1 / 6

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์. หน้าหลัก สมาชิก ประวัติความเป็นมา สถานที่ท่องเที่ยว ความสำคัญ แหล่งที่มา. สมาชิก. หน้าหลัก สมาชิก ประวัติความเป็นมา สถานที่ท่องเที่ยว ความสำคัญ แหล่งอ้างอิง. จัดทำโดย น.ส. นิภาพร แจ้งคง เลขที่ 17 น.ส. เพชรรัตน์ สุขอินทร์ เลขที่ 25 ม.6/3. ประวัติความเป็นมา.

Download Presentation

ประเพณีสงกรานต์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประเพณีสงกรานต์ • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งที่มา

  2. สมาชิก • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งอ้างอิง จัดทำโดย น.ส. นิภาพร แจ้งคง เลขที่ 17 น.ส. เพชรรัตน์ สุขอินทร์ เลขที่ 25 ม.6/3

  3. ประวัติความเป็นมา • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งที่อ้างอิง • สงกรานต์ เป็นประเพณีเดือน 5 ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี • พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ สงครามน้ำ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

  4. สถานที่ท่องเที่ยว • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งอ้างอิง • เมืองเก่า จ.สุโขทัย

  5. ความสำคัญ หน้าหลัก สมาชิก ประวัติความเป็นมา สถานที่ท่องเที่ยว ความสำคัญ แหล่งอ้างอิง • ความสำคัญชาวล้านนาให้ความสำคัญวันปีใหม่เมืองมากเพราะถือว่าเป็นการแสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนา แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ความสามัคคีและสนุกสนานในหมู่คณะ และยังเป็นเทศกาลที่ญาติพี่น้องซึ่งแยกย้ายกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ได้มีโอกาสกลับมาพบปะสังสรรค์กัน จึงนับเป็นการรวมญาติครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปีพิธีกรรมวันแรกของงาน คือ วันที่ ๑๓ เมษายน ตามประเพณีพื้นเมืองเรียกว่า วันสังขานต์ล่อง คือ หมายความว่า วันนี้สิ้นสุดศักราชเก่า ในวันนี้จะได้ยินเสียงยิงปืนจุดประทัดกันแต่เช้าตรู่ การยิงปืนและการจุดประทัดนี้ มีความเชื่อถือกันแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่เสนียดจัญไรต่าง ๆ ให้ล่องไปพร้อมกับสังขาร นอกจากนั้นชาวบ้านก็จะกวาดขยะมูลฝอยตามลานบ้านไปกองไว้แล้วจุดไฟเผาเสียและทำความสะอาดปัดกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อยเก็บเสื้อผ้ามุ้งหมอนผ้าปูที่นอนไปซัก อุปกรณ์ที่ซักไม่ได้ก็นำออกไปผึ่งแดดเสร็จแล้วก็ชำระร่างกายสระผม (ดำหัว) ให้สะอาด และมีการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วยถัดจากวันสังขารล่อง คือ วันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า วันเนา หรือ วันเน่า ในวันนี้ตามประเพณีถือว่าเป็นวันสำคัญและเป็นมงคลแก่ชีวิต จะได้ประสบแต่ความดีงามตลอดปี จะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคล เช่นด่าทอ หรือทะเลาะวิวาทกัน ตอนเช้าต่างก็จะไปตลาดเพื่อจะจัดซื้ออาหารและข้าวของมาทำบุญเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันดา (คือวันสุขดิบทางใต้) ตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัดโดยขนจากแม่น้ำปิงแล้วนำไปยังวัดที่อยู่ใกล้บ้านเพื่อก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ที่ก่อขึ้นจะตบแต่งด้วยธงทิวสีต่าง ๆ ธงสีนี้ชาวพื้นเมืองเรียกว่า ตุง ทำด้วยกระดาษสี ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมชายธงและรูปร่างต่าง ๆ ติดปลายไม้ อีกชนิดหนึ่งตัดเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ ติดปลายไม้เรียกว่า ช่อ การทานหรือถวายตุงหรือช่อนี้ถือกันว่าเมื่อตาย (สำหรับผู้ที่มีบาปหนักถึงตกนรก) จะสามารถพ้นจากขุมนรกได้ด้วยช่อและตุงนี้ ส่วนการขนทรายเข้าวัดนั้นถือว่าเป็นการทดแทนที่เมื่อตนเดินผ่านหรือเข้าออกวัด ทรายในวัดย่อมจะติดเท้าออกไปนอกวัดเป็นบาปกรรม ทางวัดจะได้ใช้ทรายเพื่อประโยชน์ในการสร้างหรือถมลานวัด เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น และจะมีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย

  6. แหล่งอ้างอิง • หน้าหลัก • สมาชิก • ประวัติความเป็นมา • สถานที่ท่องเที่ยว • ความสำคัญ • แหล่งอ้างอิง http://krusorndee.net/ http://th.wikipedia.org/wiki/ http://www.prapayneethai.com/th/tradition/north/view.asp?id=0255

More Related