1 / 21

สมุนไพร พืชผัก & ผลไม้

สมุนไพร พืชผัก & ผลไม้. เป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคได้ต่างๆนานา. แนะนำหัวข้อหลักกันก่อนนะคะ. รู้จักกับพืชสมุนไพร บทบาทของพืชสมุนไพร เรียนรู้สรรพคุณของพืชผักและผลไม้.

terris
Download Presentation

สมุนไพร พืชผัก & ผลไม้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมุนไพรพืชผัก & ผลไม้ เป็นสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคได้ต่างๆนานา

  2. แนะนำหัวข้อหลักกันก่อนนะคะ..แนะนำหัวข้อหลักกันก่อนนะคะ.. • รู้จักกับพืชสมุนไพร • บทบาทของพืชสมุนไพร • เรียนรู้สรรพคุณของพืชผักและผลไม้

  3. "สมุนไพร"นับว่าเป็นยาที่ สำหรับรักษาโรคต่างๆ ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง"พืชสมุนไพร"ทั้งหลาย"พืชสมุนไพร" ที่นำเอามาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคของคนเรานั้นได้รับการอนุญาตให้ใช้รักษาความ เจ็บไข้ได้ป่วย ของมนุษย์เราได้โดยมีพระราชบัญญัติยาพุทธศักราช 2522 ปรากฏออกมาอันมีความหมายถึงยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือทำการแปรสภาพเป็นต้นว่า ส่วนของรากหัว เปลือก ใบ ดอก เมล็ด ผลบางท่านอาจจะเข้าใจผิดคิดไปว่า "สมุนไพร"มีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพรที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มีเช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ"พืชสมุนไพร"นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่งเชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น รู้จักพืชสมุนไพร

  4. 1.2รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็นรากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น 2.ลำต้นนับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลง โดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบ ดอกเกิดขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะทำให้พืชมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น1.ประเภทไม้ยืนต้น2.ประเภทไม้พุ่ม3.ประเภทหญ้า4.ประเภทไม้เลื้อย "พืชสมุนไพร" โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ1.ราก 3.ใบ 5.ผล 2.ลำต้น 4.ดอก "พืชสมุนไพร" เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่นรากก็ทำหน้าที่ดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหารดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุดส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นพืชสมุนไพร1.ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่น กระชายขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้นรูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่ นับว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลาย รูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและรากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็กต้นคูน เป็นต้น ลักษณะของพืชสมุนไพร

  5. 3.ใบใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและเป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำและอากาศให้ต้นพืช ใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า"คอลโรฟิลล์"อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้นใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ1.ตัวใบ2.ก้านใบ3.หูใบชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ1).ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน 2.)ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว มี มะขามแขกแคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น 4. ดอกส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืช เป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของต้นไม้ รูปร่างลักษณะของดอก ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ1.ก้านดอก 4.เกสรตัวผู้2.กลีบรอง 5.เกสรตัวเมีย3.กลีบดอก3.)ผลแห้งชนิดไม่แตก 5. ผล

  6. ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ1.ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน2.ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอก เดียวกัน เช่น น้อยหน่า3.ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรดมีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ1.ผลเนื้อ2.ผลแห้งชนิดแตก3.ผลแห้งชนิดไม่แตก บทบาทของพืชสมุนไพร

  7. ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citrates (DC.) Stapf วงศ์ Graminae ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) ลักษณะของพืช » เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลำต้นรวมกันเป็นกอ ใบยาวเรียวปลายแหลมสีเขียวใบไม้ออกเทา มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ส่วนที่ใช้เป็นยา ผล เก็บเหง้าและลำต้นแก่ สรรพคุณของพืชผักและสมุนไพร..ตะไคร้.. • รสและสรรพคุณไทย กลิ่นหอม บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหารแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก • วิธีใช้ ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่างๆดังนี้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สดๆทุบพบแหลกประมาณ 1 กำมือต้มน้ำดื่มหรือประกอบเป็นอาหารอาการขับเบาผู้ที่ปัสสาวะขัด ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ใช้ตะไร้แก่สดต้มดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินหั่นฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลืองชงเป็นยาดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 1314 15

