1 / 22

วรรณคดีสำคัญ สมัย อยุธยา ตอนปลาย

วรรณคดีสำคัญ สมัย อยุธยา ตอนปลาย. โคลง ชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่า โมกข์ พระ นิพนธ์ใน พระ เจ้าอยู่หัวบรมโกศ ใช้คำประพันธ์ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ เพื่อบันทึก เรื่องราว.

taurus
Download Presentation

วรรณคดีสำคัญ สมัย อยุธยา ตอนปลาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลายวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย

  2. โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ พระนิพนธ์ใน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศใช้คำประพันธ์ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพเพื่อบันทึกเรื่องราว

  3. วัตถุประสงค์ในการแต่ง เป็นการบันทึกเหตุการณ์ในการสามารถลากชะลอพุทธไสยาสน์ โตไม่เสียหาย และเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ สาระสำคัญ เริ่มต้นกล่าวถึงสาเหตุที่ต้องการลากชะลอพุทธไสยาสน์ เนื่องจากน้ำเซาะตลิ่งใกล้พระวิหาร วัดป่าโมกข์ พระเจ้าท้ายสระ จึงให้พระยาราชสงครามชะลอพระพุทธรูปให้พ้นน้ำ

  4. โคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัยประพันธ์โดย เจ้าฟ้าอภัยใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ มีเพียง ๒๕ บท เพื่อพรรณนาความรู้สึกที่ต้องจากนางที่รัก และบันทึกการเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปลพบุรี

  5. นันโทปนันทสูตรคำหลวงประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่ายยาวเพื่อสอนศาสนาพุทธ

  6. เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงมีพุทธบัญชาให้พระมหาโมคคัลลานะเถระ ไปปราบพญานาค อันมีนาม นันโทปนันทะ ให้คลายทิฏฐิมานะลง เมื่อพญานันโทปนันทะคลายทิฏฐิมานะลง ได้แปลงร่างเป็นมาณพหนุ่ม ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและได้รับศีล ๕ จากพระพุทธองค์ แต่ด้วยความที่ตนยังอยู่ในภูมิของกึ่งเทพกึ่งเดรัจฉาน จึงยังมิอาจยังให้เกิดการบรรลุธรรมได้ แต่ก็ยอมรับนับถือพระพุทธองค์ไปตลอดชีวิต แสดงให้เห็นสุภาษิตว่า ควรชนะคนไม่ดีด้วยความดี คือ เราควรสอนให้คนพาลกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี มีดวงตาเห็นธรรม คือ อริยสัจ เข้าสู่ความหลุดพ้น สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

  7. พระมาลัยคำหลวงประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทร่าย มีโคลงสี่สุภาพในตอนท้ายเพื่อสอนศาสนาพุทธและเมื่อพบพระศรีอาริยเมตไตรย

  8. เรื่องย่อ - เริ่มต้นนมัสการพระรัตนตรัย แล้วกล่าวถึง พระมาลัย พระเถระอรหันต์รูปหนึ่ง มีฤทธิ์มาก เคยไปโปรดสัตว์นรก และเทศน์สั่งสอนปวงชนให้หลีกเลี่ยงภัยนรก วันหนึ่ง พระมาลัย รับถวายดอกบัวจากชายยากเข็ญแล้วนำไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณี ณ ดาวดึงสวรรค์  พระมาลัย ได้มีปุจฉาถามข้อสงสัยแก่พระอินทร์ถึงเรื่องการบำเพ็ญกุศล ต่อมา พระศรีอาริยเมตไตรย ได้มาสนทนาด้วย ไต่ถามสภาพความเป็นไปในโลกมนุษย์ พระศรีอาริย์ ได้เทศน์ให้ฟังว่า พระองค์จะเสด็จลงมาประกาศพระศาสนา เมื่อศาสนาของพระสมณโคดมสิ้นสุดเมื่อ ๕๐๐๐ ปีแล้ว

