1 / 114

กองมรดกได้แก่

กองมรดกได้แก่. ป.พ.พ. มาตรา 1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของ บุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท”

thimba
Download Presentation

กองมรดกได้แก่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กองมรดกได้แก่ ป.พ.พ. มาตรา 1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

  2. ทรัพย์สิน กองมรดก ยกเว้น ที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยกฎหมาย หรือโดยสภาพ สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด

  3. กองมรดกของผู้ตายประกอบไปด้วยกองมรดกของผู้ตายประกอบไปด้วย • ทรัพย์สิน ได้แก่ ทรัพย์ และทรัพย์สิน • สิทธิ ได้แก่ การที่บุคคลหนึ่งสามารถเรียกร้องให้บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ สิทธินั้น จะมีที่มาจากนิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ก็ได้

  4. สิทธิของผู้ซื้อที่จะได้รับสินค้า สิทธิของผู้ขายที่จะได้รับราคา • สิทธิของลูกจ้างที่จะได้ค่าจ้างสิทธิของนายจ้างที่จะให้ลูกจ้างทำงานให้ • สิทธิของลูกจ้างที่จะเรียกค่าชดเชย ค่าล่วงเวลา • สิทธิของผู้ให้กู้ที่จะได้เงินที่ให้กู้คืน • สิทธิของผู้ให้เช่าที่จะได้ค่าเช่า สิทธิของผู้เช่าที่จะได้ใช้ทรัพย์ • สิทธิของผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทน

  5. หน้าที่ หมายถึง ภาระที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความผูกพันที่จะต้องกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง อาจเกิดจากนิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ก็ได้

  6. ความรับผิด หมายถึง ภาระที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความผูกพันที่จะต้องกระทำการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ความรับผิดจะเกิดเมื่อมีการล่วงสิทธิผิดหน้าที่ต่อบุคคลอื่นซึ่งตนมีอยู่ตามสัญญาหรือตามกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องได้รับความเสียหาย (โดยทั่วไปความรับผิดจะชดใช้กันด้วยทรัพย์สิน(เงิน)) • เช่น ความรับผิดของผู้กระทำละเมิดในการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหาย

  7. สรุป • กองมรดกประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นคุณประโยชน์แก่ทายาทอันได้แก่ ทรัพย์สิน กับสิทธิ และส่วนที่เป็นโทษอันได้แก่ หน้าที่ กับความรับผิด ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด

  8. กรณีที่กองมรดกมีแต่หนี้สิน หรือมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ทายาทไม่จำต้องรับผิดในหนี้สินของผู้ตายเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน • มาตรา ๑๖๐๑ “ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน” • เจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์มรดกเท่านั้น • มาตรา ๑๗๓๔ “เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น” • ถ้ากองมรดกมีทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท แต่ทายาทใช้สอยทรัพย์มรดกไปจนหมดสิ้น ทายาทต้องรับผิดในหนี้สินกองมรดกด้วยทรัพย์สินของตนเอง • ทรัพย์สินของทายาทเข้ามารับผิดแทนทรัพย์มรดก

  9. ลักษณะสิ่งที่จะเป็นกองมรดกของผู้ตายลักษณะสิ่งที่จะเป็นกองมรดกของผู้ตาย • 1. ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิด ที่จะเป็นกองมรดกของผู้ตาย จะต้องเป็นสิ่งที่มีค่าเป็นเงินทอง • ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ที่มีค่าเป็นเงินทอง รวมกันทั้งหมดเรียกว่า “กองทรัพย์สินของผู้ตาย • มีที่มาจากหลัก “ทฤษฎีกองทรัพย์สิน” ในกฎหมายฝรั่งเศส (นักศึกษาหาอ่านได้ใน คำอธิบายกฎหมายมรดกของ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ)

