1 / 15

การจัดการเรียนรู้โดย ใช้การ สอนแบบ สืบ เสาะหาความรู้ ( Inquiry Method )

การจัดการเรียนรู้โดย ใช้การ สอนแบบ สืบ เสาะหาความรู้ ( Inquiry Method ). อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. สาขา คบ.ภาษาอังกฤษ Class 2 คณะ ศิลป ศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. ความหมาย

todd-moon
Download Presentation

การจัดการเรียนรู้โดย ใช้การ สอนแบบ สืบ เสาะหาความรู้ ( Inquiry Method )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบ เสาะหาความรู้ (Inquiry Method ) อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สาขา คบ.ภาษาอังกฤษ Class 2 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

  2. ความหมาย การสอบแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ที่ผู้เรียนยังไม่เคยมีความรู้มาก่อน จนสามารถออกแบบทดลองและทดสอบสมมุติฐานได้

  3. ทฤษฎี,แนวคิด การสอนทางวิทยาศาสตร์มีหลายวิธีการสอนโดยวิธีใดวิธีหนึ่งนั้นจะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนด้วย เพราะจะได้ทำให้เกิดความรู้ในด้านใดด้านหนึ่งสำหรับการสอนในปัจจุบันนั้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ไปค้นคว้าศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นับเป็นการสอนอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเน้นให้นักเรียน เรียนรู้และค้นพบความจริงต่างๆ ด้วยตนเอง

  4. ข้อดีของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ข้อดีของการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 1. นักเรียนมีโอกาสได้พัฒนาความรู้ความคิดอย่างเต็มที่ ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจึงมีความอยากเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา 2. นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกความคิดและฝึกการกระทำ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบความคิดและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้รู้คงทนและถ่ายโยงการเรียนรู้ได้และสามารถทำให้จดจำได้นานและนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่อีกด้วย 3. นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน 4. นักเรียนสามารถเรียนรู้โดยอัตโนมัติ และ หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้เร็วขึ้น 5. นักเรียนจะเป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อการสอนวิทยาศาสตร์

  5. แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีขั้นตอนของกิจกรรมที่สำคัญในการสอนของ สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. การอภิปรายเพื่อนำเข้าไปสู่การทดลอง ขั้นนี้เป็นการเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่การกำหนดปัญหาเป็นการช่วยฝึกฝนและปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิดของตนเอง กล้าที่จะแสดงออกกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และ ยอมรับความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้อื่นได้ เพื่อเป็นการแนะแนวทางให้นักเรียนคิดออกในด้านการออกแบบการทดลองหรือตั้งสมมุติฐานและหาวิธีการทดลองเพื่อสมมุติฐานได้

  6. 2. การทดลอง ขั้นนี้เป็นส่วนสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นการนำไปสู่การเรียนรู้และฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักกับการทำงาน และ ได้รู้จักในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ในบางกรณีก็ไม่สามารถทำการทดลองในห้องเรียนได้ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น ความปลอดภัย ความพร้อมในด้านอุปกรณ์ที่ยุ่งยากซับซ้อนและราคาแพง คาบเวลาสอนไม่เพียงพอ เช่นนี้อาจจำเป็นต้องยกข้อมูลที่มีอยู่เดิมที่เคยใช้ในการทดลองมาแล้ว มาใช้ประโยชน์ในการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การสรุปผล หรือให้นักเรียนทำการทดลองโดยใช้แบบจำลองจากของจริงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจะนำไปสู่การอภิปรายสรุปผลการทดลองต่อไป