  9. ผู้ใดจะได้เกิดในศาสนาของพระองค์จะต้องทำบุญด้วยการฟังเทศน์มหาชาติคาถาพันให้จบ เป็นต้น  เมื่อสิ้นศาสนาของพระสมณโคดมแล้วจะเกิดกลียุค อายุคนสิ้นเพียง ๕-๑๐ ปี และคนไม่ละอายต่อบาป เมื่อสิ้นยุคเข็ญแล้วจะเกิดความอุดมสมบูรณ์พูนสุขทั่วไป ระยะนี้ พระองค์จะลงมาตรัสให้ปวงชนตั้งอยู่ในคุณงามความดี พระมาลัย ได้นำเรื่องราวที่ พระศรีอาริย์ ทรงเทศน์ลงมาบอกเล่าแก่ชาวชมพูทวีปอีกต่อหนึ่งฝ่ายชายเข็ญใจที่ถวายดอกบัว เมื่อสิ้นชีวิตได้ไปเกิดในสวรรค์ดาวดึงส์ ชื่อ อุบลเทวินทร์ ด้วยอำนาจบุญที่สร้างไว้จะมีดอกบัวรองรับทุกก้าวที่ย่างไป

  10. กาพย์เห่เรือ  กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก  กาพย์เห่เรือ  กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก   กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกาพย์ห่อโคลง ยกเว้นกาพย์เห่เรือใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกาพย์เห่เรือ กาพย์เห่เรือ เพื่อใช้เห่เรือในการเสด็จประพาสพระพุทธบาท ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก เพื่อพรรณนาถึงนางในนิราศกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเพื่อพรรณนาธรรมชาติในการเดินทางจากอยุธยา ไปยังพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี

  11. เพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรประพันธ์โดย เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนเพลงเพื่อแสดงความรัก แสดงโวหารต่างๆ

  12. ปางพี่มาดสมานสุมาลย์สมร ดั่งหมายดวงหมายเดือนดารากร      อันลอยพื้นอำพรโพยมพราย แม้นพี่เหิรเดินได้ในเวหาศ              ถึงจะมาดก็ไม่เสียซึ่งแรงหมายมิได้ชมก็ภอได้ดำเนิรชาย               เมียงหมายรัศมีพิมานมอง แสดงความรักที่มีต่อนาง รำพึงความต่ำต้อยของตนที่อาจเอื้อมใฝ่ปองนางซึ่งสูงศักดิ์กว่า  เปรียบตนเป็นกระต่าย เปรียบนางเป็นจันทร์

  13. บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนาบทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา (อิเหนาใหญ่และอิเหนาเล็ก)อิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลอิเหนาเล็กเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนบทละครเพื่อใช้เล่นละคร

  14. อิเหนา เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ปันจี อินูกรัตปาตี” (PanjiInuKartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง

  15. ดาหลัง คล้ายกับเรื่องอิเหนา แต่มีส่วนต่างกันคือ ระเด่นมนตรีไปหลงรักสาวชาวไร่ ทำให้ท้าวกุเรปันโกรธถึงกับส่งคนไปลอบสังหารนาง ระเด่นเสียใจมาก จึงออกท่องเที่ยวไปอย่างไร้จุดหมายและทำการรบกับเมืองอื่นๆ จนได้มาอยู่ในปกครองมากมาย ส่วนนางบุษบาก้าโละถูกเนรมิตให้เป็นชายชื่อมิสาประหมังกุหนิง ซึ่งจะกลายเป็นหญิงเมื่อพบอิเหนา นางได้ออกตามหาอิเหนา ส่วนอิเหนาได้ปลอมตัวเป็นดาหลังหรือคนเชิดหนัง ต่อมาได้พบกันและอภิเษกสมรส

  16. กลบทศิริบุลกิตติประพันธ์โดย หลวงศรีปรีชา (เซ่ง)ใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทกลอนกลบท (๘๖ ชนิด)เพื่อเล่านิทานชาดก และเพื่อเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