  8. ชื่อวิทยาศาสตร์ Languas galanga (L.) stuntzวงศ์ Zingiberaceaeชื่อท้องถิ่น ข่าตาแดง ข่าหยวก (ภาคเหนือ)ลักษณะของพืช » ข่ามีลำต้นที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่าเหง้า เนื้อในมีสีเหลืองกลิ่นหอมเฉพาะลำต้นที่อยู่เหนือดินสูงได้ 2 เมตร ใบสีเขียวอ่อนสลับกัน รูปร่างรียาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อที่นอ สีนวลขาวส่วนที่ใช้เป็นยา » เหง้าแก่รสและสรรพคุณยาไทย »เหง้าข่ามีรสเผ็ด ขับลม แก้บวม ฟกช้ำ วิธีใช้ » อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ทำได้โดยใช้เหง้าแก่ของข่าสดหรือแห้งขนาดเท่าหัวแม่มือต้มกับน้ำดื่ม กลากเกลื่อน เอาหัวข่าแก่ล้างให้สะอาดฝานออกเป็นแว่นบางๆหรือทุบให้แตก เอาไปแช่เหล้าโรงทิ้งไว้ 1 คืนทำความสะอาดบริเวณที่เป็น เอายามาทาบริเวณที่เป็น จนกว่าจะหายข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » เหง้าข่าประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)ในน้ำมันนี้ยัง ประกอบด้วยสารชนิดcinnamate,cineol,eugenol camphor, pinenes เป็นต้นน้ำมันนี้มีฤทธิ์ต้านเชื้อราต่างๆ มีฤทธิ์ขับลมต้านเชื้อแบคทีเรีย ..ข่า.. Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  9. ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc.วงศ์ Zingiberaceaeชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก(เชียงใหม่)ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี)ลักษณะของพืช » ขิงเป็นพืชล้มลุก มีแล่งใต้ดิน แง่งจะแตกแขนงออกมาคล้ายนิ้วมือเนื้อในเป็นสีเหลืองแกมเขียว ใบสีเขียวใบไม้ เรียงแคบ ปลายแหลมดอหเป็นช่อขนาดเล็กดอกสีเหลืองจะบานจากต้นไปหาปลายส่วนที่ใช้เป็นยา »เหง้าแก่สดรสและสรรพคุณยาไทย»รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน วิธีใช้ » อาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ แน่นจุกคลื่นไส้ อาเจียน ใช้เหง้าขิงสดขนาดเท่าหัวแม่มือทุบให้แตกต้มเอาน้ำมาดื่มได้ อาการไอ มีเสมหะ ให้ฝนขิงใช้กับมะนาว ใช้กวาดคบ่อยๆคุณค่าทางอาหาร » ใขิงอ่อนเอามาปรุงอาหารได้มากมายหลายอย่าง เช่นไก่ผัดขิงใส่ในต้มส้มปลากระบอก โจ๊กหมู โจ๊กไก่ โจ๊กกุ้งหรือโจ๊กอะไรก็ตามได้ทั้งนั้นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » เหง้าขิงมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันนี้มีสารเคมีหลายชนิดด้วยกันที่สำคัญมี Zingiberine, Zingiberol, Citralนอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังมีสารที่ชื่อ Oleo- resin อยู่ในปริมาณสูง เป็นสารที่ทำให้ขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองสารสกัดจากขิงป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียนได้ ..