1 / 22

Inductive and Deductive การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย

Inductive and Deductive การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย. ความหมาย. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว(2529 : 6) ได้สรุปให้เข้าใจง่ายๆไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ ที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทางคือ 1.จากประสบการณ์

torgny
Download Presentation

Inductive and Deductive การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Inductive and Deductive การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย

  2. ความหมาย

  3. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว(2529 : 6) ได้สรุปให้เข้าใจง่ายๆไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ ที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทางคือ 1.จากประสบการณ์ 2.จากเหตุผล 3.จากผู้รู้ 4.จากการหยั่งรู้

  4. อุปนัย(Inductive) FracisBacon ได้วิจารณ์ไว้ 1,600 ปีกว่ามาแล้วว่า ข้อความหลักตามการใช้เหตุผลแบบนิรนัย อาจเป็นสิ่งที่ทึกทักเอาเอง หรือไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอ จึงสามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดได้ FracisBacon ได้เสนอแนวคิดเชิงตรรกวิทยาที่เรียกว่า วิธีอุปนัย (Inductive Method) เป็น "วิธีการใช้เหตุผลที่เริ่มด้วยการสังเกตความเป็นจริงจากปรากฏการณ์เฉพาะต่าง ๆ แล้วสรุปรวมเป็นกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปทั่วไป"

  5. วิธีคิดแบบอุปนัยไม่ได้เริ่มต้นจากความเชื่อ แต่เริ่มจากการสังเกตข้อมูลอย่างเป็นกลางหลาย ๆ สถานการณ์ เพื่อหาลักษณะร่วมกันที่นำไปสู่ข้อสรุปทั่วไป Fracis Bacon ได้เน้นความสำคัญของข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อนำมาตรวจสอบข้อมูลที่ได้ แหล่งความรู้ต่าง ๆ ไม่ใช่ข้อสรุป แต่เป็นข้อมูลสำหรับการตั้งสมมติฐานเพื่อการตรวสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์

  6. เนื่องจากแนวคิดตามวิธีอุปนัยเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถที่จะใช้ในการตรวจสอบความจริงได้อย่างสมบูรณ์ เพราะต้องอาศัยมาตรฐานการเก็บรวบรวมข้อมูล ถ้าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการสุ่มจากหลายแหล่งที่ขาดมาตรฐานอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือขาดความสอดคล้องกัน จะทำให้เกิดความสับสนในการตรวจสอบ และสรุปผลเข้าด้วยกันเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป

  7. เทคนิคการสอนแบบอุปนัย (Inductive Method) ความหมาย วิธีการสอนแบบอุปนัย เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป

  8. ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัยขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย 1. ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม ให้กับนักเรียน 2. ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่างๆให้นักเรียนได้ วิเคราะห์และพิจารณา 3. ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การที่นักเรียนได้มีโอกาสพิจารณาขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ 4. ขั้นสรุป คือการนำข้อสังเกตต่างๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นิยามหลักการ หรือสูตร ด้วยตัวนักเรียนเอง 5. ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่น ๆ ได้หรือไม่

  9. ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบอุปนัยข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบอุปนัย ข้อดี 1. จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน 2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์ 3. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา

  10. ข้อจำกัด 1. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ 2. ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย 3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป 4. ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน

  11. นิรนัย ( Deductive ) คือการหาเหตุผลจากส่วนรวมที่ยอมรับกันแล้ว เป็นสากล หรือชัดแจ้งแล้ว ไปหาข้อสรุปในส่วนที่ยังไม่รู้หรือยังไม่ชัดแจ้ง พูดง่าย ๆ ก็คือจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ๆ จากทุกส่วนไปหาบางส่วน

  12. อริสโตเติล(Aritotle) นักปรัชญาชาวกรีกได้ให้กำเนิดแนวคิดเชิงตรรกวิทยา เรียกว่าวิธีนิรนัย (Deductive Method) เป็น "วิธีการใช้เหตุผลที่เริ่มด้วยการกำหนดข้อความหลัก ซึ่งเป็นข้อความโดยนัยทั่วไป เพื่อใช้ถอดแบบไปเป็นข้อเสนอหรือข้อสรุปสำหรับสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ "โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นบนพื้นฐานของความเชื่อว่าข้อความหลักเป็นจริงด้วยข้อมูลที่สามารถอธิบายด้วยตัวของมันเอง (self-evident) เช่น สิ่งที่มีชีวิตเกิดมาแล้วจะต้องตาย ดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นต้น