  17. เรื่องย่อ - ดำเนินเรื่องตามปัญญาสชาดกว่า ท้าวยศกิติ แห่งนครจัมบาก มีพระมเหสีทรงพระนามว่า นางสิริมดี เมื่อทรงพระครรภ์ทรงพระสุบินว่า ดาบสเหาะนำแก้วมาให้ โหรทำนายว่าจะได้พระโอรส แต่พระสวามีจะต้องพลัดพลากจากเมือง ต่อมาท้าวพาลราชยกทัพมาล้อมเมืองจัมบาก ท้าวยศกิติ ทรงเชื่อมั่นในผลแห่งธรรม จึงลอบหนีออกจากเมือง พร้อมด้วยมเหสีแล้วผนวชเป็นดาบสอยู่ที่เขาวิบุลบรรพต พรานป่าซึ่ง ท้าวยศกิติ ทรงช่วยชีวิตนำกองทัพของ ท้าวพาลราช มาจับท้าวยศกิติ ไปขังไว้ในเมืองหลายปี นางสิริมดีประสูติพระโอรสทรงพระนามว่า สิริวิบุลกิติ  เมื่อพระกุมารทรงพระเจริญวัยได้ทูลลาพระมารดาไปช่วยพระบิดาโดยทรงยอมรับโทษประหารแทนพระบิดา ท้าวพาลราช รับสั่งให้ลงโทษด้วยวิธีต่างๆ สิริวิบุลกิติ ก็มิได้ทรงเป็นอันตราย ท้าวพาลราช จึงตั้งใจจะประหารด้วยตนเอง แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อน สิริวิบุลกิติ จึงได้ราชสมบัติของพระบิดากลับคืนมา รับสั่งให้ไปรับพระมารดากลับคืนมา แต่พระมารดาสิ้นพระชนม์เสียก่อน

  18. ปุณโณวาทคำฉันท์ประพันธ์โดย พระมหานาค วัดท่าทรายใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทคำฉันท์เพื่อบันทึกการสมโภชพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี

  19. ในเบื้องบรรพกาล มีดาบสตนหนึ่งชื่อว่า สัจพันธโคดม สถิตอยู่ ณ เขาสุวรรณบรรพต ในสุนาปรันตนิคม"แว่นแคว้นกรุงเทพทวาราวดี" ในปางนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จเหาะมาจากกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ห้าร้อยหย่อนหนึ่งองค์ (คือ ๔๙๙ องค์) เพื่อจะอนุเคราะห์พรานบุญและโปรดสัจพันธดาบสให้"ลุถึงอริยมารคศิวาไลย" สัจพันธดาบสเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระเจ้าจะเสด็จกลับ ตรัสสั่งให้สัจพันธเถรอยู่โปรดเวไนยสัตว์ พระสัจพันธเถรทูลอาราธนาขอให้ทรงเหยียบรอยพระบาทเบื้องขวาไว้บนยอดเขาสุวรรณบรรพต

  20. โคลงนิราศพระพุทธบาทประพันธ์โดย พระมหานาค วัดท่าทรายใช้คำประพันธ์ ร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพเพื่อบันทึกการเดินทาง

  21. กึกก้องดุเหว่าซั้น           เสียงหวาน ว้าว่าเสียงเยาวมาลย์                     แม่พร้องภุรโดกดำเนินสาร                         สังคีตแว่วว่าเสียงมสรร้อง                     ร่ำไห้หาเรียม

  22. จบการนำเสนอ ทีมา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/27733 th.wikipedia.org/wiki/นันโทปนันทสูตรคำหลวง - แคช http://onknow.blogspot.com/2010/03/blogpost_29.html www.pasasiam.com/home/index.../130-2008-09-06-07-20-39 - แคช th.wikipedia.org/wiki/อิเหนา - แคช th.wikipedia.org/wiki/ดาหลัง - แคช

More Related