1 / 31

มโนราห์

จัดทำโดย นางสาวกรรณิการ์ บุญมาวรรณ์ นักเรียนชั้น ม.6/1 เลขที่ 8 เสนอ อาจารย์สุทธิพร ต้นเถา โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. มโนราห์. ประวัติมโนราห์.

Download Presentation

มโนราห์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จัดทำโดย นางสาวกรรณิการ์ บุญมาวรรณ์ นักเรียนชั้น ม.6/1 เลขที่ 8 เสนอ อาจารย์สุทธิพร ต้นเถา โรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ มโนราห์

  2. ประวัติมโนราห์ • กาลครั้งนั้น  ยังมีพระยาเมืองพัทลุง กับพระมเหสี ได้ครองคู่กันมาหลายปี แต่ก็หาได้มีบุตรไว้สืบสกุลสักคน ทั้งพระสามี และมเหสี ได้ตกลงกันจุดธูปเทียน บนบานศาลกล่าว แด่เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ช่วยประทานบุตรให้สักคน  จะเป็นหญิงก็ได้ ชายก็ดี  ไว้เป็นทายาทสืบสกุลต่อไป • อยู่มาวันหนึ่งพระมเหสี บอกพระสามีว่ากำลังทรงมีพระครรภ์ พระสามีได้ฟัง ก็ดีพระทัยมาก  ต่อมาเมื่อครบกำหนดประสูติกาลได้ประสูติพระธิดา จึงได้ตั้งชื่อว่า  ศรีมาลา  เจริญวัยมาได้ประมาณ  5 - 6 เดือน ก็เริ่มรำ ทำมือพลิกไปพลิกมา นางสนมพี่เลี้ยง ก็เลยร้องเพลง น้อย ๆ ๆ  จนเคยชิน ตั้งแต่เล็กจนโตรำมาตลอด ถ้าหากวันใดไม่ได้รำ ข้าวน้ำจะไม่ยอมเสวย ส่วนพระบิดาก็ร้อนใจ และละอายต่อไพร่ฟ้าประชาชน ที่พระธิดาโตแล้วยังรำอยู่ เช่นนั้น ไม่รู้จะทำอย่างไร ส่วนประชาชนก็พากันติฉินนินทาไม่ขาดหู เลยตัดสินใจ ให้ทหารนำไปลอยแพในทะเล แม่ศรีมาลาต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส จนสลบนอนแน่นิ่งอยู่บนแพนั้น  แพถูกคลื่นลมพัดพาไปตามกระแสน้ำตามยถากรรม จนกระทั่งไปติดอยู่กับโขดหิน ใกล้กับเกาะสีชัง 

  3.   พ่อขุนศรัทธา ซึ่งต้องคดีการเมืองถูกนำไปกักไว้บนเกาะสีชัง พร้อมพวกพระยาต่างๆ ที่ต้องคดีเดียวกัน ถูกนำมากักขังรวมกัน เป็นนักโทษการเมือง บนเกาะแห่งนี้  ในวันนั้น พ่อขุนศรัทธา ได้ลงไปตักน้ำ เพื่อจะชำระร่างกาย บังเอิญมองไปในทะเล ได้เห็นแพลำหนึ่งลอยมาติดอยู่ ที่โขดหินใกล้เกาะ และมีคนๆ หนึ่งนอนอยู่บนแพ พอจะแลเห็นได้ถนัด ตนเองจะลงไปช่วยก็ไม่ได้เพราะน้ำบริเวณนั้นลึกมาก จึงไปบอกกับพระยาโถมน้ำ ซึ่งเป็นผู้มีวิชาอาคม เดินบนน้ำได้ ให้ไปช่วย พระยาโถมน้ำรับปากแล้ว ได้ลงมาดู เห็นเป็นดังที่ขุนศรัทธาพูดจริง จึงตัดสินใจเดินไปบนน้ำ ลากแพเข้าหาฝั่งได้ แต่จะทำอย่างไร ผู้หญิงที่นอนอยู่ในแพยังสลบไศลไม่ได้สติ จึงได้เรียกบรรดาพวกพระยาทั้งหมด ให้มาดูเผื่อจะมีผู้ใดมีปัญญาช่วยเหลือได้ ขณะนั้น พระยาลุยไฟซึ่งร่วมอยู่ในกลุ่มนั้นด้วย  คิดว่าผู้หญิงคนนี้ คงไม่เป็นอะไรมาก คงเนื่องจากความหนาวเย็นนั่นเอง ที่ทำให้เธอไม่ได้สติ เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงสั่งให้พวกพระยาทั้งหลาย ช่วยกันหาไม้ฟืนมาก่อไฟสักกองใหญ่ แล้วพระยาลุยไฟก็อุ้มเอาร่างผู้หญิงคนนั้น เดินเข้าไฟในกองไฟ ความหนาวที่เกาะกุมนางอยู่ เมื่อถูกความร้อนจากกองไฟ ก็เริ่มผ่อนคลายและรู้สึกตัวในเวลาต่อมา เมื่อเห็นว่าเธอปลอดภัยแล้ว จึงนำนางขึ้นไปยังที่พัก และให้ข้าวปลาอาหารแก่นาง จนมีเรี่ยวแรงปกติขึ้น เมื่อมีเรี่ยวแรงดีแล้ว แม่ศรีมาลาก็เริ่มรำอีก ทำให้พวกพระยาทั้งหลายพากันแปลกใจ พากันถามไถ่ไล่เรียง แม่ศรีมาลาจึงเล่าความเป็นมาทั้งหมดให้พวกพระยาฟัง