ขิง.. Go_..234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  10. ชื่อวิทยาศาสตร์Citrus aurantifolia (Christm) Swing. วงศ์ Rutaceaeชื่อท้องถิ่น ส้มมะนาว มะลิว (เชียงใหม่) ลักษณะของพืช» เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ทรงพุ่ม มีหนามตามต้น ก้านใบสั้นตัวใบเป็นรูบกลมรี สีเขียวใบไม้ ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน ขยี้ไปดมจะมีกลิ่นหอม ดอกเล็กสีขาวอมเหลือง หอมอ่อนๆผลกลมเปลือกบางเรียบ มีน้ำมาก รสเปรี้ยวจัด เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม รสขม ส่วนที่ใช้เป็นยา » เปลือกและน้ำในผลรสและสรรพคุณยาไทย » เปลือกผล รสขม ช่วยขับลมได้ดี น้ำของผลมะนาวเปรี้ยวจัด เป็นยาขับเสมหะเมื่อเด็กหกล้มหัวโน ใช้มะนาวผสมกับดินสอพองพอกบริเวณที่ในจะทำให้เย็นและยุบเร็ว วิธีใช้ » เปลือกมะนาวและน้ำมะนาวใช้เป็นยาได้ โดยมีรายการใช้ดังต่อไปนี้คือเปลือกมะนาวรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด นำเอาเปลือกของผลสดมาประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ชงกับน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการน้ำมะนาวรักษาอาการไอและขับเสมหะ ใช้ผลสดคั้นน้ำจะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อยแล้วจิบบ่อยๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงรสให้เข้มข้นพอสมควรดื่มบ่อยๆ ก็ได้อีกเช่นเดียวกัน อร่อย ชุ่มคออย่าลืมใส่น้ำแข็งทุบลงไปด้วยจะเป็น"น้ำมะนาวเย็น" คุณค่าทางอาหาร » มะนาวเป็นเครื่องปรุงรสอาหารไทยที่ขาดเสียไม่ได้ น้ำพริกส้มตำ ยำทุกชนิด ลาบและอีกมากมายหลายอย่างจะต้องใช้มะนาวปรุงรสเสมอ จึงจะเกิดรสดี อร่อยสุดๆ นำมะนาวมาคั้นเป็นน้ำมะนาวจะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ปรุงรสดื่มช่วย ให้ร่างกายมีความรู้สึกว่าสดชื่นยิ่งขึ้น แก้ไอขับเสมหะได้ดีมากที่เดียวประโยชน์ของน้ำมะนาวที่รู้จักกันดีคือมีวิตามิน ซี สูงมาก รักษาโรคเลือดออกตามลายฟัน แต่วิตามินซีจะสะลายตัวง่ายในความร้อน จึงต้องระมัดระวังในการปรุงอาหาร ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » ผิวเปลือกของมะนาวมีน้ำมันหอมระเหย "โวลาทิล" เช่น Slaronoid,Organic acid, citral และวิตามิน ซี น้ำมะนาวมีฤทธิ์รักษา โรคลักปิดลักเปิด เนื่องจากมีวิตามินซี สูง สวนฤทธิ์ในการแก้ไอขับเสมหะ เนื่องจากกรดที่มีอยู่ในน้ำมะนาว กระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมา ทำให้เกิดการชุ่มคอจึงลดอาการไอลงได้ Go_..234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15 Go_..234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15 มะนาว