  13. วิธีนิรนัยจึงเป็นการพัฒนากระบวนการคิดที่สำคัญ ซึ่งมีอิทธิพลต่อศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลเป็นอย่างมาก แต่จุดอ่อนของการใช้เหตุผลแบบนิรนัยคือ ถ้าข้อความหลักไม่เป็นจริง ผลของการนิรนัยก็ไม่ถูกต้อง วิธีคิดแบบนี้จึงใช้ได้เฉพาะบางสถานการณ์ และมีข้อจำกัดต่อการนำมาใช้ตรวจสอบความรู้ ความจริงใหม่ ๆ เพราะถ้าข้อความหลักไม่สมบูรณ์ตามข้อเท็จจริง หรือไม่เป็นที่ยอมรับ หรือยอมรับกันในทางที่ผิด ก็จะทำให้การสรุปในกรณีเฉพาะเกิดความผิดพลาดได้

  14. การใช้เหตุผลแบบอุปนัย-นิรนัย(Inductive-Deductive Reasoning)

  15. ในศตวรรษที่ 19 Charles Darwin ได้สร้างทฤษฎีวิวัฒนาการโดยอาศัยหลักการใช้เหตุผลแบบอุปนับและนิรนัยมาใช้ร่วมกัน สำหรับทดสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์อันเป็นข้อสรุปโดยสะท้อนกลับไปมาทั้งสองวิธี อันเป็นการตรวจสอบยืนยันซึ่งกันและกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสรุปที่แน่นอนยิ่งขึ้น

  16. วิธีการใช้เหตุผลแบบอุปนัย-นิรนัย เริ่มจากวิธีการอุปนัย ด้วยการสังเกตข้อมูลในสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ เพื่อสร้างเป็นหลักเกณฑ์หรือข้อสรุปทั่วไป จากนั้นจึงใช้วิธีนิรนัยด้วยการนำหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ได้นั้นถือเป็นสมมติฐาน สำหรับนำไปใช้ทดสอบด้วยจ้อมูลในสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ในเวลาต่อมากระบวนการนี้ได้รับการยอมรับทั่วไปว่าเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์

  17. ดังนั้นวิธีการใช้เหตุผลแบบอุปนัย-นิรนัยจึงช่วยให้แนวคิดที่สมเหตุสมผลในการสังเคราะห์ความคิดเพื่อตั้งเป็นสมมติฐานและ ให้แนวคิดการใช้เหตุผลสำหรับการตรวขสอบสมมติฐานด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ การแปลความหมายและสรุปผลในการแสวงหาความรู้ความจริง

  18. แบบทดสอบ 1. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้สรุปให้เข้าใจการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย-นิรนัยไว้ว่าอย่างไร เฉลย 2. วิธีการสอนแบบอุปนัย หมายถึง เฉลย 3. ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัยมีกี่ข้อ อะไรบ้าง เฉลย 4. การหาเหตุผลแบบนิรนัย หมายถึง เฉลย 5. ผู้ใดได้ให้กำเนิดแนวคิดแบบนิรนัย เฉลย

  19. จัดทำโดย น.ส.อวัชฎา ไชยสุระ น.ส.ศิรดา ภูจอมจิตร น.ส.สุนิษา อภัยพักต์ น.ส.สุภัททรา ทศราช น.ส.วัชรี ธนะฤทธิ์ สาขาภาษาอังกฤษ G:3

  20. THE END

  21. เฉลยแบบทดสอบ 1. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้และที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทางคือ 1.จากประสบการณ์ 2.จากเหตุผล 3.จากผู้รู้ 4.จากการหยั่งรู้ 2. เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง 3. มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1). ขั้นเตรียม 2). ขั้นสอนหรือขั้นแสดง 3). ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม 4). ขั้นสรุป 5). ขั้นนำไปใช้ ถัดไป กลับ

  22. 4. คือการหาเหตุผลจากส่วนรวมที่ยอมรับกันแล้ว เป็นสากล หรือชัดแจ้งแล้ว ไปหาข้อสรุปในส่วนที่ยังไม่รู้หรือยังไม่ชัดแจ้ง พูดง่าย ๆ ก็คือจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ๆ จากทุกส่วนไปหาบางส่วน 5. อริสโตเติล (Aritotle) กลับ

More Related