  4. พวกพระยาทั้งหมดต่างก็คิดกันว่า จะทำอย่างไรต่อไปดี พระยาคนหนึ่ง จึงเสนอให้พ่อขุนศรัทธา นำแม่ศรีมาลาไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ส่วนเรื่องการร่ายรำของเธอ จะมอบให้พระยาเทพสิงหร ไปประชุมพระยาให้ช่วยกันจัดการ ในเครื่องดนตรี และพระยาเทพสิงหร เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามที่ตกลงกันแล้ว ก็ยังมีเหลืออีกอย่าง คือชื่อคณะ ให้ทุกคนช่วยกันคิดว่าจะตั้งชื่อคณะว่าอย่างไร แม่ศรีมาลาได้ยินดังนั้น จึงคิดขึ้นมาได้ว่า ตอนที่ลอยอยู่ในทะเล เธอได้ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้ จึงบอกพระยาทั้งหลายว่า ชื่อคณะสมควรจะใช้ชื่อว่า "คณะมโนราห์" เพราะเมื่อชาติก่อน หนูเคยเกิดเป็นมนุษย์ครึ่งนก หนูชื่อ มโนราห์  ทุกคนพูดว่า จำชาติเกิดปางก่อนได้ด้วยหรือ  แม่ศรีมาลาตอบว่า  จำได้ทุกชาติ หนูเกิดมาทั้งหมด  12  ชาติ รวมทั้งชาติปัจจุบันด้วย เหล่าพระยาจึงว่า ถ้าอย่างนั้นหนูช่วยเล่าเรื่องราวแต่ละชาติให้พวกเราฟังเถิด  แม่ศรีมาลารับคำ แล้วก็เริ่มเล่าเรื่องแต่ละชาติปางก่อนให้ฟัง ชาติเกิดทั้ง  12  ชาติมีดังนี้

  5. ชาติที่  1  เกิดเป็นผู้หญิง   ชื่อ  มโนราห์ •             ชาติที่  2  เกิดเป็นผู้หญิง   ชื่อ  เมรี •             ชาติที่  3  เกิดเป็นผู้หญิง   ชื่อ  ทิพย์เกสร •             ชาติที่  4  เกิดเป็นผู้หญิง   ชื่อ  อัมพันธุ์ •             ชาติที่  5   เกิดเป็นผู้หญิง   ชื่อ  รจนา •             ชาติที่  6   เกิดเป็นผู้ชาย   ชื่อ  จันทร์โครพ •             ชาติที่  7   เกิดเป็นผู้หญิง   ชื่อ  โมรา •             ชาติที่  8   เกิดเป็นผู้หญิง   ชื่อ   เกตุบุปผา •             ชาติที่  9   เกิดเป็นผู้ชาย   ชื่อ   สังข์ศิลป์ชัย •             ชาติที่  10  เกิดเป็นผู้หญิง  ชื่อ   ยอพระกลิ่น •             ชาติที่  11  เกิดเป็นผู้ชาย   ชื่อ   ไกรทอง •             ชาติที่  12  เกิดเป็นผู้หญิง  ชื่อ   ศรีมาลา  