  7. 3. การอภิปรายเพื่อสรุปผลการทดลอง ชั้นการอภิปรายเข้าสู่การทดลองและอภิปรายเพื่อสรุปผลทดลองนี้ ผู้สอนจะใช้คำถามเพื่อนำนักเรียนให้รู้จักคิดหาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ที่สร้างขึ้นกับเรื่องที่ทดลอง และข้อมูลที่ได้จากการทดลองกับผลสรุปในการอภิปรายเพื่อสรุปการณ์ที่สร้างขึ้นเรื่องที่ทดลอง และ ข้อมูลที่ได้จากการทดลองกับผลสรุปในการอภิปรายซักถามนั้น ซึ่งนักเรียนอาจจะถามครูหรือนักเรียนด้วยกันเองก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้รู้ถึงความคิดเห็นของแต่ละคนต่างออกไป และสามารถนำเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่จะสามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  8. ข้อความรู้ ข้อความรู้เกี่ยวกับ ปรัชญา ทฤษฎี หลักการ และ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และ การสอน นับเป็นหลักสำคัญของการสอน ปัจจุบันปรัชญา ทฤษฎี หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนมีหลากหลาย ครูสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและจุดมุ่งหมายได้ปกติครูต้องนำหลักการต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยครูแต่ละคนอาจประยุกต์ใช้หลักการไม่เหมือนกัน ส่งผลให้แผนการสอนของแต่ละคนในแต่ละเรื่อง มีความแตกต่างกันออกไป

  9. บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ คือ ครูเป็นผู้สร้างสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ และให้อำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า และให้นักเรียนเป็นผู้ตั้งคำถามถามกันเอง โดยที่มีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็นต้น

  10. บริบททางการสอน ขณะที่ครูกับผู้เรียนอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เห็นได้ชัดว่าองค์ประกอบสำคัญที่สงผลกระทบต่อการเรียนการสอนขณะนั้นก็คือ 1.ครูผู้สอน 2.ผู้เรียน 3.สาระ/เนื้อหา 4.วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งถ้าคิดกันเพียงผิวเผินแล้วจะพบว่ามีไม่มากนัก แต่แท้ที่จริงแล้ว หากวิเคราะห์ให้ละเอียด ซึ่งหากครู นักการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศึกษาได้อย่างเหมาะสม

  11. ข้อค้นพบจากการวิจัย จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนการสอนแบบเสาะหาความรู้มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้ 1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน williamวิจัยเปรียบเทียบระหว่างสอนแบบสืบเสาะค้นหาความรู้กับการสอนแบบเดิมที่ครูเป็นจุดศูนย์กลางของวิชาประวัติศาสตร์อเมริกา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม collins

  12. 2. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กัญญา ทองมั่น ได้วิจัยการสอน แบบสืบเสาะหาความรู้ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 พบว่า กลุ่มที่ทดลองที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ทักษะการวัดทักษะการจัดกระทำและสื่อการทดลองทักษะขั้นพื้นฐาน และทักษะขั้นบรูณาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.1 3. การพัฒนาความสามรถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ มนมนัส สุดสิ้น 2543 วิจัยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1

  13. ความหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษาความหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษา ความหมายและจุดมุ่งหมายของการศึกษานี้ ต้องการให้นักเรียนและครูผู้สอนได้เรียนและได้สอนโดยสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยการทดลองและวิธีอื่นๆเพื่อจะได้ความรู้ที่กว้างขึ้นกว่าเดิมโดยครูผู้สอนต้องให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองและครูผู้สอนต้องให้คำแนะนำในกรณีที่นักเรียนไม่เข้าใจจะได้เป็นการฝึกให้นักเรียนคิดหาคำถาม คำตอบ ด้วยตนเอง จะเป็นการฝึกและเป็นการปลูกฝังไปด้วย

  14. คณะผู้จัดทำ นางสาว อนันนิกา สุขโต เลขที่ 6 นางสาว ทินารมณ์ อ่ำคุ้ม เลขที่ 8 นางสาว มนัญญา สุขวิพัฒน์ เลขที่ 10 นางสาว วรรณิภา หาญธงชัย เลขที่ 30 นางสาว ขวัญตา สิลาเงิน เลขที่ 34 สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ ค.บ. 5 ปี ชั้นปีที่ ๑ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

  15. จบการนำเสนอ

More Related