  11. ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe barbadensis Mill. วงศ์ Liliaceae ชื่อท้องถิ่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) หางตะเข้ (ภาคกลาง) การปลูก» ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อนปลูกได้ดีในบริเวณที่เป็นดินทรายและมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ จะปลูกที่กระถางก็ได้ เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำได้ดี มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตายได้ ว่านหางจระเข้ชอบแดดรำไร ถ้าถูกแดดแรงๆจะทำให้ใบเป็นสีน้ำตาล ส่วนที่ใช้เป็นยา » วุ้นจากใบ รสและสรพรคุณยาไทย » รสจืดเย็นใช้ผสมกับปูนแดงปิดขมับใช้แก้ปวดศีรษะได้ วิธีใช้ » วุ้นจากใบรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเลือกที่ใบว่านที่อยู่ในส่วนล่างของต้นเพราะใบใหญ่จะได้วุ้นมากกว่าใบเล็ก ปอกเปลือกสีเขียวด้วยมีดที่สะอาด ล้างยางให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุกหรือน้ำด่างทับทิมขูดเอาวุ้นใสมาพอกที่แผล ทา 2 ครั้ง เช้า เย็น จนกว่าแผลจะหายช่วยระงับความเจ็บปวด ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และไม่เกิดแผลเป็นวุ้นของว่านหางจระเข้ยังสามารถรักษาแผลที่เกิดจากแสงแดดได้อีกด้วย แต่ควรทดสอบดูว่ามีอาการแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นมาทาที่บริเวณท้องแขนด้านใน ถ้าไม่มีอาการแดงหรือคันก็ใช้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิดเช่น Aloe-cmodin, Aloesin,aloinสารประเภท glycoprotein และอื่นๆอีกมากมาย ยางที่อยู่ในใบว่านหางจระเข้มีสาร anthraquinone ที่มีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่าวุ้นหรือเมือกของว่านหางจระเข้ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกแผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี และสามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วย ว่านหางจระเข้ Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  12. ชื่อวิทยาศาสตร์Tamarindus&mbsp;indica&mbsp;Linn.วงศ์Leguminosae ชื่อท้องถิ่น มะขามไทย(ภาคกลาง) ขาม (ภาคใต้) &mbsp;ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่วงโคคล้ง (กระเหรี่ยว - กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุนิรทร์) ส่วนที่ใช้เป็นยา » เนื้อฝักแก่ เนื้อเม็ดมะขามแก่ รสและสรรพคุณยาไทย » เนื้อฝักแก่มีรสเปรี้ยว เป็นยาระบาย ขับเสมหะ เนื้อเม็ดมีรสมันขับพยาธิ วิธีใช้ » ส่วนต่างๆ ของมะขามเป็นยารักษาแตกต่างกันคืออาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10-12 ฝัก(หนัก 70-150 กรัม)จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำเข้าไปมากๆหรือคั้นน้ำเกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขามก็ได้ เช่นเดียวกัน นำเอาเมล็ดที่แก่มาคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออกเอาเนื้อในเมล็ดไป แช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งล่ะ 20 30 เมล็ดอาการไอมีเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือ รับประทานพอสมควร คุณค่าทางอาหาร » ยอดอ่อนของมะขาม ใช้ใส่ในต้มยำปลากรอบก็อร่อย ทำให้มีรสเปรียวได้ ยอดมะขามอ่อนมีวิตามิน เอมาก ฝักมะขามอ่อนมีสารอาหารเช่นเดียวกับยอดมะขามอ่อน ใช้ตำน้ำพริกมะขามอ่อนไปจิ้มกับเกลือรับประทานก็ได้ ส่วนมะขามเปียกรสเปรี้ยวใช้ปรุงแกงส้มแกงคั่ว ต้มโคล้ง ต้มส้มได้ทั้งสิ้น คั้นเอาน้ำมะขามใส่น้ำตาล เกลือ ใส่น้ำแข็งก็ได้เป็นเครื่องดื่มน้ำมะขาม เป็นอย่างดี อร่อย ชุ่มคอ ลดความร้อนในร่างกายได้ดี ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า"มะขามเปียก"มะขาม ที่ใช้เป็นยา ใช้มะขสมชนิดเปรี้ยว เพราะมีกรดอินทรีย์ประกอบด้วยหลายตัวด้วยกัน เช่น กรด "ทาร์ทาร์ริค" กรด "ซีตริค" เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ลดความร้อนของร่างกายลงได้แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวจะกัดเสมหะให้ละลายไปได้ มะขาม Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  13. ชื่อวิทยาศาสตร์Centelia asiatica (Linn.) Urban วงศ์Umbelliferae ลักษณะของพืช» บัวบกเป็นพืชสมุนไพรที่เลื้อยไปได้ตามพื้นดิน สูงประมาณ 1 ฝ่ามือมีรากงอกออกมาตามลำต้น ก้านใบลอกตรงจากดิน ใบสีเขียว ใบรูปกลมรีเล็กน้อย ดอกสีม่วงแดงเข้มส่วนที่ใช้เป็นยา » ต้นสดและใบสด