  6. ฉะนั้น การตั้งชื่อคณะ ขอตั้งชื่อตามชื่อชาติที่หนึ่ง เพราะเป็นนักฟ้อนรำ หนูเป็นพวกกินรี ครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์ จึงขอตั้งชื่อคณะว่า  "มโนราห์"  พวกพระยาได้ฟังดังนั้น จึงตอบตกลง  จึงได้ชื่อว่า มโนราห์ มาจนทุกวันนี้

  7. บทกลอนหรือบทร้องของมโนราห์ มีลักษณะการประพันธ์เป็นแบบ  กลอนสี่  กลอนหก กลอนแปด  กลอนทอย  การร้องจะมีจังหวะลีลาแตกต่างกันไปตามลักษณะของบทร้อง และลีลาการขับร้องของลูกคู่  บทกลอนแต่ละอย่างจะมีจังหวะลีลาและการรับของลูกคู่ที่แตกต่างกัน เช่นบทกาศโรง ลูกคู่รับชั้นครึ่ง บทสรรเสริญลูกคู่รับสองชั้น เป็นต้น  • การร้อง โนราแต่ละตัวจะต้องอวดลีลาการขับร้องบทกลอนในลักษณะต่างๆ เช่น  มีเสียงไพเราะดังชัดเจน  จังหวะการร้องขับกลอนถูกต้องเร้าใจ  มีปฏิภาณในการคิดกลอนรวดเร็ว (การขับกลอนสด) ได้เนื้อหาดี  สัมผัสดี  มีความสามารถในการร้องโต้ตอบ แก้คำอย่างฉับพลัน และคมคาย เป็นต้น • การรำ   มโนราห์แต่ละตัวจะต้องรำอวดความชำนาญ และความสามารถเฉพาะตน โดยการนำท่ารำต่างๆ มาประสมเข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่อง และกลมกลืน  แต่ละท่ามีความถูกต้องตามแบบฉบับ  มีความแคล่วคล่อง ชำนาญ ที่จะเปลี่ยนลีลาให้เข้ากันกับจังหวะดนตรี และต้องรำให้สวยงามอ่อนช้อย หรือกระฉับกระเฉงเหมาะแก่กรณี  บางคนอาจอวดความสามารถในเชิงรำเฉพาะด้าน  เช่น  การเล่นแขน  การทำให้ตัวอ่อน  การรำท่าพลิกแพลง  เป็นต้น • การทำบท   เป็นการอวดความสามารถในการตีความหมายของบทร้องเป็นท่ารำ  ให้คำร้องและท่ารำสัมพันธ์กัน  ต้องตีท่าให้พิสดารหลากหลาย และครบถ้วนตามคำร้องทุกถ้อยทุกคำ  ต้องขับบทร้องและตีท่ารำให้ประสมกลมกลืนกับจังหวะ และลีลาของดนตรีอย่างเหมาะเจาะ  การทำบทจึงเป็นศิลปะสุดยอดของมโนราห์

  8. ตัวอย่างบทกลอนมโนราห์ตัวอย่างบทกลอนมโนราห์   บทขานเอ  (เป็นบทระลึกถึงแม่ศรีมาลา ตอนถูกลอยแพ) •      นะนอ กอกา  เล่าแหล  เริ่นเหอเริ่น ฉันไหว้นางธรณี --- ผืนแผ่น • เอาหลังมาตั้งเข้าเป็นแพน  ได้รองตีนชาวมนุษย์ ---- ทั้งหลาย • ชั้นกรวดดินดำ  ถัดมาชั้นน้ำ  ------  ละอองทราย   ฯลฯ บทกาศโรง  (ลูกคู่รับ ชั้นครึ่ง) •       ฤกษ์งามยามดี     บ่านนี้ชอบยาม     พระเวลา • ชอบฤกษ์เบิกโรง     บวงสรวงราชครู     ถ้วนหน้า • ชอบฤกษ์ครูข้า     แม่ศรีมาลา   เป็นครูต้น     ฯลฯ