  10. ทฤษฎีกองทรัพย์สินว่าอย่างไรทฤษฎีกองทรัพย์สินว่าอย่างไร • กองทรัพย์สิน ได้แก่ บรรดานิติสัมพันธ์ที่มีค่าเป็นเงินทอง • ทรัพย์สิน • สิทธิ • หน้าที่ • ความรับผิด • บุคคลทุกคน มีกองทรัพย์สินเสมอแม้ว่า กองทรัพย์สินจะมีแต่หนี้สินก็ตาม • เมื่อบุคคลใดตายกองทรัพย์สินของบุคคลนั้นตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาท • ป.พ.พ. มาตรา 1599 “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท” สิ่งเหล่านี้ใช่ “นิติสัมพันธ์” หรือไม่ ? (- -”)

  11. นิติสัมพันธ์ ไม่มีค่าเป็นเงินทอง มีค่าเป็นเงินทอง ตาย ไม่มีค่าเป็นเงินทอง มีค่าเป็นเงินทอง ระงับ ตกทอดแก่ทายาท

  12. 2. ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิด ต้องไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย • สิ่งที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้นสำหรับผู้ตายเท่านั้น คนอื่นจะรับแทนหรือทำแทน • เป็นสิ่งที่มีผูกพันกับตัวบุคคลหรือไม่ • ลักษณะที่เป็นการเฉพาะตัว อาจจะเกิดขึ้นจาก • สภาพของสิ่งนั้น เช่น หน้าที่ของลูกจ้าง, สิทธิของผู้เช่า เป็นต้น • กฎหมายกำหนด เช่น ที่ดินบางประเภทที่กฎหมายห้ามโอน

  13. สิ่งเหล่านี้เป็นการเฉพาะตัวหรือไม่สิ่งเหล่านี้เป็นการเฉพาะตัวหรือไม่ • หน้าที่ของลูกจ้างที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้าง • ติดตัวกับตัวลูกจ้าง จึงเป็นการเฉพาะตัวของลูกจ้าง • หน้าที่ของผู้กู้ที่ต้องคืนเงินให้แก่ผู้ให้กู้ • ไม่ติดกับตัวผู้กู้ จึงไม่เป็นการเฉพาะตัว • สิทธิของลูกจ้างที่จะได้เงินเดือน • ไม่ติดกับตัวลูกจ้าง จึงไม่เป็นการเฉพาะตัว • หน้าที่ของผู้เช่าที่ต้องชำระค่าเช่า • ไม่ติดกับตัวผู้เช่า จึงไม่เป็นการเฉพาะตัว • สิทธิของผู้ให้เช่าจะได้รับค่าเช่า • ไม่ติดตัวผู้ให้เช่า จึงเป็นการเฉพาะตัว • สิทธิของผู้เช่าที่จะใช้ทรัพย์สินที่เช่า • ติดกับตัวผู้เช่า จึงเป็นการเฉพาะตัวของผู้เช่า • หน้าที่ของผู้ขายต้องส่งมอบสินค้า • ไม่ติดตัวผู้ขาย จึงไม่เป็นการเฉพาะตัว • หน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องชำระราคา • ไม่ติดตัวผู้ซื้อ จึงไม่เป็นการเฉพาะตัว

  14. ลักษณะของตัวบุคคล ประโยชน์ในทรัพย์สิน

  15. 3. ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด จะต้องเป็นสิ่งที่ผู้ตายมีก่อนตาย • กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย • มีขณะถึงแก่ความตายใช้อะไรพิจารณา ใช้เกณฑ์สิทธิ หรือเกณฑ์ได้รับจริง ? • เกณฑ์สิทธิ ได้แก่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แม้จะยังไม่ได้มาจริงๆก็ตาม • เกณฑ์ได้รับจริง ได้แก่ เป็นสิ่งที่ได้รับมาไว้กับตัวแล้ว • ใช้เกณฑ์สิทธิ ในการพิจารณา • คำพิพากษาฎีกาที่ 1953/2515 เงินสะสมซึ่งทางราชการหักไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน ย่อมเป็นมรดกของข้าราชการผู้นั้น (เพราะเป็นเงินของผู้ตายที่มีสิทธิได้รับแล้วเพียงแต่ที่ทำงานเก็บรักษาไว้ให้)