รสและสรรพคุณยาไทย » กลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า แก้ร้อนใน แก้โรคความดันโลหิตสูง วิธีใช้ » ใบบัวบกเอามาใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวดได้ดีโดยเอาใบบัวบกทั้งต้นสดทั้งใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดแล้งโขลกละเอียด คั้นเอาน้ำและทาบริเวณที่เป็นแผลบ่อยๆจะใช้กากพอกด้วยก็ได้ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » สารที่สำคัญที่ได้จากใบบัวบกคือ มีฤทธิ์ในการสมานแผลทำให้แผลหายเร็ว มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราและลดอาการอักเสบ บัวบก Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  14. ชื่อวิทยาศาสตร์Curcuma longa Linn วงศ์Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) หมิ้น (ภาคใต้) ลักษณะของพืช » ขมิ้นเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบรูปเรียวยาว ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงออกมาจากเหง้าโดยตรง ดอกสีขาวอมเหลืองส่วนที่ใช้เป็นยา »เหง้าสดหรือแห้ง รสและสรรพคุณยาไทย»รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วงวิธีใช้ » อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อยทำโดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แต่บางคนเมื่อกินยานี้แล้วแน่นจุกเสียดให้หยุดกินยานี้ คุณค่าทางอาหาร » เหง้าขมิ้นพบว่ามี วิตามิน เอ วิตามิน ซี นอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกพอสมควร เป็นเครื่องปรุงรส แต่งสีได้ดีมากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย "เอสเซนเซียล" และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่ทำให้ขมิ้นได้ชื่อว่า Curcumin จากการทดลองพบว่าขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง ขมิ้น Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  15. ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pundurata (R0xb) Schitr วงศ์Zinggberaceae ชื่อท้องถิ่น กะแอน ระแอน(ภาคเหนือ) ขิงทรา(มหาสารคาม)ว่านพระอาทิตย์(กรุงเทพฯ) ลักษณะของพืช » กระชายเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 2 ศอกเศษมีลำต้นใต้ดิน เรียกว่าเหง้า รูปทรงกระบอกเนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะเนื้อละเอียด กาบใบสีแดงเรื่อ ใบใหญ่ยาวเรียว ดอกเป็นช่อส่วนที่ใช้เป็นยา » เหง้าใต้ดิน รสและสรรพคุณยาไทย» รสเผ็ดเล็กน้อย ขมนิดหน่อยใช้แก้ปวดมนในท้องไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อใช้บำรุงร่างกาย วิธีใช้» เหง้ากระชายรักษาอาการท้องอืด ท้องฟ้อ แน่น จุกเสียดโดยการนำเอาเหง้าและรากของกระชายมาต้มน้ำประมาณครึ่งฝ่ามือดื่มเมื่อมีอาการหรือปรุงกับอาหารรับประทานได้เลย คุณค่าทางอาหาร » กระชายมีรสเผ็ดพบสมควร จึงช่วยดับกลิ่นคาวได้นำไปปรุงกับอาหารได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอาหารไทยเราเช่น แกงเลียง แกงขี้เหล็กผัดเผ็ดปลาดุก ฯลฯ ในรากเหง้าของกระชายมีแคลเซียม เหล็กมากนอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆและวิตามิน เอ วิตามิน ซี อีกด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » ในเหง้ากระชายมีสารสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหยในการทดลองพบว่า สารจากเหง้ากระชายมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียเชื้อแบคทีเรียที่ได้ผลคือ Bacillus subtilis แบคทีเรียในลำไส้และแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนองน้ำมันหอมระเหยช่วยขับลมในกระเพาะและลำไส้ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วิจัยว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน กระชาย Go_..234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  16. ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibicus sabdariffa Linn วงศ์ Malvaceae ชื่อท้องถิ่น กระเจี๊ยบ (ภาคกลาง) ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ)ลักษณะของพืช » กระเจี๊ยบเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 3-6 ศอก ลำต้น และกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบ ขอบใบเรียบ บางครั้งมีหยักเว้า 3 หยักด้วยกัน ดอกสีชมพู การปลูก ใช้เมล็ดปลูก เริ่มปลูกปลายฤดูฝน เมื่อต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนแยกหลุม ละ 2-3 เมล็ด ส่วนที่ใช้เป็นยา » กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก รสและสรรพคุณยาไทย» กลีบรองดอกกลีบเลี้ยงและใบมีรสเปรี้ยวใช้เป็นยากัดเสมหะวิธีใช้» ใช้เป็นยารักษาอาการขับเบา โดยเอากลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอกตากแดดให้แห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด1 ถ้วยดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ให้ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจันทร์จนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป คุณค่าทางอาหาร » กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแดงมีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำเติมน้ำตาลดื่มแก้ร้อนใน กระหายใน และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้และนอกจากนั้นยังสามารถนำมาทำขนมเป็นแยม เยลลี่ ได้ด้วย ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงมี ชื่อว่า"แอนโธโซยานิน" จึงทำให้มีสีแดงม่วง และประกอบ ด้วยกรดอินทรีย์อีกหลายชนิดด้วยกัน กระเจี๊ยบแดง Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  17. ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava Linn. วงศ์ Myrtaceaeชื่อท้องถิ่น มะมั่น มะก้วยกา (ภาคเหนือ) บักสีดา(ภาคอีสาน) ย่าหมู ยามู (ภาคใต้) มะปุ่น (ตาก สุโขทัย) มะแกว (แพร่)ลักษณะของพืช» ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม สีเขียว รูปใบรี ปลายใบมน หรือมีกิ่งแหลม โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อ ช่อละ 2-3 ดอก ดอกย่อยมีสีขาว มีเกสรตัวผู้มากเป็นฝอย ผลดิบมีสีเขียวใบไม้ เมื่อสุกจะเป็นสีเขียวอ่อนปนเหลือง เนื้อในเป็นสีขาวมีกลิ่นเฉพาะมีเมล็ดมาก ส่วนที่ใช้เป็นยา » ใบแก่สดหรือผลอ่อนใช้รักษาอาการท้องเสียและสารสกัดด้วยน้ำจากใบ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอนอีกด้วยวิธีใช้ » ผลอ่อนและใบแก่ของฝรั่งแก้ท้องเสียได้เป็นอย่างดี แก้อาการท้องเดิน ซึ่งเป็นยาแก้ท้องเดินแบบไม่รุนแรง ที่ไม่ใช่เกิดจากเชื่อบิดหรืออหิวาตกโรคโดยใช้ใบแก่ 10-15 ใบ ปิ้งไผแล้วชงน้ำร้อนดื่ม หรือให้ใช้ผลอ่อนๆ 1 ผล ฝนกับน้ำปนใสดื่มเมื่อมีอาการท้องเสีย คุณค่าทางอาหาร » ผลฝรั่งที่สุกหรือแก่จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มากฝรั่งมีหลายพันธุ์ที่เดียวแต่ละพันธุ์ก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เนื้อของฝรั่งมี วิตามิน ซี สูงช่วยบรรเทาและแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิดได้ดี นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เอ มีเหล็ก แคลเซียมและเกลือแร่อื่นๆอีก ฝรั่งมีฤทธิ์ดับกลิ่นปากได้ดีเยี่ยมตามที่เราท่านทราบกันดีอยู่แล้วเช่น เคี้ยวใบฝรั่งสักใบเดียวในปากก็ดับกลิ่นปากได้อย่างวิเศษมากว่ากันว่าเอาลูกฝรั่งสุกๆวางๆว้ในโลงศพยังสามารถดับกลิ่นเหม็นเน่าของศพได้ดีมาก นี่แหละความดีของฝรั่ง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » ใบฝรั่งมีน้ำมันหอมระเหย Eugenol, Tannin รวม 8-10 % และอื่นๆ ส่วนผลดิบอยู่ก็มี "แทนนิน" วิตามิน ซี แคลเซียม ออกซาเลท และอื่นๆ สารแทนนินที่มีอยู่ทำให้ใบและผลดิบของฝรั่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน ฝรั่ง Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  18. ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya Linn. วงศ์ Caricaceaeชื่อท้องถิ่น มะก๊วยเต็ด ก๊วยเทด (ภาคเนือ เชียงใหม่) ลอกอ (ภาคใต้) แตงต้น (สตูล) หมักหุ่ง (นครพมน เลย อีสาน) ลักษณะของพืช» มะละกอเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน สูงราว 5-7 เมตรใบออกเป็นกลุ่มที่ยอดของลำต้น อาจจะพยแขนงย่อยบ้าง 1-2 กิ่ง ทุกส่วนของพืชมียางสีขาว ใบมะละกอมีสีเขียวใบไม้ มีลักษณะเป็นหยักลึกเข้าหากลางใบ 7-11 หยักด้วยกัน ก้านใบกลวงและค่อนข้างยาว ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลและขนาดมีความแตกต่างกันแต่ละชนิดสายพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีลักษณะกลมป้อม ถึงเรียวยาวเมื่อสุกเนื้อในจะมีสีส้มหรือแดง มีเมล็ดสีดำเป็นจำนวนมาก คุณค่าทางอาหาร » มะละกอสุกนับว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน มีวิตามินเอมาก ช่วยบำรุงสายตา และยังประกอไปด้วยน้ำตาล วิตามิน บีหนึ่งและบีสอง วิตามิน ซีเกลือแร่ต่างๆ อีกไม่น้อย เป็นต้นว่า แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมทั้งมีกากหรือเส้นใสอาหารมากมะละกอดิบมีน้ำย่อย "พาเพน" ช่วยย่อยอาหารประเภทเนื้อได้ดี นิยมใช้ทำเป็นอาหารมาก เช่น ส้มตำ แกงส้ม ผัดกับไข่ก็ได้ผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ รับประทานมะละกอสุกทุกวันจะทำให้การขับถ่ายสะดวก คล่อง เพราะอุจจาระจะมีลักษณะอ่อนนิ่มอยู่เสมอนั้นเอง มะระกอ Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  19. ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana Linn. วงศ์ Guttiferaeชื่อท้องถิ่น มังคุด ลักษณะของพืช» มังคุดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบใหญ่หนาและแข็งดอกออกเป็นช่อแยกได้เป็น ทั้งดอกตัวผู้ละดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้จะเป็นสีเหลืองอมแดงหรือม่วง ส่วนดอกตัวเมียจะเป็นสีชมพูส่วนที่ใช้เป็นยา » เปลือกผลแห้งรสและสรรพคุณยาไทย » รสฝาด แก้ท้องเสีย บิด มูกเลือด ในชนบทมักจะใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดชะล้างแผลจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น วิธีใช้ » เปลือกมังคุดใช้เป็นยารักษา อาการท้องเสีย ใช้เปลือกที่ตากแห้งต้มกับน้ำปูนใส่หรือฝนกับน้ำดื่มได้อาการเป็นบิด (ปวดเบ่ง มีมูก และอาจมีเลือดออก) ใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล (4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียมฝนกับน้ำปูนใส่ประมาณครึ่งแก้วดื่มทุก ชั่วโมงคุณค่าทางอาหาร » มังคุดเป็นผลไม้ เนื่อมังคุดมีเกลือแร่และวิตามินมากมายที่เดียวข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ » เปลือกผลมังคุดมีสาร"แทนนิน"เป็นจำนวนมาก มีฤทธิ์แก้อาการ ท้องเดินได้ดี นอกจากนี้ในเปลือกมังคุดออกฤทธิ์สมานแผลได้ดีมาก ทั้งยังฆ่าเชื่อแบคทีเรียได้อีกด้วยโดยเฉพาะเชื้อที่ทำให้เกิดหนอง และมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบลงได้ดี กองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษารายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน แต่ควรระวังเรื่องขนานของการใช้ เพราะสารที่เปลือกมังคุดมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางและเพิ่มความดันเลือดได้ มังคุด Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  20. รสและสรพรคุณยาไทย » รสหวานเย็น ขับปัสสาวะวิธีใช้ » ใช้เหง้าสดหรือแห้ง แก้อาการขับเบา ช่วยขับปัสสาวะโดยใช้เหง้าวันละ 1 กอบมือ (สดหนัก 200 - 250 กรัม แห้งใช้ 90 - 100กรัม ต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (ประมาณ 75 มิลลิลิตร)คุณค่าทางอาหาร » สับปะรดรับประทานเป็นผลไม้ได้ดี มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายเพราะมีเกลือแร่ วิตามินต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราไม่น้อย น้ำสับปะรด เอาไปแช่เนื้อทำให้เนื้อนุ่มได้ด้วย ไม่ทำให้เปื่อยยุ่ยทำให้นุ่นกำลังดี ช่วยย่อยอาหารได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ananus comosus Merr. วงศ์ Bromeliaceaeชื่อท้องถิ่น มะขะนัด มะนัด (ภาคเหนือ) บ่อนัด (เชียงใหม่)ขนุนทอง ย่านัด ยานัด (ภาคใต้) หมากนัด (ภาคอีสาน)ลักษณะของพืช» สับปะรดเป็นพืชล้มลุกหลายปี ลำต้นสั้นและแข็ง ใบออกสลับโดยรอบต้น ในเรียวยาว ปลายแหลม ดอกออกเป็นช่อสี ช่อดอกมีก้านยาวผลรูปร่างเป็นรูปไข่หรือทรงกระบอก ส่วนที่ใช้เป็นยา » เหง้าทั้งสดและแห้ง สับปะรด Go_..234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15

  21. ชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia Javanica วงศ์ Myrtaceae ชื่อท้องถิ่น ชมพู่ลักษณะของพืช » ต้มชมพู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทรงพุ่ม ใบหนาเป็นมันใบโตพอสมควร ดอกจะบานออกมาเป็นฝอยฟูคล้ายกับดอกกระถิน มีสีขาวสีเขียวใบไม้ สีชมพูอ่อนๆผสมผสานกันอยู่ ผลชมพู่ลักษณะกลม แป้น สีเขียวทางขั้วเล็ก เมล็ดในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีเยื่อใยฟูนิ่มอยู่ภายนอก ส่วนที่ใช้เป็นยา » เนื้อของผลรสและสรรพคุณ» เอาเนื้อของชมพู่มาทำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่นหอม โดยการเอเนื้อชมพู่แห้งมาบดหรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันทีสามารถนำมาบำรุงหัวใจได้มากเพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ชมพู่ Go_.. 234 5 6 7 89 10 11 12 13 14 15 กลับหน้าแรก

More Related