  9. บทสรรเสริญ    (ลูกคู่รับ สองชั้น) •       สรรเสริญราชครูเท่านั้นเอย   แม่เหอเท่านั้นแล้วฉันจะแผ้วเป็นเพลง • นั่งหารือนางหงษ์นางกรงพาลี  ไหว้นางธรณีเมขลา • ปริถิวราชา   ภูมิมหาลาภ  มหาชัย •  ไหว้นางโภควัคคี   ธรณีแม่ได้เป็นใหญ่    ฯลฯ   บทเพลงทับ    (ลูกคู่รับ สองชั้น) •       หัตถ์ทั้งสองประคองตั้ง   ขึ้นเหนือเศียรรัง   ดังดอกประทุมมา • ไหว้มุณีนาคพระศาสดา  พุทธังธัมมังสังฆา   ไหว้ครูอาจารย์ • ไหว้คุณชัยเยศ เชษฐาพี่  เวลาป่านนี้  นั่งไหว้พระคุณท่าน    ฯลฯ      บทเชิญครู   (ลูกคู่รับทำนอง ชั้นเดียว) •       สิบนิ้วร้องเชิญ    ดำเนินเชิญมา   เชิญมาเถิดพ่อมา • ผมประกาศอยู่ฉายๆ   ยกหัตถ์เบื้องซ้าย   เบื้องซ้ายทั้งเบื้องขวา

  10. ท่ารำมโนราห์ ท่าที่ 1 ท่าแม่ลาย ท่าที่ 2 ท่าผาลา

  11. ท่าที่ 3 ท่าลงฉาก ท่าที่ 4 ท่าจับระบำ

  12. ท่าที่ 5 ท่ากินนร หรือกินนรรำ ท่าที่ 6 ท่าฉากน้อย

  13. ท่าที่ 7 ท่าราหูจับจันทร์ ท่าที่ 8 ท่าบัวแย้ม

  14. ท่าที่ 9 ท่าบัวตูม ท่าที่ 10 ท่าแมงมุมชักใย

  15. เครื่องทรงมโนราห์ • เทริด        เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรง หรือโนราใหญ่  หรือตัวยืนเครื่อง  ( โบราณไม่นิยมใช้นางรำ ) ทำเป็นรูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า มีด้ายมงคลประกอบ

  16. หน้าบัง   เป็นเครื่องประดับศีรษะของมโนราห์ผู้หญิง ไม่เหมือนเทริด มโนราห์หญิง จะใช้เป็นหน้าบัง แบบของนางกินรี  ส่วนเทริดนั้นเป็นของพระราชามีลักษณะเป็นมงกุฏ หรือชฎา       เครื่องแต่งกายของมโนราห์ชาย เรียกว่า เครื่องสาย มี 4 ชิ้น คือ ทับทรวง ปั้นเหน่ง ปีกนกนางแอ่น และรัดอก  ส่วนเครื่องแต่งกายมโนราห์หญิง เรียกว่า เครื่องบัว มี 2 ชิ้น คือ ชิ้นที่ 1 ทำเป็นบัวครอบ  ชิ้นที่ 2 ทำเป็นรัดอกรอบตัว

  17. ซับทรวง หรือ ทับทรวง หรือ ตาบ • สำหรับสวมห้อยไว้ตรงทรวงอก นิยมทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายขนมเปียกปูนสลับเป็นลวดลาย และอาจฝังเพชรพลอยเป็นดอกดวงหรืออาจร้อยด้วยลูกปัด นิยมใช้เฉพาะตัวโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง ตัวนางไม่ใช้ซับทรวง

  18. หน้าผ้าและผ้าห้อย ผ้าห้อย คือผ้าสีต่างๆ ที่คาดห้อยคล้ายชายแครง แต่อาจมีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่โปร่งบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทั้งด้านซ้าย และด้านขวาของหน้าผ้า

  19. ผ้านุ่ง และ สนับเพลา • ผ้านุ่ง เป็นผ้ายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า นุ่งทับชาย แล้วรั้งไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยปลายชายให้ห้อยลงเช่นเดียวกับหางกระเบน เรียกปลายชายที่ผับแล้วห้อยนี้ว่า หางหงส์ • สนับเพลา สำหรับสวม หรือนุ่งผ้าทับ ปลายขาใช้ลูกปัดร้อยทับ หรือร้อยแล้วทาบ ทำเป็นลวดลาย ดอกดวง

  20. ปีก หรือ หางหงส์ • ปีกหรือหางหงส์ นิยมทำด้วยเขาควายหรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก 1 คู่ ซ้าย-ขวาประกอบกันปลายปีกงอนขึ้น และผูกรวมกันไว้มีพู่ทำด้วย ด้ายสีติดไว้เหนือปลายปีก ใช้ลุกปัดร้อยห้อยเป็นดอกดวงรายตลอดทั้งซ้าย และขวาให้ดูคล้ายขนของนก ใช้สำหรับสวมคาดทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว ปล่อยปลายปีกยื่นไปด้านหลังคล้ายหางกินรี

