1คำตอบคือ (101111)2 = 47 จงเปลี่ยน 103 ฐาน 10 ให้เป็นเลขฐาน 8วิธีทำ 8 )1038 )12 เศษ 78 )1 เศษ 40 เศษ 1คำตอบคือ (147)8 = 103

  21. 2.6.2 การแปลงเลขฐานอื่น ๆ มาเป็นเลขฐานสิบจงเปลี่ยน (147)8 ให้เป็นเลขฐาน 10วิธีทำ (147)8 = (1 x 82) + (4 x 81) + (7 x 80)= 64 + 32 + 7= 103 จงเปลี่ยน (101111)2 ให้เป็นเลขฐาน 10วิธีทำ (101111)2 = (1 x 25) + (0 x 24) + (1 x 23) + (1 x 22) + (1 x 21) + (1 x 20) = 32 + 0 + 8 + 4 + 2 + 1 = 47

More Related