  16. 2.1 สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับความตาย หรือเนื่องจากความตายไม่เป็นมรดก • เช่น เงินประกันชีวิต เงินฌาปนกิจศพ เงินสวัสดิการ เงินสงเคราะห์ในที่ทำงาน • 2.2 สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังความตายไม่เป็นมรดก • เช่น เงินปันผล ดอกเบี้ย ซึ่งได้รับหลังตาย

  17. ป.พ.พ. มาตรา ๘๙๗ “ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่าเมื่อตนถึงซึ่งความ มรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดยมิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใด ไว้ไซร้ จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ท่านให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ ถ้าได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้น จักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้”

  18. เจ้ามรดกตาย ไม่ใช่กองมรดกของผู้ตาย ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด เป็นกองมรดกของผู้ตาย

  19. ตัวอย่าง • นายดำเป็นพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ขณะที่นายดำถึงแก่ความตาย นายดำมีหนี้เงินกู้ซื้อบ้านกับธนาคารคงเหลือหนี้ 5 แสนบาท มีเงินโบนัสที่บริษัทยังไม่ได้จ่าย 8 หมื่นบาท มีค่าเช่าที่ค้างชำระ 1 หมื่นบาท เงินที่จะได้จากการประชีวิตตนเอง 6 แสนบาท และมีหุ้นของบริษัทแห่งหนึ่ง 1 หุ้นคิดเป็นราคา 2 แสนบาท เช่นนี้ กองมรดกของนายดำมีจำนวนเท่าใด คิดเป็นทรัพย์สิน และหนี้สินอย่างละเท่าใด

  20. จบ

  21. ทายาท และคุณสมบัติของทายาท • ทายาท ได้แก่ บุคคลซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดก คุณสมบัติของทายาท • บุคคลซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ • 1. ต้องมีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย • การเป็นทายาทเป็นสิทธิประการหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องมีผู้ทรงสิทธิตามกฎหมาย ฉะนั้นทายาทจึงต้องมีสภาพบุคคลในขณะที่สิทธิในการเป็นทายาทเกิดขึ้น

  22. ฉะนั้นบุคคลดังต่อไปนี้จึงไม่มีฐานะเป็นทายาทฉะนั้นบุคคลดังต่อไปนี้จึงไม่มีฐานะเป็นทายาท • ก. บุคคลซึ่งสิ้นสภาพบุคคลไปก่อนทีเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะโดยสภาพ หรือโดยผลของกฎหมาย • ข. บุคคลซึ่งสิ้นสภาพบุคคลพร้อมกับเจ้ามรดก มาตรา ๑๖๐๔ “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา ๑๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

  23. 310 วัน เจ้ามรดกตาย ทายาทตายก่อน ทายาทตายพร้อม

  24. 310 วัน เจ้ามรดกตาย มีสภาพบุคคล

  25. เจ้ามรดกตาย ศาลมีคำสั่ง ไปจากภูมิลำเนาฯ ครบกำหนด ผู้ไม่อยู่ สิ้นสภาพบุคคลในวันที่ ครบกำหนด

  26. ค. บุคคลซึ่งมีสภาพบุคคลภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายยกเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ มาตรา 1604 ว. 2 “เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”

  27. เจ้ามรดกตาย ทายาทมีสภาพบุคคล

  28. 310 วัน เจ้ามรดกตาย มีสภาพบุคคล

  29. 2. ต้องมีฐานะเป็นทายาทประเภทหนึ่งประเภทใด หรือทั้งสองประเภทดังต่อไปนี้ • 2.1 ทายาทโดยธรรม หรือสิทธิในการรับมรดกโดยธรรม • 2.2 ทายาทโดยพินัยกรรม หรือสิทธิในการรับมรดกโดยพินัยกรรม มาตรา ๑๖๐๓ “กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม””