  21. กำไล • กำไลของโนรามักทำด้วยทองเหลือง ทำเป็นวงแหวน ใช้สวมมือและเท้าข้างละหลายๆวง เช่น แขน แต่ละข้างอาจสวม 5-10 วงซ้อนกัน เพื่อเวลาปรับเปลี่ยนท่าจะได้มีเสียงดังเป็นจังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น

  22. เล็บ • เล็บ เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร กินรี ทำด้วยทองเหลืองหรือเงิน อาจต่อปลายด้วยหวายที่มีลูกปัดร้อยสอดสีไว้พองาม นิยมสวมมือละ 4 นิ้ว ( ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ )

  23. ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่งปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ปีกนกแอ่น หรือปีกเหน่ง มักทำด้วยแผ่นเงินเป็นรูปคล้ายนกนางแอ่นกำลังกางปีก ใช้สำหรับโนราใหญ่ หรือตัวยืนเครื่อง  สวมติดกับสังวาล อยู่ที่ระดับเหนือสะเอวด้านซ้าย และขวา คล้ายตาบทิศของละคร 

  24. หน้ากากพราน สมัยโบราณใช้ไม้รัก ปัจจุบันใช้ไม้อะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเท่าวงหน้าของคน ทาสีแดง

  25. เครื่องลูกปัด • เครื่องลูกปัดจะร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำต้นท่อนบนแทนเสื้อ ประกอบด้วยชิ้นสำคัญ 5 ชิ้น บ่าซ้าย-ขวา ปิ้งคอหน้า-หลัง พานอก

  26. เครื่องดนตรีมโนราห์ 1. กลอง   เป็นกลองทัดขนาดเล็ก (โตกว่ากลองของหนังตะลุงเล็กน้อย) มี 1 ใบ ทำหน้าที่ เสริมเน้นจังหวะ และล้อกับเสียงทับ   เทียบได้กับ "อาตตวิตตํ" (เครื่องดนตรีอินเดีย)

  27. 2.  ทับ (โทน) • เป็นเครื่องตีที่สำคัญที่สุด  เพราะทำหน้าที่คุมจังหวะ และเป็นตัวนำในการ เปลี่ยนจังหวะทำนอง   (แต่จะต้องเปลี่ยนตามผู้รำ  ไม่ใช่ผู้รำ เปลี่ยนจังหวะลีลาตามดนตรี   ผู้ทำหน้าที่ตีทับจึงต้องนั่งให้มองเห็นผู้รำตลอดเวลา  และต้องรู้เชิงของผู้รำ)  ทับโนราเป็นทับคู่  เสียงต่างกันเล็กน้อย (นิยมใช้คนตีเพียงคนเดียว) ทับใบที่ 1 เทียบได้กับ "อาตตํ"  และใบที่ 2 เทียบได้กับ "วิตตํ"

  28. 3. ปี่ ปี่   เป็นเครื่องเป่าเพียงชิ้นเดียวของวง  นิยมใช้ปี่ใน   หรือบางคณะอาจใช้ ปี่นอก ใช้เพียง 1 เลา  เทียบได้กับ "สุสิรํ

  29. 4. โหม่ง • โหม่ง  คือ  ฆ้องคู่ จะใส่ไว้ในกล่อง หรือราง ที่ฝากล่อง เจาะช่องไว้สอง ช่อง ตรงกับปุ่มโหม่ง เสียงต่างกันที่ เสียงแหลม เรียกว่า "เสียงโหม้ง"  ที่เสียงทุ้ม  เรียกว่า "เสียงหมุ่ง"  เทียบได้กับ  "ฆตํ"

  30. 5. ฉิ่ง ฉิ่ง   เป็นเครื่องตี เสริมแต่ง และเน้นจังหวะแตระ  หรือ  แกระ  คือ  กรับ  มีทั้งกรับอันเดียวที่ใช้ตีกระทบกับ รางโหม่ง หรือกรับคู่ และมีที่ร้อยเป็นพวงอย่างกรับพวง หรือใช้เรียวไม้ หรือลวดเหล็กหลายๆ อันมัดเข้าด้วยกัน ตีให้ปลายกระทบกันเรียกว่า แตระ มีลีลาการร้อง และรับบทกลอนอย่างหนึ่งเรียกว่า "เพลงหน้าแตระ" (ใช้เฉพาะแตระ ไม่ใช้ดนตรีชิ้นอื่นประกอบ)

  31. ที่มาของข้อมูล http://school.obec.go.th/samkong/nora-1.htm

More Related