  30. มาตรา 1620 “ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้ แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมว้า แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมหรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย”

  31. สิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมสิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม • บุคคลซึ่งมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท • 1. ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ม.1629 ว.2 • 1.1 มีฐานะเป็นคู่สมรสของเจ้ามรดกในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มาตรา ๑๖๒๙ ว.๒ “คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา ๑๖๓๕” • 1.2 การเป็นคู่สมรสพิจารณาจากการจดทะเบียนสมรส ขอให้เป็นคู่สมรสที่สุจริต แม้ผลของการสมรสจะเป็นโมฆียะ โมฆะ ก็ตาม ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอน หรือโมฆะ คู่สมรสก็มีสิทธิเป็นทายาทโดยธรรม • ยกเว้นแต่ การสมรสจะเกิดจากการสมรสซ้อน

  32. 1.3 การสมรสที่เกิดขึ้นก่อน 2477 ไม่ต้องมีการจดทะเบียนสมรส และสามีสามารถมีภริยาได้หลายคน ภริยาทุกคนถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรสทั้งหมด ดู ม. 1636 มาตรา ๑๖๓๖ “ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ ๕ หลายคนยังมีชีวิตอยู่ ภริยาเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันมีสิทธิได้รับมรดกตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งดั่งระบุไว้ในมาตรา ๑๖๓๕ แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อยแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งส่วนที่ภริยาหลวงจะพึงได้รับ” • 1.4 มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

  33. ผลของการสมรส

  34. 2. ทายาทโดยธรรมประเภทญาติ ม.1629 ว. 1 มาตรา 1629 ว.1 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา”

  35. (1) ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาของเจ้ามรดก ซึ่งได้แก่ ลูก หลาน เหลน หล่อน ลื้อ เล้า... • ผู้สืบสันดานชั้นบุตรของเจ้ามรดก ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ • บุตรที่เกิดจากการสมรสระหว่างเจ้ามรดก กับคู่สมรส โดยไม่ต้องพิจารณาถึงผลของการสมรสระหว่างของเจ้ามรดก กับคู่สมรส • เด็กที่เกิดภายใน 310 วันนับแต่การสมรสสิ้นสุดลง โดยหญิงมิได้จดทะเบียนใหม่ ถือเป็นบุตรของอดีตสามี • เด็กที่เกิดภายใน 310 วันนับแต่การสมรสสิ้นสุด โดยหญิงฝ่าฝืน ม. 1453 ถือเป็นบุตรของสามีใหม่

  36. เด็กที่เกิดจากหญิงก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ หรือภายใน 310 วันนับแต่นั้น เป็นบุตรของอดีตสามี (ม. 1536 ว.2) • เด็กที่เกิดจากหญิงก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะเหตุสมรสซ้อน หรือภายใน 310 วันนับแต่นั้น เป็นบุตรของสามีใหม่ (ม.1538 ว.3)

  37. บุตรนอกสมรส(ม. 1547, 1557) แต่บิดาได้ • จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตน หรือ • ศาลได้มีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของบิดา หรือ • การฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่บิดาถึงแก่ความตาย ถ้าได้ฟ้องภายในอายุความมรดก คือ ภายใน 1 ปี นับแต่บิดาถึงแก่ความตาย เด็กนั้นมีสิทธิได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ตามมาตรา 1558 • บิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็กภายหลังจากที่เด็กเกิด

  38. ฟ้องให้รับ เด็กเป็นบุตร เด็กเกิด ศาลพิพากษา เจ้ามรดก(บิดา)ตาย มีฐานะเป็นบิดา

  39. บิดาตาย ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร ศาลพิพากษา มีฐานะเป็นบิดา อายุความมรดก

  40. เจ้ามรดก(บุตร)ตาย จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร มีฐานะเป็นบิดา

More Related